ในช่วงเวลา 10 กว่าปี ที่ผ่านมา ชิลีมีการปรับเปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจไปมาก ปัจจุบันชิลีมีระบบเศรษฐกิจการตลาดที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อันเป็นผลมาจากระดับการค้าต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง นับตั้งแต่การปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยรัฐบาลทหาร
ในช่วงปี 1991-1997 GDP ของชิลีมีอัตราความเจริญเติบโตเฉลี่ยถึง 8% และแม้ GDP จะตกลงไปกว่าครึ่งในปี 1998 สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียอันทำให้การส่งออกของชิลีตกต่ำลง ในช่วงปี ถัดมาเศรษฐกิจของชิลีก็ฟื้นตัวขึ้นอีก จน GDP มีอัตราความเจริญเติบโตถึงร้อยละ 5-7 อันเป็นผลให้ชิลีมี GDP ต่อหัวสูงที่สุดในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา
Global Competitiveness Report รายงานว่า ในช่วงปี 2009-2010 ชิลีเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางการแข่งขันสูงเป็นลำดับที่ 30 ของโลก และสูงที่สุดในละตินอเมริกา ในขณะที่บราซิลอยู่ลำดับที่ 56 เม็กซิโกลำดับที่ 60 และอาร์เจนตินา อยู่ลำดับที่ 85
อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008 - 2009 เศรษฐกิจของชิลีได้รับผลกระทบจากการนี้อย่างมากเช่นกัน เนื่องจากการส่งออกทองแดงอันเป็นรายได้หลักของประเทศชะลอตัว จากการที่ผู้ซื้อรายใหญ่ๆ เช่น จีน มีเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งในปี 2010 เริ่มมีแนวโน้มว่า เศรษฐกิจของชิลีกำลังจะฟื้นตัวดีขึ้น
ได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า คือ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 ได้เกิดอุบัติภัยแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงมากในประเทศชิลี และแผ่นดินไหวดังกล่าวยังก่อให้เกิดคลื่นยักษ์ซึนามิ ตามมาอีก ก่อให้เกิดความสูญแก่ชิลีอย่างมาก ทั้งการสูญเสียชีวิตคนและคนสูญหาย กว่า 700 ชีวิต การบาดเจ็บ การสูญเสียทรัพย์สิน เช่น บ้านช่องถูกทำลาย กว่า 500,000 หลังคาเรือน และก่อให้เกิดปัญหาสังคมและเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ ตามมาเป็นอันมาก ยังผลให้ชิลีจำต้องปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจของประเทศเพื่อบูรณะฟื้นฟูประเทศจากเหตุการณ์ดังกล่าว
เฉพาะความสูญเสียทางเศรษฐกิจ บริษัท IM Trust Research ได้ประเมินความเสียหายเบื้องต้นของชิลีว่ามีมูลค่าประมาณ 4-8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วยความสูญเสียแก่ที่อยู่อาศัย 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ความเสียหายต่ออุตสาหกรรมและการค้า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ความเสียหายต่อเครื่องจักรอุปกรณ์ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และความเสียหายต่อตัวสินค้า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ กระทรวงการคลังของชิลี และ EQ ECAT ซึ่งเป็นธุรกิจประเมินความสูญเสียของอุบัติภัยสำหรับผู้ให้ประกันภัย ประเมินความเสียหายจากอุบัติภัยในครั้งนี้ไว้ประมาณ 29.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทำให้ชิลีจะต้องใช้จ่ายเงินเพื่อบูรณะประเทศในครั้งนี้ โดย 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ จะมาจากงบประมาณของประเทศ 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ จะเป็นเงินในส่วนที่ภาคเอกชนจะต้องจ่าย และ 4.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ จะมาจากบริษัทประกันภัย ส่วนที่เหลืออีก 8.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นความสูญเสียในการผลิตของประเทศที่ลดลง
ในส่วนของงบประมาณ กระทรวงการคลังชิลี ประกาศที่จะทบทวนงบประมาณของประเทศใหม่ เพื่อนำมาจ่ายเป็นค่าฟื้นฟูบูรณะประเทศ ซึ่งรัฐบาลชิลีมีดำริจะขึ้นค่าภาคหลวงเหมืองแร่ทองแดง (Mining Royalty) เพื่อนำเงินมาใช้ในการดังกล่าวด้วย ปัจจุบันชิลีมีเงินสำรองจากค่าภาคหลวงทองแดงถึงประมาณ 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสามารถจะนำเงินส่วนนี้มาใช้ในการบูรณะประเทศได้อย่างรวดเร็ว
