ภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของอิตาลีตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยมายาวมากถึง 7 ปี โดย ในปี 2009 พบว่ามีความต้องการทองคาและเครื่องประดับทั่วโลกลดลงถึงร้อยละ 18 โดยเฉพาะในที่สหรัฐอเมริกา (ลดลงร้อยละ 17) รวมถึงตลาดประเทศในกลุ่มอาหรับและในสหภาพยุโรปด้วย มีเพียงตลาดเดียวที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นคือ ตลาดจีน กล่าวคือ มีความต้องการทองคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และเครื่องประดับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และการคาดการณ์ในปี 2010 ความต้องการของสินค้าในกลุ่มนี้จะเชื่อมโยงกับสภาวะเศรษฐกิจของโลก
อุตสาหกรรมเครื่องประดับของอิตาลีมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมกว่า 10,000 บริษัท และแรงงาน 45,000 ราย (หากร่วมผู้กระจายสินค้าอีกจะมีจานวนถึง 120,000 ราย) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่าเป็นเวลายาวนาน ทาให้อุตสาหกรรมเครื่องประดับอิตาลีหดตัวอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการลดจานวนลงของกลุ่มผู้ผลิตในอาเรสโซและ วิเชนซ่าร้อยละ 12 และ 20 ตามลาดับ และจานวนแรงงานที่ลดลงร้อยละ 14 และ 15 ตามลาดับ ดังนั้นผู้ประกอบการอิตาลีจึงสร้างกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดที่แตกต่างกัน เช่น บางรายใช้กลยุทธ์การสร้างแบรนด์เฉพาะ (exclusive brand) สาหรับตลาดเฉพาะ บางรายก็หันไปให้ความสาคัญกับการออกแบบแฟชั่นและสไตล์ เพื่อสนองตอบแก่กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการแตกต่างกัน (เน้นกลุ่มลูกค้าระดับกลาง)
การผลิตเครื่องประดับในอิตาลีระหว่างปี 2007 - 2009
หน่วย : ล้านยูโร
รายการ ปี 2007 ปี 2008 ปี 2009 % การเปลี่ยนแปลง จำนวนบริษัท จำนวนแรงงาน change ปี 2008 รวม 6,230 6,265 6,094 -2.7 10,764 30,104 เครื่องประดับมีค่า 4,922 4,803 4,323 -9.9 7,183 20,381 เครื่องเงิน 1,100 1,250 1,197 -4.2 2,100 7,567 เครื่องประดับเทียม 208 212 251 18.3 1,481 2,156
อิตาลีเป็นผู้นาการผลิตเครื่องประดับของสหภาพยุโรป และเป็นผู้ผลิตใหญ่เครื่องประดับเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของรองจากออสเตรีย
สินค้าเครื่องประดับยังคงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้หญิงทางานโดยเฉพาะเพชรและพลอย
พลอยเป็นวัสดุที่เข้าได้กับสไตล์แฟชั่นทั้งแบบโรแมนติกและหรูหรา ทอง 18 กะรัต ( สีเหลืองและสีขาว ) และเครื่องเงินเริ่มเป็นที่นิยมในอิตาลีมากขึ้น แฟชั่นการเจาะต่างๆยังคงเป็นที่นิยม และเนื่องจากสไตล์ 'bling bling'เครื่องประดับเพชรได้รับความสนใจจากกลุ่มคนอายุน้อย
ผู้บริโภคอิตาลีมีรสนิยมที่ละเอียดอ่อน และมีความรู้ในเรื่องเครื่องประดับมาก พร้อมกับให้ความสาคัญในการเลือกซื้อสินค้า โดยส่วนใหญ่ต้องการซื้อสินค้าที่ทาในอิตาลี นอกจากนี้ยังใช้เครื่องประดับที่ล้าค่าเป็นของขวัญสาคัญในโอกาสพิเศษ เช่น การเข้าร่วมสมาคม, วันล้างบาป, วันวาเลนไทน์ วันครบรอบ เป็นต้น เนื่องจากชื่อเสียงด้านการผลิตเครื่องประดับของอิตาลีทาให้นักท่องเที่ยวนิยมซื้อหากลับไปเป็นที่ระลึก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศ ในสหภาพยุโรปอื่นๆ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและประเทศในเอเชีย
ปัจจุบันชาวอิตาลีหันมาสนใจเรื่องแฟชั่นมากขึ้น และให้ความสาคัญกับการออกแบบมากกว่าวัสดุที่ใช้ ดังนั้นเครื่องประดับเทียมทาจากโลหะ หรือทองแดง ไทเทเนียมประดับด้วยลูกปัดแก้ว เปลือกหอย ไม้ หนังหรือวัสดุอื่นๆ (ซิลิโคนหรือยาง) จึงกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น สร้อยคอ สร้อยข้อมือ จี้ เข็มกลัด และสร้อยข้อเท้า พบว่าอัตราการขยายตัวในการซื้อสินค้ากลุ่มเครื่องประดับเทียมเพิ่มขึ้น
แม้ว่าในประเทศอื่นๆ วงจรชีวิตของเครื่องประดับเทียมสั้นลง เนื่องจากตามแนวโน้มแฟชั่นเสื้อผ้าในแต่ละฤดูกาล แต่ในอิตาลีกลับมีการแข่งขันเพิ่มขึ้นระหว่างเครื่องประดับเทียมและเครื่องประดับมีค่า
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากงบประมาณในการจับจ่ายใช้สอยของชาวอิตาเลียนหดตัวลง อุตสาหกรรมเครื่องประดับของอิตาลีได้รับผลกระทบจากการแข่งขันจากเครื่องประดับนาเข้าจากฮ่องกงจีนและอินเดีย
อุตสาหกรรมเครื่องประดับอิตาลีต้องเผชิญกับปัญหาของราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นของโลหะมีค่าซึ่งเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาทองที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการลงทุนซื้อทองคามากขึ้นซึ่งเป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนตัวลง อย่างไรก็ดีราคาของแพลทินัมและเงินกลับลดลงตั้งแต่ปี 2008
หน่วย: ยูโร/ออนซ์
ปี 2006 ปี 2007 ปี 2008 ปี 2009 ราคาทองคำ 483 508 593 682 ราคาแพลตินัม 914 964 1,069 828 ราคาเครื่องเงิน 9.25 9.78 10.18 9.84
ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ค้าส่งอิตาลีจำเป็นจะต้องตัดสินใจว่า ราคาสินค้าดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นตัวใดที่จะส่งต่อให้เป็นภาระของร้านค้าปลีก และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเท่าใดที่ผู้บริโภคสามารถรับได้ ราคาขายปลีกทองคำและทองคำขาวที่เพิ่มขึ้นทาให้ส่งผลกระทบต่อตลาดเครื่องประดับอิตาลี
คนอิตาลีเห็นว่าโลหะมีค่าที่ใช้เป็นวัสดุในเครื่องประดับจัดเป็นสิ่งสาคัญ เนื่องจากผลของราคาทองคาที่เพิ่มขึ้นทำให้การออกแบบเครื่องประดับแฟชั่นล่าสุดใช้ทองหรือทองคำขาวน้อยลง ดังนั้นการออกแบบสินค้าล่าสุดจึงได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการใช้อัญมณีหรือเพชรและใช้วัสดุที่เบาบางเช่นหลอดโซ่กลวง หรือแพทเทิร์นการทอวัสดุต่างๆ จึงเป็นที่น่าจะยอมรับได้สาหรับกลุ่มผู้บริโภคที่ยินดีจะจ่ายเงินซื้อสินค้าที่มีเอกลักษณ์และแฟชั่น
บริษัทขนาดใหญ่และเล็กจ้างคนงานประมาณ 45,000 คนในการผลิตและเครื่องเงิน อย่างไรก็ดีพบว่ามีปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือในภาคอุตสาหกรรมนี้ เนื่องจากอัตราการเกิดที่ลดน้อยลงและขาดการฝึกอบรมด้านอาชีพที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ที่อายุน้อย
ในปี 2009 ตลาดเครื่องประดับอิตาลีมีมูลค่ายอดการค้าปลีก 5,058 ล้านยูโร และเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปสาหรับเครื่องประดับมีค่า ตามด้วยฝรั่งเศส ส่วนตลาดเครื่องประดับเทียมอิตาลีมีขนาดตลาดใหญ่เป็นอันดับสามรองจากฝรั่งเศสและอังกฤษ
1. ราคาทองคาที่เพิ่มขึ้นและอัตราเงินเฟ้อของสินค้าทุกประเภท ราคาเครื่องประดับเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อตลาดเครื่องประดับทอง
2. คนอิตาลีตัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (โทรศัพท์มือถือ Ipods เครื่อง organizer) รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ และการท่องเที่ยวเดินทาง รวมไปถึงการตัดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องประดับด้วย
3. จานวนคู่แต่งงานที่ลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องจากค่าครองชีพสูง (ที่อยู่อาศัย น้ามันและพลังงาน) และความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ
การบริโภคเครื่องประดับในอิตาลีระหว่างปี 2007 - 2009
หน่วย : ล้านยูโร
รายการ ปี 2007 ปี 2008 ปี 2009 % การเปลี่ยนแปลง จำนวนประชากร อัตราค่าใช้จ่ายต่อหัว change บริษัท (ล้านคน) ปี 2009 รวม 5,375 5,236 5,058 -3.3 59.4 85.1 เครื่องประดับมีค่า 4,000 3,917 3,826 -2.3 59.4 64.4 เครื่องเงิน 988 900 850 -5.5 59.4 14.3 เครื่องประดับเทียม 387 419 382 1.4 59.4 6.4
6. กลยุทธ์การแข่งขัน หากพิจารณาในแง่การส่งออก อุตสาหกรรมเครื่องประดับอิตาลีมีความท้าทายหลายด้านที่จะต้องรักษาตาแหน่งผู้นาในตลาดเอาไว้ โดยพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของสภาพตลาดต่อไปนี้
1. วิกฤตของอุปสงค์ในประเทศ
2. อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างยูโรและเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
3. การขยายตัวของคู่แข่งใหม่ที่เข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ
4. การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตอย่างต่อเนื่อง
5. ความรู้ของผู้บริโภคที่เพิ่มพูนขึ้น และการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์การบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้อง
6. ขาดแรงงานฝีมือเฉพาะ เนื่องจากอาชีพหัตถกรรมและอัตราการเกิดที่ลดลง ดังนั้นบริษัทอิตาเลียนจึงต้องสร้างกลยุทธ์ใหม่ดังต่อไปนี้
- บริษัทสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่สามารถนาสินค้าเข้าไปอยู่ในตลาดต่างประเทศด้วยรูปแบบต่างๆ ซึ่งไม่เพียงแต่การเจาะตลาดโดยตรง แต่ยังผ่านการลงทุนทั้งทางตรง (ย้ายฐานการผลิต) และทางอ้อม (หุ้นส่วนกับผู้ผลิตในประเทศนั้น)
- เพิ่มเทคโนโลยีนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิผล ทั้งนี้จะต้องรับประกันประสิทธิภาพของเทคโนโลยีใหม่ที่ผสมผสานคุณค่าทางศิลปะแบบดั้งเดิมเข้าไว้ด้วยกัน ขณะนี้เทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตในอิตาลีกาลังเผชิญหน้ากับการขาดแคลนความเชี่ยวชาญในด้านเทคนิคการจัดการ เนื่องจากเกิดช่องว่างระหว่างผู้บริหารรุ่นเก่าและผู้สืบทอดกิจการรุ่นเด็กที่จะดาเนินกิจการครอบครัวต่อไป เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต้องเพิ่มความเร็วในกระบวนการผลิตและรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดด้วย และเทคโนโลยีใหม่จะต้องเข้ากันได้กับการออกแบบที่ตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าด้วย
