สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-สเปน ช่วง ม.ค.-เม.ย. ปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 3, 2010 16:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตารางแสดงมูลค่าการค้าไทย-สเปน ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553
                   เม.ย.2553                  ม.ค.-เม.ย.2553
              มูลค่า      เพิ่ม/ลด (%)          มูลค่า      เพิ่ม/ลด (%)
           (Mil.US$)    จากเดือนก่อน       (Mil.US$)    จากเดือนก่อน
ส่งออก        83.24       -10.01             337.6       +46.58
นำเข้า        42.98        -8.20             158.2       +43.11
การค้ารวม    126.22        -9.40             495.8       +45.44
ดุลการค้า     +40.26       -11.87            +179.4       +49.87
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

          ในเดือนเมษายน 2553 ไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 126.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายส่งออกไปสเปน 83.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -10.01 เมื$อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีหมวดสินค้าหลักที่รับตัวลดลง ได้แก่ เครื$องปรับอากาศและส่วนประกอบ (-36.52%) ยางพารา (-24.57%)และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (-22.81%) ขณะที่นำเข้าจากสเปนรวม 42.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลงร้อยละ -8.20 ทั้งนี้ ไทยได้ดุลการค้าเพิ$มขึAนอีก 40.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          ในช่วงสี่เดือนแรก ปี 2553  ไทย-สเปน มียอดการค้ารวม 495.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.44 เมือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยไทยมียอดส่งออกมาสเปนรวม 337.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.58 หมวดสินค้าหลักดั้งเดิมที่สามารถกลับมาขยายตัวในอัตราสูง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+102.07 %) ยางพารา (+283.60 %) และรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (+1,012.53 %) ขณะที่นำเข้าจากสเปน 158.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.11 ทำให้ไทยได้ดุลการค้าจากสเปนสะสม จำนวน 179.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.87 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

  ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยมายังสเปน 10 อันดับแรก ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553
ที่        สินค้า                    มูลค่า (Mil. USD)    สัดส่วน (%)    เปลี่ยนแปลง (%)
1   เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ         69.7           20.65         +102.07
2   เสื้อผ้าสำเร็จรูป                      41.6           12.32          +22.16
3   ยางพารา                           41.4           12.27         +283.60
4   รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ          25.3            7.49       +1,012.53
5   กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง                   14.4            4.27         +468.69
6   ผลิตภัณฑ์ยาง                         14.0            4.14          +56.96
7   ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                11.4            3.38          +58.75
8   เลนส์                              11.0            3.27          +26.52
9   เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ       9.5            2.82          +39.83
10  เคมีภัณฑ์                             8.7            2.57          -30.65
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

          จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกทีผ่อนคลายลง ส่งผลให้สินค้าแทบทุกหมวดของไทยมีอัตราขยายตัวในอัตราเร่ง โดยเฉพาะสินค้าหลักดังเดิมของไทยในตลาดนี ได้แก่ เครืองปรับอากาศและส่วนประกอบ ยางพารา และรถยนต์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ ต่างมีอัตราเติบโตในระดับสูง จึงถือได้ว่าผู้บริโภคเริมมีความมันใจและจับจ่ายใช้สอยแบบลดการรัดเข็มขัดลง ซึงสังเกตได้ชัดจากสินค้าประเภทคงทน อาทิเช่น รถยนต์ และเครืองใช้ฟ้า เป็นต้น เริมทำยอดขายได้ดีขึนหลังจากทีผู้บริโภคต้องตัดสินใจระงับหรือเลือนเวลาการซือออกไปในช่วงทีผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิงหมวดรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ทีได้รับอานิสงค์จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงทีผ่านมาของรัฐบาลโดยการให้เงินสนับสนุนผู้บริโภคเพือโอบอุ้มอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ กอปรกับมาตรการขึนภาษีมูลค่าเพิมตังแต่วันที 1 กรกฎาคม 2553 ทำให้ผู้บริโภคต้องเร่งซื้อก่อนถึงกำหนดขึ้นภาษี อย่างไรก็ตาม ในปี 2553 คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสเปนยังคงอยู่ในแดนลบ นอกจากนัน ยังมีปัจจัยอื่นๆที่จะส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค โดยเฉพาะวิกฤติหนีของกรีซทีส่งผลให้รัฐบาลสเปนต้องออกมาตรการลดยอดขาดดุลการคลังของรัฐบาลทีจำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายของภาครัฐในทุกๆ ด้านจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันต้องเร่งหารายได้เพิ่มจากการขึนภาษี ซึ่งล้วนจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนัน ยังคงมีสภาพเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจและการเงินของโลกที่ยังมีความผันผวนและอ่อนไหว
          ในช่วงเดียวกันไทยนำเข้าสินค้าจากสเปน เป็นมูลค่า 158.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 43.11 ซึ่งสินค้าส่วนมากเป็นสินค้าที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยมีรายละเอียดการนำเข้าสินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด ดังนี้

            ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสเปน 5 อันดับแรก ช่วง 4 เดือนแรก ปี 2553
       สินค้า                     มูลค่า (Mil. USD)     สัดส่วน (%)        เปลี่ยนแปลง (%)
  เคมีภัณฑ์                             28.3             17.89             +77.24
  เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ             20.9             13.19             +58.54
  ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม           14.7              9.27              +6.52
  สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป           9.9              6.28             +30.22
  เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์               8.9              5.65             +83.99
  ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสเปน
          นอกจากกรีซทีกำลังประสพปัญหาวิกฤติหนีอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบและสร้างความกังวลต่อสหภาพยุโรปในภาพรวมและระบบเศรษฐกิจของโลกแล้ว ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอืนๆทีมีหนีสาธารณะและการขาดดุลการคลังในอัตราสูงจึงถูกจับตามองว่าอาจจะประสบภัยพิบัติตามกรีซจนล้มต่อๆกันไปตามทฤษฎีโดมิโน เช่น ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน โดยเฉพาะสองประเทศหลังของคาบสมุทรไอบีเรียนันถือว่าอยู่ในภาวะทีมีความเสียงสูง จนประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจของโลกอย่างเยอรมนี และฝรังเศส รวมทั้งสหรัฐอเมริกาต้องรีบออกมากดดันให้สเปนและโปรตุเกส ต้องเร่งดำเนินการหามาตรการรัดเข็มขัดเพิมเติมโดยปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐอย่างเป็นการด่วน
          ในปี 2552 สเปนขาดดุลเงินงบประมาณอยู่ร้อยละ 11.2 ของ GDP อันเนืองมาจากการทุ่มเม็ดเงินอัดฉีดสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันการจัดเก็บรายได้ในช่วงดังกล่าวก็หดหายไปจำนวนมาก ส่งผลต่อเนืองมาในปี 2553 ทีคาดว่าจะยังขาดดุลการคลังสูงในอัตราร้อยละ 9.8 และร้อยละ 7.5 ของ GDP ในปี 2554 โดยมีเป้าหมายว่าจะพยายามลดการขาดดุลไปสู่ระดับทียอมรับได้ในอัตราร้อยละ 3 ของ GDP ในปี 2557
          จากกระแสการกดดันทีบีบบังคับให้สเปนต้องปรับใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่แรงขึ้นเพื่อลดรายจ่ายของงบประมาณ รัฐบาลจึงตัดสินใจที่จะตัดลดค่าใช้จ่ายเพิมให้ได้ในวงเงิน 15,000 ล้านยูโรภายใน 2 ปี แบ่งเป็นก้อนแรก 5,000 ล้านยูโร ในปี 2553 และอีก 10,000 ล้านยูโรในปี 2554 ซึงจะช่วยปรับลดอัตราการขาดดุลการคลังในปี 2553 ได้อีกร้อยละ 0.5 ให้เหลือร้อยละ 9.3 และในปี 2554 ลดลงอีกร้อยละ 1 ให้เหลือร้อยละ 6.5 ของ GDP
          สเปน ถือว่าเป็นประเทศในกลุ่มของประเทศพัฒนาแล้วที่เพิ่งจะคืบคลานออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างช้าๆ ในลำดับท้ายๆ โดยมีอัตราการเจริญเติบโตของไตรมาสแรกปี 2553 ทีเพิงจะข้ามพ้นมาสู่แดนบวกได้ร้อยละ 0.1 เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ไตรมาสที่ผ่านมาเนื่องจากธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ทีถือเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงทีผ่านมาประสบภาวะถดถอยอย่างรุนแรง รวมทังการฟุ้งเฟ้อกับเงินกู้ดอกเบียตำทีหาได้ง่าย โดยคาดว่าในปี 2553 จะยังมีอัตราการเจริญเติบโตติดลบร้อยละ -0.4  แต่ปัญหาใหญ่ขณะนี้คือปัญหาด้านแรงงานที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้เสมือนอาการเลือดทีไหลไม่ยอมหยุด โดยอัตราการว่างงานยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทะลุระดับร้อยละ 20 หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 4.6 ล้านคน ซึงถือเป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องใช้เงินจำนวนมากเข้าไปดูแลและเยียวยา ขณะเดียวกันก็ได้ประกาศขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 16 ไปเป็นร้อยละ 18 แล้วโดยจะมีผลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2553 เป็นต้นไป นอกจากนัน ยังต้องแบกรับภาระค่าจ้างพนักงานของรัฐที่มีอยู่จำนวนมากกว่า 2 ล้านคน และต้องดูแลผู้ที่เกษียณอายุที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี รวมทังการดูแลค่ารักษาพยาบาลของประชาชนที่ล้วนแต่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากทั้งสิ้น
          จากสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันของสเปนที่มีสภาพเหมือนคนป่วยที่ยังไม่หายจากอาการไข้ดีนัก กลับต้องมาถูกบีบให้ต้องตัดทอนรายจ่ายลงอีกนัน จึงทำให้ความคาดหวังที่จะก้าวพ้นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจเริ่มพร่ามัวอีกครัง โดยพอสรุปมาตรการใช้ยาแรงบางส่วนทีรัฐบาลตัดสินใจจะนำมาใช้ ดังนี
          1. ระงับการปรับเพิมเงินบำนาญสำหรับปี 2554
          2. ระงับเงินช่วยเหลือสำหรับเด็กเกิดใหม่ ตังแต่วันที 1 มกราคม 2554
          3. ลดเงินเดือนระดับผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลลงร้อยละ 15
          4. ปรับลดเงินเดือนข้าราชการลงร้อยละ 5
          5. ปรับลดต้นทุนราคายา
          ทันทีที่ประกาศมาตรการรัดเข็มขัดครังนี ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายด้านสังคมทั้งสิ้น ซึ่งจะมีผลกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวมไม่มากก็น้อย ก็ปรากฏกระแสการต่อต้านจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวเช่นกัน โดยในชั้นนี้ หลายภาคส่วนได้เริ่มประกาศนัดประท้วงโดยการนัดหยุดงานแสดงออกการไม่เห็นด้วยแล้วในวันที่ 8 มิถุนายน 2553

