ในระหว่างวันที่ 18-21พฤษภาคม 2553 ของสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก
ด้วยในระหว่างวันที่ 18-21 พฤษภาคม 2553 นางจารุวรรณ เทียมทัด เอกอัครราชทูตไทยประจำเม็กซิโกได้มีกำหนดจะไปยื่นพระราชสาส์นตราตั้ง แก่ผู้นำประเทศคิวบาเพื่อเป็นเอกอัครราชทูตไทย ประจำคิวบาอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกซึ่งดูแลด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศคิวบาในฐานะเขตอาณา จึงได้ถือโอกาสเข้าร่วมคณะฯ ไปศึกษาสำรวจสถานการณ์โดยทั่วของประเทศ สรุปแนวทางและโอกาสของสินค้าไทยที่มีศักยภาพ เพื่อเข้ามาเจาะตลาดในประเทศคิวบาได้ในอนาคต ดังรายละเอียดสรุปผลการศึกษาสำรวจดังต่อไปนี้
ประเทศคิวบาเป็นเกาะที่ตั้งอยู่กลางทะเลแคริบเบียน เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะแคริบเบียน หรือแต่เดิมเรียกว่า เวส อินดี้ West Indies ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศในหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลแคริบเบี่ยนกับมหาสมุทรอแอตแลนติก อยู่ทางทิศใต้ของรัฐ ฟลอริดาของประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ทางเหนือใกล้กับอ่าวเม็กซิโก ด้านตะวันออกอยู่ใกล้กับประเทศเฮติและสาธารณรัฐโดมินิกัน พื้นที่รวมทั้งสิ้น 110,860 ตารางกิโลเมตร มีประชากรรวมจำนวน 11.45 ล้านคน ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาทางราชการ และส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันแคทอลิก โดแบ่งพื้นที่เป็น 14 จังหวัดและ 1 เขตพิเศษ มีกรุงฮาวาน่า Havana เป็นเมืองหลวง
พื้นฐานของประชากร โดยร้อยละ 99.80 สามารถอ่านออกเขียนได้ มีอาชีพหลักทางด้านเกษตรกรรมร้อยละ 20 อุตสาหกรรมร้อยละ 19.40 และภาคบริการร้อยละ 60.60 มีระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม โดยมีผู้นำในปัจจุบันคือ พลเอก ราอูล โมเดสโต คาสโตร รูส Raul Modesto Castro Ruz มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติแบบสภาเดียว โดยมีสมาชิกจำนวน 614 คนมาจากการคัดเลือกผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการคัดเลือกพิเศษ Special Candidacy Commission และมีอายุดำรงตำแหน่งในวาระ 5 ปี มีพรรคการเมืองเดียว คือพรรคคอมมิวนิสต์ Partido Comunista de Cuba : PCC ประเทศคิวบา ซึ่งถือได้ว่า เป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมที่เข็มแข็งหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ประเทศในโลกในปัจจุบัน จึงเป็นประเทศที่มีนโยบายค่อนข้างปิดและมีการควบคุมจากภาครัฐฯ อย่างเข็มงวด ซึ่งทำให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากมีกฎระเบียบและขั้นตอนในการควบคุมจากภาครัฐฯ มาก นอกเหนือจากการถูกการคว่ำบาตรจากประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างรุนแรงมาตั้งแต่ ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา แต่กลับมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ระหว่างกัน และมีความผูกพันกับประชากรชาวคิวบาผู้ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยทางการเมืองในสหรัฐฯ ในอดีต โดยเฉพาะชาวคิวบาที่ไปอยู่อาศัยในรัฐฟลอริดาเป็นจำนวนมาก
ในปัจจุบัน สินค้าจากสหรัฐฯ เข้าสู่ประเทศคิวบาค่อนข้างมาก แต่เป็นการเข้าไปโดยอาศัยประเทศที่ 3 โดยเฉพาะจากประเทศเม็กซิโก แคนาดา สาธารณรัฐโดเมนิกันและประเทศในแคริบเบียนอื่นๆ เนื่องจากรัฐบาลคิวลามิได้การห้ามการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ แต่สหรัฐฯ มีนโยบายการคว่ำบาตรและข้อกีดกันที่จะทำการค้ากับคิวบาโดยตรง