- คุณภาพของสินค้า จากผลการวิเคราะห์ตลาดแสดงให้เห็นว่า เครื่องประดับที่มีคุณภาพดีที่สุดเท่านั้นที่ยังคงครองตลาดได้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ ดังนั้นบริษัทผู้ประกอบการเครื่องประดับในอิตาลีจึงพยายามเน้นด้านการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในเรื่องของคุณภาพสินค้าในมุมมองด้านต่างๆ ได้แก่ แหล่งกาเนิดของการออกแบบ รายละเอียดที่สมบูรณ์แบบ การบริการต่อลูกค้า ความตรงต่อเวลาและความรวดเร็วในการส่งมอบสินค้า การนาเสนอสินค้า การกระจายสินค้า การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ การจัดการด้านบุคลากรและฝึกอบรม ให้ความสนใจในเรื่องราคาสินค้า/ระดับคุณภาพ การใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรที่ทันสมัย
- การตลาดและการสื่อสาร บริษัทอิตาลีเห็นว่า มีความจาเป็นที่จะต้องลงทุนในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าและบริษัท รวมถึงการเข้าร่วมแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้า การวิจัยและพัฒนาความแข็งแกร่งในด้านแนวโน้มตลาดและจัดแสดงแฟชั่นโชว์ในระดับโลก แท้จริงแล้วแม้ว่าจะมีการชะลอตัวในด้านการลงทุนการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ไป แต่ยังคงให้ความสาคัญต่อการสื่อสารที่สร้างการจดจาสินค้า ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือที่สาคัญที่สุดในการสร้างภาพลักษณ์แบรนด์สินค้าและเพิ่มยอดขาย
อิตาลีได้รับผลกระทบจากภาวะถดถอยควบคู่ไปกับอัตราเงินเฟ้อสูงในกลุ่มสินค้าอาหาร พลังงานและค่าเช่าบ้าน ทาให้ประชาชนรู้สึกไม่มั่นคงเกี่ยวกับอนาคต เนื่องจากเสถียรภาพทางการเมืองที่ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง ประชาชนจึงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง อุตสาหกรรมเครื่องประดับและเครื่องเงินจึงถูกมองว่าไม่ใช่สิ่งจาเป็นต่อการใช้ชีวิตประจาวัน ดังนั้นชาวอิตาเลี่ยนจึงต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพื่อใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ที่จาเป็นมากกว่า
8.1 แหวน
คนอิตาลีกว่าร้อยละ 50 ชอบใช้แหวนแต่งงานที่ทาด้วยแพลทินัมหรือทอง ที่นิยมออกแบบมากที่สุดคือ แหวนอิตาเลี่ยนสไตล์คลาสสิกฟอร์ม D แหวนแบบ Francesina หรือ แหวนรูป Dome Montava ส่วนแหวนในกลุ่มแฟชั่นจะเป็นแหวนทอง เงินหรือโลหะอื่น ที่มีรูปร่างและสีคล้ายดอกไม้ หรือรูปฟอร์มหัวใจหรือดาว
8.2 สร้อยคอ
ปัจจุบันสร้อยคอจะมีขนาดยาวขึ้น อาจเป็นลักษณะเหมือนโซ่คล้องคอและขนาดยาวพอที่จะพันรอบคอผู้ใส่หลายๆ รอบ โซ่นี้อาจทาด้วยเงินหรือโลหะอื่น เช่น ทองแดง หรือทองสีเทาดา โซ่จะเป็นแบบเรียบๆ หรือ multi pattern chain แบบใส่หินสี เรซินหรือเม็ดลูกปัดเข้าไปด้วยก็ได้
นอกจากนี้โซ่คล้องคอนี้อาจจะใช้เป็นสร้อยข้อมือด้วยก็ได้ โดยพันรอบๆ ข้อมือหลายๆรอบ แนวโน้มล่าสุดของอิตาลีคือจะขายสร้อยคอแยกกับจี้เครื่องประดับเพื่อให้ผู้สวมใส่สามารถสร้างสรรค์สไตล์การแต่งตัวเองได้
8.3 สร้อยข้อมือ
สร้อยข้อมือมีแบบแตกต่างกันทั้งเป็นแบบขนาดขนาดเล็กที่ประดับด้วยลูกปัด หิน briolette ตัดกับพื้นผิวแปลกๆ ไปจนถึงทาเป็นกาไลที่แต่งด้วยรูปแบบจินตนาการหรือรูปแบบดอกไม้โดยเคลือบผิวด้วย enamel
8.4 เข็มกลัด
เข็มกลัดกลับมาได้รับความนิยมทุกรูปแบบ รวมทั้งรูปแบบลูกปัด หรือ ลายดอกกุหลาบ ดอกเดซี่และดอกไม้ในจินตนาการ
8.5 จี้
จี้เป็นที่นิยมมากในอิตาลี เนื่องจากเป็นเครื่องหมายแสดงความโรแมนติก จี้อาจความหมายหรือทาเป็นตราสัญลักษณ์ จี้ทาด้วยทองคาทาเป็นลายดอกไม้หรือแพทเทิร์นแนวตะวันออก นอกจากนี้อาจทาเป็นรูปแบบอื่นเช่น หัวใจ เหรียญ หรือพลอย เช่น Citrine, Peridot, บุษราคัมหรือพลอยสีม่วงล้อมรอบด้วยกรอบทอง
"การเปลี่ยนแปลง" ถือเป็นปัจจัยสาคัญของคอลเลคชั่นสาหรับฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาวที่จะมาถึงนี้ โดยเฉพาะหากพิจารณาในแง่การปรับปรุงใหม่และการทดลอง แต่ก็ยกเว้นกลุ่มเครื่องประดับระดับสูงที่ยังคงอยู่ในระดับของความเฉพาะตัวและหรูหรา อัญมณีที่ใช้ตกแต่งบนเครื่องแต่งกายได้นาวัตถุดิบที่มีราคาไม่แพงมากมาตกแต่งกาลังเป็นที่นิยม
3.1 สไตล์ยิปซีและชนเผ่า ขณะนี้สไตล์ชนเผ่าและโอเรียนเทล (ส่วนใหญ่เป็นเครื่องเงิน) เข้ามาสู่เทรนโดยไม่มีฤดูกาลและระยะเวลาแล้ว (โดยเฉพาะกำไลและโซ่ยาวประดับด้วยหินและเงิน)
3.2 ทองประดับด้วยอัญมณี ทองคาส่วนใหญ่เป็นทองคาขาว ประดับตัวเรือนด้วยอัญมณีหรือหินสีโดยออกแบบให้สีและรูปร่างผสมผสานกัน (สาหรับผู้หญิงทันสมัยทุกวัย)
3.3 เครื่องประดับสาหรับผู้ชาย กลุ่มสินค้านี้เพิ่งเริ่มฮิตขึ้นมา โดยเป็นตลาดเฉพาะขนาดเล็ก แต่ขณะนี้เริ่มมีมูลค่าทางการตลาดเป็นที่น่าสนใจ ส่วนใหญ่วัสดุที่ใช้เป็นยางและโลหะประดับบนจี้ทองและเงิน หรือโซ่ เครื่องประดับผู้ชายจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าเครื่องประดับแฟชั่น (Bijoux) มากกว่าจะจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าเครื่องประดับทั่วไป
