สถานการณ์สินค้ายานยนต์ในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 3, 2010 15:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. จำนวนการผลิตรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งแยกตามผู้ผลิต ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2553

                                 Passenger Cars                          Trucks                         Buses            Grand Total
                   Standard    Small     Mini     Total   Standard    Small   Mini    Total    Large    Small    Total
TOYOTA              235,899   83,081       -    318,980    10,148     9,815    -     19,963      -      8,338    8,338    347,281
NISSAN               43,602   44,957       -     88,559     4,971     5,766    -     10,737      -        607      607     99,903
MAZDA                66,061   17,260       -     83,321        28     2,649    -      2,677      -         -       -       85,998
MITSUBISHI           40,436    7,699    10,863   58,998       214       316   7,009   7,539      -         -       -       66,537
ISUZU                  -         -         -       -       13,375     2,587      -   15,962     288        4       292     16,254
DAIHATSU               -       5,439    48,976   54,415       180       -    11,163  11,343      -         -       -       65,758
HONDA                22,712   53,681    10,555   86,948        -        130   6,693   6,823      -         -       -       93,771
SUBARU               37,483      -       4,406   41,889        -        -     5,269   5,269      -         -       -       47,158
UD TRUCKS              -         -         -        -       1,565       750     -     2,315     115        -       115      2,430
HINO                   -         -         -        -       8,152       227     -     8,379     535        53      588      8,967
SUZUKI               17,648   12,630    60,555   90,833        -        960  13,141  14,101      -         -       -      104,934
GM JAPAN               -         -         -        -          -        -       -        -       -         -       -          -
MITSUBISHI FUSO        -         -         -        -       4,781       760     -     5,541     227       393      620      6,161
Others                 -         -         -        -         119        -      -       119      -         -       -          119
 TOTAL              463,841  224,747   135,355  823,943    43,533    23,960  43,275 110,768   1,165     9,39 5  10,560    945,271
ข้อมูลจาก Japan Automobile Manufacturer Association 2009

2. ภาวะตลาดในเดือนพฤษภาคม 2553
          สมาพันธ์ผู้ผลิตรถยนต์ประเทศญี่ปุ่น (JAMA) เปิดเผยข้อมูลด้านการผลิต การจำหน่าย และการส่งออกในปี 2552
(ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดลง ณ เดือนมีนาคม 2553) ว่า ผู้ผลิตหลักของญี่ปุ่นจำนวน 8 รายมีจำนวนการผลิตรถยนต์ที่ลดลง ร้อยละ
10.3 หรือ ราว 8.55 ล้านคัน ซึ่งนับว่ายอดการผลิตรถยนต์ในประเทศโดยรวมลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 2 แล้ว ซึ่งเหตุสำคัญคือ
การส่งออกที่ลดลง และการขยายการลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจใหม่  อาทิ ประเทศจีน (ซึ่งเป็นตลาด
รถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 สูงกว่าสหรัฐฯ)
          จากสถานการณ์ปัจจุบันญี่ปุ่นได้ผลิตรถยนต์จำนวนน้อยที่สุดในรอบ 32 ปี ส่วนการส่งออกก็มีจำนวนต่ำที่สุดในรอบ 15 ปี
เช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันการผลิตนอกประเทศ กลับปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.114 ล้านคันหรือ สูงขึ้นถึงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับปีที่
ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดในประเทศญี่ปุ่นเองเป็นตลาดที่มีความสำคัญลำดับรอง โดยทั้งโตโยต้าและนิสสันเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ญี่ปุ่น
ในประเทศจีน

