ลักษณะเฉพาะของตลาดแคนาดาตะวันตก และโอกาสของผู้ประกอบการไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 26, 2010 16:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ในภาพรวมนั้น แคนาดาเป็นประเทศที่พึ่งพิงการค้ากับต่างประเทศเป็นหลัก ภาคการบริการเป็นภาคกิจการที่สำคัญที่สุดของแคนาดา แคนาดามีนโยบายการค้าเสรีที่เปิดกว้างให้กับการนำเข้า (มีกำแพงภาษีที่ต่ำ) โดยเฉพาะสินค้าที่แคนาดาไม่สามารถผลิตได้ อาทิ สินค้าอาหาร ข้าว อาหารทะเล กุ้งสดแช่แข็ง อาหารไทยที่มีศักยภาพในแคนาดาในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มอาหารฮาลาลและ Kosher ต่างๆ จุดเด่นอื่นที่น่าสนใจของประเทศแคนาดาด้านการค้า และการลงทุน มีดังนี้

  • เป็นประเทศที่เปิดเสรีทางการค้าและโปร่งใสมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก รวมทั้งยังเปิดกว้างให้ชาวต่างชาติ โยกย้ายถิ่นฐานเข้าไปอาศัยในประเทศ จึงเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายผสมผสานกัน (Mosaic Economy)
  • แคนาดาเป็นประเทศที่มีมาตรการการค้าที่เสรีและโปร่งใสมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
  • ชาวแคนาดาโดยมากรู้จักประเทศไทย และมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปไทยมากขึ้นทุกปี ทำให้สินค้าไทย และความเป็นเอกลักษณ์ไทย เป็นที่แพร่หลายในแคนาดามากขึ้นเรื่อยๆ
  • ประเทศแคนาดามีประชากรที่มีระดับการศึกษาค่อนข้างสูง โดยรัฐบาลแคนาดาจัดสรรงบประมาณ เป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก (วัดสัดส่วนจาก GDP) เพื่อใช้พัฒนาระบบการศึกษาในประเทศ (ข้อมูลจาก Industry Canada)
  • แคนาดาถูกจัดเป็น "The best Place to Invest and do business" ในกลุ่ม G7 ข้อมูลจากหน่วยงาน Economic Intelligence Unit's Global Ranking โดยพิจารณาจากอัตราค่าครองชีพ ลักษณะประชากร เสถียรภาพทางการเมือง และการธนาคาร อัตราภาษี และอัตราการเจิรญเติบโตทางเศรษฐกิจ

แคนาดาตะวันตก (แบ่งเป็น 4 เขตมณฑลหลัก ได้แก่ มณฑลบริติชโคลัมเบีย มณฑลแอลเบอร์ตา มณฑลซัสแคตเชวาน และมณฑลแมนิโทบา) มีจุดเด่นเฉพาะที่เป็นโอกาสแก่ผู้ประกอบการ/ นักลงทุนไทย ดังนี้

1. แคนาดาตะวันตกเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ โดยมีก๊าซธรรมชาติ และแหล่งน้ำมันดิบขนาดใหญ่ระดับโลก (มณฑล Alberta, Manitoba และ Saskatchewan) ทองคำ ถ่านหิน เหล็ก นิเกิ้ล โปแต๊ซ ยูเรเนียมและสังกะสี ตลอดจนป่าไม้ เยื่อกระดาษ และสินค้าเกษตรกรรมหลายประเภท ดังนั้น ภาคตะวันตกจึงมีจุดเด่นด้านการวิชาการ ค้นคว้าวิจัย พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้ ระฐบาลทะงส่วนกลางแลัส่วนมณฑล มีนโยบายสนะบสนุน บริษะทเอกชนที่มีแนวคิด/ โครงการด้านดะงกล่าวทุกปี ภาคธุรกิจที่อาจเป็นโอกาสแก่ผู้ประกอบการ/ นักลงทุนไทยในการเชื่อมโยงด้านความร่วมมือ มีดังนี้

1.1 การลงทุนด้านศูนย์วิจัยประเภท Research & Development (R&D)

  • ธุรกิจ R&D ในแคนาดาแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การค้นคว้าด้าน Natural Science & Engineering และด้าน Social Science & Humanities โดยในปี 2551 มูลค่าการลงทุนด้าน R&D ในแคนาดาประมาณ 2.89 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นการลงทุนด้าน Natural Science & Engineering 2.67 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ และด้าน Social Science & Humanities 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

1.2 การลงทุนด้านธุรกิจที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม (Cultural Business)

  • รัฐบาลส่วนมณฑล โดยมากจะมีเงินทุนสนับสนุนด้าน Diversity Support & Grants แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแต่ละเขต นักลงทุนต้องติดต่อและกรอกแบบฟอร์มเสนอรายละเอียดการลงทุนของตนเป็นรายกรณีไป

1.3 การลงทุนด้านการเพาะปลูกอาหาร Organic

  • แคนาดามีผู้ประกอบการในลักษณะ Producer ด้านอาหาร Organic ประมาณ 3600 ราย มีพื้นที่เพาะปลูกอาหาร Organic ประมาณ 5.3 แสนเฮคเตอร์
  • ธุรกิจอาหาร Organic ในแคนาดามียอดขายประเภท Annual Retail Sales ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

1.4 ธุรกิจภาคอื่นๆ อาทิ: อุตสาหกรรมด้าน เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology Industries)/ ภาคการสำรวจพลังงาน ( Extraction of Energy Industry)/ ธุรกิจด้าน Bio-Solution ในมณฑลอัลเบอร์ต้า/ ธุรกิจด้านการจัดการด้านสุขภาพการลงทุนด้านธุรกิจพลังงานในมณฑล Saskatchewan เป็นต้น

2. การเป็นประตูสู่เอเชียแปซิฟิก (Gateway to Asia Pacific): ท่าเรือ Port of Vancouver เป็นท่าเรือ ที่มีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือ เนื่องจากเป็นท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ มีกำลัง Storage Capacity มหาศาล และเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายหลัก ตลอดจนเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างทวีป (Intercontinental Railway) ทั้ง 3 สาย ทั้งนี้ Port of Vancouver ยังเป็นจุดที่ เชื่อมเอเชียแปซิฟิก กับทวีปอเมริกาเหนือที่ใกล้ที่สุด โดยการขนส่งทางทะเลนั้นใช้เวลาเพียง 24 วัน (เร็วกว่าขนส่ง เอเชียแปซิฟิก-อเมริกา ถึง 2-3 วัน) สำหรับในฝั่งตะวันออกของประเทศ ท่าเรือที่สำคัญคือ Port of Halifax ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญท่าเรือน้ำลึกอื่นๆ ในประเทศได้แก่ Port of Alberni, Port of Prince Rupert และ Crofton (การขนส่งทางรถไฟ-รถบรรทุก: ใช้ขนย้ายสินค้าจากท่าเรือ Port of Vancouver กระจายสินค้าไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศ ทั้งนี้ การขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุกระหว่างประเทศแคนาดาไปยังสหรัฐอเมริกา-เม็กซิโกนั้น นิยมใช้การขนส่งทางบก เพื่อลดต้นทุนสินค้า)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