ฮอนดาตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปตลาดโลก ขณะที่การผลิตในอินเดียจะเน้นตลาดในประเทศที่มีขนาดใหญ่
นายฟูมีฮิโกะ ไอเกะ ประธานและ CEO ของ Asian Honda Motor กล่าวว่าในปัจจุบัน ฮอนดาจะเน้นรถขนาดเล็กสำหรับทั้งสองประเทศจนถึงปลาย 2011 จึงจะมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธในตลาดทั้งสองประเทศที่ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นตลาดที่เล็กกว่า แต่ฮอนดาจะใช้ไทยเป็นฐานสำคัญเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนและบางส่วนของยุโรป
ฮอนด้าได้ตั้งโรงงานแห่งที่สองในประเทศไทยเมื่อปี 2552 อย่างไรก็ตามการผลิตยังคงต่ำกว่ากำลังการผลิตที่แท้จริง(ประมาณ 50%) เนื่องจากเศรษฐกิจโลกถดถอยส่งผลกระทบต่อธุรกิจในตลาดส่งออกหลายประเทศ ปัจจุบันประเทศเหล่านี้เริ่มแสดงสัญญาณของการฟื้นตัว ฮอนด้าจึงได้เพิ่มการผลิตไทยในไทยให้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้นประเทศไทยจึงยังคงความสำคัญกว่าอินเดียต่อฮอนดาในการเป็นฐานส่งออกไปทั่วโลก
นายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไน-อินเดียรายงานว่า แม้ว่าฮอนด้าได้ตั้งโรงงานแห่งที่สองในอินเดียที่ราชาสถานเพื่อเป็นฐานผลิตใหญ่แทนที่โรงานที่เมืองนอยดาชานกรุงนิวเดลี แต่เมื่อตลาดโลกกำลังชะลอตัว ฮอนดาได้ตัดสินใจที่จะชะลอการผลิตที่ราชาสถานไว้ก่อนและตัดสินใจที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้เต็มที่ที่นอยดา นอกจากนั้น ความตกลง AFTA ที่กำลังจะกลายเป็นประชาคมอาเซียนก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ฮอนดาเลือกประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้ฮอนดาสามารถแข่งขันในด้านต้นทุนในตลาดอาเซียนและยุโรปได้มากขึ้น ดังนั้น การผลิตในอินเดียจะเน้นตลาดในประเทศเป็นหลัก ส่วนไทยจะเป็นฐานในการส่งออกไปตลาดโลกสำหรับประเทศที่ยังมีศักยภาพ
กลยุทธ์ที่ใช้ในอินเดียจะเน้นตลาดรถยนต์ขนาดเล็ก ขณะที่ฮอนดาในไทยจะเน้นอีโคคาร์ ซึ่งตามนโยบายของไทยจะต้องสามารถใช้น้ำมัน 20 กิโลเมตร/ต่อลิตรถึงจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษี ซึ่งนั้นหมายถึงจะต้องลดน้ำหนักรถให้น้อยลง เช่นการใช้โลหะน้ำหนักเบาหรือใช้พลาสติกแทนในบางส่วน ทั้งนี้ฮอนดาคาดว่าจะผลิตในช่วงปีแรกๆ 4 หมื่นคันต่อปี และเพิ่มเป็น 100,000 คันในที่สุดตามนโยบายของไทย โดยจะเน้นตลาดอาเซียนเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ฮอนดามองว่า ตลาดอินเดีย จีน และบราซิลจะเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับฮอนดาในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากตลาดญี่ปุ่นเริ่มหดตัว ขณะที่ตลาดสหรัฐและอียูกำลังปรับกระบวนทัศน์ใหม่ต่อการค้าโลกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำตลาดของฮอนดา
“ปัจจุบันตลาดอินเดียมีซูซูกิเป็นผู้นำตลาดโดยมีส่วนแบ่งตลาด 55% รองลงมาเป็นฮุนได 18% และทาทา 13% ซึ่งทั้งสามบริษัทล้วนเน้นรถเล็กทั้งสิ้น ขณะที่ฮอนดามีส่วนแบ่งตลาดเพียง 4% ซึ่งเน้นตลาดรถเล็กเช่นกัน
ที่มา: http://www.depthai.go.th