3.4 เครื่องประดับอื่นๆ เช่น เข็มกลัด ขณะนี้เข็มกลัดกลับเข้ามาสู่ความนิยมอีกครั้ง สาหรับกลุ่มเสื้อผ้าระดับสูงเปรียบเหมือนเป็นเครื่องประดับสาหรับเสื้อผ้าทุกสไตล์ เข็มกลัดจะช่วยปรับลุคส์ให้ดูเหมือนใหม่และใช้ได้กับการประดับบนเสื้อผ้า, ผม เครื่องแต่งกายอื่นๆ เช่น หมวก กระเป๋า ผ้าพันคอ ยีนส์ เป็นต้น
3.5 กลุ่มเครื่องประดับแฟชั่น (Bijoux) กลายเป็นทางเลือกในการใช้เครื่องประดับอัญมณี ซึ่งตลาดเริ่มมีความแข็งแกร่งขึ้นในปีที่ผ่านมาไปพร้อมๆ กับโลกแฟชั่น จะเห็นได้จากการเปิดร้านค้าใหม่ๆที่เน้นขายแต่เฉพาะเครื่อง แต่งกายหรือเครื่องประดับแฟชั่น (Bijoux) ในลักษณะแบบแฟรนไชส์ที่มีมากขึ้น หรือมุมขายเครื่องประดับในห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ สินค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตต่าและใช้ความสามารถในการสร้างสรรค์สูง
อิตาลีเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่และรูปแบบสไตล์ความนิยมที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกต่างระหว่างการซื้อเครื่องประดับในเขตเมืองและชนบท
ในชนบทโดยเฉพาะทางภาคใต้ของอิตาลี ผู้บริโภคจะมีความเป็นดั้งเดิมกว่า แม้ว่าจะมีภาวะอัตราเงินเฟ้อและราคาทองสูง คนใต้ก็ยังคงซื้อทองสีเหลืองเป็นของขวัญสาหรับวันพิเศษ (เช่นวันล้างบาป) ในเขตพื้นที่เหล่านี้ผู้คนมักจะใช้เครื่องประดับนานและใช้เหตุผลที่การซื้อเครื่องประดับมากขึ้น และใส่ใจในเรื่องราคาสินค้าโดยเฉพาะพิจารณาด้านคุณภาพและวัสดุ
ในเขตภาคเหนือของอิตาลี ผู้บริโภคให้ความสาคัญกับภาพลักษณ์และสไตล์ มักจะติดตามแนวโน้มแฟชั่นล่าสุด และนิยมซื้อทองคาขาวหรือทองสีชมพู รวมถึงทองกะรัตต่ำ เครื่องเงินและเครื่องประดับเทียม
ตลาดเครื่องอัญมณีและประดับสามารถแบ่งออกเป็น (ตามคุณภาพ ความเฉพาะตัว การออกแบบและระดับราคาขายปลีก )
1. เครื่องประดับระดับสูง
2. เครื่องประดับระดับเข้าถึงได้
3. เครื่องประดับราคาถูก
10.1 เครื่องประดับระดับสูง
เครื่องประดับในระดับนี้มักจะทาจากโลหะมีค่า ซึ่งอาจจะเป็นทองชิ้น ( ในกะรัตสูง ) หรือแพลทินัมในรูปแบบเรียบๆ หรือประดับด้วยหินพลอย เพชรหรือไข่มุก เป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งมักจะผลิตโดยนักออกแบบเครื่องประดับหรือนักออกแบบของสถาบันแฟชั่นที่เป็นที่รู้จักอยู่บ่อยๆ สินค้ามักจะทาอย่างประณีตและราคาขายปลีกมากกว่า 350 ยูโร
เครื่องประดับระดับ Exclusive ส่วนใหญ่มักจะสวมใส่ในโอกาสพิเศษหรือออกงาน จะจาหน่ายอยู่ตามร้านเครื่องประดับเฉพาะ หรือร้านบูติกแฟชั่นต่างๆ รวมถึงร้านห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าปลอดภาษี การแบ่งส่วนตลาดเครื่องประดับอิตาลีแบ่งตามคุณภาพและราคา
10.2 เครื่องประดับระดับกลาง (หรือระดับที่เข้าถึงได้) เครื่องประดับในระดับนี้เป็นเครื่องประดับที่สามารถเข้าถึงได้และมีกลุ่มเป้าหมายกว้างขึ้น สินค้าทาจากทอง (18 กะรัตหรือต่ากว่า) palladium เงิน หรือเครื่องประดับเทียม ระดับราคาอยู่ที่ระหว่าง 20 ยูโร - 350 ยูโร มักจะผลิตในปริมาณมากและไม่ได้เป็นแบบเฉพาะ
ผู้บริโภคกลุ่มนี้ยินดีจ่ายเงินสาหรับสินค้าคุณภาพหรือเครื่องประดับชิ้นพิเศษ แต่จะซื้อบ่อยน้อยกว่าในกลุ่มผู้บริโภคเครื่องประดับราคาถูก ผู้บริโภคบางคนอาจนิยมแบรนด์สินค้าบางแบรนด์และบางส่วนอาจนิยมสินค้าโดยดูจากที่มาจากท้องถิ่นหรือแหล่งที่มาของตัวสินค้า
สินค้าเหล่านี้มักจะขายอยู่ในร้านค้าปลีก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยสินค้ากลุ่มนี้ได้รับผลกระทบจากของเลียนแบบราคาถูก อย่างไรก็ดีในระยะยาวสินค้าระดับกลางคาดว่าจะเติบโตขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีการซื้อขายกันมากขึ้น
10.3 เครื่องประดับราคาถูก
สินค้ากลุ่มเครื่องประดับราคาถูก คือกลุ่มเครื่องประดับเทียมหรือเครื่องเงินคุณภาพต่าซึ่งส่วนใหญ่นาเข้ามาจากจีน, ฮ่องกงและอินเดีย สินค้ากลุ่มนี้มีคุณภาพต่าและปรากฎว่าเป็นกลุ่มเครื่องประดับที่อยู่ในอิตาลีมากที่สุด ราคาขายปลีกต่ากว่า 20 ยูโร
การออกแบบมักได้รับอิทธิพลมาจากการเลียนแบบเครื่องประดับในกลุ่มระดับสูง ความต้องการสินค้ากลุ่มนี้มักจะมีทันทีและราคาไม่แพง ผู้บริโภคมักจะซื้อสินค้าบ่อยๆ สินค้าเหล่านี้จะขายอยู่ในร้านขายอุปกรณ์เครื่องแต่งกาย ร้านค้าเสื้อผ้าแบบ chainstore ห้างสรรพสินค้า ร้านขายของชาร่วย ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายของชา ร้านขายยา แผงขายของตามถนน หรือร้านขายเครื่องประดับลดราคาออนไลน์
2.1 คนอิตาลีหันไปซื้อเครื่องประดับจากร้านค้าที่ไม่ใช่ร้านค้าเฉพาะทางมากขึ้น เช่น จากห้างสรรพสินค้าและร้านค้าเสื้อผ้าปลีก ในอดีตผู้บริโภคอิตาเลี่ยนซื้อสินค้าเครื่องประดับจากร้านค้าเฉพาะเครื่องประดับเท่านั้น แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคต้องการซื้อเครื่องประดับที่เข้ากันได้กับชุดเสื้อผ้าและของใช้อื่นๆ เช่นกระเป๋า รองเท้า ซึ่งเป็นการกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภคโดยทันทีที่เห็นสินค้าโดยไม่ได้มีการวางแผนการซื้อมาก่อน
