ในช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค. — มี.ค) ของปี 2553 ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้นมูลค่า 451.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 331.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 36.01 โดยมีสินค้าส่งออกสาคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ 60.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (+32.82%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 57.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (+92.25%) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 30.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (+65.98%) ยางพารา 29.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (+197.81%) ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง 21.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (-2.79%)
การส่งออกมาอิตาลีในช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค. — มี.ค.) ของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.01 แต่หากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือนมี.ค. 53 จะเห็นว่าการส่งออกลดลงเล็กน้อยคือ — 4.06 % เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก
2.1 ขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีโดยทั่วไปอยู่ในภาวะทรงตัวหลังจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2552 เป็นต้นมาโดย ISAE ได้รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคการผลิตในเดือนมี.ค 53 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 84 จุดในเดือนก.พ 53 เป็น 84.1จุด ในขณะที่ความหวังด้านคาสั่งซื้อมีพอประมาณรวมทั้งการผลิตที่ยังคงทรงตัว และสินค้าคงคลังมีปริมาณต่ากว่าระดับปกติ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมี.ค 53 ได้ลดลงจากเดือนก.พ 53 (107.7จุด) เป็น 106.3 จุด
2.2 ผู้ประกอบการและผู้บริโภคอิตาลียังคงชะลอการสั่งซื้อ เพื่อรอผลการพิจารณาของรัฐบาลในการออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสาหรับปี 2553 ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และเครื่องจักรอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นต้น
2.3 นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้จัดจาหน่าย ( distributor ) ในเดือนมี.ค 53 ยังคงเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านยอดจาหน่าย และการสั่งซื้อ โดยเฉพาะในกลุ่มโมเดิร์นเทรด ในขณะที่กลุ่มร้านค้าปลีกขนาดเล็กกลับลดลง
2.4 ทั้งนี้ สามารถวิเคราะห์แยกรายสินค้าที่สาคัญดังนี้
2.4.1 ยางพารา
การส่งออกในช่วง 3 เดือนแรก(ม.ค.- มี.ค) ของปี 2553 มีมูลค่า 29.2 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 197.81 เนื่องจาก
(1) เป็นการเปรียบเทียบการส่งออกช่วง 3 เดือนแรกของปี 2553 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นช่วงแรกๆของการเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีหากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือนมี.ค 53 จะเห็นได้ว่าไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น 10.39% จากเดือนก่อนหน้า
(2) อุตสาหกรรมที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ยังคงได้รับผลทางบวกจากมาตรการช่วยเหลือ Cash for clunkers ของรัฐบาลซึ่งได้ขยายเวลาออกไปจนถึงเดือนมี.ค. 53 สาหรับรถยนต์ที่ได้สั่งซื้อภายในธ.ค 52
(3) ราคายางรถยนต์ ( pneumatics ) ในอิตาลีได้เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามัน และการที่ราคายางธรรมชาติในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 4.10 เหรียญสหรัฐ/กิโลกรัม หรือ + 164% มีผลให้ความต้องการเพิ่มสูงขึ้นและคาดว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงช่วงฤดูร้อน
(4) ไทยครองตลาดอันดับที่ 1 (สัดส่วนตลาด 33.43% )โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ( 20.75%) โคดิวัวร์( 12.76%) มาเลเซีย ( 9.16%) และเวียดนาม( 7.93%)
2.4.2 รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ
การส่งออกในช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค. — มี.ค) มีมูลค่า 30.2 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 18.2 ล้านเหรียญฐสหรัฐคิดเป็นร้อยละ + 65.98 เนื่องจาก
(1) เป็นการเปรียบเทียบระหว่างช่วง 3 เดือนแรกของปี 53 กับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งไทยมีการส่งออกลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ดีหากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือนมี.ค 53 ปรากฏว่าไทยส่งออกลดลงถึง — 44.36% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่มีอัตราการขยายตัวถึง 346.58% ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลอิตาลีได้พิจารณาไม่ต่ออายุมาตรการช่วยเหลือ Cash for clunker ที่เคยช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ซื้อรถยนต์คันใหม่ในปี 2553 แล้วอย่างไรก็ดี รัฐบาลได้ขยายอายุมาตรการดังกล่าวให้คลอบคลุมถึงสิ้นเดือนมี.ค.53 นี้ด้วย
(2) จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติ ณ เดือนมี.ค 53 มียอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่จานวน 258,598 คัน เพิ่มขึ้น + 28.32% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าในขณะที่ยอดคาสั่งซื้อในช่วง 3 เดือนแรกของปี 53 ลดลงถึง -30% หรือคิดเป็นจานวน 452,000คัน (ม.ค — มี.ค. 52 มีจานวน 642,000คัน) และคาดว่าในปี 2553 จะมียอดคาสั่งซื้อประมาณ 1.5 ล้านคัน
(3) ตลาดรถยนต์ที่มีแนวโน้มที่ดีคือรถยนต์ประเภท ecological cars โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้ LPG ซึ่งมีการอัตราการเจริญเติบโต ในช่วง 3 เดือนแรกของปี53 ถึง + 31 %
(4) ไทยครองตลาดอันดับที่ 23 (สัดส่วนตลาด 0.23 % ) โดยประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด 31.47%) ฝรั่งเศส (13.74%) สเปน ( 12.02%) โปแลนด์ ( 10.04%) และตุรกี (6.10%)
ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ ญี่ปุ่น (3.16%) จีน (1.63%) เกาหลีใต้ ( 1.39%) และอินเดีย ( 1.98%)
2.4.3 เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์
การส่งออกในช่วง 3 เดือนแรก (ม.ค. — มี.ค) ของปี 2553 มีมูลค่า 14.1 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 8 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ + 75.54 เหตุผลเนื่องจาก
(1) โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่เช่น โครงการก่อสร้างทางหลวงระหว่างซาเลอโนกับเรจจิโอ-คาลาเบรีย การก่อสร้างสะพานเชื่อมระหว่างคาลาเบรียกับเกาะซิซิลี การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงระหว่างเนเปิลกับบารี รวมทั้งมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมก่อสร้างของรัฐบาลตามโครงการ In House Plan ซึ่งมีผลตั้งแต่ต.ค 53 เป็นต้นมาทาให้ความต้องการใช้เหล็กเพิ่มสูงขึ้น
(2) นอกจากนี้ ในปี 2553 รัฐบาลยังได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร รถเทรลเลอร์และเครนที่ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและเครื่องเรือน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นวัตถุดิบ
(3) แนวโน้มของตลาดเหล็กในอิตาลีสาหรับอุตสาหกรรมก่อสร้าง ( ใช้เหล็กร้อยละ 60 ของปริมาณการใช้รวม) เริ่มกระเตื้องขึ้น และเหล็กชนิดสแตนเลสที่ใช้ในการผลิตสินค้าเครื่องครัวมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเล็กน้อย คาดว่าในปี 2553 อุตสาหกรรมเหล็กจะมีการฟื้นตัวดีขึ้นราว + 12.4 %
(4) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 43 (สัดส่วนตลาด 0.15%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ เยอรมัน(10.57%) ฝรั่งเศส ( 7.74%) รัสเซีย( 8.28%) ยูเครน( 7.57%) และเกาหลีใต้(6.80%)
ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ เกาหลีใต้( 3.27%) จีน( 4.97%) อินเดีย( 3.35%) ไต้หวัน( 2.19%) ญี่ปุ่น( 0.94%)
2.4.4 เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
การส่งออกในช่วง 3 เดือนแรก( ม.ค. — มี.ค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 9.9 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 3.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ + 231.17 เนื่องจาก
