รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 1-15 พฤษภาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 31, 2010 16:06 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. การค้าเฟอร์นิเจอร์ในสิงคโปร์เติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการเฟอร์นิเจอร์ของ Integrated Resorts (IRs) และคาสิโน 2 แห่งในสิงคโปร์ คือ Sentosa World Resort และ Marina Bay Sands Resort บริษัทท้องถิ่นนอกจากได้รับสัญญามูลค่าหลายพันล้านเหรียญสิงคโปร์ ยังทำให้มีชื่อเสียงในการขยายตลาดไปยังภูมิภาคเอเชีย บริษัทสำคัญๆ ได้แก่ Sitra Holding (wood-based products) ได้รับสัญญามูลค่า 3.24 ล้านเหรียญสิงคโปร์, Cheng Meng Furniture (outdoor furniture) ได้รับสัญญามูลค่าเกือบ 40 ล้านเหรียญฯ, Abitex Design (upholstery) ได้รับสัญญามูลค่า 1.5 ล้านเหรียญฯ อนึ่ง ในปี 2552 กลุ่มธุรกิจเพื่อการพักผ่อนในสิงคโปร์ มีมูลค่าถึง 500 ล้านเหรียญฯ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์มีการเติบโตเพิ่มขึ้น

2. กลุ่มการขนส่งสินค้า coal, iron ore และ steel มีอนาคตสดใส และมีผลกำไรรวดเร็วกว่าการขนส่งสินค้าชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะการขนส่งไปยังตลาดจีน ซึ่งมีโครงการสร้างทางรถไฟ ทางหลวง และการสร้างเพื่อพัฒนาผังเมือง การนำเข้า iron ore และ coal ของจีนในปี 2552 มีปริมาณ 620 และ 120 ล้านตัน ตามลำดับ คาดว่าในปี 2553 จะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น อนึ่ง Matitime and Port Authority of Singapore ได้รับรางวัล Port Authority ส่วน PSA ได้รับรางวัล Terminal Operator

3. รองนายกรัฐมนตรีฯเป็นผู้นำ Productivity Council - Mr. Teo Chee Hean รองนายกฯ ได้วางนโยบายเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมสำคัญ 12 กลุ่ม เนื่องจากทั้ง 12 กลุ่มนี้รวมกันเป็นภาคการผลิตที่มีการจ้างงานครึ่งหนึ่งของจำนวนการจ้างงานรวมในสิงคโปร์ และส่งผลร้อยละ 40 สู่การเติบโตของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ทั้ง 12 กลุ่ม จะวางแผนการในการดำเนินการเพื่อให้พัฒนาผลผลิตให้เพิ่มขึ้น ซึ่งได้วางเป้าหมายการเพิ่มผลผลิตไว้ร้อยละ 2-3 ต่อปี ในช่วงระยะ 10 ปีข้างหน้าภาคอุตสาหกรรม 12 กลุ่ม ได้แก่ การก่อสร้าง 1) Electronics, 2) Precision Engineering, 3) Transport Engineering, 4) General Manufacturing, 5) Retail, 6) food and Beverage, 7) Hotel, 8) Health Care, 9) Infocommunication, 10) Logistics and Storage, 11 ) Administrative และ 12) Support Services

4. การคาดหวังธุรกิจในช่วง 6 เดือนข้างหน้า (พค.-กย.) ปี 2553 หน่วยงาน Economic Development Board (EDB) และ Department of Statistics (DOS) ได้ทำการสำรวจ (ระหว่าง มีค.-เมย. 2553) การคาดหวังธุรกิจจากบริษัทอุตสาหกรรมการผลิต 400 ราย และธุรกิจบริการ 1,400 ราย ตามลำดับ ปรากฎผลว่า ร้อยละ 29 คาดว่า อุตสาหกรรมการผลิตดีขึ้น ร้อยละ 60 คาดว่า จะอยู่ในระดับเดิม ทั้งนี้ จากการที่เศรษฐกิจโลกค่อยฟื้นตัวขึ้น ส่งผลดีในภาพรวมให้แก่กลุ่มการผลิตในวงการอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งร้อยละ 44 ในกลุ่มอิเล็คทรอนิกส์ คาดว่า ธุรกิจจะดีขึ้นเนื่องจากความต้องการอิเล็คทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์สำหรับ infocommunication จากทั่วโลก ในส่วนธุรกิจบริการ ปรากฎผลว่า ร้อยละ 36 คาดว่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะสาขาการบริการทางการเงิน ส่วนร้อยละ 18 ในสาขาธุรกิจค้าปลีก คาดว่า ยังอยู่ในระดับเดิม