เหมืองทองแดงของชิลีไม่ได้รับผลกระทบกระเทือนมากนัก และยังคงมีสินค้าส่งออกได้ตามที่ลูกค้าได้สั่งซื้อ ในขณะที่ราคาทองแดงในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้มีแนวโน้มว่าชิลีจะมีรายได้เพื่อการฟื้นฟูบูรณะประเทศต่อไป
Moody’s เห็นว่าชิลียังมีระบบการเงินที่แข็งแรงที่สามารถจะรับมือกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากแผ่นดินไหวได้ โดยในช่วงแรกของปีนี้การฟื้นตัวอาจจะเป็นไปได้ช้า แต่ในช่วงครึ่งปีหลังการก่อสร้างเพื่อบูรณะประเทศจะเป็นตัวกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็วขึ้น
JP Morgan Chase and Co คาดคะเนว่าในปีนี้เศรษฐกิจชิลีจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5.5 โดยมีอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 4.5 ในขณะที่กลุ่มบริษัทวิจัย Capital Economics คาดคะเนว่า เศรษฐกิจของชิลีจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5 ในปีนี้
นาย Francis Ghesquiere ผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเทาภัยพิบัติของธนาคารโลกกล่าวว่า ชิลีมีเงินสำรองเพียงพอและมีระบบการเงินที่มีประสิทธิภาพ จึงคาดว่าเศรษฐกิจของชิลีจะขยายตัวได้แต่ต้องใช้เวลาตามสมควร โดยกลุ่มการลงทุน Pimco แสดงทัศนะว่า สถานะทางการเงินของภาครัฐชิลี ยังเข้มแข็งเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหา เนื่องมาจากมีกองทุนสำรองที่เก็บจากอุตสาหกรรมเหมืองทองแดง
ในการฟื้นฟูบูรณะประเทศ ชิลีคงต้องปรับการให้ความสำคัญของรัฐบาลในการลงทุนเพื่อพัฒนาการศึกษา การค้นคว้าวิจัย ไปสู่การฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทั้งในแง่การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเรื่องปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต การก่อสร้างซ่อมแซมที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคพื้นฐาน การซ่อมแซมจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์ที่เป็นปัจจัยการผลิต
ในวันที่ 11 มีนาคม 2553 การเมืองของชิลีเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ กล่าวคือ นาย Sebastian Pinera ได้เข้าพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศ ซึ่งจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทำให้ประธานาธิบดีคนใหม่ของชิลีประกาศทบทวนกฎหมายงบประมาณของประเทศใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และความต้องการในการฟื้นฟูบูรณะประเทศจากอุบัติภัยแผ่นดินไหวและซึนามิ โดยจัดทำเป็นแผน emergency reconstruction plan
ในส่วนของนโยบายต่างประเทศ นาย Fernando Schmidt รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ของชิลีเปิดเผยนโยบายของรัฐบาลใหม่ว่า จะให้ความสำคัญกับการกระชับและขยายความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสูงที่ยังมีโอกาสทางการค้าอีกมาก โดยยังคงมีนโยบายด้านการจัดทำ FTA กับต่างประเทศต่อไป
ทั้งนี้รัฐบาลชิลีจะเร่งฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและเยียวยาผู้ประสบภัยโดยเร็วที่สุด โดยกำหนดลำดับความสำคัญดังนี้
- ระยะสั้น เร่งบูรณะโรงเรียนและสถานศึกษา ที่อยู่อาศัย และโรงพยาบาล ทางหลวงหลักต่างๆ สะพาน ระบบการประปา และโรงงานผลิตสินค้า ที่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งการปรับปรุงระบบเตือนภัยและระบบการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาในกรณีเกิดวิกฤตฉุกเฉิน
- ระยะยาว มุ่งฟื้นฟูด้านวัฒนธรรม
โดยประธานาธิบดี Sebastian Pinera ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อเร่งบูรณะและแก้ไขปรับปรุงปัญหาดังกล่าว ได้แก่ Reconstruction Committee และ Emergency Committee
ในส่วนของต่างประเทศ ชิลีต้องการความช่วยเหลือและต้องการจัดซื้อจัดหาสิ่งของจากต่างประเทศ ดังนี้
1. ต้องการคำแนะนำในการฟื้นฟูบูรณะต่างๆจากประเทศที่เคยประสบภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหวและซึนามิ รวมทั้งการบริหารจัดการกับวิกฤตการที่เกิดขึ้น
2. ต้องการสินค้าต่างๆ เพื่อการบูรณะสถานศึกษา ที่พักอาศัย และโรงพยาบาล ในปัจจุบัน ชิลีกำลังจัดซื้อโรงเรียน ที่พักอาศัยแบบสำเร็จรูป และโรงพยาบาลสนาม จากสหรัฐอเมริกา