2.2 จำนวนผู้หญิงทำงานในอิตาลีเพิ่มขึ้น แม้ว่าจานวนของผู้หญิงทางานในอิตาลียังคงมีอัตราต่ำคือ อยู่ที่ร้อยละ 59.1 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของสหภาพยุโรป แต่ก็มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติของEurostat พบว่าอัตราส่วนของผู้หญิงทางานในอิตาลีเพิ่มขึ้นในระหว่างปี 2004 - ปี 2008 จากเดิม 45.2% เป็น 47.2% โดยเฉพาะอย่างยิ่งใหญ่ผู้หญิงที่มีอายุระหว่างวัยกลางคนจนถึงอายุมาก ทั้งนี้มีผู้หญิงในกลุ่มผู้บริหาร วิชาชีพเฉพาะทาง และระดับบริหารมากขึ้น ซึ่งหมายถึงผู้หญิงกลุ่มนี้ได้รับรายได้ค่าตอบแทนในระดับสูงขึ้นด้วย
2.3 เครื่องประดับที่ทำจากโลหะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสาหรับกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมเครื่องประดับประเภทโลหะมีค่า ในปัจจุบันสินค้าที่ทาจากโลหะไม่ได้มีราคาแพง (สินค้าบางแบรนด์ที่ทาจากเครื่องเงินมีราคาแพงมาก) โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ผู้บริโภคเริ่มต้องการคานวนความคุ้มค่าในราคาสินค้าที่จ่ายเงินไป นั่นคือบริโภค เริ่มมีความลังเลที่จะจ่ายเงิน 79 ยูโรสาหรับสินค้าแพงๆ เพียงหนึ่งชิ้น ดังนั้นในปีต่อไปสินค้ากลุ่มโลหะโดยเฉพาะเครื่องเงินจะกลับมาครองตลาดอีก
2.4 เครื่องประดับที่ทาขี้นเฉพาะบุคคล ขณะนี้การขายผ่าน Internet สามารถเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคด้วยสินค้าสร้อยคอหรือสร้อยข้อมือที่มีการออกแบบเฉพาะให้แก่ลูกค้านั้นๆ โดยใช้วัตถุดิบที่ส่งเสริมบุคลิกหรือลูกปัดที่เหมาะสมกับบุคคลนั้นมาตกแต่ง ทั้งนี้รวมถึงการประกอบชิ้นและจัดส่งถึงบ้านในระยะเวลาอันสั้นด้วย
2.5 การใช้เครื่องประดับกับภาคอุตสาหกรรมอื่น การใช้เครื่องประดับในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอื่น ถือเป็นตลาดเครื่องประดับอนาคตก็ได้ นอกจากมีการนาเครื่องประดับไปใช้กับกระเป๋า เข็มขัด รองเท้า กระเป๋าเครื่องสาอางค์ เสื้อผ้าแล้ว ยังพบว่ามีการนาไปใช้ประดับนาฬิกาและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างให้มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเครื่องประดับเป็นเครื่องประดับอัฉริยะ "smart jewelry" ซึ่งนาเอาระบบเทคโนโลยีใส่ไว้ในชิ้นอัญมณี เช่น ตุ้มหูหรือจี้สาหรับโทรศัพท์มือถือหรือ ipods ทาจากเงินประดับด้วยหินหรือคริสตัล ซึ่งในสินค้ากลุ่มนี้ได้มีความร่วมมือระหว่าง Swarovski และ Phillips นอกจากนี้คริสตัล Swarovski ยังถูกนาไปประดับแผงหน้าปัดรถด้วย
ผู้ค้าส่งเป็นผู้มีบทบาทสาหรับการกระจายสินค้าในภาคอุตสาหกรรมเครื่องประดับอิตาลี ทั้งนี้ผู้ค้าส่งจะต้องเป็นผู้รวบรวมสินค้าชนิดต่างๆ จากผู้ผลิต และ/หรือช่างฝีมือ โดยสามารถนาเสนอความหลากหลายของสินค้าที่มีมากมายให้แก่ผู้ค้าปลีกได้ นอกจากนี้ยังจะต้องคอยเติมสินค้าให้แก่ผู้ค้าปลีกอย่างทันท่วงที (หากผู้ผลิตมีขนาดเล็กและมีความเป็นหัตถกรรม ซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ทันที ผู้ค้าส่งจะต้องบริหารจัดการได้)
ความต้องการภายในที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย จึงส่งผลกระทบต่อเครือข่ายการกระจายสินค้าดังจะเห็นได้จากจานวนจุดขายหรือพนักงานขายที่ลดลง ส่วนใหญ่บริษัทนาเข้าขนาดใหญ่จะซื้อสินค้าเครื่องประดับโดยตรงจากผู้ผลิต (ประมาณ 60% ของมูลค่าการตลาด) ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งนาเข้าสินค้าประมาณ 40% ของมูลค่าการตลาด
ผู้นำเข้าจะซื้อสินค้าจากบัญชีของบริษัทและบริหารจัดการสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรับผิดชอบในการขายและการกระจายในอิตาลีเอง ผู้นาเข้าบางรายที่ไม่ได้จาหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ผลิตเฉพาะรายมักจะทาหน้าที่ซื้อและขายสินค้า ดูแลการกระบวนการนาเข้า/ส่งออกและเก็บสต๊อกสินค้า
ผู้นาเข้าหลายรายขายสินค้าให้กับร้านค้าปลีกเฉพาะทาง ห้างสรรพสินค้าและร้านขายเสื้อผ้าแฟชั่นโดยตรงผ่าน Cash & Carry Showroom ถาวรหรือศูนย์แสดงสินค้า ผู้นำเข้าบางรายมีพนักงานขายของตนเองที่เข้าไปเยี่ยมลูกค้ากลุ่มผู้ค้าปลีกเป็นประจาเพื่อรับคาสั่งซื้อ
ผู้นำเข้ามีรายชื่อลูกค้าในตลาดท้องถิ่น มีความรู้เรื่องแนวโน้มแฟชั่นและสามารถให้ข้อมูลสาคัญและคาแนะนาให้แก่ผู้ผลิตต่างประเทศได้ ผู้นาเข้าจานวนมากมีความเชี่ยวชาญเครื่องประดับบางชนิดโดยเฉพาะหรือบางกลุ่มของสินค้า แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผู้นาเข้าจะเชี่ยวชาญในกลุ่มสินค้าที่กว้างขึ้น หรือมีการจัดซื้อสินค้าทั้งกลุ่มมากกว่าซื้อสินค้าเฉพาะอย่าง การพัฒนาความร่วมมือระหว่างผุ้ผลิตและผู้นาเข้าจะช่วยนาไปสู่การออกแบบสินค้าที่เหมาะสมกับตลาดได้
