โอกาสผลไม้ไทยในอิตาลียังมีอีกมาก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 3, 2010 17:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป

ประเทศอิตาลีนับเป็นประเทศที่บริโภคผลไม้มากที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรป โดยบริโภคผักและผลไม้รวม ๒.๗ ล้านตัน นับเป็นเงิน ๔.๓ ล้านยูโรโดยประมาณ (สารวจเมื่อปี ๒๕๕๑) เมื่อมองในตลาดท้องถิ่น หรือซูเปอร์มาร์เก็ตในชุมชนจะพบว่ามีผลไม้หลากหลาย ทั้งผลไม้ท้องถิ่น และผลไม้นาเข้าตามฤดูกาล ทั้งนี้มีการจาหน่ายผลไม้นอกฤดูกาลเช่นกัน แต่เป็นจานวนน้อยและราคาสูง

ทั้งนี้จากการสารวจตลาดผลไม้ในไตรภาคแรกของปี ๒๕๕๒ พบว่าปริมาณการนาเข้าผลไม้ต่างประเทศในอิตาลีมีปริมาณมากขึ้นถึงร้อยละ ๒๒ จึงทาให้เกิดการตื่นตัวในการสร้างกระแสการบริโภคสินค้า Made in Italy ที่เข้มข้นยิ่งขึ้น รวมทั้งการตื่นตัวในการรักษาสภาพแวดล้อม โดยการลดปริมาณการนาเข้าที่ต้องอาศัยการขนส่งทางอากาศจากต่างประเทศซึ่งใช้ปริมาณนามันและสร้างมลภาวะเป็นจานวนมาก

สาเหตุของการบริโภคผลไม้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

สาเหตุสาคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการบริโภคผลไม้ต่างประเทศเป็นจานวนมากในอิตาลีคือ การที่ฉลากสินค้าไม่มีการระบุแหล่งที่มาของผลไม้นั้นๆ จึงทำให้เกิดความสับสน และบริโภคโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตัวอย่างผลไม้หลักๆที่นาเข้าจากต่างประเทศ เช่น องุ่น นาเข้ามาจากแอฟริกาใต้ เชอร์รี่สายพันธุ์อิตาลี แต่นาเข้ามาจากสเปน รวมทั้งแอพพริคอท ส้ม เลมอน และพีชก็นาเข้ามาจากสเปนเช่นกัน

พฤติกรรมการบริโภคของชาวอิตาเลียน

จากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคผลไม้ในอิตาลีตอนเหนือ และภาคกลางตอนใต้ จากองค์กร So fresh และ Maffco Unifruti เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ ณ เมืองโบโลนญ่าที่ผ่านมา พบว่า