3. ชิลีกำลังปรับปรุงระบบโทรคมนาคมและสื่อสาร ระบบการฝึกอบรมบุคลากร ติดตาม ฝึกซ้อมเกี่ยวกับการเตือนภัยเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งระบบบริหารจัดการวิกฤตที่ท่าอากาศยาน
4. ชิลีกำลังพิจารณาความจำเป็นที่อาจต้องสร้างท่าอากาศยานอีก 1 แห่ง เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
1. การเกษตรและป่าไม้ ปี 2551 มีผลผลิต 5,422.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผลกระทบจากอุบัติภัยแผ่นดินไหว กระทบต่อผลผลิตด้านการเกษตรของประเทศประมาณร้อยละ 76 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการผลิตที่สูงสุดในภาคเกษตรของชิลี โดยเฉพาะผลไม้สด
2. การประมง ปี 2551 มีผลผลิต 1,186.20 พันล้านเหรียญสหรัฐ อุบัติภัยแผ่นดินไหว และซึนามิ ทำให้ร้อยละ 25 ของปัจจัยการผลิตประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ในการประมงไม่สามารถใช้การได้ โดยจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี จึงจะฟื้นตัว ทั้งนี้ ร้อยละ 50 ของผลผลิตด้านการประมงของชิลีมาจากภูมิภาคที่ได้รับความเสียหาย ในส่วนของอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลาซัลมอน ได้รับผลกระทบจากอุบัติภัยแผ่นดินไหวและซึนามิไม่มาก แต่มีปัญหาเดิมคือ ปัญหาปลาซัลมอนติดเชื้อโรคระบาด Infectious Salmon Anemia (ISA) มาตั้งแต่ปี 2006 ทำให้ผลผลิตในปี 2009 ตกต่ำลงจากปี 2008 ถึงร้อยละ 22 ทำให้สูญเสียตลาดไปมาก และยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้
3. การทำเหมืองแร่ ปี 2551 มีผลผลิต 31,519.18 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ทองแดง ปี 2551 มีผลผลิต 27,791.11 พันล้านเหรียญสหรัฐ เหมืองทองแดงส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว
- แร่ธาตุอื่นๆ ปี 2551 มีผลผลิต 3,728.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ
4. การอุตสาหกรรม ปี 2551 มีผลผลิต 22,876.83 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย
- อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ ปี 2551 มีผลผลิต 7,456.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมไวน์ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวประมาณ 250 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่สมาคมผู้ผลิตไวน์ของชิลี ยังคงคาดการณ์ว่า ในปีนี้อุตสาหกรรมไวน์จะเติบโตถึงร้อยละ 8 อุบัติภัยแผ่นดินไหวทำให้ร้อยละ 20 ของผลผลิตได้รับความเสียหาย ซึ่งส่วนใหญ่เนื่องจากขาดกระแสไฟฟ้าทำให้ผลไม้ที่เก็บรักษาในตู้ควบคุมอุณหภูมิได้รับความเสียหาย และโรงงานผลิตเบียร์รายสำคัญก็ได้รับความเสียหายจากการนี้ด้วยเช่นกัน
- สิ่งทอ เสื้อผ้า และเครื่องหนัง ปี 2551 มีผลผลิต 847.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ไม้และเฟอร์นิเจอร์ ปี 2551 มีผลผลิต 1,016.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีโรงงานและโชว์รูมของบริษัทจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ซึ่งมางาน TIFF 2010 ที่ประเทศไทย เสียหายจากแผ่นดินไหวเช่นกัน
- กระดาษและสิ่งพิมพ์ ปี 2551 มีผลผลิต 2,202.95 พันล้านเหรียญสหรัฐ อุบัติภัยแผ่นดินไหวทำให้บริษัท Arauco ผู้ผลิตเยื่อกระดาษรายใหญ่ไม่สามารถผลิตเยื่อกระดาษได้ในเดือนมีนาคม 2553
- เคมีภัณฑ์ น้ำมันเชื้อเพลิง ยาง และพลาสติก ปี 2551 มีผลผลิต 5,422.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ผลิตภัณฑ์อโลหะ ปี 2551 มีผลผลิต 2,372.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ปี 2551 มีผลผลิต 3,558.61 พันล้านเหรียญสหรัฐ CAP ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตเหล็กกล้ารายใหญ่ที่สุดในชิลีประกาศว่าโรงงานผลิตเหล็กกล้าได้รับความเสียหายมาก ต้องชะลอการผลิตลง ชิลีจึงต้องนำเข้าเหล็กกล้าเพิ่มขึ้น
5. ไฟฟ้า แก๊ส และประปา ปี 2551 มีผลผลิต 6,100.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปัจจุบันชิลีมีการลงทุนตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานจากแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นมาก เพื่อทดแทนพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นปริมาณมาก อุบัติภัยแผ่นดินไหวทำให้ประชากรในภูมิภาค Valparaiso และ Araucania บางส่วนไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากเครื่องส่งกระแสไฟฟ้าได้รับความเสียหาย และไม่มีน้ำสะอาดอุปโภคบริโภค เนื่องจากแหล่งเก็บกักน้ำและท่อประปา ได้รับความเสียหาย