อัตราการเจริญเติบโตของประเทศเมื่อปี 2552 อยู่ในอัตราร้อยละ 1 และร้อยละ 4.3 ในปี 2551 ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติภายในประเทศจำนวน 55.43 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมาจากโครงสร้างของการบริการ ร้อยละ 74.80 จากอุตสาหกรรมร้อยละ 20.90 และจากเกษตรกรรม ร้อยละ 4.30 รายได้ประชากรต่อหัว GDP per capita (PPP) 9,700 เหรียญสหรัฐฯ (เปรียบเทียบอันดับที่ 109 ของโลก) และอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 4.3 และมีหนี้สิ้นต่างประเทศสูงถึง 52.79 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
การค้าของประเทศในปี 2552 มีมูลค่ารวม 14.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกจำนวน 3.25 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้า 10.86 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่ ประเทศแคนาดา (ร้อยละ 27.80) จีน (ร้อยละ 26.70) สเปน (ร้อยละ 6.20) และเนเธอแลนด์ (ร้อยละ 5.60)
สำหรับคู้ค้าการนำเข้าที่สำคัญได้แก่ เวเนซุเอล่า (ร้อยละ 29.80) จีน (ร้อยละ 11.80) สเปน (ร้อยละ 10.00) สหรัฐฯ (ร้อยละ 6.30) และบราซิล (ร้อยละ 4.60)
สำหรับสินค้านำเข้าที่สำคัญนั้น ส่วนใหญ่มาจากผลของนโยบายทางการเมือง ได้แก่ ประเทศเวเนซุเอล่าซึ่งได้ให้น้ำมันสำเร็จรูปแก่คิวบาในปริมาณ 100,000 บาเรลต่อวัน เป็นต่างตอบแทนที่ประเทศคิวบาส่งหน่วยแพทย์ให้แก่ประเทศเวเนซุเอล่าจำนวน 30,000 รายมาทำงานอยู่ในประเทศเวเนซุเอล่า นอกจากนี้แล้ว การได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินจากสหภาพรัสเซียและจีนมีค่อนข้างมาก และการผ่อนปรนนโยบายของสหรัฐฯ ที่แต่เดิมห้ามประชาชนสหรัฐฯ เดินทางเข้าออกประเทศคิวบาได้ ทำให้มีผลของรายได้ของการท่องเที่ยวของประเทศ
ทางด้านการทูตฯ ประเทศไทยและคิวบาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2501 โดยในปัจจุบันรัฐบาลไทยแต่ตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก เป็นเอกอัครราชทูตประจำคิวบาอีกตำแหน่งหนึ่ง และในปี 2546 ได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐคิวบาขึ้น โดยมีนายฮอร์เก้ แมนุเอล เวร่า กอนซาเลส Jorge Manuel Vera Gonzalez ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ประจำคิวบา สำหรับประเทศคิวบาได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตคิวบาประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 และในอดีตได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้แทนระดับสูงของทั้งสองฝ่ายมาโดยตลอด
ในปี 2551 มูลค่าการค้ารวม 9.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออกมาคิวบามูลค่า 8.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และไทยนำเข้าจากคิวบามูลค่าจำนวน 1.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2552 มูลค่าการค้ารวมจำนวน 4.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (อัตราลดลงร้อยละ 47.83) โดยไทยส่งออกมาคิวบาจำนวน 3.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (อัตราลดลงร้อยละ 51.73) และไทยนำเข้าจากคิวบาจำนวน 1.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับในช่วงปี 2553 (ม.ค.-เม.ย.) มูลค่าการค้ารวมจำนวน 1.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งยังคงมีอัตราลดลงร้อยละ 36.56 และไทยส่งออกมูลค่า 0.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (อัตราลดลงร้อยละ 40.03) โดยไทยนำเข้าจากคิวบามูลค่า 0.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าส่งออกหลัก 10 อันดับแรกของไทยได้แก่ เครื่องซักผ้าอะไหล่และชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศอะไหล่และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมเพรสเซอร์สำหรับใช้ในเครื่องทำความเย็น อาหารทะเลแปรรูป ผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์พลาสติก