5. การจ้างงานในสิงคโปร์ เมื่อถึง ณ มีค. 53 หน่วยงาน Ministry of Manpower ประมาณการจำนวนการจ้างงานรวม 3,024,000 อัตรา โดยแบ่งออกเป็นภาคการผลิต 545,900 อัตราภาคการก่อสร้าง 384,200 อัตรา และภาคธุรกิจบริการ 2,072,000 อัตรา คิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงรวมร้อยละ 3.4 (ช่วง มค.-มีค 53 เทียบกับ มค.- มีค. 52) แบ่งออกเป็น ร้อยละ 3.4 (ภาคการผลิต), -0.8 (ภาคการก่อสร้าง) และ 21.2 (ภาคธุรกิจบริการ)

6. ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการจับจ่าย จากการสำรวจของ Nielsen Global Consumer Confidence Index ปรากฎว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการจับจ่ายมีอัตราเพิ่มขึ้น 11 index points โดยเฉพาะในไต้หวัน สำหรับสิงคโปร์อยู่ที่ระดับ 107 points รองจาก อินเดีย (127), อินโดนีเซีย (116), นอรเวย์ (115), ฟิลิปปินส์ (111), ซาอุดิอาระเบีย (108) และจีน (107)

7. ผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองในไทยต่อบริษัทสิงคโปร์ที่ดำเนินธุรกิจในไทย ซึ่งหนังสือพิมพ์ The Straits Times ได้ลงข่าวเกี่ยวกับบริษัทสิงคโปร์มีแผนการที่จะย้ายบริษัทจากประเทศไทย เนื่องจากสภาวะทางการเมืองทำให้รายได้ของ บริษัทลดลง ได้แก่ บริษัท 1-O & YT (Semiconductor), Goodrich Global (Wallpaper and furnishings), The Ascott and Banyan Tree Holdings (Hospitality) ทั้งนี้ ยกเว้น ธนาคาร 3 แห่ง ที่ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก คือ OCBC , UOB และ DBS

ข. การลงทุนในประเทศ

1. บริษัท Panasonic Electronic Devices (PED) ภายใต้ Panasonic ของญี่ปุ่น ประกาศการจัดตั้งศูนย์ R&D มูลค่า 20 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในสิงคโปร์ ณ เขต Bedok โดยมุ่งเน้นการพัฒนา ค้นคว้าวิจัยในขอบเขตของ electronic devices ใช้ในทางการแพทย์ (ที่รู้จักในชื่อของ bioelectronics) สิ่งแวดล้อม (green electronics) และอุปกรณ์สำหรับการใช้พลังงานอย่างรักธรรมชาติคาดว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า PED จะสามารถเพิ่มนักวิจัยจากเดิม 29 ราย ให้เป็น 50 ราย ในการนี้ จะส่งผลให้สิงคโปร์เป็นศูนย์ R&D ที่สำคัญในภูมิภาค

2. บริษัท Shell เปิด Chemical Complex มูลค่า 4 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ณ เขต Palau Bukom กับ Jurong Island (connected by sub-sea pipelines) เพื่อการผลิตเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในเกือบทุกสาขาการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เป็นโครงการใหญ่ที่สุดที่บริษัทฯลงทุนในด้าน petrochemical และจะเป็นการยกระดับการส่งเสริมอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในสิงคโปร์ ให้บริษัทผู้ผลิตสำคัญอื่นๆเข้ามาลงทุนต่อไปในอนาคต

3. บริษัท Tasweeq จากกาตาร์จัดตั้งสำนักงานในสิงคโปร์ เป็นบริษัทเกี่ยวกับ Petroleum Marketing ระดับนานาชาติ จัดตั้งสำนักงานสำหรับตลาดนานาชาติ ซึ่งขยายธุรกิจไปสู่ตลาดเอเซียที่เป็นตลาดใหญ่สำคัญมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น บริษัทจึงใช้สิงคโปร์เป็นฐานในการส่งออกสินค้าพลังงานของกาตาร์ เนื่องจากสิงคโปร์มีชื่อเสียงเป็น Oil Trading Hub ในย่านเอเซียแปซิฟิคที่จะเป็นฐานไปสู่ตลาดที่มีการเติบโตได้แก่ จีน อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทฯส่งออกสินค้า liquefied petroleum gas (LPG), Sulphur and refined products และ crude oil