6. การก่อสร้าง ปี 2551 มีผลผลิต 13,726.09 พันล้านเหรียญสหรัฐ สภาการก่อสร้างแห่งชิลีรายงานว่า หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ธุรกิจด้านก่อสร้างจะมีความเจริญเติบโตอยู่ช่วงหนึ่ง โดยคาดว่าจะมีการจ้างงานในสาขาการก่อสร้างประมาณ 600,000 ตำแหน่ง โดยคาดว่าการลงทุนในสาขาก่อสร้างจะมีประมาณ 6,278 ล้านเหรียญสหรัฐ
7. การค้าปลีก ภัตตาคาร และโรงแรม ปี 2551 มีผลผลิต 15,759.59 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงหลังจากอุบัติภัยแผ่นดินไหว ซูเปอร์มาร์เก็ตจำนวน 35 แห่งได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว โดย ซูเปอร์มาร์เก็ตจำนวน 12 แห่ง ไม่สามารถเปิดทำการได้ เนื่องจากเสียหายจากแผ่นดินไหว อีก 18 แห่ง ถูกฝูงชนที่อยู่ในภาวะปั่นป่วนจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเข้าปล้นสะดมสินค้า
8. การขนส่ง ปี 2551 มีผลผลิต 8,981.27 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระบบการขนส่งของประเทศประสบความเสียหายจากแผ่นดินไหวมากเนื่องจากทางหลวง ท่าเรือเลียบชายฝั่ง สะพานขนาดใหญ่ เสียหายมาก โดยจะต้องใช้งบประมาณซ่อมแซมในขั้นเริ่มแรกถึง 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
9. การติดต่อสื่อสาร ปี 2551 มีผลผลิต 3,987.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ อุบัติภัยแผ่นดินไหวกระทบต่อระบบโทรศัพท์เนื่องจากทำให้เสาโทรศัพท์ได้รับความเสียหาย
10. การบริการด้านการเงิน ปี 2551 มีผลผลิต 27,113.28 พันล้านเหรียญสหรัฐ เหตุการณ์แผ่นดินไหวทำให้ตู้ให้บริการฝากถอนเงินอัตโนมัติเสียหายเป็นจำนวนมาก
11. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปี 2551 มีผลผลิต 8,472.90 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นที่คาดการณ์ว่า ธุรกิจนี้จะขยายตัวมาก หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและซึนามิในครั้งนี้
12. ธุรกิจบริการส่วนบุคล ได้แก่ ด้านสุขภาพ การศึกษา ฯ ปี 2551 มีผลผลิต 17,284.71 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจบริการนี้ ได้แก่ อาคาร สถานที่ โรงเรียนและโรงพยาบาล ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาก โดยรัฐบาลมุ่งให้ความสำคัญในการบูรณะฟื้นฟูในส่วนนี้เป็นลำดับแรก โรงเรียนในเขตระหว่าง Valparaiso และ Araucania ร้อยละ 45 เสียหายจากแผ่นดินไหว รัฐบาลต้องอนุมัติงบประมาณ 10,000 ล้านเปโซชิลี เพื่อเร่งบูรณะโรงเรียน และมีโรงพยาบาล 62 แห่ง ได้รับความเสียหาย ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณบูรณะโรงพยาบาลอีกจำนวน 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ
13. การบริหารจัดการภาครัฐ ปี 2551 มีผลผลิต 7,286.69 พันล้านเหรียญสหรัฐ
การส่งออก
1. ผลผลิตสาขาเหมืองแร่ ปี 2551 มีมูลค่า 38,188 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย
- ทองแดง ปี 2551 มีมูลค่า 32,806 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังอุบัติภัยแผ่นดินไหว ชิลียังคงมีศักยภาพในการส่งออกทองแดงได้ตามที่ตลาดโลกต้องการ และในปัจจุบัน ราคาทองแดงในตลาดโลกก็มีแนวโน้มสูงขึ้น จึงประกันได้ว่าชิลีมีเงินที่จะนำไปบูรณะประเทศได้อย่างเพียงพอ
- แร่ธาตุอื่นๆ ปี 2551 มีมูลค่า 3,366 พันล้านเหรียญสหรัฐ
2. ผลผลิตการเกษตร ป่าไม้ และการประมง ปี 2551 มีมูลค่า 3,891 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย
- องุ่น ปี 2551 มีมูลค่า 1,258 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ผลไม้อื่นๆ ปี 2551 มีมูลค่า 3,343 พันล้านเหรียญสหรัฐ
3. ผลผลิตทางอุตสาหกรรม ปี 2551 มีมูลค่า 21,194 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย
- อาหาร ปี 2551 มีมูลค่า 6,972 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ซัลมอนและเทร๊าท์ ปี 2551 มีมูลค่า 2,324 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ไวน์ ปี 2551 มีมูลค่า 1,374 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ป่าไม้และเฟอร์นิเจอร์ ปี 2551 มีมูลค่า 2,146 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- เซลลูโส กระดาษ ปี 2551 มีมูลค่า 3,296 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- เคมีภัณฑ์ ปี 2551 มีมูลค่า 3,814 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ปี 2551 มีมูลค่า 1,660 พันล้านเหรียญสหรัฐ
4. สินค้าอื่นๆ ปี 2551 มีมูลค่า 3,173 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมการส่งออกสินค้าปี 2551 มีมูลค่า 66,454 พันล้านเหรียญสหรัฐ
5. บริการด้านการขนส่ง ปี 2551 มีมูลค่า 6,377 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย
- การขนส่งทางเรือ ปี 2551 มีมูลค่า 4,030 พันล้านเหรียญสหรัฐ
- ทางอากาศ ปี 2551 มีมูลค่า 2,022 พันล้านเหรียญสหรัฐ
6. บริการด้านจัดการการเดินทาง ท่องเที่ยว ปี 2551 มีมูลค่า 1,760 พันล้านเหรียญสหรัฐ การท่องเที่ยวของชิลีได้รับผลกระทบจากอุบัติภัยครั้งนี้มาก เนื่องจากอุบัติภัยได้สร้างความหวาดหวั่นให้แก่นักท่องเที่ยวในการตัดสินใจไปเที่ยวชิลี ทำให้บริษัทท่องเที่ยวในชิลีต้องออกคำขวัญว่า “วิธีช่วยชิลีที่ดีที่สุดคือไปเที่ยวชิลี”
7. บริการอื่นๆ ปี 2551 มีมูลค่า 2,617 พันล้านเหรียญสหรัฐ รวมการส่งออกบริการปี 2551 มีมูลค่า 10,755.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ชิลีเป็นประเทศผู้ผลิตแร่ธาตุได้แก่ ทองแดง ที่เป็นวัสดุขั้นปฐม และผลิตสินค้าเกษตร ได้แก่ ธัญพืช ผัก ผลไม้ สินค้าประมง เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์อาหาร ยังไม่มีการผลิตทางอุตสาหกรรมในกลุ่ม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องอุปโภค บริโภค อีกหลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก สินค้าแฟชั่น ดังนั้นการนำเข้าส่วนใหญ่จึงเป็นสินค้าที่ไม่มีการผลิตเองในประเทศและไม่มีสินค้าในประเทศทดแทนได้ ในปี 2552 สินค้าที่ตลาดชิลีต้องการและนำเข้าจากโลกรายการสำคัญ ได้แก่
1. เชื้อเพลิง น้ำมันดิบ ปี 2552 นำเข้า 9,051 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. เครื่องจักรกล ปี 2552 นำเข้า 5,963 ล้านเหรียญสหรัฐ
3. เครื่องจักรและเครื่องใช้ไฟฟ้า ปี 2552 นำเข้า 3,788 ล้านเหรียญสหรัฐ
4. ยานพาหนะ ไม่รวมรถไฟ ปี 2552 นำเข้า 3,088 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. วัสดุและผลิตภัณฑ์พลาสติกปี 2552 นำเข้า 1,254 ล้านเหรียญสหรัฐ
6. ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ปี 2552 นำเข้า 829 ล้านเหรียญสหรัฐ
7. แร่ธาตุ สารประกอบอนินทรีย์เคมี ปี 2552 นำเข้า 655 ล้านเหรียญสหรัฐ
8. วัสดุ อุปกรณ์การแพทย์ ปี 2552 นำเข้า 649 ล้านเหรียญสหรัฐ
9. วัสดุและผลิตภัณฑ์ยาง ปี 2552 นำเข้า 635 ล้านเหรียญสหรัฐ
10. เภสัชภัณฑ์ ปี 2552 นำเข้า 628 ล้านเหรียญสหรัฐ
11. ผลิตภัณฑ์กระดาษ ปี 2552 นำเข้า 593 ล้านเหรียญสหรัฐ
12. เคมีภัณฑ์ ปี 2552 นำเข้า 582 ล้านเหรียญสหรัฐ
13. เสื้อผ้าทอ ปี 2552 นำเข้า 557 ล้านเหรียญสหรัฐ
14. ผลิตภัณฑ์อินทรีย์เคมี ปี 2552 นำเข้า 545 ล้านเหรียญสหรัฐ
15. วัสดุเหล็กและเหล็กกล้า ปี 2552 นำเข้า 530 ล้านเหรียญสหรัฐ
16. วัสดุอาหารสัตว์ ปี 2552 นำเข้า 526 ล้านเหรียญสหรัฐ
17. เสื้อผ้าถัก ปี 2552 นำเข้า 517 ล้านเหรียญสหรัฐ
18. เนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค ปี 2552 นำเข้า 509 ล้านเหรียญสหรัฐ
19. สินแร่โลหะต่างๆ ปี 2552 นำเข้า 490 ล้านเหรียญสหรัฐ
20. ธัญพืชอาหารต่างๆ ปี 2552 นำเข้า 480 ล้านเหรียญสหรัฐ
21. รองเท้า ปี 2552 นำเข้า 416 ล้านเหรียญสหรัฐ
