ภาวะตลาด - สัดส่วนตลาดของรถยนต์ในสหรัฐฯ 1. ผู้ผลิตรถยนต์ Top 5 ของสหรัฐฯ คือ General Motor, Toyota, Ford, Chrysler และ Honda 2. General Motor และ Chrysler สูญเสียตลาดรถยนต์ให้แก่รถยนต์ญี่ปุ่น 3. Ford เป็นผู้ผลิตสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้น 4. ปัจจุบัน Toyota ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับที่ 2 ของสหรัฐฯ มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 16.3 และ Honda เป็นอันดับที่ 5 มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 10.5
การผลิตรถยนต์ - การผลิตรถยนต์ของสหรัฐฯ ขยายตัวในช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ของปี 2553 มีจำนวน 1,895,512 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.9 จากช่วงเดียวกันของปี 2552 การผลิตจำแนกออกเป็นรถยนต์ (Passenger Cars) จำนวน 735,188 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.8 รถบรรทุกขนาดเบา (Light Trucks) จำนวน 1,123,719 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.9 ในการที่การผลิตรถบรรทุกขนาดใหญ่ (Medium/Heavy Duty Truck) มีจำนวนการผลิตลดลงร้อยละ -2.2 หรือผลิตเพียง 36,605 คัน
การผลิตรถยนต์ของสหรัฐอเมริกาในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2553
ประเภทรถ มกราคม — มีนาคม (คัน) อัตราการ 2553 2552 ขยายตัว (%) 1. U.S. Passenger Car 735,188 418,177 75.8 2. U.S. Light Trucks 1,123,719 693,958 61.9 Total Light Vehicle 1,858,907 1,112,135 67.1 3. U.S. Med./Hvy. Truck 36,605 37,447 -2.2 Total U.S. Vehicle 1,895,512 1,149,582 64.9
ยอดจำหน่ายรถยนต์ (All Vehicles) ของสหรัฐฯ เฉพาะในประเทศ รวมกันมีจำนวน 2,538,852 คัน ในช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6
รถยนต์ของ GM มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า สถานะการเงินของ GM เริ่มปรับตัวดีขึ้น และมีกำไรที่นำไปใช้คืนให้รัฐบาลได้
การ Recall รถToyota กว่า 2 ล้านคัน Toyota เป็นผลให้ยอดขายของ Toyota ขยายตัวในอัตราต่ำ ในขณะที่ Chrysler เป็นผู้ผลิตรายเดียวที่มียอดขายรถยนต์ลดลงในไตรมาสแรกของปี 2553
หน่วย: คัน
ประเภทรถ มกราคม - มีนาคม อัตราการ 2553 2552 ขยายตัว (%) Chrysler 233,103 246,047 -5.3 Ford 437,033 318,310 37.3 GM 476,061 409,832 16.2 North America Total 1,146,206 974,215 17.7 Honda 256,412 230,985 11.0 Hyundai Group 188,206 164,747 14.2 Isuzu 411 442 -7.0 Mazda 55,941 53,795 4.0 Mitsubishi 13,623 13,834 -1.5 Nissan 228,229 174,767 30.6 Subaru 57,494 41,532 38.4 Suzuki 5,661 15,131 -62.6 Tata 9,091 8,596 5.8 Toyota 385,686 359,672 7.2 Asia Total 1,200,754 1,063,501 12.9 BMW 55,051 51,244 7.4 Daimler 52,021 45,228 15.0 Porsche 5,222 4,925 6.0 Volkswagen 79,598 57,932 37.4 Europe Total 191,892 159,329 20.4 Total Vehicles 2,538,852 2,197,045 15.6
Best Selling U.S. Cars and Light Trucks
ระหว่างมกราคม — มีนาคม 2553 Cars คัน Trucks คัน 1 Toyota Camry 68,595 1 Ford F Series 103,039 2 Honda Accord 65,579 2 Chevy Silverado 72,480 3 Toyota Corolla/Matrix 63,740 3 Ford Escape 45,091 4 Nissan Altima 59,483 4 Toyota RAV4 40,474 5 Honda Civic 53,627 5 Dodge Ram Pickup 38,042 6 Ford Fusion 51,411 6 Honda CR-V 36,348 7 Chevrolet Malibu 49,339 7 Chevrolet Equinox 30,379 8 Ford Focus 43,597 8 Kia Sorento 25,452 9 Chevrolet Impala 38,273 9 Ford Edge 25,191 10 Chevrolet Cobalt 37,379 10 Hyundai Santa Fe 24,716 ที่มา: Ward Automotive Group 3. ระดับราคาขายปลีกรถยนต์ สมาคม American International Automobile Dealers Association ของสหรัฐฯ คาดว่าราคาจำหน่ายรถยนต์ (Sticker Price) รุ่น 2010 ที่ผลิตในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 -12 ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของรถยนต์ ในขณะที่รถยนต์นำเข้าจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15 ด้วยเหตุผลจาก ภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ได้แนะนำรถรุ่นใหม่ การใช้เทคโนโลยี่เพิ่มความปลอดภัย การประหยัดน้ำมัน และ การเพิ่มอุปกรณ์ให้ความสะดวกสบายต่างๆ ราคาขายปลีกรถยนต์ รุ่นปี 2010 ที่ได้รับความนิยมในตลาด 10 อันดับ หน่วย: เหรียญสหรัฐฯ แบรนด์รถยนต์ ราคาขายปลีก* แบรนด์รถยนต์ ราคาขายปลีก* 1. Ford F-150 21,380-39,010 6. Honda CR-V 21,545-27,745 2. Toyota Camry 19,395-29,245 7. Nissan Altima 19,190-29,380 3. Honda Accord 21,055-29,305 8. Chevy Impala 23,890-29,630 4. Toyota Colora 15,350-18,860 9. Toyota Prius 21,000-27,270 5. Honda Civic 15,500-22,055 10. Ford Fusion 19,620-28,030 * ราคาขายปลีกยังไม่ร่วมค่าขนส่งและภาษีการค้า 4. พฤติกรรมการบริโภค ราคาน้ำมันดิบที่ถีบตัวขึ้นในอัตราสูงมากใน 2 ปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการผลิตและบริโภคอุตสาหกรรมยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบของสหรัฐฯ ก่อให้เกิดการปรับตัว คือ 4.1 ผู้บริโภคต้องการยานยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน และยานยนต์ขนาดเล็กซึ่งไม่กินน้ำมัน 4.2 ผู้บริโภคต้องการยานยนต์ที่ช่วยมลภาวะ Green House Gas และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly Car) 4.3 ผู้บริโภคต้องการใช้ยานยนต์ที่ใช้พลังงานรูปแบบอื่นที่ทดแทนหรือลดการพึ่งพาน้ำมันเบนซิน เช่น Electricity Bio Diesel และ Hydrogen เข้ามาขับเคลื่อนเครื่องยนต์ 5. มาตรการด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี มาตรการภาษี: สหรัฐฯ เก็บภาษีศุลกากรรถยนต์นำเข้าและส่วนประกอบในอัตราต่ำโดยเก็บภาษีรถยนต์นำเข้าประมาณร้อยละ 0.00-25.00 และชิ้นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 0.00-5.00 และให้สิทธิพิเศษ GSP และ การเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti Dumping Duty) และค้นหาเพิ่มเติมได้จาก http://dataweb.usitc.gov) มาตรการไม่ใช่ภาษี เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อความปลอดภัย (Industry standards) มาตรฐานที่สำคัญ ได้แก่ 1. มาตรฐาน DOT : US Department of Transportation เน้นในด้านความปลอดภัย 2. มาตรฐาน UL : Universal Laboratories สำหรับส่วนประกอบที่ใช้กับไฟฟ้า 3. มาตรฐาน EPA : กำหนดโดย US Environment Protection Agency : EPA ควบคุมในเรื่องมาตรฐาน Greenhouse Gas Emissions และ Fuel Economy 4. มาตรฐานกลุ่มประกันภัยรถยนต์สำหรับชิ้นส่วน Collision Parts มาตรฐานของ Auto Part ชนิดต่างๆ ของสหรัฐฯ สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้จาก Web Site ของหน่วยงานดังกล่าว ดังนี้ - The American National Standards Institute (ANSI) www.ansi.org - Society of Automotive Engineers (SAE) www.sae.org - Underwriters Laboratories (UL) www.ul.com - Department of Transportation (DOT) www.dot.gov - Environmental Protection Agency (EPA) www.epa.gov - Federal Communications Commission (FCC) www.fcc.gov - The Consumer Product Safety Commission (CPSC) www.cpsc.gov - Occupational Safety and Health Administration (OSHA) www.osha.gov 6. SWOT สินค้ายานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบไทย จุดแข็ง 1. แรงงานในภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์มีการเรียนรู้และสั่งสมทักษะ ความชำนาญด้านการผลิตมาอย่างยาวนานจากการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ประกอบการต่างชาติ โดยเฉพาะผู้ประกอบการญี่ปุ่น 2. ผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่และยานยนต์ในไทยมีการกระจุกตัวและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (Cluster) อันเป็นผลดีในแง่ของการลดต้นทุน การวางแผนกลยุทธ์ร่วมกัน รวมถึงลดต้นทุนการขนส่งระหว่างกัน 3. ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะในกลุ่มที่ผลิตชิ้นส่วนเพื่อป้อนโรงงานโดยตรง (Tier 1) มีการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างค่อนข้างใกล้ชิด และได้รับการยอมรับโดยทั่วกันว่าสินค้าไทยมีคุณภาพ 4. ภาครัฐมีนโยบายผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาค จึงมีการเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพของผู้ประกอบการไทย จุดอ่อน 1. แรงงานและทรัพยากรบุคคลขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติ และขาดความรู้และทักษะด้านการออกแบบ 2. ผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนไทยมีข้อจำกัดในการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศ ขาดการวางแผนทางธุรกิจ รวมถึงการนำระบบการบริหารที่รวดเร็วทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ปรับปรุง และพัฒนาปัจจัยในด้านต่างๆ ขององค์กร เพื่อยกระดับให้เป็นที่ยอมรับจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในต่างประเทศ 3. ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมจึงไม่มีศักยภาพในการเพิ่มหรือลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา 4. เครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิต ยังต้องพึ่งพาต่างประเทศ การทำวิจัย พัฒนา และการทำนวัตกรรมมีน้อย 5. ขาดการผลักดันและส่งเสริมการใช้ Brand Name ของตนเองในการขยายตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทน (แบบ Replacement) จึงมีการใช้ชื่อตราสินค้า (Brand) ของตนเองน้อยมาก 6. ขาดหน่วยงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ ด้านการให้บริการตรวจสอบ ทดสอบ และอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่น้อย ไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนด เก่า และ ล้าสมัย จึงไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนตามมาตรฐานของสหรัฐฯ ได้ 7. สหรัฐฯ เป็นตลาดที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นข้อจำกัดของสินค้าลอกเลียนแบบสินค้าชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ไทย บางส่วนจะมีโอกาสในตลาดที่ไม่มีความเข้มแข็งในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โอกาส 1. ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ตลาดรถยนต์ที่ชะลอตัวส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วนของไทย โดยภาพรวมผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น และมีแนวโน้มไม่นิยมซื้อรถใหม่แต่จะใช้รถคันเดิมหรือซื้อรถยนต์มือสอง ซึ่งมีราคาต่ำกว่าแม้จะมีปัญหาจุกจิกจากการซ่อมบำรุง ดังนั้นความต้องการอะไหล่รถยนต์จึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น เป็นโอกาสและส่งผลดีต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทน (Replacement Equipment Manufacturing ) ของไทย 2. สินค้าชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีพื้นฐานจากยางธรรมชาติเป็นสินค้าที่มีศักยภาพและมีความต้องการในตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลก 3. การผลักนโยบายการค้าเสรี ( Free Trade Area : FTA) ของรัฐบาลกับประเทศต่างๆ รวมทั้งสหรัฐฯ เพื่อการชักจูงให้มีการย้ายฐานการผลิตมาในประเทศไทยมากขึ้น อุปสรรค 1. การแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจีนซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีของตนขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และก้าวหน้ากว่าประเทศไทย และ เวียดนามเป็นแหล่งผลิตที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำ 2. ค่าเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ราคาชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ที่ส่งออกมายังตลาดสหรัฐฯมีราคาสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสูญเสียตลาดในสหรัฐฯ 3. ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น ราคาเม็ดพลาสติก และ โลหะเหล็กสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น และ การส่งออกลดลง 4. ราคาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อ ราคาวัตถุดิบ การช่วงชิงสัดส่วนตลาดสินค้าในสหรัฐฯ เนื่องจากทำให้สินค้าไทยมีราคาสูงกว่าประเทศคู่แข่งขัน สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก ที่มา: http://www.depthai.go.th