3. ความเคลื่อนไหวที่สำคัญในตลาดรถยนต์ญี่ปุ่น
          สำนักข่าวนิเกอิ เปิดเผยว่าสถานการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพฯ ส่งผลให้บริษัทฮอนด้ามอเตอร์ (ประเทศไทย)
จำต้องหยุดการผลิตจากโรงงานที่จังหวัดอยุธยาซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และจักรยานยนต์ ไว้เป็นการชั่วคราว เพื่อความ
ปลอดภัยของพนักงานในโรงงาน โดยบริษัทฯได้โอนถ่ายการ ธุรกรรมต่างๆรวมถึงการบริหารและผลิตชิ้นส่วนฯไปยังโรงงานใกล้เคียง
อนึ่ง ฮอนด้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) เป็นสำนักงานที่ดูแลธุรกิจของฮอนด้าใน เอเชีย-แปซิฟิค ทั้งหมด
          นายอากิโอ โตโยดะ ประธานบริษัทโตโยต้า ได้แถลงอย่างเป็นทางการว่า โตโยต้าได้ บรรลุถึงข้อตกลงร่วมกันกับ
บริษัทเทสลาร์ ของสหรัฐซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีสำหรับรถยนต์พลังไฟฟ้า ซึ่งบริษัททั้งสองมีแผนที่จะพัฒนารถยนต์พลังไฟฟ้าและ
กำหนดมาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอนาคต นอกจากนี้บริษัททั้งสองยังหวังว่ารถยนต์ไฟฟ้าพลัง
Fuel cell นี้อาจจะสามารถจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้ภายในปี 2012  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมรถยนต์วิเคราะห์การร่วมทุน
บริษัทโตโยต้าในอเมริกาในช่วงระยะเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเกิดปัญหาการเรียกรถยนต์โตโยต้า หลายรุ่นคืนในตลาด
สหรัฐอเมริกา ว่าน่าจะเป็นการส่งสัญญาณของโตโยต้าเพื่อให้ตลาดได้เห็นว่า เหตุการณ์ที่เลวร้ายต่างๆ ของ โตโยต้าได้ผ่านพ้นไป
แล้ว และบริษัทก็ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ อีกทั้งยังสามารถขยายการลงทุนในสหรัฐฯได้อีก การลงทุนของโตโยต้าในครั้งนี้น่าจะส่ง
ผลในเชิงจิตวิทยาในด้านบวกต่อผู้บริโภคและนักลงทุนสหรัฐฯ เทียบเท่ากับการแสวงหาตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือกใหม่
          ส่วนบริษัทใหม่ที่ร่วมทุนนั้น จะตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอเนีย ที่โรงงาน NUMMI (New United Motor Manufacturing,
Inc.) ซึ่งเดิมทีเป็นโรงงานของบริษัทร่วมทุนระหว่าง เจเนอรัลมอเตอร์และโตโยต้า ซึ่งโต โยต้าสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่ง
ปลูกสร้างเดิมรวมถึงทรัพยากรบุคคลที่มีประสบการณ์จำนวนมากในหน่วยงานดังกล่าว ที่ยังว่างงานภายหลังการปิดตัวของ NUMMI
อนึ่งโตโยต้าและเทสลาร์มีแผนที่จะผลิตรถยนต์รุ่น Tesla Model S รถซีดานไฟฟ้ายอดนิยมของบริษัทฯ ที่โรงงานแห่งนี้

4. บริษัท U-SHIN  ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ มีแผนที่จะเปิดโรงงานแห่งที่ 2 ในประเทศไทย
          บริษัทยู-ชิน ผู้ผลิตชิ้นส่วนสวิทช์ แผงควบคุม แผงวงจรควบคุมเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ จากประเทศญี่ปุ่น มีแผนจะ
ตั้งโรงงานแห่งที่สองในประเทศไทย โดยแห่งแรกอยู่ที่อำเภอ ปลวกแดง จังหวัดระยองซึ่งเปิดมาตั้งแต่ปี 2544 แล้ว และปัจจุบัน
ความต้องการของตลาดเกินกว่าขีดความสามารถของโรงงาน จึงมีความจำเป็นต้องขยายโรงงาน ซึ่งการลงทุนเพิ่มเติมในโครงการ
ดังกล่าวจะมีมูลค่าราว 2 พันล้านเยน อนึ่งการเปิดโรงงานแห่งใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการควบรวมโรงงานจำนวนสองแห่งใน
จังหวัดฮิโรชิม่าของบริษัทเพื่อลดต้นทุน และตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่ประเทศไทยเพื่อลดต้นทุนการผลิตและการจัดการ
          ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของบริษัทส่วนใหญ่จะผลิตเพื่อป้อนโรงงานแห่งใหม่ของซูซูกิมอเตอร์ (ประเทศไทย) ซึ่งจะเปิดตัวราว
ปี 2554 โดยรถยนต์ที่ผลิตจะมุ่งเป้าไปที่รถยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน หลังจากโรงงานแห่งที่สอง
สร้างเสร็จ บริษัทฯจะสามารถขยายการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ฯดังกล่าวได้ถึง 2 เท่า


          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โอซากา

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