ผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจของกรีซต่ออิตาลี

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 2, 2010 16:36 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของอิตาลียังไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตเศรษฐกิจกรีซมากนัก แต่จะมีผลกระทบในด้านการคาดหวังของตลาดเงินทุนและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคตที่อาจมีผลต่อเนื่องทาให้การลงทุนและการใช้จ่ายลดลงบ้างเท่านั้น

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดีส์ได้รายงานว่าอิตาลีไม่ใช่ประเทศที่มี ความเสี่ยงที่สุดที่ผลกระทบจากวิกฤตกรีซจะลุกลามถึง เนื่องจากอิตาลีสามารถผ่าน พ้นวิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ดีกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคยุโรปที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเช่น ฝรั่งเศส สเปน และอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิตาลีมีระบบการเงินและธนาคารที่ค่อนข้างเข้มแข็งเนื่องจากมีระบบปิดที่ใช้แหล่งเงินทุนจากต่างประเทศน้อย แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจอิตาลีจะค่อนข้างอ่อนแออันเนื่องมาจากการเจริญเติบโตที่เป็นไปอย่างช้าๆ

2. นอกจากนี้ ธนาคารแห่งอิตาลียังได้ออกมายืนยันว่า แม้อิตาลีจะเป็นประเทศหนึ่งที่มีหนี้สาธารณะค่อนข้างสูงถึง 116.7% ของ GDP แต่อิตาลีก็ยังคงไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเช่นเดียวกับกรีซ เนื่องจากอิตาลีมีหนี้ภาคเอกชนค่อนข้างตา ในขณะที่การออมของผู้บริโภคอยู่ในระดับสูงและมีความน่าเชื่อถือในตลาดโลก

3. รัฐบาลอิตาลี ได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนวงเงิน 750 พันล้านยูโร ประกอบด้วย 440 ล้านยูโรมาจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 16 ประเทศ , 60 พันล้านยูโร จากกองทุนฉุกเฉินของสหภาพฯ ( EU Emergency Fund ) และ 250 พันล้านยูโรจาก IMF เงินกองทุนนี้จะนาไปใช้เพื่อช่วยประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มีปัญหาการเงินและการจ่ายชาระหนี้ การต่อสู้การปั่นตลาดเงิน และปกป้องค่าเงินยูโรและการฟื้นความเชื่อมั่นของประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ให้เงินกู้ยืมบางส่วนแก่กรีซภายในวงเงิน 14.8 พันล้านยูโร( คิดเป็น18.4% ของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดที่สหภาพยุโรปให้กรีซกู้ยืม คือ 80 พันล้านยูโร ) ระยะเวลา 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.15% เพื่อกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจของกรีซเพิ่มเติมด้วย โดยในปีแรกคือปี 2553 จะให้กู้จานวน 5.5 พันล้านยูโร โดยเงินให้กู้ยืมดังกล่าวรัฐบาลจะใช้วิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลทั้งระยะสั้นและระยะยาวอัตราดอกเบี้ย 2% แทนการใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน

4. ในอนาคต อิตาลี ยังคงต้องเพิ่มความระมัดระวังต่อความเปราะบางของเศรษฐกิจและจาเป็นที่จะต้องลดหนี้สาธารณะที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งต้องมีการพัฒนาระดับและคุณภาพของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น ปัญหาที่อิตาลียังคงต้องเผชิญต่อไป คือ ปัญหาด้านงบประมาณที่ค่อนข้างจากัด ปัญหาจากนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้แคว้นที่มีการขาดดุลงบประมาณด้านการรักษาพยาบาล ( แคว้นลาซิโอ คัมปาเนีย คาลาเบรีย โมลิเซ่ อาบรุสโซ และซิชิลี ) ขึ้นภาษีท้องถิ่นเพื่อนาเงินที่ได้มาชดเชยการขาดดุลและการปฎิรูปโครงสร้างการจัดเก็บภาษี

