ข้อมูลผลไม้สดของไทยในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 3, 2010 17:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ปัจจุบัน สหรัฐฯ อนุญาตให้ผลไม้สด (Fresh Fruit) ของไท 9 ชนิด ส่งเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ได้แก่ ทุเรียน มะขามหวาน มะพร้าวอ่อน มะม่วง ลำไย มังคุด ลิ้นจี่ เงาะ และ สับปะรด

2. ผลไม้สดของไทย 6 ชนิด คือ มะม่วง ลำไย มังคุด ลิ้นจี่ เงาะ และ สับปะรด จะต้องได้รับการฉายรังสีก่อนส่งออกไปยังสหรัฐฯ

3. ปัจจุบัน สหรัฐฯนำเข้าผลไม้สดของไทยเพียง 4 ชนิด คือ ทุเรียน มะขามหวาน มะพร้าวอ่อน และ ลำไย ผลไม้สดอีก 4 ชนิด มีต้นทุนการนำเข้าสูง เป็นผลให้ราคาจำหน่ายสูง

อนึ่ง ผลไม้สดของไทยส่วนหนึ่ง เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย ส่งออก ไปยังสหรัฐฯ ในรูปแช่แข็ง (Frozen)

ข้อมูลรายละเอียดโอกาสการส่งออกผลไม้ไปยังตลาดสหรัฐฯ ดังนี้
ผลไม้ไทย          ราคาขายปลีกในท้องตลาด(บาท) ต่อกิโลกรัมหรือต่อผล
1. ลำไย                2.99-3.49 เหรียญฯ/ปอนด์
2. ทุเรียน               3.75-3.99 เหรียญฯ/ปอนด์
3. มังคุด                6.99 เหรียญฯ/ปอนด์
4. มะขามหวาน           4 เหรียญฯ /กล่อง (16 ออนซ์/1 ปอนด์)
5. มะพร้าวอ่อน           1.49 เหรียญฯ/ผล
5. มะพร้าวอ่อน           0.69-.089 เหรียญฯ/ผล

ปัญหา/อุปสรรค

1. คุณภาพของผลไม้

เนื่องจากผลไม้สดของไทย 5 ชนิดที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ คือ มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ มังคุด สับปะรด) จะต้องผ่านขั้นตอนในการฉายรังสี ซึ่งมี กรรมวิธีหลายขั้นตอนกอรปกับระยะทางไกลในการขนส่งทำให้ผลไม้บอบช้ำง่าย คุณภาพไม่สม่ำเสมอ รสชาติอาจจะเปลี่ยนไป

2. ราคาแพง

ข้อเสียเปรียบด้านการขนส่งจากไทยไปยังสหรัฐฯ ทำให้ผลไม้ของไทยจะมีราคาแพงกว่าผลไม้ชนิดเดียวกันที่จำเข้าจากประเทศกลุ่มลาติน ได้แก่ เม็กซิโก เอกวาดอร์ เปอร์โตริโก ฮอนดูรัส ไฮติ กัวเตมาลา หรือ ผลไม้ชนิดเดียวกันที่ปลูกในสหรัฐฯ ในรัฐฟลอริด้า และฮาวาย

3. การขนส่ง

ผลไม้สดไทยขนส่งโดยตรงทางอากาศไปนครลอสแอนเจลิส สหรัฐฯ และจะส่งทางภาคพื้นดินโดยรถบรรทุกไปยังภูมิภาคต่างๆ ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลให้ ผลไม้มีความสด น้อยลง และอายุการเก็บรักษายิ่งสั้นลง

4. บรรจุภัณฑ์

กล่องบรรจุผลไม้ ไม่แข็งแรง ไม่สามารถรับน้ำหนักกล่องที่ซ้อนกันในการขนส่งได้จึงทำให้ผลไม้เสียหายได้ง่าย

โอกาส

1. การขยายตัวของกลุ่มประชาการเชื้อสายเอเซียและฮิสแปนิกซึ่งนิยมรับประทาน ผลไม้เมืองร้อน จึงเป็นโอกาสให้เกิดการขยายตัวของ ผลไม้สดไทยในสหรัฐฯ

2. ผลไม้เมืองร้อนของไทยเป็นผลไม้นอกฤดูกาลผลิตของสหรัฐฯ จึงสามารถเข้ามา เสริมในช่องว่างฤดูผลไม้ของสหรัฐฯได้

ข้อเสนอแนะ

1.บรรจุภัณฑ์

1. ควรพิจารณาออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความเหมาะสมและกระทัดรัด และแข็งแรงในการนำพา

2. การจัดอบรมให้ความรู้ตลาดผลไม้สหรัฐฯ และให้คำแนะนำผู้ส่งออกไทยในเรื่อง ระเบียบการนำเข้าของสหรัฐฯ และการปฏิบัติในการส่งออกไปยังสหรัฐฯ

3. การให้ความรู้ผู้บริโภคสหรัฐฯ เกี่ยวกับผลไม้ไทย รวมไปถึงวิธีการบริโภค และ คุณประโยชน์ทางโภชนาการที่จะได้รับ

2. ตุ้นทุนการขนส่งทางอากาศ

เพื่อให้ผลไม้สดของไทยสามารถแข็งขันกับผลไม้ชนิดเดียวกันได้ในสหรัฐฯ จะต้อง พิจารณาในด้านลดต้นทุนการขนส่งผลไม้จากไทยไปสหรัฐฯ ทั้งนี้ อาจจะหารือกับ บริษัทการบินไทยขอรับอัตราพิเศษในการขนส่ง

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