กลุ่มผู้ซื้อผลไม้หลักๆ แบ่งได้ดังนี้

1. กลุ่มผู้บริโภคอายุมากกว่า ๖๐ ขึ้นไป

2. กลุ่มอายุ ๔๐-๔๙ และ ๕๐ -๕๙

ปัจจัยในการเลือกซื้อผลไม้ แบ่งได้ดังนี้

1. ความสดของผลไม้

2. คุณภาพของผลไม้

3. แหล่งที่มาพร้อมกับฤดูกาลของผลไม้นั้นๆ

พฤติกรรมการเลือกซื้อผลไม้ แบ่งได้ดังนี้

1. ๗๘.๔% มีการตรวจสอบการว่าผลไม้นั้นนาเข้าหรือผลิตมาจากแหล่งใด

2. ๑๔.๑% ไม่ได้สารวจแหล่งที่มาของผลไม้ก่อนเลือกซื้อ

3. ๗.๕% ไม่มีความสนใจว่าผลไม้มาจากแหล่งใด

เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่าจะมีความสนใจในแหล่งที่มาของผลไม้แต่ละชนิด แต่ประชากรเกินครึ่งยังคงเลือกซื้อผลไม้จากต่างประเทศ โดยมีถึง ๕๔.๖% ส่วนผู้บริโภคที่เลือกซื้อเฉพาะผลไม้ในประเทศมีเพียง ๔๕.๔% แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ความเชื่อมั่นในสินค้าจากเอเชียนั้นมีจานวนตามาก โดยเมื่อเทียบกับสินค้าจากทวีปต่างๆ จะพบว่าผลไม้จากอเมริกาใต้ได้รับความนิยมสูงที่สุด รองลงมาคือแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย โดยเหตุผลหลักๆ คือการคานึงถึงความสะอาด และความปลอดภัย

ข้อมูลทั่วไปของผลไม้ไทย

อย่างไรก็ดี ใช่ว่าผลไม้ไทยจะหมดโอกาสการส่งออก เพราะผู้บริโภคชาวอิตาเลี่ยนยังให้ความสนใจในผลไม้แปลกๆ จากต่างประเทศอยู่ โดยจากการสารวจเมื่อปลายปี ๒๕๕๑ พบว่าปริมาณการนาเข้าผลไม้แปลกๆ เช่นผลไม้จากประเทศเขตร้อน ได้รับความนิยมและมีการเพิ่มปริมาณการนาเข้าถึง ๑๐% โดยผลไม้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ กล้วย (๑๗%) มะพร้าว สับปะรด อโวคาโด ฝรั่ง และมะม่วง โดยชาวอิตาเลี่ยนนั้นบริโภคผลไม้จากเขตร้อนถึงหนึ่งล้านกิโลต่อปี โดยเฉพาะกล้วย ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดรองลงมาจากสินค้าขายดีประจาท้องถิ่นอย่างแอปเปิ้ล

สรุปและข้อเสนอแนะ

จะเห็นได้ว่าไทยมีศักยภาพในการส่งออกผลไม้นานาชนิด เช่นกล้วยที่ออกผลผลิตทั้งปี และมีหลายหลายสายพันธุ์ หรือมะละกอ และมะพร้าว โดยข้อจากัดของการส่งออกผลไม้ไทยสู่ประเทศอิตาลี ณ ปัจจุบัน คือ

1. ราคาค่าขนส่งสูง

2. ชาวอิตาเลี่ยนยังไม่รู้จักสินค้าไทยและไม่รู้จักชนิดของผลไม้เมืองร้อน เช่น ขนุน ลูกตาล เงาะ ฯลฯ

ข้อเสนอแนะ

1. จัดประชาสัมพันธ์ ร่วมกับผู้นาเข้าจัดเทศกาลผลไม้ไทย

2. เข้าร่วมงานแฟร์ เพื่อแนะนาผลไม้ไทยให้ชาวอิตาเลี่ยนได้ชิมและรู้จักรสชาติ

3. ควบคุมคุณภาพของผลไม้ ความสด ความสะอาด การบรรจุหีบห่ออย่างมีมาตรฐาน การติดฉลากเพื่อ ระบุแหล่งที่มาของผลไม้ที่วางใจได้ และบรรจุภัณฑ์ที่อาจช่วยลดมลภาวะ หรือยืดอายุผลไม้ก่อนการจาหน่ายสู่ผู้บริโภคต่อไป

4. การควบคุมราคาจาหน่าย ควรจาหน่ายผลไม้ในราคาที่เป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อสามารถแข่งขันกับตลาดผลไม้จากประเทศอื่นที่มีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าอย่างแอฟริกา หรืออเมริกาใต้ รวมทั้งประเทศในเอเชียแปซิฟิก เช่น จีน หรือฟิลิปปินส์ เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง: http://www.newsfood.com/

http://www.sgmarketing.it/

http://unamelalgiorno.wordpress.com/2010/02/22/frutta-di-stagione-un-utile-calendario/

http://www.marchenet.it/galeazzi/frutta_e_verdura_di_stagione.htm

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