ผู้ค้าส่งมักจะเป็นผู้จัดหาสินค้าที่เป็นอิสระ และมีบทบาทสาคัญในการจัดหาเครื่องประดับเทียม ผู้ค้าส่งส่วนใหญ่จะมีความเชี่ยวชาญหรือมีสินค้าที่หลากหลายหรือหลายยี่ห้อ ปัจจุบันแนวโน้มของผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่และกลุ่มผู้ซื้อกาลังออกนอกระบบการกระจายสินค้าแบบดั้งเดิมประกอบกับมีการพัฒนาสินค้าเลียนแบบแบรนด์ จึงทาให้ผู้ค้าส่งต้องทบทวนตาแหน่งของตนในโครงสร้างการกระจายสินค้า ซึ่งทาให้ผู้ค้าส่งบางคนที่สูญเสียธุรกิจบางส่วนของตนไปเริ่มหันไปจัดการทางานโดยเน้นการขายเจาะแต่ละภูมิภาค นอกจากนี้ผู้ค้าส่งยังขายสินค้าโดยตรงให้แก่ร้านค้าปลีกเฉพาะทาง ห้างสรรพสินค้าหรือร้านบูติก และร้านค้าเสื้อผ้าผ่าน Cash & Carry Showroom ด้วย
ตัวแทนจาหน่ายเป็นบริษัทอิสระที่ทาหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ตัวแทนจะไม่ซื้อหรือขายโดยบัญชีของตนเอง แต่จะทางานขึ้นกับค่าคอมมิชชั่นและเป็นผู้แทนให้แก่ผู้ผลิตรายใหญ่/หรือซัพพลายเออร์หรือผู้ค้าปลีก เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันเอง ส่วนใหญ่มักจะมีสานักงานในประเทศที่ส่งสินค้าให้
ขณะนี้ผู้บริโภคได้รับอิทธิพลจากแนวคิดในการค้าปลีกหรือการซื้อสินค้าแนวใหม่ที่ไม่จาเป็นต้องเป็นสินค้าเฉพาะและเป็นสินค้านาเข้ามากขึ้น
บทบาทของไฮเปอร์มาร์เก็ตในการขายเครื่องประดับจะทวีความสาคัญมากขึ้นโดยเฉพาะสาหรับเครื่องประดับเทียม และค่อยๆ เข้าสู่อุตสาหกรรมอัญมณีด้วย ไฮเปอร์มาร์เก็ตและซูเปอร์มาร์เก็ตมีมูลค่าตลาด 7% ของยอดขายเครื่องประดับ
Gruppo Pam (554 สาขา) Auchan (259 สาขา) Iper Benoit (44 สาขา) Carrefour (51 สาขา) และ Le Clerc (43 สาขา) เป็นผู้ครองตลาดในประเทศ ไฮเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งนาเข้าสินค้าเองและมีฐานการผลิตในต่างประเทศ
กลุ่มผู้ค้าปลีกร้านเสื้อผ้า มีร้านค้าแบบเชนสโตร์ในอิตาลีมากมายเช่น Beneton (2,200 สาขา) Ovisse (276 สาขา) Vestebene (540 สาขา) Motivi (226 สาขา) Terranova (203 สาขา) และอื่นๆ อีกทั้งในเครือฝรั่งเศส และนานาชาติที่ขายสินค้าส่วนใหญ่ประเภทเครื่องประดับเทียมด้วย
รูปแบบ มูลค่าทางการตลาด ร้านค้าเฉพาะด้าน 68% ร้านค้าอิสะ (รวมถึงแกลเลอรี่) 55% ร้านค้าเชนสโตร์ 11% ร้านค้าทางอินเตอร์เน็ต 2% ร้านค้าทั่วไป 32% ห้างสรรพสินค้า/ร้านค้าต่างๆ 8% Home Shopping/mail order 3% ร้านขายยา/ร้านขายน้าหอม 3% ร้านเสื้อผ้า 5% ไฮเปอร์มาร์เก็ต/ซูเปอร์มาร์เก็ต 7% อื่นๆ (สนามบิน ร้านของชาร่วย แผงลอย ฯลฯ) 6%
การค้าเครื่องประดับในประเทศอิตาลีมีการแบ่งเป็นส่วนต่างๆ มากมาย และอิตาลียังคงมีจานวนผู้ค้าปลีกสูงสุดในสหภาพยุโรป มีการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาคการผลิตในประเทศและการกระจายสินค้า ซึ่งจะค่อยๆเปลี่ยนไปโดยธุรกิจครอบครัวเริ่มหายไปและร้านค้าเฉพาะแบบ chainstore จะเข้ามาแทนที่ในตลาด
ความแตกต่างระหว่างภาคเหนือและภาคใต้ของอิตาลีอย่างมาก ส่งผลต่อวิธีการทาการค้าด้วย มีการพัฒนาไฮเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกต่างชาติระบบเชนสโตร์เข้ามาสู่ตลาดในเขตภาคเหนือมากขึ้น ในขณะที่ร้านค้าเฉพาะและกลุ่มผู้ซื้อ (buyer) ยังคงครองตลาดในภาคใต้
1. ผู้ค้าส่งเก็บสต๊อกสินค้าเครื่องประดับจานวนมากจากผู้ผลิตและช่างฝีมือหลายราย และมักจะนาเสนอสินค้าที่มีความหลากหลายให้แก่ผู้ค้าปลีก
2. ผู้ค้าส่งสามารถจัดการกับคาสั่งซื้อขนาดเล็กและเสนอเงื่อนไขการชาระเงินที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับผู้ผลิตที่มักจะต้องการรับสั่งซื้อขนาดใหญ่และต้องการให้ชำระเงินทันที
การหลั่งไหลเข้ามาในอิตาลีของเครื่องประดับนาเข้าจะอยู่ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และในเดือนกันยายน งานแสดงสินค้านานาชาติเครื่องประดับในอิตาลีจัดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
ทั้งนี้ในอิตาลียอดขายของสินค้ากลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงคริสต์มาสและช่วงอีสเตอร์
ผู้นำเข้าอิตาลียังคงค่อนข้างเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด รวมถึงอุตสาหกรรมเครื่องประดับในระดับสูง โดยส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคอิตาลีโดยตรง
มีความเชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะฟื้นตัวในปี 2010 โดยประธานาธิบดีจะต้องเร่งดำเนินมาตรการแทรกแซงของภาครัฐโดยด่วน ผู้นำเข้าอิตาลีเห็นว่าการลดภาษีจะสามารถช่วยเพิ่มความต้องการภายในประเทศได้
ตั้งแต่ปี 2003 อุตสาหกรรมอัญมณีอิตาลีตกอยู่ในภาวะวิกฤตซึ่งส่งผลอย่างต่อเนื่องต่อการผลิต เนื่องจากอุป-สงค์เครื่องประดับมีค่าในประเทศค่อนข้างอ่อน และมีการแข่งขันของตลาดในประเทศมากขึ้นจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย และตุรกี
อีกหนึ่งปัจจัยที่สาคัญคือจีนเข้ามาครองตลาดในแง่ของปริมาณการส่งออกไปอิตาลี ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเครื่องประดับเทียมและอุปกรณ์แต่งผม