สำหรับสินค้านำเข้าหลักจากคิวบา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่ม (สุรา)
ในการเดินทางไปในครั้งนี้ สำนักงานฯ ได้รับทราบสถานการณ์ของประเทศคิวบาที่น่าสนใจและขอสรุปดังต่อไปนี้
ประเทศคิวบาแต่เดิมได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเงินจาก สหภาพรัสเซียโดยเฉลี่ยปีละ 4-6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ภายหลังนับตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา การล้มสลายของระบบสังคมนิยมในสหภาพรัสเซีย ได้ทำให้คิวบาซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัสเซียได้หมดลง เงินสนับสนุนจำนวนมหาศาลที่คิวบาพึ่งพาได้หมดลงอย่างฉับพลัน ทำให้เกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงภายในประเทศ
และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยและความเปราะบางของโครงสร้างทางเศรษฐกิจภายในประเทศคิวบา ได้มีผลกระทบอย่างรุนแรงเพิ่มมากขึ้นไปอีก ผนวกกับผลกระทบจากที่ประเทศคิวบาได้ประสบกับงพายุเฮอริเคนในปีเดียวกันในปี 2551 ถึง 3 ลูก (Hurricanes Gutav, ส.ค. 51, Hurricanes Ike ก.ย.51, Hurricanes Paloma, พ.ย.51) ได้ทำลายบ้านเรือนไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากบ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับชายฝั่งทะเล ในขณะที่รัฐบาลเองไม่มีเงินงบประมาณที่ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศได้มากนัก
เป็นที่ทราบว่า รัฐบาลคิวบามีเงินงบประมาณจำกัดและจากผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและได้มีมาตรการออกมาโดยการบังคับการแช่ทรัพย์สินและเงินสดในบัญชีของบริษัทเอกชนทั้งหมด โดยมิให้มีการถอดถอนออกมาตั้งเดือนพฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา ซึ่งได้ทำให้ธุรกิจที่ทำในประเทศคิวบาขาดเงินที่จะดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่สามารถนำเงินมาจ่ายซื้อขายสินค้าได้
โดยความสัมพันธ์ทางด้านการค้าของคิวบาผูกติดมาจากความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองในอดีต โดยประเทศจีนมีความสัมพันธ์กับคิวบาทางค่อนข้างมาก โดยมีการค้าระหว่างกันในปี 2552 คิดเป็นมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับประเทศในอาเซียนด้วยกัน ประเทศเวียดนามมีความสัมพันธ์มากที่สุดกับคิวบา โดยสินค้าหลักที่ส่งออกมายังคิวบาได้แก่ ข้าว ซึ่งในปี 2552 คิดเป็นปริมาณส่งออกจำนวน 400,000 ตัน นอกจากนี้ ในแง่การลงทุน ทั้งประเทศจีนและประเทศมาเลเซีย ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลคิวบาให้มีการดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำมันของประเทศตามเขตพื้นทะเล ซึ่งคาดว่าจะมีแหล่งน้ำมันดิบในปริมาณมากกว่า 124 ล้านบาเรล
นอกจากนี้ คณะฯ ได้เข้าพบกับสถานเอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำคิวบา และพบว่าในปัจจุบันประเทศคิวบาเป็นหนี้ประเทศเม็กซิโกจำนวน 525 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยหนี้ดังกล่าวได้มีการเจรจาที่จะชดใช้ในระยะเวลา 15 ปีในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 แต่ในภายหลังยังมีปัญหาเรื่องระยะเวลาการชดใช้หนี้ แต่อย่างไรก็ตามจากผลของการเจรจาดังกล่าว พบว่าการส่งออกสินค้าจากเม็กซิโกเพิ่มมากขึ้น แม้กรทั้งในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา การส่งออกของเม็กซิโกลดลงประมาณร้อยละ 20 แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีอัตราลดลงไปมากกว่าร้อยละ 40 ขึ้นไป สินค้าที่เม็กซิโกส่งออกมายังคิวบาได้แก่ อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์พลาสติก โพลิเอททิลิน อาหารสัตว์ สบู่และผงซักฟอกน้ำมันพืช กาแฟ ปุ๋ยและขวดแก้ว ส่วนสินค้าที่คิวบาส่งมายังเม็กซิโกได้แก่ แอลกอฮอล์รัม(สุรา) ผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผลิตภัณฑ์ยาทดลอง และถุงกระสอบ มูลค่ารวม 8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สถานะโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งภาครัฐฯ เป็นผู้ดำเนินการด้านการค้าและภาคการผลิตเอง จึงขาดประสิทธิภาพและความสามารถที่จะแข่งขัน เนื่องจากตลาดภายในประเทศผูกขาดเป็นของตนเอง ขาดความเข้าใจและความสนใจที่จะพัฒนาสินค้าเพื่อการส่งออก สินค้าที่ผลิตจึงไม่มีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าคุณภาพ และมาตรฐานต่ำกว่าสินค้าจากตะวันตก
คณะฯ ได้ไปสำรวจสินค้าในตลาด และพบว่ามีสินค้าไทยบางประเภทมีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาเก็ต ได้แก่สินค้าเครื่องปรุงรส และซอสต่างๆ โดยพบว่านำเข้าจากประเทศที่ 3 โดยผ่านประเทศอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางการเมืองเดิม ได้แก่ โปแลนด์และเวียดนาม
ในปัจจุบันรัฐบาลมีเงินสกุลท้องถิ่นอยู่ 2 ระบบคือเงินสกุลท้องถิ่นที่เรียกว่า เปโซท้องถิ่นหรือ C.U.P. (กุ้บ) และเงินที่แปรเปลี่ยน หรือ Convertible Pesos หรือเรียกอีกอย่างว่า C.U.C. (กุ้ก) เงิน C.U.P. เปรียบเสมือนเงินที่รัฐฯ ให้การสนับสนุนสัดส่วนการประทังชีวิต เช่น อาหารหรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น และเงิน C.U.C. ซึ่งเป็นเงินที่ที่ใช้สำหรับซื้อสินค้าอื่นๆ ทั่วไป เช่นเสื้อผ้า และสินค้าฟุ่มเฟือย นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศคิวบามีสิทธิ์ที่จะแลกเงินสกุล C.U.C. ได้เท่านั้น ในขณะที่พนักงานของรัฐฯ อาจได้รับเงิน 2 ส่วนทั้งเงิน C.U.P และ C.U.C. เป็นต้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 C.U.C. เท่ากับ 1.1054 ยูโร หรือเท่ากับ 0.0694 เปโซเม็กซิโก และเท่ากับ 0.9259 เหรียญสหรัฐฯ แต่ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศคิวบามีปัญหาทางด้านการเมืองกับสหรัฐฯ ประกอบเงินเหรียญสหรัฐฯ เป็นที่ต้องการของภาครัฐฯ ทำให้กำหนดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากอัตราแลกเปลี่ยนอีกร้อยละ 10 ของเงินเหรียญสหรัฐฯ ทั้งจากการแลกเปลี่ยนหรือการโอนเงิน สำหรับเงินสกุลอื่นสามารถแลกเปลี่ยนได้โดยทั่วไป และยังที่นิยมแลกเปลี่ยนได้แก่ เงินสกุลยูโร เหรียญแคนาดา และเปโซเม็กซิโก ซึ่งหากเปรียบเทียบเงินสกุล C.U.C. ของคิวบาแล้ว อัตราเงินที่รัฐบาลกำหนดไว้เป็นอัตราที่สูงมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางมาประเทศคิวบามีอัตราแพง ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของคิวบาไม่มีเงินเพียงพอที่เข้ามามีส่วนร่วมกับความเป็นอยู่เหมือนชาวต่างประเทศ การเกิดตลาดนอกระบบ Black market
การเกิดตลาดนอกระบบ เกิดขึ้นเนื่องจากภาครัฐฯ ไม่อนุญาตให้มีการเปิดธุรกิจภาคเอกชน ในขณะที่เอกชนบางรายที่มีความสัมพันธ์กับภาครัฐฯ หรือกับบุคคลที่สำคัญในระดับสูงที่แน่นแฟ้มและมีกำลังความสามารถเพียงพอ ก็สามารถเปิดและดำเนินธุรกิจในลักษณ์กิจการที่พักพิงหรือแหล่งพักพิงในบ้านแบบ home stay หรือร้านอาหารแบบปิด หรือร้านอาหารเปิดโดยการแบ่งรายได้กับรัฐฯ ร้านอาหารแบบเปิดซึ่งมักพบว่ามีธุรกิจที่เปิดในแหล่งระดับสูง อาทิ ในแหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มนักการทูต หรือแหล่งการค้าส่วนกลางและแหล่งการท่องเที่ยวหรือที่เรียกว่า Old Havana เป็นต้น
