ช่องทางการตลาดของสินค้าเชื้อเพลิงชีวภาพผสมเอธานอลจากน้ำตาลในประเทศบราซิล เม็กซิโก และอเมริกากลาง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 26, 2010 16:49 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การผลิตเอธานอลในประเทศบราซิล

ประเทศบราซิลและสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตเอธานอลสำคัญของโลก โดยการผลิตเอธานอลของสองประเทศนี้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 90 ของการผลิตโลก โดยในปี 2552 บราซิลมีผลผลิตเอธานอลปริมาณ 24.9 พันล้านลิตร เทียบเท่ากับร้อยละ 34 ของปริมาณเอธานอลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งหมดทั่วโลก และเป็นผู้ส่งออกเอธานอลสำหรับเชื้อเพลิงอันดับหนึ่งของโลก บราซิลส่งออกเพียงร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งหมด แต่การส่งออกเอธานอลของบราซิลมีสัดส่วนในตลาดโลกประมาณร้อยละ 60 แบในปี 2550 การส่งออกเอธานอลของบราซิลเท่ากับ 1.4 พันล้านเหรียญฯ ตลาดส่งออกสำคัญได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพ และญี่ปุ่น

ประเทศอเมริกากลางบางประเทศนำเข้าเฮธานอลจากบราซิลเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ เนื่องจากได้รับสิทธิพิเศษภายใต้ความตกลง Caribbean Basin Initiative ซึ่งยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสสำหรับเอธานอลที่นำเข้าจากประเทศอเมริกากลางและแคริเบียน ในปี 2550 สหรัฐฯ ได้นำเข้าเอธานอลภายใต้ระบบโควต้าดังกล่าว ปริมาณ 245 ล้านแกลอน

ประเทศบราซิลใช้พื้นที่เพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดเพื่อการผลิตอ้อย เท่ากับพื้นที่ 3.6 ล้านเอกเตแร์ ประมาณครึ่งหนึ่งของผลผลิตอ้อยเป็นวัตถุดิบป้อนเข้าอุตสาหกรรมเอธานอล และกำลังการผลิตเอธานอลจากอ้อยเท่ากับ 7,500 ลิตรต่อเฮกเตอร์ ซึ่งมีความแข่งขัน เป็นสองเท่าของผลผลิต การใช้พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดในสหรัฐฯ อมเริกา 3,000 ลิตรต่อเฮกเตแร์

บราซิลถือว่า เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาการใช้เอธานาอลเป็นเชื้อเพลิง โดยได้ริเริ่มมาตราการสนับสนุนการผลิตตั้งแต่ช่วงปี 2513 มีการบังคับการใช้ส่วนผสมเอธานอลในเชื้อเพลิงร้อยละ 20-25 อันเป็นผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการผลิตเครื่องยนต์ โดยในสิ้นปี 2551 มีรถยนต์ที่ให้เชื้อเพลิงผสมวิ่งในท้องถนนเท่ากับ 9.35 ล้านคัน และมอเตอร์ไซค์ที่ใช้เชื้อเพลิงผสมอีก 183,300 คัน ปัจจุบันได้มีการคลี่คลายมาตรการอุดหนุนและสนับสนุนโดยตรง และใช้มาตรการสนับสนุนทางอ้อมแทน เช่น การลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ที่ซื้อรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงผสมเอธานอล การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับการก่อสร้างโรงกลั่น และการตั้งศูนย์การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตน้ำตาลจากอ้อยและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเอธนอลจากน้ำตาล เป็นต้น ในปัจจุบันรถยนต์ทุกคันในประเทศบราซิลใช้เชื้อเพลิงผสมทั้งหมด เทคโนโลยี ได้พัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์มีรถที่ได้เชื้อจากเอธานอลเกีอบร้อยเปอร์เซ็นต์และไม่มีส่วนผสมน้ำมันเลยเรียกว่าเครื่องยนต์ E100 ส่วนรถยนต์ประเภท E85 ที่ใช้ส่วนผสมเอธานอล 15 เปอร์เซ็นต์ เริ่มเป็นที่นิยมแพร่กระจายไปถึงตลาดในทวีปยุโรป

อุตสากหรรมเอธานอลจากน้ำตาลของบราซิลมีประสิทธิภาพมากกว่าการผลิตเอธานอลจากข้าวโพดของสหรัฐฯ ต้นทุนการผลิตเอธานอลต่อลิตรเท่ากับ 22 เซ็นต์เมื่อเทียบกับ 30 เซ็นต์ของสหรัฐฯ แพงกว่าร้อยละ 30