5. การส่งออก

วิกฤตเศรษฐกิจกรีซมีผลกระทบต่อการส่งออกของอิตาลีไม่มากนัก อิตาลีส่งออกสินค้าไปกรีซมากกว่าการนำเข้า โดยกรีซเป็นตลาดส่งออกลาดับที่ 13 รองลงมาจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐ จีน และรัสเซีย ซึ่งถือเป็นตลาดส่งออกหลักของอิตาลี ( อิตาลีส่งออกไปไทยเป็นลาดับที่ 57 ) มูลค่าส่งออกเฉลี่ยปีละ 10 ,000ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2552 อิตาลีส่งออกไปกรีซมูลค่า 8, 316 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อน - 27.97% และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.06 ของการส่งออกทั้งหมดของอิตาลี ( มูลค่า 404,737 ล้านเหรียญสหรัฐ) สินค้าส่งออกสาคัญได้แก่ เครื่องจักร นามันเชื่อเพลิง พลาสติก ยานยนต์ และเฟอร์นิเจอร์

6. การนำเข้า

ได้รับผลกระทบน้อยกว่าการส่งออก โดยกรีซเป็นประเทศที่อิตาลีนำเข้าเป็นลาดับที่ 39 ( อิตาลีนำเข้าจากไทยเป็นลาดับที่ 48 ) รองลงมาจากกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐ รัสเซีย และจีน มูลค่านาเข้าเฉลี่ยปีละ 2 ,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยในปี 2552 อิตาลีนำเข้าจากกรีซมูลค่า 1,946 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อนหน้า - 29.00 % คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.47 ของการนำเข้าทั้งหมดของอิตาลี ( มูลค่านำเข้า 410,325 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) สินค้านำเข้าสาคัญได้แก่ ไขมันและน้ำมันปลาและอาหารทะเล อลูมิเนียม น้ำมันเชื้อเพลิง และพลาสติก

7. การลงทุน

7.1. ข้อมูลจากธนาคารแห่งกรีซ และ หน่วยงาน ICE อิตาลีปรากฎว่า มีผู้ประกอบการอิตาลีประมาณ 74 ราย ที่เข้าไปลงทุนดาเนินธุรกิจในกรีซ มูลค่าการลงทุน 901 ล้านยูโร คิดเป็นร้อยละ 3.3 ของมูลค่าการลงทุนทางตรงในกรีซทั้งหมด ( 27.5 พันล้านยูโร ) โดยแยกประเภทของการลงทุนตามสัดส่วนการลงทุน ได้แก่ ภาคการขนส่งและการสื่อสาร 39.8% การค้า 33.3% การผลิต 23.1% การเงิน 2.2% โรงแรม 0.3% และก่อสร้าง 0.2%

7.2. สินค้าหลักๆ ที่อิตาลีลงทุนในกรีซ ได้แก่ ยานยนต์ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแก้ว การก่อสร้าง อาหาร ยา เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคโทรนิกส์ และ พลังงาน/แก๊ซ ทั้งนี้ นักลงทุนอิตาลีในกรีซส่วนใหญ่เป็นธูรกิจ SME โดยมีผู้ประกอบการรายใหญ่ เช่น

1. บริษัท GHIZZ0NI ดำเนินธุรกิจการก่อสร้างด้านพลังงานและนามันเชื้อเพลิง เช่น ท่อส่งก๊าซและนามันระบบไฮโดรลิก

2. บริษัท IMPREGILO ดำเนินธุรกิจการก่อสร้างอาคารและสาธารณูปโภคต่างๆ

3. บริษัท RIVA ดำเนินธุรกิจผลิตเหล็ก

4. บริษัท KERAKOLL ดำเนินธุรกิจผลิตกาวที่ใช้ในอุตสาหกรรม

5. บริษัท ITALLEMENTI ดำเนินธุรกิจผลิตซีเมนต์

6. บริษัท BARILIA ดาเนินธุรกิจสินค้าอาหาร

7. บริษัท EDISON บริษัท ENEL และ บริษัท ITALGAS ดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน

8. บริษัท FIAT ผลิตรถยนต์

7.3. ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม และธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันแล้วน้อยมาก คือ 0.5% เท่านั้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