ในทางกฎหมาย ประชาชนคิวบา ไม่มีสิทธิ์ที่จะซื้อรถยนต์ ยกเว้นรถยนต์ที่ได้รับมรดกก่อนช่วงการปฎิวัติการปกครองในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งรถยนต์ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์เก่าแก่ที่ผลิตมาจากประเทศสหรัฐฯ ในปัจจุบันเรียกว่ากันตามท้องถิ่นว่า yank tank (แย็งแท็ง)หรือ maquina (มาคิน่า) ซึ่งคาดว่ามีเหลืออยู่ประมาณ 173,000 คันในประเทศ นอกจากนั้นแล้ว รถยนต์ที่เหลือเป็นของหน่วยงานของรัฐฯ ของโรงแรม บริษัทการท่องเที่ยวและธุรกิจอื่นซึ่งเป็นของภาครัฐ รถแท๊กซี่ ของนักการทูตและคนต่างชาติ ประชาชนคิวบาไม่มีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินใดๆ แต่ได้รับสิทธิ์ในการใช้อยู่อาศัยและทรัพย์สินดังกล่าวสามารถตกทอดไปสู่รุ่นลูกและรุ่นหลานได้ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับที่อยู่อาศัย แต่หากครอบครัวนั้นไม่มีรุ่นลูกหรือรุ่นหลานเพื่อรับมรดกนั้น ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นจะตกเป็นของรัฐฯ ต่อไป นอกจากนี้ อสังหาริมทรัพย์สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ในระดับที่เท่าเทียมกัน อาทิ บ้านที่อยู่อาศัย 1 หลังที่มี 4 ห้องนอน อาจแลกเปลี่ยนเป็นอพาตเม้นต์ 3 ห้อง เนื่องจากเหตุผล เพราะต้องการแยกครอบครัวที่มีการขยายตัวเกิดขึ้น แต่หากการแลกเปลี่ยนนั้นไม่สมดุลเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐฯ ผู้มีอำนาจ ซึ่งอาจคาดการณ์ว่ามีผลต่างซึ่งอาจจะมีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยน ก็อาจจะไม่อนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นได้ เป็นต้น
ความขัดสนของสินค้าอุปโภคบริโภคและความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าสินค้าจากต่างประเทศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนของสินค้าเหลือใช้ ล้วนเข้ามาสู่ขบวนการของตลาดนอกระบบของประเทศ มีการแลกเปลี่ยนหรือขายสินค้าและบริการระหว่างกันนอกระบบ และมีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง
ดังนั้นรายได้ที่ก่อเกิดจากตลาดนอกระบบ ได้เกิดกลุ่มที่มีรายได้ ซึ่งไม่เป็นไปตามที่รัฐฯ พึงต้องการให้เกิดขึ้น นอกเหนือจากประชากรที่ได้รับรายได้หรือส่วนแบ่งสนับสนุนเพื่อความอยู่รอด subsidies จากภาครัฐฯ แล้ว จึงมีกลุ่มประชากรที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ซึ่งอาจเป็นกลุ่มเป้าหมาย และมีศักยภาพและกำลังพอเพียงที่จะซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้ กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่
1. ประชากรที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากญาติพี่น้องที่อาศัยออยู่นอกประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งประเมินว่ามีจำนวน 1.62 ล้านคน (หรือร้อยละ 0.5 ของประขากรทั้งหมดของสหรัฐ) โดยอาศัยอยู่ในบริเวณนครไมอามี กว่า 800,000 ราย ในเมืองอื่นๆ ในรัฐฟลอริดา และมีอีกกว่า 140,000 รายในรัฐนิวยอร์ค ประชากรซึ่งคาดว่าในแต่ละปีจะส่งเงินให้แก่ญาติพี่น้องกลับไปยังประเทศคิวบาประมาณ 700 ล้าน - 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
2. ประชากรที่รับเงินจากชาวต่างชาติ เช่น จากธุรกิจที่ทำกับต่างชาติ จากภาครัฐฯ บริษัทต่างชาติหรือจากเงินทุนจากสถาบันการศึกษาต่างๆ
3. รายได้สนับสนุนนอกเหนือทั่วไป จากบริษัทต่างชาติหรือองค์กรต่างประเทศต่างๆ 4. ประชากรประมาณ 140,000 รายที่ทำงานจากธุรกิจส่วนตัว self employ แต่มิได้ ถูกบันทึกว่าทำงาน