ไทยและอินเดียเป็นผู้นาการผลิตสินค้าทอง เงิน และเพชร พลอย และกลุ่มสินค้าเครื่องประดับอื่นๆ สินค้าเครื่องเงินจากไทยและอินเดียเป็นที่รู้จักกว้างขวางในตลาด
จีน ฮ่องกง ไทยและอินเดียครองตลาดอุปทานเครื่องประดับจากประเทศในเอเชีย อุตสาหกรรมเครื่องประดับในประเทศเหล่านี้มักเป็นบริษัทขนาดเล็กจำนวนมาก ดังนั้นจะต้องแข่งขันกันในด้านราคาและนวัตกรรมสินค้า และระยะเวลาส่งมอบ
สินค้าเครื่องประดับจากจีนครองตลาดอิตาลี โดยในปี 2009 มูลค่าการส่งออกมายังอิตาลีมีมูลค่า 233,111 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเครื่องประดับเทียมและอุปกรณ์แต่งผม เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จึงทาให้จีนเป็นผู้ที่มีบทบาทสาคัญในอุตสาหกรรมเครื่องประดับอิตาลีและเป็นคู่แข่งที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มประเทศผู้ส่งออกจากเอเชีย
ทั้งนี้อุตสากรรมเครื่องประดับของจีนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นและชนชั้นกลางที่ขยายตัวขึ้นในเขตเมือง จึงทาให้ความต้องการเครื่องประดับคาดว่าจะเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคชาวจีนที่มั่งคั่งจึงมองหาสินค้าที่มีการออกแบบที่ดีและอัญมณีคุณภาพสูงกว่าซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีของจีนไปในตัว
ฮ่องกง ไทยและอินเดียเป็นผู้นาการผลิตทองคา เครื่องเงินและเพชร พลอยและเครื่องประดับอื่น เครื่องประดับเงินจากไทยและอินเดียเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ส่วนประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ได้แก่ ศรีลังกาพบว่ามูลค่าการส่งออกเครื่องประดับเทียมไปสหภาพยุโรปลดลง แต่กลับเพิ่มขึ้นในกลุ่มอัญมณี
- อากรนาเข้า ภาษีนาเข้าเครื่องประดับที่มาจากประเทศไทยอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 2-2.5 เช่น ภาษีนาเข้ากาไล สร้อยคอ และแหวนที่ทาด้วยทองและเงินอยู่ที่ร้อยละ 2.5 สาหรับเครื่องประดับเทียมอยู่ที่ร้อยละ 4
- ไม่มีข้อจากัดอื่น ๆ ในด้านมาตรฐานการนาเข้าตามกฎหมายอิตาลี
- เอกสารที่ใช้ในการนาเข้าสินค้าได้แก่
1. แบบฟอร์ม A
2. ใบแจ้งหนี้ (invoice) ที่แสดงรายละเอียดของสินค้าทั้งด้านปริมาณและมูลค่า
3. ให้ระบุในช่อง "Title" ด้วยว่า จานวนทองคา/เงินบริสุทธิ์ในแต่ละรายการ (ทั้งนี้สาหรับตลาดอิตาลีทองที่ต้องการมีจานวน 750 ส่วนเงินจานวน 925)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 20% ทั้งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
ทั้งนี้ภาษีนาเข้าและกฎระเบียบเมืองกับประเทศคู่แข่งคือ จีน อินเดียและฮ่องกง
1. การจัดแสดงสินค้าในงาน Palakiss Business Center ซึ่งจัดควบคู่กับงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในเมืองวิเชนซ่า นาโดยสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จัดคณะผู้ผลิต/ผู้ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมาจัดแสดงสินค้าทุกปี ในปี 2010 นี้จะมีการจัดแสดงระหว่างวันที่ 22-26 พฤษภาคม 2553 ซึ่งมีผู้ส่งออกเดินทางมาจัดแสดงสินค้าจานวน 11 ราย
Palakiss Business Center เป็นศูนย์ธุรกิจให้เช่าพื้นที่ขนาด 5,000 ตารางเมตร โดยจัดแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับปีละ 3 ครั้งคือ ในเดือน มกราคม พฤษภาคม และกันยายน ทั้งนี้มีผู้เข้าชมงานฯประมาณปีละ 18,000 ราย จากอิตาลีร้อยละ 50 และที่เหลือจากประมาณ 70 ประเทศ โดยมีจุดขายที่พื้นที่ขนาดเล็กสามารถเดินชมได้ทั่วถึงในเวลาสั้นและสามารถซื้อสินค้าในงานฯ กลับไปได้
2. งานแสดงสินค้า Vicenzaoro First เป็นงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สาคัญของอิตาลี จัดขึ้น ณ ศูนย์แสดงสินค้า Fiera di Vicenza ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอัญมณี จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง คือ ในเดือนมกราคมพฤษภาคม และกันยายน จัดแสดงบนพื้นที่ 60,000 ตารางเมตร ผู้ส่งออกไทยที่จะเข้าร่วมงานแสดงในปี 2010 มีจานวนทั้งสิ้น 45 ราย
3. งานสินค้า MACEF ระหว่างวันที่ 15-18 มกราคม 2553 สมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้นาผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยมาจัดแสดงสินค้าในลักษณะ Bangkok Gems & Jewelry Road Show ใน จานวน 24 ราย
1. ในปี 2553 จากการคาดการณ์ของผู้นาเข้าคาดว่าตลาดอิตาลีจะเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 10-20 และจะเปลี่ยนความนิยมจากเครื่องประดับมีราคาแพงเป็นกลุ่มสินค้าที่มีราคาถูกลงอย่างต่อเนื่อง ทาให้เป็นโอกาสของผู้ส่งออกไทยที่ต้องการนาเสนอสินค้าเครื่องประดับที่มีการออกแบบสินค้าที่แสดงอารมณ์หรือศิลปะด้วยการใช้ลูกปัดหรือเหรียญ นอกจากนี้ยังมีโอกาสสาหรับสินค้านวัตกรรม รูปแบบดั้งเดิมและเครื่องประดับแปลกๆ ที่ใช้โลหะมีค่าราคาไม่แพง แต่ควรจะสอดคล้องกับแนวโน้มล่าสุดหรือสีของเสื้อผ้า
