สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - มาเลเซีย ปี 2553 (ม.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 6, 2010 17:02 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Kuala Lumpur
พื้นที่           :   330,252  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ    :   Malay,Chinese,English
ประชากร       :   27.7 ล้าน คน
อัตราแลกเปลี่ยน  :   10.091 (25/02/2553)


(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
                                                ปี 2009     ปี 2010
Real GDP growth (%)                              -2.4        3.7
Consumer price inflation (av; %)                  0.6        1.5
Budget balance (% of GDP)                        -7.6       -5.8
Current-account balance (% of GDP)               15.5       12.0
Commercial banks' prime rate (year-end; %)        5.0        5.1
Exchange rate ฅ:US$ (av)                         3.52       3.37
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับมาเลเซีย
                                   มูลค่า:          สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด
                               ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   797.57           100.00         74.22
สินค้าเกษตรกรรม                     138.65            17.38        111.08
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              31.40             3.94         51.93
สินค้าอุตสาหกรรม                     560.42            70.27         67.04
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   67.10             8.41         86.81
สินค้าอื่น ๆ                             0.0              0.0           -
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับมาเลเซีย
                                      มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด
                                  ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น                            811.12          100.00         42.26
สินค้าเชื้อเพลิง                          134.99           16.64          4.81
สินค้าทุน                               288.43           35.56         61.80
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                285.01           35.14         38.51
สินค้าบริโภค                             85.25           10.51         77.54
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง              16.89            2.08         95.14
สินค้าอื่นๆ                                0.55            0.07        -18.86
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย — มาเลเซีย
                           2552           2553          %
                          (ม.ค.)      ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม            1,027.96        1,608.69       5.97
การส่งออก                  457.78          797.57       5.81
การนำเข้า                  570.18          811.12       6.14
ดุลการค้า                  -112.40          -13.56      -2.63
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดมาเลเซียเป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 13,207.63 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
44.84 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                           มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด
                                       ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม                          13,207.63         100.00          44.84
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ          132.37          16.32          42.10
2.น้ำมันดิบ                                    125.36          15.45           3.84
3.เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                   91.17          11.24         113.48
4.สื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง                        52.00           6.41           2.55
5.เคมีภัณฑ์                                     49.98           6.16          70.54
      อื่น ๆ                                   54.73           6.75         -21.69
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดมาเลเซียเป็นอันดับที่ 5 มูลค่า 13,723.42 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.83
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                             มูลค่า :          สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด
                                         ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม                            13,723.42          100.00         30.83
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ            111.95           14.04        130.60
2.ยางพารา                                     103.41           12.97        101.24
3.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                      91.19           11.43         40.96
4.น้ำมันสำเร็จรูป                                  56.42            7.07         96.13
5.แผงวงจรไฟฟ้า                                  34.68            4.35         78.70
       อื่น ๆ                                   127.85           16.03         38.15
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปมาเลเซีย ปี 2553 (ม.ค.) ได้แก่

เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ: มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 6.13 และ 130.60 ตามลำดับ

ยางพารา: มาเลเซีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ -24.67 และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 101.24 ตามลำดับ

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ: มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) มีอัตราการ ขยายตัวลดลงร้อยละ -13.17 และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 40.96 ตามลำดับ

น้ำมันสำเร็จรูป: มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 36.71 และ 96.13 ตามลำดับ

แผงวงจรไฟฟ้า: มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 7 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2552 (ม.ค.) มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ -20.37 และปี 2553 (ม.ค.) พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 78.70 ตามลำดับ