สหรัฐฯ ผู้บริโภคเอธานอลอันดับหนึ่งของโลก

สหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตเอธานอลสำหรับเชื้อเพลิงอันดับหนึ่งของโลก โดยแต่ในปี 2552 มีผลผลิตปริมาณ 10.75 พันล้านแกลอน เที่ยบเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 55 ของการผลิตเอธานอลเชื้อเพลิงของโลก แต่ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ เป็นผู้บริโภคเอธานอลมากที่สุดในโลกเช่นกัน มีการใช้เอธานอลผสมเชื้อเพลิงในตลาดพลังงานของสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ3 ส่วนใหญ่เป็นเอธานอลที่ผลิตมาจากข้าวโพด เมื่อต้นปี 2553 สหรัฐฯ มีกำลังการผลิตเอธานอลเท่ากับ 14.46 พันล้านแกลอน มีการเปิดโรงงานผลิตใหม่ 16 แห่ง และกำลังการผลิตเพิ่ม 1.4 พันล้านแกลอน อันมีผลให้ปัจจุบันมีโรงงานผลิตเอธานอลในสหรัฐฯ เท่ากับ 189 โรงงานกระจายในพื้นที่ 29 รัฐ องค์กรพลังงาน EIA คาดว่าความต้องการบริโภคเอธานอลเชื้อเพลิงจะขยายไปถึง 11.2 พันล้านแกลอนภายในปี 2555

สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าเอธานอลในอัตรา 54 เซ็นต์ต่อแกลอน

แผนการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในภูมิภาคละตินอเมริกา

ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกาใต้และกลางหลายประเทศ ได้ริเริ่มหรือกำลังวางแผนการผลิตพลังงานชีวภาพแห่งชาติประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ประเทสอาร์เจรตินา คอสตาริกา โคลัมโบ เอลซาวาดร์ ฮอนดูรัส จาไมคา เม็กซิโก นิคารากัว ปารากวัย เปรู อุรุกวัย และเวเนซูเอลา เป็นต้น

ประเทศโคลัมเบีย ถือว่าเป็นประเทศทีมีแผนงานเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพที่ก้าวหน้าที่สุดหลังจากประเทศบราซิล โคลัมเลียได้กำหนดบังคับให้ใช้ส่วนผสมเอธานอลในน้ำมันในอัตราร้อยละ 10 เมื่อปี 2548 และมีเป้าหมายที่จะบรรลุอัตราส่วนผสมร้อยละ 25 ในปี 2553 ส่วนน้ำมันดีเซลทั้งหมดต้องใช้ส่วนผสมเอธานอลร้อยละ 5 ในบางภูมิภาคตั้งแต่ปี 2551

ประเทศเม็กซิโก ได้กำหนดแผนงานการเพิ่มการผลิตเอธานอลจากอ้อยตั้งแต่ปี 2550 โดยได้มีการออกกฏหมายการส่งเสริมการใช้เอธานอลผสมน้ำมัน โดยมีเป้าหมายบังคับการใช้ส่วนผสมเอธานอลในน้ำมันในอัตราร้อยละ 10 ในปี 2555 ในเมืองใหญ่สำคัญ ๆ อันได้แก่ Guadalajara Monterrey และ Mexico City ซึ่งต้องพัฒนาความสามารถในการผลิตเอธานอลได้ 412,000 คิวบิกเมตรต่อปี โดยรัฐบาลเม็กซิโกได้สนับสนุนโครงการลงทุนทดลองการผลิตเอธานอลจากอ้อยใน รัฐ Vera Cruz, Oaxaca, Puebla, Morelos, San Luis Potosi, Jalisco, Michoacan, Colima และ Nayarit

ประเทศกัวเตมาลา ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำตาลสำคัญในภูมิภาคละตินฯ ได้ออกกฏหมายเพื่อการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับพลังงานทดแทน เพื่อการยกเว้นภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเครื่องจักรที่นำเข้าเพื่อการผลิตพลังงานทดแทน และยดเว้นการเสียภาษีรายได้ 10 ปี สำหรับผู้ลงทุนด้านพลังงานทดแทน มุ่งหวังการส่งออกเอธานอล

ประเทศฮอนดูรัส ได้ส่งเสริมให้มีการเพิ่มการผลิตน้ำตาลเพื่อป้อนโรงงานผลิตเอธานอล 2 แห่งที่มีอยู่

ประเทสคอสตาริกาได้กำหนดเป้าหมาย การทดแทนการนำเข้าน้ำมันให้ได้ร้อยละ 7 โดยการเพิ่มการใช้เอธานอลผสม

ประเทศเอลซาวาดอร์ ใช้สิทธิพิเศษเพื่อทำการผลิตเอธานอลเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ ในปริมาณ 1.3 ล้านแกลอนต่อปี

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