ตลาดสินค้าเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 10, 2010 16:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ขนาดของตลาด

สหรัฐฯ เป็นผู้นำอุตสาหกรรมพลาสติกของโลก อุตสาหกรรมพลาสติกมีมูลค่าตลาดไม่ต่ำกว่าปีประมาณ 380 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 2.6 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติ (Gross Domestic Products) ของสหรัฐฯ ผลผลิตของอุตสาหกรรมพลาสติกสหรัฐฯ อยู่ในภาวะถดถอยในช่วงปี 2551-2552 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลาสติกของสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราต่ำโดยเฉลี่ยประมาณร้อย 3.5 ให้แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกประมาณ 18,200 แห่งทั่วประเทศ และมีการจ้างงานประมาณ 710,000 คน

ผู้นำตลาดการผลิตเม็ดพลาสติกสหรัฐฯ สำคัญ 10 อันดับแรกของในสหรัฐฯ ได้แก่ (1) Poly One (2) DuPont (3) Ampacet Corp. (4) Sabic Innovative Plastics (5) A. Schulman (6) Spartech (7) Americhem (8) BASF (9) Bayer Material Science และ Dow Chemical ซึ่งมีผลผลิตรวมกันประมาณร้อยละ 60 ของตลาด ผู้ผลิตต่างประเทศเข้ามาตั้งโรงงานพลาสติกในสหรัฐฯ ได้แก่ อังกฤษ เยอรมัน อิตาลี่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จีน และ สิงคโปร์ มีจำนวนกว่า 50 โรงงานเม็ดพลาสติกผลิตในสหรัฐฯ มีสัดส่วนตลาดประมาณร้อยละ 85 และอีกร้อยละ 15 เป็นเม็ดพลาสติกนำเข้าจาก แคนนาดา เอเซีย และ ยุโรป

สหรัฐฯ มีผลิตรวมเม็ดพลาสติกชนิดที่สำคัญ (LLPE, LLDPE, HDPE, PP, PS, PVC) ในช่วงเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ 2553 จำนวน 11,812 ล้านปอนด์ (5,369 กิโลกรัม) หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8.18 จากช่วงเดียวกันของปี 2552 และ ยอดจำหน่ายเม็ดพลาสติกในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2553 เป็นจำนวน 12,108 ล้านปอนด์ หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 8.30

2. ช่องทางการจัดจำหน่าย

Distributor และ Manufacturers Representative/Broker เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดจำหน่ายเม็ดพลาสติกในสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ผลิต ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ที่สำคัญ ได้แก่

1. ABC Polymers, Stone Mountain, GA (www.abcpolymers.com),

2. M.Holland, Northbrook, IL (www.mhalland.com),

3. Lianda, Hudson, OH (www.liandacorp.com)

4. Poly Technology Services, Murphyreeboro, TN (www.PTSllc.com)

5. Jamplast, Ellisville, MO (www.jamplast.com

6. Ashland Distribution, Hudson, OH (www.ashland.com)

ปัจจุบัน ธุรกิจ E-Commerce มีบทบาทในการซื้อ-ขายเม็ดพลาสติกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับผู้ซื้อ-ผู้ขายสามารถเสนอราคาที่ต้องการผ่าน Website และตกลงการซื้อ-ขายได้ทันที ผู้ประกอบการให้บริการซื้อ-ขายเม็ดพลาสติกทาง Online ในสหรัฐที่สำคัญ คือ The Plastic Exchange ในนครชิคาโก

The Plastics Exchange ในนครชิคาโกดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายเม็ดพลาสติกทาง Online ผ่าน Website : www.theplasticexchange.com เป็นการซื้อ-ขายแบบ Spot Price ไม่ใช่การซื้อขายแบบล่วงหน้า (Future Market) มีการส่งมอบสินค้าเกิดขึ้นจริง ผู้ต้องการซื้อ-ขาย ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกไม่เสียค่าธรรมเนียมและเปิดให้ทั้งผู้ซื้อ-ขายในประเทศสหรัฐฯ และ จากต่างประเทศ ตลาดทำการซื้อ-ขายเม็ดพลาสติกเฉพาะชนิด HDPE, LDPE, LLDPE, GPPS, HIPS, HoPP และ CoPP ผู้ประกอบการพลาสติกไทยที่สนใจ โปรดค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Website : www.theplasticsexchange.com ซึ่งมีข้อมูลด้านราคาเม็ดพลาสติกประกาศให้ทราบเป็นรายวัน