22. น้ำหอมและเครื่องสำอาง ปี 2552 นำเข้า 415 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่จำเป็นในการอุปโภคบริโภคและเป็นปัจจัยการผลิตที่จำเป็นของประเทศ จึงเป็นที่คาดว่าชิลีจะต้องนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ การนำเข้าสินค้าหลายรายการเพื่อฟื้นฟูบูรณะประเทศจากอุบัติภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น อาทิเช่น สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารประเภทที่เก็บได้นานและเป็นจำพวก ready to eat เช่น บะหมี่สำเร็จรูป เพื่อนำไปจำหน่ายในเขตที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติอย่างรุนแรงโดยครัวเรือนยังขาดวัสดุอุปกรณ์ในการทำครัว (ปัจจุบันมีผู้นำเข้าติดต่อสำนักงานฯ สนใจนำเข้าสินค้า Instant noodle หรือ cup noodle) สินค้าเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนเภสัชภัณฑ์ต่างๆ สินค้าปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง เพื่อใช้ในการบูรณะโรงเรียน โรงพยาบาล สาธารณูปโภคพื้นฐาน และที่อยู่อาศัย วัสดุก่อสร้าง รถยนต์กระบะ อุปกรณ์และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อใช้ในฟาร์ม เหมืองแร่ และโรงงาน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี สินค้านำเข้าจากไทยหลายรายการ เป็นสินค้าที่มีการผลิตในท้องถิ่นทดแทนได้ แต่ก็คาดว่าชิลีจะยังคงนำเข้าจากไทยในปริมาณที่มากเช่นเดิม เช่น ปลาทูน่าและซาร์ดีนกระป๋อง ผลไม้และน้ำผลไม้กระป๋อง เนื่องด้วยความติดในรสชาดและความแปลกใหม่ของรสชาดผลไม้เมืองร้อนซึ่งเป็น Exotic food ของตลาด เช่น สับปะรดกระป๋อง คอกเทลผลไม้เมืองร้อนกระป๋อง รวมทั้งสินค้าแฟชั่นต่างๆ ซึ่งยังมีกลุ่มผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติน้อย รองรับตลาดสินค้าในส่วนนี้อยู่
สินค้าที่นำเข้าจากไทยรายการที่สำคัญ ได้แก่
1. ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 80.759 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่สำคัญได้แก่
- รถยนต์กระบะขนาดบรรทุกต่ำกว่า 5 ตัน ปี 2552 นำเข้าจากไทย 76.135 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในโรงงาน เหมืองแร่ และฟาร์มต่างๆ
- ชิ้นส่วนยานยนต์ปี 2552 นำเข้าจากไทย 2.705 ล้านเหรียญสหรัฐ
- รถยนต์นั่งบุคคลปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.191 ล้านเหรียญสหรัฐ
- รถมอเตอร์ไซด์ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.685 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าในกลุ่มนี้ ชิลียังไม่มีนโยบายผลิตในประเทศ จึงเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในตลาดสูงมาก เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์กระบะขนาดเล็กที่สำคัญของโลก รวมทั้งมีการผลิตอุปกรณ์ ชิ้นส่วนยานพาหนะดังกล่าวทั้งแบบ original parts และ replacement parts โดยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดสูงมาก ทั้งในด้านราคาและคุณภาพ นอกจากนี้ อุบัติภัยแผ่นดินไหวยังทำให้มีแนวโน้มที่จะมีการนำเข้ารถยนต์กระบะ ซึ่งถือเป็นปัจจัยการผลิต เพิ่มมากขึ้น เช่น ปัจจุบันมีผู้นำเข้าชิลีสนใจนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากไทยติดต่อสำนักงานฯ เพื่อนำเข้าแบตตารี่รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ประเภท hoot, bumper, fender, head lamp, tail lamp, door, grille สำหรับรถนิสสัน โตโยต้า และมิตซูบิชิ
2. เครื่องจักรกล ปี 2552 นำเข้าจากไทย 26.846 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่สำคัญได้แก่
- เครื่องซักผ้า ปี 2552 นำเข้าจากไทย 10.355 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ลิฟท์และเครื่องยก ปี 2552 นำเข้าจากไทย 3.402 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ถังพักสารทำความร้อน ปี 2552 นำเข้าจากไทย 3.241 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ท่อ ก๊อกน้ำ วาวส์ต่างๆ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.959 ล้านเหรียญสหรัฐ
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.875 ล้านเหรียญสหรัฐ
- หม้อต้มไอน้ำ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.399 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ปั้นจั่น เครนส์ ต่างๆ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.738 ล้านเหรียญสหรัฐ
- เครื่องพิมพ์ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.711 ล้านเหรียญสหรัฐ
- เครื่องคอมเพรสเซอร์ตู้เย็น ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.572 ล้านเหรียญสหรัฐ