5. ได้รับรายได้อื่นของการทำงานจากผลทางการเมือง อาทิ การอนุญาตให้ไปทำงาน ในต่างประเทศ อาทิ กลุ่มแพทย์ที่ไปทำงานในประเทศเวเนซุเอล่า หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข่น ด้านเภสัช ด้านการกีฬา เป็นต้น
6. การทำงานในธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับค่าทิป ประมาณว่ามีประมาณกว่า 100,000 ราย
7. ประชากรที่การได้สิทธิ์พิเศษจากอุตสาหกรรมซึ่งภาครัฐฯ ให้การสนับสนุน และอาจเกี่ยวข้องกับบริษัทหรือองค์กรต่างชาติ เป็นต้น
8. นอกจากนี้แล้ว มีสถานเอกอัครราชทูตจากต่างประเทศมากที่สุดประเทศหนึ่ง จึงมี นักการทูตฯ และครอบครัวที่ได้มาอาศัยและทำงานอยู่ในประเทศคิวบากว่า 1,000 ราย
เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ทำงานให้แก่รัฐฯ และรัฐฯ จะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลประชากร ความแตกต่างกันระหว่างชนชั้นจึงมีไม่มาก ตัวอย่างเช่น ระหว่างรายได้ระดับเกษตรกรกับระดับรัฐมนตรี รายได้จะมีความแตกต่างกันน้อยมาก และจะรับรายได้เฉลี่ยเพียง 12 - 25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน แม้ว่าในระดับผู้ปฎิบัติงานและผู้บริหารย่อมจะมีสิทธิ์ในด้านความเป็นอยู่จากผลประโยชน์ในการดำรงชีพที่รัฐฯ กำหนดให้จะมีมากกว่า แต่โดยเฉลี่ยแล้ว เงินเหลือใช้จ่ายของประชากรมีกำลังการบริโภคสินค้าในประเทศที่จำกัด
ภาครัฐฯ มีอำนาจการนำเข้าและส่งออกเอง แต่ขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ซึ่งหากเกี่ยวข้องกับต่างประเทศแล้ว อาจจะแต่งตั้งบุคคลหรือหน่วยงานเอกชนอื่นเป็นผู้แทนในการนำเข้าส่งออกให้ จึงมีกลุ่มนักธุรกิจซึ่งไม่เกินไปกว่า 500 กิจการทำหน้าที่ในประเทศ มีบทบาทการบริหารจัดการให้ ในปัจจุบันมีกลุ่มนักธุรกิจของคนคิวบา ที่พยายามจะไปเปิดธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศเม็กซิโก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ของประเทศเม็กซิโกในการหาแหล่งทุน การแก้ไขปัญหาการส่งสินค้าจากสหรัฐฯ การบริหารจัดการ และการดำเนินการด้านโลจิสติกส์ และการใช้เดินทางยังประเทศที่ 3 โดยเมืองหลักที่มักไปเปิดธุรกิจได้แก่เมืองแคนคูน และเมืองมาริด่าที่ติดอยู่ตามชายฝั่งในอ่าวเม็กซิโก
การปิดกั้นระบบสื่อสารมวลชนจากต่างประเทศของภาครัฐฯ ได้แก่ระบบโทรทัศน์ โทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต (ระบบอินเตอร์เน็ทประมาณการณ์ต่ำว่า 4,000 จุดทั่วประเทศ) ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ไม่ทราบความเป็นไปจากโลกภายนอก ทั้งยังทำในระบบสื่อสารไม่พัฒนาในประเทศ และค่าใช้จ่ายของระบบสื่อสารที่แพง ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสในหารใช้ประโยชน์ได้ ปัญหาทางด้านสังคม และการขาดแคลนงานที่รัฐฯ สามารถที่จะหาให้ประชากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งอาจจะมีผลกระทบในระยะยาว แม้ว่านโยบายของรัฐฯ ได้พยายามที่ลดข้อจำกัด และเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่บุคคลที่ต้องการที่จะลงทุน แต่เนื่องจากนโยบายมีความไม่แน่นอนและอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ในปัจจุบันการผลิตน้ำตาลของประเทศได้ตกต่ำมากที่สุดในรอบ 105 ปี และรัฐบาลคิวบา (กระทรวงแกษตร(อ้อย)คิวบา Ministry of Sugar) พยายามที่หาความช่วยจากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
1. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทยกับคิวบา ลง นามเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543
2. ความตกลงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างรัฐบาลไทยกับคิว บา ลงนามเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545