3. พฤติกรรมการบริโภค และ แนวโน้มความต้องการ

3.1 ตลาดเม็ดพลาสติกของสหรัฐฯ ซึ่งหดตัวถึงร้อยละ -25 ในปี 2552 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ในปี 2553 ความต้องการ Plastic Film ของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.6 ในปี 2553 หรือ คิดเป็นปริมาณความต้องการ 15.2 พันล้านปอนด์ (โดยปริมาตร) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาเม็ดพลาสติกทั่วไปในปี 2553 จะสูงขึ้นประมาณร้อยละ 5-20 ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก

3.2 การขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ส่งผลต่อการขยายตัวความต้องการเม็ดพลาสติก เพื่อนำไปผลิตชิ้นส่วนพลาสติกเพื่อใช้ประกอบยานยนต์

3.3 กระแสความยั่งยืน (Sustainable) ซึ่งปัจจุบันเป็นเรื่องที่วงการอุตสาหกรรมพลาสติกให้ความสนใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตเม็ดพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Bio Plastic) ซึ่งคาดการณ์ว่า มีความต้องการสูงประมาณ 570 ล้านปอนด์ในปี 2553 และจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.2 พันล้านปอนด์ในปี 2555 และคาดว่า ความต้องการ Polymer ชนิดนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 13-15 ไปจนถึงปี 2557

3.4 บริษัทที่ปรึกษา IDC ซึ่งเชี่ยวชาญในตลาด Computer Hardwareใน California แจ้งว่า อุตสาหกรรมผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์มีความต้องการพลาสติกลดลง เนื่องจาก ปัจจุบันขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เล็กลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 30 ไม่ว่าจะเป็น Computer Case, Keyboard นอกจากนั้นแล้ว อุตสาหกรรมยังหันไปใช้โลหะมาทดแทนชิ้นส่วนพลาสติก ซึ่งจะเป็นผลให้ความต้องการเม็ดพลาสติกลดลงไปประมาณร้อยละ 25

3.5 ปัจจุบัน มีหลายประเทศออกกฎหมายบังคับการใช้ Renewable Plastic เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าของใช้ต่างๆ สำหรับในประเทศสหรัฐฯ กฎหมาย Federal Farm Bill บังคับให้หน่ายงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ต้องซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยวัตถุดิบชีวภาพ ( Bio Base Materials) ให้ได้มากที่สุด

3.6 บริษัท Frito-Lay ผู้นำตลาดอาหารประเภท Snack Foods รายใหญ่ของสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชนิด Polyproplylene ไปใช้ถุงพลาสติกที่ผลิตจาก Bioplastic ในการบรรจุ Snack Foods

4. การค้าระหว่างประเทศ

สหรัฐฯ นำเข้าพลาสติกในช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี 2553 เป็นมูลค่า 4,965.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 15.07 และ มีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ ได้แก่ จีน (28%) แคนาดา (27%) เม็กซิโก (9%) ญี่ปุ่น (6%) และ เยอรมนีร้อยละ 5

สหรัฐฯ นำเข้าเม็ดพลาสติกในช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี 2553 เป็นมูลค่า 1,214.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.32 จากช่วงเดียวกันของปี 2552 และมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ แคนนาดา (ร้อยละ 38) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 10) เยอรมนี (ร้อยละ 8) และเม็กซิโก ร้อยละ (6%)

สหรัฐฯ นำเข้าพลาสติกจากประเทศไทยในช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี 2553 เป็นมูลค่า 49.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ -6.91 โดยแยกออกเป็น การนำเข้าเม็ดพลาสติก 13.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดต่ำลงร้อยละ -30.20 และการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก 35.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.70

5. ระดับราคาขายส่ง-ขายปลีก

ราคาซื้อ-ขายเม็ดพลาสติกในสหรัฐฯ ผ่านตลาด The Plastic Exchange

ณ วันที่ 17 เมษายน 2553 (ราคาเหรียญฯ/ปอนด์)

          Resin            Total lbs             Low            High            Bid            Offer
          PP Homo           7,473,232           $.700           $.810           $.710           $.750
          PP Copo           6,397,184           $.700           $.830           $.725           $.765
          LLDPE - Film      3,634,784           $.660           $.770           $.650           $.690
          GPPS              2,470,000           $.750           $.790           $.750           $.800
          HDPE - Inj        1,505,380           $.650           $.730           $.640           $.680
          LDPE - Film       1,024,552           $.750           $.820           $.720           $.760
          HDPE - Blow Mold    997,288           $.650           $.700           $.630           $.670
          HMWPE - Film        865,012           $.700           $.735           $.660           $.700
          LLDPE - Inj         590,000           $.690           $.780           $.690           $.730
          HIPS                424,092           $.800           $.850           $.810           $.860
          Resin             Total lbs            Low             Hig             Bid            Offer
          ที่มา: The Plastic Exchange


