1.1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีการแข่งขันสูง จากผู้ผลิตจากต่างประเทศ บริษัท Haier Group จากจีนที่ปัจจุบันผลิตสินค้าเป็นอันดับหนึ่งของโลกวางแผนที่จะวางจำหน่ายเครื่องซักผ้า และตู้เย็นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ส่วนบริษัท LG Electronics ของเกาหลี เตรียมจะส่งเครื่องซักผ้าที่ออกแบบเฉพาะตลาดญี่ปุ่นเข้าแย่งส่วนแบ่งการตลาดเช่นกันสินค้าจากคู่แข่งขันในเอเชียกำลังพัฒนาคุณภาพให้เท่าเทียมกับสินค้าญี่ปุ่นแต่จำหน่ายในราคาถูกกว่า Haier จะเริ่มวางขายเครื่องซักผ้าขนาดจุ 9 กิโลกรัมภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม นี้ โดยตั้งราคาไว้ที่ 70,000 เยน ต่ำกว่าสินค้าญี่ปุ่น 10,000 เยน และในฤดูใบไม้ร่วงวางแผนที่จะออกตู้เย็นขนาดกลางโดยตั้งราคาถูกกว่าร้อยละ 10-20 สินค้าจะรับประกัน 1 ปี Haier เพิ่มงบโฆษณาสินค้าในญี่ปุ่นร้อยละ 30 จนถึงเดือนมีนาคม 2011 คาดว่าจะจำหน่ายได้ถึง 10 พันล้านเยน
ส่วนบริษัท LG กำลังพัฒนาเครื่องซักผ้าขนาดใหญ่ในต้นปี 2011 โดยกำลังเจรจากับผู้ขายปลีกอยู่ ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หดตัวลงจากจำนวนประชากรที่ลดลงทำให้ผู้ผลิตบางรายต้องถอนตัว โดยบริษัท Mitsubishi เลิกผลิตเครื่องซักผ้าในปี 2008 และโตชิบาเลิกผลิตตู้เย็นที่ใช้ในบ้านในปี 2009
1.2 บริษัท Groupe Seb เจ้าของแบรนด์ T-fal ครองตลาดสินค้ากาต้มน้ำไฟฟ้าในญี่ปุ่นร้อยละ 70 ด้วยรูปทรงที่เหมือนกาน้ำชา และมีหลากสีให้เลือก รูปร่างที่บอบบางทำให้เก็บได้ในพื้นที่ที่จำกัด ลูกค้านิยมซื้อเป็นของขวัญให้กัน T-fal มีแคมเปญที่จะคืนเงินให้กับลูกค้าหากไม่พอใจสินค้าในรุ่น New Vitesse Plus ขนาด 1 ลิตร ราคา 7,000 เยน และรุ่น Window Plus ขนาด 1.7 ลิตร ราคา 10,000 เยนข้อได้เปรียบของ T-fal คือมีแบบให้เลือกมากกว่า โดยมีถึง 9 ซีรี่ย์ โดยรุ่นยอดนิยม Aprecia จะมีเครื่องปิ้งขนมปังที่มีสี และแบบเหมือนกันด้วย ตลาดกาต้มน้ำไฟฟ้ามียอดขายถึง 2 ล้านหน่วยในปี 2009 และผู้ผลิตญี่ปุ่นเช่น โตชิบา และซันโย ต่างพัฒนาสินค้าเพื่อเข้าสู่ตลาด โดยโตชิบาออกรุ่น PHK-800 สามารถต้มน้ำได้ 800 มิลลิลิตร ราคา 7,000-8,000 เยน พร้อมไมโครคอมพิวเตอร์ที่สามารถส่งเสียงเตือนเวลาที่น้ำเดือด ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ซื้อ รวมทั้งสายสามารถเก็บซ่อนได้ทำให้สะดวกต่อการจับ ส่วนรุ่น U-MK ของซันโย ขนาด 500 มิลลิลิตร ที่พัฒนาโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการน้ำร้อนสำหรับลวกบะหมี่สำเร็จรูป มีไมโครคอมพิวเตอร์ที่ส่งเสียงร้องเตือนเช่นเดียวกัน และจำหน่ายในราคา 7,000-8,000 เยน เท่ากัน
2.1 บริษัทพานาโซนิกส์วางแผนที่จะพัฒนาสินค้า และขายในตลาดประเทศกำลังพัฒนา โดยเน้นกลุ่มชนชั้นกลาง โดยในระยะแรกบริษัทจะผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวน 20 รายการโดยมีราคาต่ำกว่าสินค้าที่ปัจจุบันจำหน่ายในตลาดร้อยละ 20-50 โดยมีเมนูการใช้งานน้อยกว่า สินค้าที่จะส่งไปขายในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอเมริกาใต้ เช่น ตู้เย็นจะมีขนาดใหญ่เน้นช่องเก็บบรรจุผักผลไม้ โดยจะผลิตในโรงงานที่มาเลเซีย และเม็กซิโก
ส่วนในประเทศจีนที่มีปัญหาอากาศเป็นพิษ จะผลิตเครื่องฟอกอากาศ โดยเอาระบบที่ทำความชื้นของรุ่นที่ใช้ในญี่ปุ่นออก และขายในราคาต่ำกว่าครึ่ง อยู่ที่ 10,000 -20,000 เยน บริษัทคาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนตลาดต่างประเทศเป็นร้อยละ 55 จากเดิมที่ร้อยละ 47 โดยจำนวนประชากรชนชั้นกลางในจีน อินเดีย และ ประเทศเอเชียอื่นๆ รวมประมาณ 900 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนประชากรในญี่ปุ่นถึง 7 เท่า ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายอื่นกำลังพยายามพัฒนา และผลิตสินค้าเพื่อแข่งขันกับบริษัท ซัมซุง และแอล จี ของเกาหลี เพื่อจะได้ส่วนแบ่งตลาดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
2.2 จากการประกาศผลประกอบการของปี 2009 (เมษายน 2552- มีนาคม 2553) บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ชั้นนำทั้ง 8 บริษัทโดยส่วนใหญ่มีกำไรเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่ายอดขายสินค้าจะตกลงก็ตาม เช่นบริษัท ฮิตาชิ พานาโซนิกส์ โซนี่ และ โตชิบา แต่จากความสำเร็จจากมาตรการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย คาดว่าในปี 2010 ทุกบริษัทจะมีผลกำไร โดยบริษัทฮิตาชิ และโตชิบาจะเน้นธุรกิจที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค ในขณะที่ พานาโซนิกส์จะเน้นส่วนตลาดต่างประเทศ
สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ นครโอซากา
ที่มา: http://www.depthai.go.th