ผลกระทบกับการส่งออกของไทย
          สัดส่วนมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสเปนและโปรตุเกส รวมกันแล้วไม่ถึงร้อยละ 1 ของการส่งออกของไทย ซึ่งสินค้าหลักได้แก่ เครื่องปรับอากาศและชินส่วน ยานพาหนะและชิ้นส่วน และยางพารา ที่กำลังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึนมากจากช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปีทีผ่านมา ขณะเดียวกัน กุ้งสดแช่แข็ง สินค้าแฟชั่น และเครื่องประดับ ก็ล้วนแต่ปรับตัวได้ดีขึ้นทั้งสิน แต่ทั้งนี้ จากมาตรการรัดเข็มขัดเพิมเติมของรัฐบาล ย่อมส่งผลกระทบไปยังความเชือมันของผู้บริโภคทัวไปไม่มากก็น้อยในการจับจ่ายใช้สอย อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคก็มีความคุ้นเคยกับการระมัดระวังการใช้จ่ายในช่วงเศรษฐกิจถดถอยทีผ่านมาอยู่แล้วในระดับหนึง
          ถึงแม้ว่าการส่งออกของไทยไปยังสเปนในปี 2552 จะลดลงถึงร้อยละ 40 แต่ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 ก็สามารถขยายตัวกลับมาได้ถึงร้อยละ 40 เมือเทียบกับช่วงเดียวกันของปีทีผ่านมา หากไม่เกิดเหตุการณ์วิกฤติทางเศรษฐกิจของโลกอืนๆอย่างเฉียบพลันเข้ามาแทรกแซงแล้ว ในปี 2553 สินค้าไทยคาดว่าจะมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 และจะได้ดุลการค้าไม่ตำกว่า 625 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