ค. การลงทุนในต่างประเทศ

1. บริษัท SEMBCORP Industries จะกลายเป็นหนึ่งใน 5 อันดับแรกของโลกที่จัดหาน้ำและบริการบำบัดน้ำเสีย เมื่อได้ลงทุนในบริษัท Cascal มูลค่า 289 ล้านเหรียญสิงคโปร์ บริษัท Cascal มีสถานที่เก็บน้ำและบำบัดน้ำเสีย 31 แห่ง ใน 11 ประเทศทั่วโลก บริษัท SEMBCORP เป็นเจ้าของและดำเนินกิจการ 10 แห่ง ในสิงคโปร์ บริเทน จีน สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และโอมาน ทั้งในส่วนชุมชนและภาคอุตสาหกรรม จะทำให้มีรายได้ประมาณ 200 ล้านเหรียญสิงคโปร์ต่อปี

2. ซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice ขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยมีเงินไว้เพื่อการนี้ 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งจะส่งสินค้าไปจำหน่ายที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตในภูมิภาคและเปิดซุปเปอร์มาร์เก็ตของตนเองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในช่วง 5-10 ปี ข้างหน้า ทั้งนี้ ในสิงคโปร์ จะเปิดสาขาอีก 5 แห่ง ภายในเดือนมีนาคม ปี 2554 อนึ่ง ถึงปัจจุบัน FairPrice มีสาขาทั่วสิงคโปร์จำนวน 99 แห่ง รวมทั้ง FairPrice Finest จำนวน 3 แห่ง ทำรายได้ในปีที่ผ่านมา (2552) เป็นเงิน 2.2 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

ง. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์กับ Costa Rica ได้ลงนามข้อตกลง Free Trade Agreement (FTA) ร่วมกัน หลังจากการเจรจาเป็นเวลา 1 ปี นับเป็น FTA ครั้งแรกของ Costa Rica และเป็นครั้งที่ 3 ของสิงคโปร์ที่มีข้อตกลงกับประเทศในอเมริกาใต้หลังจากที่ได้มีข้อตกลงกับ Peru และ Panama ข้อตกลงกับ Costa Rica จะส่งเสริมให้ทั้ง 2 ประเทศมีความสัมพันธ์ทวิภาคีด้านการค้าและการลงทุน สินค้าสำคัญของสิงคโปร์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ ได้แก่ electrical and electronic products, machinery, petrochemical products, steel-related products และ processed food อนึ่ง Costa Rica เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 8 ของสิงคโปร์ในละตินอเมริกา ในปี 2552 มีมูลค่าการค้ารวม 413.7 ล้านเหรียญสิงคโปร์ สินค้าที่สิงคโปร์นำเข้าอันดับต้นๆจาก Costa Rica คือ electrical และ machinery parts ส่วนสินค้าส่งออกอันดับต้นๆ คือ measuring/medical instruments และ raw materials (ยางพารา เป็นต้น)

2. สิงคโปร์กับกัมพูชา Mr. Sok An รองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ เมื่อปลายเดือนเมษายน 2553 และได้เข้าเยี่ยมคารวะ Mr. Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ให้คำมั่นสัญญาในสัมพันธไมตรีอย่างแน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ความร่วมมือทวิภาคี และหารือเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคและระดับนานาชาติ

3. สิงคโปร์กับ Kerala (Indian State) ซึ่งสิงคโปร์จะให้ความช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่จาก Kerala ในการศึกษาอบรมโปรแกรมใหม่ที่จะช่วยให้ภาครัฐพัฒนาการจัดการโครงการสำคัญๆในประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Temasek Foundation (870,000 เหรียญสิงคโปร์) ให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถในการวางนโยบายเพื่อพัฒนาและวางแผนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับสถานที่สำหรับการจัดเก็บน้ำและการบำบัดน้ำเสีย ทั้งนี้ ความร่วมมือที่เริ่มต้นของภาครัฐทั้งสองฝ่ายครั้งนี้ คาดว่า จะส่งผลต่อไปให้เกิดความร่วมมือกันในภาคเอกชนในอนาคต