สินค้าในกลุ่มนี้ ชิลียังไม่มีนโยบายผลิตในประเทศ จึงเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพสูงมากในตลาด เนื่องจากไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรอุปกรณ์ขนาดเบา ที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชีย สินค้าไทยมีศักยภาพทั้งในด้านคุณภาพและราคา และชิลีมีโอกาสจะนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปบูรณะโรงงานและอาคารสถานที่ต่างๆ
3. ปูนซีเมนต์ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 15.946 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าในกลุ่มนี้ ชิลีมีการผลิตภายในประเทศ แต่ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ สินค้าจากไทยแม้จะประสบกับต้นทุนการขนส่งสูงมาก แต่ก็ยังมีศักยภาพทั้งในด้านคุณภาพและราคา เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรายสำคัญในเอเชีย ประกอบกับในปี 2553 ชิลีประสบปัญหาอุบัติภัยแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง ทำให้ความต้องการสินค้ากลุ่มนี้จะถีบตัวสูงขึ้นมาก ไทยมีโอกาสที่จะผลักดันการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปยังตลาดชิลีสูงมาก
4. เครื่องจักรกลไฟฟ้า ปี 2552 นำเข้าจากไทย 11.183 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่คือ เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และชิ้นส่วน ไทยมีโอกาสส่งออกได้มาก เนื่องจากชิลีมีนโยบายปรับปรุงระบบโทรคมนาคมของประเทศ
5. ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปี 2552 นำเข้าจากไทย 10.281 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย
- ถุงพลาสติก ปี 2552 นำเข้าจากไทย 2.196 ล้านเหรียญสหรัฐ
- วัสดุโพลีเอทีลีน ปี 2552 นำเข้าจากไทย 2.107 ล้านเหรียญสหรัฐ
- เสื้อผ้าและถุงมือพลาสติก ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.632 ล้านเหรียญสหรัฐ
- แผ่นพลาสติก ปี 2552 นำเข้าจากไทย 2.155 ล้านเหรียญสหรัฐ
6. ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง (ทูนาและซาร์ดีน) ปี 2552 นำเข้าจากไทย 9.848 ล้านเหรียญสหรัฐ
7. ยาง ปี 2552 นำเข้าจากไทย 6.591 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ ยางธรรมชาติ วัสดุยางกึ่งสำเร็จรูป และยางรถยนต์
8. อาหารกระป๋องต่างๆ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 4.573 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่
- สับปะรดกระป๋อง ปี 2552 นำเข้าจากไทย 2.340 ล้านเหรียญสหรัฐ
- น้ำสับปะรดกระป๋อง ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.200 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ข้าวโพดหวานกระป๋อง ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.310 ล้านเหรียญสหรัฐ
9. เสื้อผ้าทอ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 3.292 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ ที-เชิร์ต
10. วัสดุทางการแพทย์ เลนส์แว่นสายตา ปี 2552 นำเข้าจากไทย 3.206 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ เลนส์แว่นสายตา
11. ของเล่น เครื่องเล่นเกมส์ และอุปกรณ์กีฬา ปี 2552 นำเข้าจากไทย 3.060 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ ของเล่นเพื่อการศึกษา ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.814 ล้านเหรียญสหรัฐ
12. อัญมณีและเครื่องประดับปี 2552 นำเข้าจากไทย 2.496 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับอัญมณีเทียม สินค้าจากไทยมีศักยภาพในตลาดสูง เนื่องจากรูปแบบ คุณภาพ และราคา แข่งขันได้ดี และเป็นสินค้าที่ค่าขนส่งมิใช่ตัวอุปสรรคที่สำคัญ
13. รองเท้า ปี 2552 นำเข้าจากไทย 2.109 ล้านเหรียญสหรัฐ
14. เสื้อผ้าทอ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.712 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ ชุดชั้นใน
15. ผ้าย้อม ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.374 ล้านเหรียญสหรัฐ
16. เมล็ดพันธุ์พืช ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.067 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ผักต่างๆ
17. ผลิตภัณฑ์กระดาษ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 1.062 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ กระดาษสำเนาคาร์บอน