2. เนื่องจากตลาดอิตาลีจะให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเครื่องประดับมีค่า ( ทองและเงิน ) โดยคาดว่าผู้บริโภคจะนิยมสินค้าที่ทาด้วยเงินหรือทองที่มีเปอร์เซ็นต์ต่า (Light Gold/silver piece) ทุกยี่ห้อ ซึ่งก็จะส่งผลถึงกลุ่มสินค้าเงิน/palladium และเครื่องประดับทองด้วย
3. เนื่องจากงบประมาณค่าใช้จ่ายของชาวอิตาเลี่ยนหดตัวลง เครื่องประดับอิตาลีได้รับความเดือดร้อนจากการแข่งขันจากเครื่องประดับนาเข้าจากจีนและอินเดีย โดยสินค้าระดับล่างมีราคาต่ากว่า 20 ยูโร ซึ่งมักจะเป็นสินค้าเครื่องเงินคุณภาพต่าและเครื่องประดับเทียม
4. โอกาสของสินค้าไทยในตลาดระดับบนมีน้อยมาก เนื่องจากบริษัทชั้นนาหลายบริษัทต้องลงทุนอย่างหนักในการส่งเสริมการขายสินค้าและแบรนด์
5. ผู้บริโภคอิตาลีมีรสนิยมที่ละเอียดอ่อน และมีความรู้ในเรื่องเครื่องประดับ มักให้ความสาคัญในการเลือกซื้อเครื่องประดับจึงมักจะเปรียบเทียบสินค้านาเข้ากับคุณภาพ/สินค้าที่ทาในประเทศอิตาลี
6. ผู้ส่งออกไทยควรเสนอสินค้าเครื่องประดับอื่นๆ เช่น สร้อยคอ กาไล จี้หรือต่างหูที่ประดับด้วยหินที่มีมูลค่าไม่สูงนักหรือประดับด้วยลูกปัดหรือเหรียญ โดยเป็นสินค้าที่แตกต่างแต่มีเอกลักษณ์สาหรับตลาดอิตาลีในแง่ของการออกแบบ วัสุดหรือฝีมือ
7. การให้เครื่องประดับเป็นของขวัญวันเกิดอาจเป็นเหตุผลในการตัดสินใจซื้อสินค้าเครื่องประดับ อาจเป็นแหวน หรือสร้อยคอสาหรับแม่ หรือของขวัญสาหรับเด็ก ตลาดเฉพาะทางนี้คาดว่าจะมีการขยายตัวและอาจสร้างโอกาสให้กับสินค้าไทยในบางตัวเช่น สร้อยเงินสลักชื่อ
1. ควรสร้างภาพลักษณ์และใช้งานแสดงสินค้า Bangkok Gems and Jewelry Fair ด้วยการจัดทาชุดโฆษณาเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย
2. สินค้าไทยมีราคาสูงเกินไป
3. เสนอสินค้าที่มีความแปลกใหม่ในงาน
4. ผู้จัดแสดงสินค้าควรมีจานวนมากขึ้น และให้ความสาคัญต่อการจัดพนักงานที่เป็นมืออาชีพประจาอยู่ที่คูหา
5. ผู้จัดแสดงสินค้าควรเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออก เนื่องจากผู้จัดแสดงสินค้าในงานส่วนใหญ่เป็นผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่ง
1. Vicenza Oro (จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-21 มกราคม 2010 22-26 พฤษภาคม 2010 และ11 - 15 กันยายน 2010) ที่เมืองวิเซนซ่า
2. Oro Arezzo (จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-13 เมษายน 2010) ที่เมืองอาเรซโซ
3. Oro Capital (จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 เมษายยน 2010) ที่กรุงโรม
หากต้องการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในอิตาลี การลงโฆษณาในนิตยสารการค้าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้ผลมาก เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย นิตยสารสิ่งพิมพ์ในอิตาลีได้แก่
1. Vogue Gioiello (www.voguegioiello.it)
ยอดพิมพ์ 70,000 ฉบับ จัดพิมพ์ 5 issue ต่อปี เปิดตัวปี 1965 ผู้อ่าน 542,000 คน
2.Vioro (เป็นนิตยสารของผู้จัดงานแสดงสินค้า Vicenza Jewelry : www.vicenzaoromagazine.it)
ยอดพิมพ์ 20,000 ฉบับ จัดพิมพ์ 3 issue ต่อปี เปิดตัวปี 1984 ผู้อ่าน 250,000 คน
3. Arteregalo Oro Argento Orologi by Martini (Fax 0039.02.23100954)
ยอดพิมพ์ 30,000 ฉบับ จัดพิมพ์ 4 issue ต่อปี เปิดตัวปี 1975 ผู้อ่าน 350,000 คน
FEDERORAFI: Italian Jewelerly Association Piazza M. Buonarroti, 32 - 20149 Milano
Tel:+39024815364 /Fax:+39024815118
federorafi@confedorafi.com
www.confedorafi.com/federorafi
ASSICOR: Italian Association for the Production Development of gold and silver jewelry Via Morgagni 30 - 00161 Roma
Tel:+390644285435 /Fax:+390644285220
assicor@tin.it www.assicor.it
FEDERDETTAGLIANTI: Italian Retailers Association of Jerwelry Via Re Tancredi 8, - 00162 Roma
Tel:+39064404105/ Fax:+390644251229
federdettaglianti@confedorafi.com www.confedorafi.com/federdettaglianti
การจัดคณะผู้แทนมาเจรจาการค้าในอิตาลีอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบของการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและการจัด Road Show จะช่วยตอกย้าภาพลักษณ์ของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากประเทศไทยในสายตาผู้ซื้อได้ และสามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่องสม่าเสมอและไม่ทาให้คู่แข่งจากประเทศอื่นเข้ามาแย่งตลาดการค้าไปได้ อย่างไรก็ดีควรมีการพิจารณาคัดเลือกสินค้าที่จะนามาเสนอขายให้ตรงกับรสนิยมผู้บริโภค โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันผู้บริโภคต้องการสินค้าที่มีราคาต่าลง และมีดีไซน์ ดังนั้นสินค้าจากไทยกลุ่มที่มีดีไซน์จึงมีโอกาสสูงในตลาดอิตาลี
สำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th