จ. อื่นๆ

1. International Enterprise (IE) Singapore จัดอบรมการค้า โดยจัด Exporter Development Program ให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมแก่บริษัทที่สนใจเพื่อเปลี่ยนสาขาและขยายธุรกิจการค้า ซึ่งได้จัดอบรมไปแล้วเป็นจำนวน 80 บริษัท ในสาขาต่างๆได้แก่ food and beverage, furniture, fashion and apparel, high-tech in engineering และกลุ่ม infocomm technology หลังจากการอบรม IE Singapore จะช่วยเหลือประสานงานติดต่อผู้ซื้อต่างประเทศและจัดคณะผู้แทนการค้าเยือนต่างประเทศ บริษัทตัวอย่างที่ได้รับความสำเร็จหลังจากการฝึกอบรมและได้ขยายธุรกิจการค้า ได้แก่ บริษัท Maya Corporation ผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน ขยายการค้าสู่ Dubai (เดิมมีลูกค้าในจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม) และบริษัท Gan Hup Lee ส่งออกสินค้า Yamie Rice สู่ตลาดออสเตรเลีย

2. การธนาคารของสิงคโปร์เป็นอันดับที่ 4 ของโลก จากการสำรวจของ Moody’s Investors Service รองจากแคนาดา ออสเตรเลีย และฮ่องกง โดยที่ธนาคารของสิงคโปร์ได้พะยุงตัวผ่านช่วงวิกฤตเศรษฐกิจมาได้เป็นอย่างดี

3. ภาครัฐมีนโยบายเพิ่มอัตราเงินสะสมฝ่ายผู้จ้าง (Central Provident Fund : CPF) โดยจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1 โดยจัดให้เพิ่มเป็น 2 ครั้งๆ ละร้อยละ 0.5 โดยครั้งแรกในเดือนกันยายน 2553 และครั้งที่ 2 ในเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งอัตราการเก็บ CPF คิดตามกลุ่มอายุของพนักงานได้แก่ อายุต่ำกว่า 35 และ 35-50 ปี เก็บร้อยละ 35 (บริษัทจ่ายร้อยละ 15 + พนักงานจ่ายร้อยละ 20), อายุ 50-55 ปี เก็บร้อยละ 29 (11+18), อายุ 55-60 ปี เก็บร้อยละ 20.5 (8+12.5), อายุ 60-65 ปี เก็บร้อยละ 13 (5.5+7.5) และอายุ 65 ปีขึ้นไป เก็บร้อยละ 10.5 (5.5+5)

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-15 พฤษภาคม 2553

1. ติดต่อประสานงานและจัดโครงการส่งเสริมสินค้าไทยในซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice ระหว่างวันที่ 6-19 พฤษภาคม 2553

2. ติดต่อประสานงานและจัดโครงการประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยในสิงคโปร์ ร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศ ณ ซุปเปอร์ มาร์เก็ต FairPrice ระหว่างวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2553

3. ติดต่อประสานงานการจัดประชาสัมพันธ์ข้าว “Thai Rice Festival” ณ บริเวณสถานทูตไทยในสิงคโปร์ วันที่ 16 พฤษภาคม 2553

4. ประสานงานเพื่อ รมต.พณ และคณะฯ เยือนสิงคโปร์ และให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานฯโครงการประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในสิงคโปร์ ณ ซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice และ Rice Festival ณ สถานทูตไทยในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2553

5. ประสานข้อมูลรายละเอียดโครงการ Thailand Trade Exhibition 2010 ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในสิงคโปร์ กำหนดจัดระหว่างวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2553)

6. ประสานงานให้คณะผู้แทน BOI และที่ปรึกษา(ม.ธรรมศาสตร์) เพื่อจัดกิจกรรมชักจูงเชิงรุกและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมาย (การผลิตพลังงานทดแทน การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟแวร์ อุตสาหกรรมบริการ) ในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2553

7. ติดต่อประสานงานการจัดโครงการ Thailand Trade Exhibition 2010 “VivoCity Fashion Showcase” (กำหนดจัดระหว่างวันที่ 10-14 มิถุนายน 2553)

8. ประสานซุปเปอร์มาร์เก็ต Isetan สำหรับการจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าผักผลไม้และอาหาร ณ บริเวณพื้นที่ Promotion กำหนดจัดระหว่างวันที่ 13-22 กรกฎาคม 2553

9. ประสานงานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2553

10. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ได้แก่

  • ThaiFex-World of Food Asia 2010 ( 30 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2553)
  • Made in Thailand 2010 (2-11 กรกฎาคม 2553)
  • Bangkok Gems & Jewelry Fair 2010 (8-12 กันยายน 2553)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