18. เคมีภัณฑ์ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.768 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ น้ำยาเขียนลายเบ้าหล่อ
19. เภสัชภัณฑ์ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.621 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ ยาและพลาสเตอร์ทำแผล ชิลีมีแนวโน้มจะนำเข้าเพิ่มขึ้นมากเพื่อบูรณะสถานพยาบาลที่ประสบภัยจากแผ่นดินไหว
20. พรมปูพื้น ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.554 ล้านเหรียญสหรัฐ
21. ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.529 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ ท่อเหล็ก น็อต และสกรู ต่างๆ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.467 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าในกลุ่มนี้มีโอกาสขยายตัวมากเนื่องจากความต้องการนำไปใช้ฟื้นฟูบูรณะประเทศหลังอุบัติภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
22. น้ำตาล ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.467 ล้านเหรียญสหรัฐ
23. ผ้าผืนทอพิเศษ ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.425 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ ผ้าผืนทอประกอบด้วยยางหรือด้ายยืด
24. เหล็กและเหล็กกล้า ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.412 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่ได้แก่ แผ่นเหล็กกล้าอัลลอย โรงงานผลิตสินค้าในกลุ่มนี้ได้รับผลเสียหายจากแผ่นดินไหวเช่นกัน
25. แป้งอินนูลิน ปี 2552 นำเข้าจากไทย 0.381 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแนวโน้มการนำเข้าสูงขึ้นเนื่องจากตลาดให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากขึ้นและพยายามหลีกเลี่ยงการบริโภคของหวานที่ทำจากน้ำตาลโดยตรง
26. ข้าว ปี 2552 นำเข้าจากไทยเพียง 58,000 เหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นข้าวเกรดดีในระดับข้าว 5% ขึ้นไป เพื่อใช้บริโภคกับอาหารจีน เนื่องจากชิลีนำเข้าข้าวเกรดรองจากข้าว 5% ลงไปจากคู่แข่งขันสำคัญในภูมิภาคอเมริกาใต้ คือ บราซิล อาร์เจนตินา และอุรุกวัย เพื่อใช้ประกอบอาหารพื้นเมืองที่ไม่ต้องใช้ข้าวเกรดดีมาก แต่ในปีนี้ปรากฎว่าเกิดภาวะภัยธรรมชาติในบราซิลและอาร์เจนตินา ทำให้คู่แข่งขันของไทยทั้ง 2 ราย ดังกล่าวผลิตข้าวได้น้อยลง ชิลีจึงเริ่มมองหาแหล่ง supplier รายอื่น เช่น ไทยและเวียดนาม ปัจจุบันมีบริษัทค้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของชิลี คือ Empresas Tucapel แสดงความสนใจจะนำเข้าข้าวขาว 15% เมล็ดแบบ long and thin จากไทย จำนวน 100 ตู้คอนเทนเนอร์แบบ 20 ฟุต (ประมาณ 2,400 เมตริกตัน)
ชิลีเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ดีและมีความเป็นสากลอยู่ในขั้นแนวหน้าของกลุ่มประเทศละตินอเมริกา ในปี 2010 ชิลีกำลังเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจของโลกเช่นเดียวกับหลายๆประเทศในโลก แต่ก็มาเกิดอุบัติภัยแผ่นดินไหวในระดับที่รุนแรงที่สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับประเทศเสียก่อน แต่ก็เป็นที่คาดการณ์ว่าชิลีจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคนี้ไปได้ด้วยดี เนื่องจากมีเงินสำรองที่ได้จากการส่งออกทองแดงอยู่มากและการส่งออกทองแดงซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับการที่ชิลีมีระบบการบริหารจัดการทางเศรษฐกิจที่ดี ทั้งนี้ อุบัติภัยครั้งนี้ จะสร้างอุปสงค์ในสินค้านำเข้าหลายรายการ อีกทั้งยังจะทำให้สาขาการก่อสร้างของชิลีขยายตัวในอันที่จะฟื้นฟูบูรณะประเทศต่อไป โดยอุปสงค์ดังกล่าวเป็นทั้งอุปสงค์ของภาครัฐและอุปสงค์ของภาคเอกชน ในส่วนของการจัดซื้อจัดหาของภาครัฐ รัฐบาลชิลีมีหน่วยงานจัดซื้อจัดหาที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่จะเข้าร่วมยื่นประมูลขายสินค้าให้แก่หน่วยงานในภาครัฐของชิลีสามารถติดต่อได้ทางหน้า website: www.chilecompra.cl ส่วนการติดต่อซื้อขายของภาคเอกชนสามารถติดต่อกันได้โดยตรง โดยสคร. สามารถช่วยประสานงานให้ภาคเอกชนในเรื่องการจับคู่เจรจาธุรกิจ
สคร. ณ กรุงซานติอาโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th