6. มาตรการด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี
          6.1 ด้านภาษี : สหรัฐฯเรียกเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าพลาสติกไทย ในอัตราร้อยละ 0.0 —25.0 เม็ดพลาสติกบางชนิด และ ผลิตภัณฑ์พลาสติกหลายชนิดได้รับการยกเว้นภาษี GSP
          6.2 ไม่ใช่ภาษี:
          - ภาษีทุ่มตลาด (Anti Dumping Duty) สินค้าถุงพลาสติกไทยถูกเรียกเก็บ
          - ระเบียบการควบคุมด้าน Solid Waste ของ U.S Environment Protection Agency
          - ระเบียบห้ามใช้ถุงพลาสติก Shopping Bag ของรัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐฯ
          - การทดสอบมาตรฐานพลาสติกของสินค้าพลาสติก ABS
          - มาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น Plastic Pallet,
          - มาตรฐานพลาสติกชนิด PET Plastic Recycling

7. SWOT สถานการณ์สินค้าพลาสติกและผลิตภัณฑ์ไทยในสหรัฐฯ
          จุดแข็ง
          1. มีการผลิตเม็ดพลาสติกที่หลากหลายทั้งเม็ดพลาสติกเกรดทั่วไปและเกรดพิเศษ มีวัตถุดิบพร้อม อีกทั้งมีอุตสาหกรรมปลายทางในประเทศที่มีศักยภาพและมูลค่าเพิ่มสูง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรกนิกส์มีวัตถุดิบเพียงพอและหลากหลาย
          2. ต้นทุนการผลิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ดำรงฐานะการแข่งขันได้
          3. มีระดับเทคโนโลยีการผลิตที่ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ
          4. เป็นอุตสาหกรรมแบบครบวงจรก่อให้เกิดความได้เปรียบในด้านต้นทุน

          โอกาส
          1. สหรัฐฯ เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูงและตลาดสามารถรองรับผลิตภัณฑ์พลาสติกรูปแบบต่างๆ) และผลิตภัณฑ์จากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นส่วน ประกอบในการผลิต เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้างเครื่องใช้สำนักงาน ของเล่น เครื่องเขียน บรรจุภัณฑ์อาหารแปรรูป เป็นต้น
          2. ตลาดสหรัฐฯ มีกฎระเบียบที่จะเป็นอุปสรรรคต่อการขยายตลาดน้อย
          3. ตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกในสหรัฐฯ มีความน่าสนใจ และมูลค่าการนำเข้าสูงกว่าเม็ดพลาสติก

          จุดอ่อน
          1. ขาดการพัฒนาด้านนวัตกรรม วิจัยค้นคว้าอย่างเป็นระบบ และขาดเทคโนโลยี่ขั้นสูง
          3. ยังไม่สามารถพัฒนากระบวนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น การลดต้นทุน การประหยัดพลังงาน การพัฒนาหีบห่อเพื่อสนองต่อการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขาดการสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
          4. อุตสาหกรรมสนับสนุนไม่แข็งแรง (แม่พิมพ์)
          5. ขาดระบบรับรองมาตฐานคุณภาพที่ยอมรับจากสากล
          6. วัตถุดิบต้องพึ่งพิงการนำเข้าเป็นส่วนใหญ่

          อุปสรรค
          1. ประสบปัญหาด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติก
          2. นโยบายลดการใช้แพคเกจจิ้งหรือบรรจุภัณฑ์และถุงพลาสติกที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ
          3. อุตสาหกรรมพลาสติกไทยด้อยกว่าสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยี่และตลาดพลาสติก ในด้านการวิจัยและพัฒนา จะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตลาด
          4. ราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นโดยต่อเนื่องเป็นผลให้ราคาเม็ดพลาสติกสูง ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสูง
          5. ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้นทำให้สินค้าส่งออกของไทยมีราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศคู่แข่ง เช่น จีน หรือ อินเดีย
          6. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด หรือ Antidumping AD ซึ่งประเทศไทยถูกเรียกเก็บภาษีถุงพลาสติกในปัจจุบัน


          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