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซียปี 2553 (ม.ค.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 11 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                                       มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                                 ล้านเหรียญสหรัฐ             %
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                  111.95             130.60
2.ยางพารา                                           103.41             101.24
3.รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                            91.19              40.96
4.น้ำมันสำเร็จรูป                                        56.42              96.13
5.แผงวงจรไฟฟ้า                                        34.68              78.70
6.ผลิตภัณฑ์ยาง                                          30.03             157.96
7.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักร                  23.77              64.69
8.เคมีภัณฑ์                                             20.31              42.66
9.มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า                            19.34              51.52
10.เม็ดพลาสติก                                         18.85             105.92
11.เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ             14.49              41.44
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซียปี 2553 (ม.ค.)25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 5 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ                                        มูลค่า           อัตราการขยายตัว
                                                  ล้านเหรียญสหรัฐ             %
32.รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                            4.12              -33.65
37.ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง                                  2.31               -8.12
46.แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า                        1.75               -7.10
59.เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ               1.19              -35.96
63.ปลาแห้ง                                             1.01              -18.46
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม

มาเลเซียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนจากประเทศที่ผลิตและส่งออกพืชผลเกษตร มาเป็นการผลิตและส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทั้งนี้เนื่องจากมาเลเซียมีแรงงานที่มีคุณภาพ มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ทันสมัย และรัฐบาลส่งเสริมบรรยากาศในการลงทุน ปัจจุบันมาเลเซียเป็นแหล่งผลิตให้กับบรรษัทข้ามชาติทั้งจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ยุโรป ไต้หวัน และเกาหลี รวมถึงผู้ประกอบการในประเทศต่างก็เร่งยกระดับการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก สำหรับสาขาการผลิตในมาเลเซียที่น่าสนใจ ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ และเครี่องใช้ไฟฟ้า การส่งออกสินค้า โดยการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2552 (ม.ค.-พ.ย.) มาเลเซียส่งออกทั้งสิ้น 205.06 พันล้านริงกิต ขณะที่การนำเข้าในปี 2552 (ม.ค.-พ.ย.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 142.67 พันล้านริงกิต

การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด ( SWOT ANALYSIS)

  • จุดแข็ง (Strengh)

ประเทศมาเลเซียมีแรงงานที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในด้านงานที่ต้องอาศัยความละเอียดและประณีต ซึ่งเหมาะสมกับความต้องการของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และมาเลเซียได้มีการยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเฉพาะส่วนที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก อีกทั้งประชากรยังมีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของมาเลเซียคือ ระบบคมนาคมขนส่ง การสื่อสาร ระบบโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐาน

  • จุดอ่อน (Weakness)

การพัฒนาคนในระดับผู้บริหาร ช่างและแรงงาน ปรับตัวไม่ทันต่ออุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในเรื่องของการลงทุนที่สูง และอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยประสบปัญหาขาดแคลนเงินทุน อีกทั้งยังยากต่อการหาแหล่งเงินทุน

  • โอกาส (Opportunity)

กฎเกณฑ์ทางการค้าของ WTO ที่สนับสนุนให้เกิดการค้าเสรี และลดการกีดกันทางการค้าด้านภาษีจะทำให้การส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มดีขึ้น และยังมีโอกาสดึงนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลให้การสนับสนุน

  • อุปสรรค์ (Threat)

การเปิดเสรีทางการค้า ทำให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันได้เสรีมากขึ้น อีกทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการรับรองมาตรฐานของมาเลเซียไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้การต้อนรับคณะนักธุรกิจจากประเทศมาเลเซีย ที่มาเยี่ยมชมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (สงขลา) จำนวน 45 ราย ซึ่งเป็นนักธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ธุรกิจแผ่นกันกระแทกสำหรับเฟอร์นิเจอร์ส่งออก และธุรกิจโลจิสติกส์ โดยนักธุรกิจมาเลเซียส่วนใหญ่ให้ความสนใจศักยภาพพื้นที่จังหวัดสงขลาที่จะเป็นแหล่งวัตถุดิบของอาหารฮาลาล ธุรกิจโลจิสติกส์ และฯลฯ ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทย ยังเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ และครั้งนี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนระหว่าง 2 ประเทศได้เป็นอย่างดี

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