3. ความตกลงระหว่างสภาหอการค้าไทยกับคิวบา ลงนามเมื่อเดือนมีนาคม 2547
ประเทศคิวบาได้กระชับความสัมพันธ์กับไทยมากขึ้น เนื่องจากหวังการสนับสนุนจากไทยในคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาการท่องเที่ยว และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจากไทย และปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอ้อยสำหรับผลิตน้ำตาล
สำหรับไทย อาจใช้ประโยชน์จากคิวบาในด้านการศึกษาวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการแพทย์และเภสัชกรรม และความสัมพันธ์ด้านกีฬาที่มีมาในอดีต
การใช้หน่วยงานรัฐฯ หรือองค์กรหรือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเข้ามาช่วยเหลือด้านการพัฒนาศักกยภาพการผลิต ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านวิชาการและเทคโนโลยีด้านการผลิต ในอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญ เช่นอาหารแปรรูป เครื่องจักรกล โดยการสร้างพันธมิตรทางการค้าและการร่วมลงทุนซึ่งใช้เงินน้อยและหวังผลในในระยะยาว
ความขาดแคลนของประเทศคิวบามีหลายด้าน โดยประเทศคิวบาในปัจจุบันนำเข้าอาหารจากต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของการบริโภคทั้งประเทศ ทำให้ประเทศยังคงพึ่งพาการนำเข้าอาหารต่อไปอีกหลายปีในอนาคต และประเทศไทยมีความสามารถในภาคการผลิตอาหารแปรรูป สำหรับด้านที่พักที่อยู่อาศัย ประเทศคิวบายังคงขาดแหล่งพักที่อยู่อาศัยอีกจำนวน 1 ล้านหน่วย
ประเทศคิวบามีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวประมาณปีละ 2 ล้านราย สร้างรายได้ให้แก่ประเทศเฉลี่ยปีละ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รัฐฯ คิวบาพบว่า ในบางกรณี นักท่องเที่ยวอาจเพิ่มมากขึ้นในบางปี แต่มูลค่าของรายได้กลับคงที่ ปัญหาหลักคือ การขาดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การขาดแคลนการบริหารจัดการที่ดีของบุคลากร เนื่องจากโรงแรมส่วนใหญ่เป็นของรัฐฯ ซึ่งประเทศไทยอาจมีช่องทางในความร่วมมือและการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การโรงแรมในอนาคตได้
สถานที่ติดต่อในประเทศคิวบา รายละเอียดของกงสุลกิตติมศักดิ์ไทย ประจำประเทศคิวบา Mr.Jorge Vera Gonzales Royal Thai Consul Edificio Raffaelo PB#10, 5ta. Ave. Esq.a 80 Miramar La Habana, Cuba Tel: +53 7 204 1326, 204 1402 Fax: + 53 7 204 1434 E-mail: consuladothai@uniprocorp.com
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
เรื่อง Cuban American ณ http://en.wikipedia.org/wiki/Cuban_American
เรื่อง CUBAN INFORMATION ARCHIVES ณ http://cuban-exile.com/
เรื่อง Economic illegalities and the Underground Economy in Cuba ณ www.cubasource.org
เรื่อง The world Fact Book - Cuba ณ www.cia.gov/library/publications/the-worldfactbook/geos/cu.html
เรื่อง Banco Central de Cuba ณ http://www.bc.gov.cu/English/exchange_rate.asp
เรื่อง United States embargo against Cuba ณ http://en.wikipedia.org/wiki/United_States_embargo_against_Cuba
เรื่อง Cuba Hurricanes,The Ultimate info about hurricanes in Cuba ณ http://www.cubahurricanes.org/history-hurricane-paloma.php
เรื่อง Cuba offers payback plan for frozen bank account ณ http://www.reuters.com/article/idUSN0215925320100302
เรื่อง Tourism in Cuba ณ http://en.wikipedia.org/wiki/Tourism_in_Cuba
เรื่อง Cuba seeks inward tourism investment ณ http://www.breakingtravelnews.com/news/article/cuba-seeks-inward-tourisminvestment/
สถิติการค้า กระทรวงพาณิชย์
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th