(1) เป็นสินค้าที่คนอิตาลีถือว่าเป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานและจาเป็นต้องมี โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือซึ่งประชากรอิตาลีที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไปจะต้องมีอย่างน้อย 1 เครื่อง และมากกว่า 50 % ที่จะต้องมีไว้เกินกว่า 1 เครื่อง ทั้งนี้ในปี 2552 ยอดจาหน่ายมือถือในอิตาลีมีจานวนถึง 180 ล้านเครื่อง และคาดว่าในปี 2553 จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 500 ล้านเครื่อง
(2) เป็นสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านราคาและนวัตกรรมใหม่ๆที่ค่อนข้างรวดเร็ว ซึ่งมีผลให้คนอิตาลีตัดสินใจซื้อง่ายโดยเฉพาะรุ่นใหม่ๆ ที่มีราคาไม่แพง
(3) สินค้าโทรศัพท์มือถือที่มีแนวโน้มที่ดีในตลาดขณะนี้คือ สมาร์ทโฟน ( smartphones ) โดยเฉพาะแบล็คเบอรี่และไอโฟน มีอัตราขยายตัวถึง + 11% เนื่องจากสามารถใช้งานได้สะดวกรวดเร็วทั้งการเชื่อมต่อเว็บไซด์ การส่งอีเมล์ การถ่ายรูปและการใช้งานอื่นๆ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ในระดับกลาง และสินค้าจะมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 400 ยูโรขึ้นไป
(4) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 12 (สัดส่วนตลาด 0.97%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ เนเธอร์แลนด์ (สัดส่วนตลาด 27.17 %) จีน ( 17.56%) สวีเดน( 13.98%) สหราชอาณาจักร( 8.32%) และเยอรมัน ( 5.86%) ประเทศคู่แข่งสาคัญได้แก่ เกาหลีใต้ (3.15%) ไต้หวัน( 0.84%) ญี่ปุ่น ( 0.75%) มาเลเซีย ( 0.45%) ฟิลิปปินส์ ( 0.22%) และอินโดนีเซีย ( 0.04%)
3.1 คาดว่าในปี 2553 เศรษฐกิจอิตาลีจะฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆแต่ยังคงมีความเสี่ยงจากปัญหาการว่างงานและหนี้สาธารณะที่ค่อนข้างสูง ผู้บริโภคยังคงไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจของประเทศจากปัญหาการว่างงานที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น โดยรัฐบาลอิตาลีได้คาดการณ์สภาวะเศรษฐกิจในปี 2553 ดังนี้
- GDP Growth = 1.1 % ( ปี 2554 = 2 % )
- การขาดดุลงบประมาณ = 5 % ( ปี 2554 = 3.9%)
- หนี้สาธารณะ = 116.9%
3.2 การที่รัฐบาลอิตาลีได้พิจารณาออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ารวม 420 ล้านยูโร โดย 300 ล้านยูโร ในปี 2553 ซึ่งเป็นมาตรการจูงใจสาหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ( Green Home Improvement ) รถจักรยานยนต์และรถสกู๊ตเตอร์ที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ( Cleaner Motorbikes ) เครื่องใช้ไฟฟ้า ( Home Appliance ) และเครื่องครัว ( Modular kitchen )การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและบริษัทก่อสร้างเพื่อให้ได้เครื่องมือและอุปกรณ์ในราคาที่ถูก การจัดสรรเงินเพื่อปรับปรุงท่าเรือและให้ความช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมการบิน การให้ Voucher แก่ประชาชนรุ่นหนุ่มสาวเพื่อให้สามารถใช้ระบบอินเตอร์เน็ตได้ทั่วถึง เป็นต้น โดยมาตรการดังกล่าวจะเริ่มใช้บังคับในวันที่ 15 เม.ย 53 ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอิตาลีโดยรวม โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้มีอัตราการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและเพิ่มคาสั่งการซื้อของผู้บริโภคได้มากขึ้น
3.3 สินค้าที่คาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดีในตลาดอิตาลี ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรทัศน์ โทรศัพท์และอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนและเครื่องครัว อุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงาน เครื่องมือในการก่อสร้างและ เครื่องจักร เหล็ก ซึ่งอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่รัฐบาลอิตาลีได้ออกมาตรการเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจกาลังซื้อในประเทศ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th