รายงานข้อมูลสินค้ารถยนต์และส่วนประกอบในสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 14, 2010 16:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ขนาดของตลาด
  • สหราชอาณาจักรเป็นตลาดรถยนต์ขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของสหภาพยุโรป มียอดผลิตรถยนต์ทุกประเภทมากกว่า 2 ล้านคันต่อปี และผลิตเครื่องยนต์มากกว่า 3 ล้านเครื่องต่อปี ประกอบด้วยโรงงานประกอบรถยนต์จากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ทั่วโลกทั้งจาก ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป จานวน 9 ราย และมีจำนวนบริษัทผู้ประกอบรถเพื่อการพาณิชย์จานวน 6 ราย มีการจ้างงาน 820,000 คน และมีมูลค่าการขายรวม 5,200 ล้านปอนด์ต่อปี
  • จากการที่สหราชอาณาจักรประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์อย่างรุนแรง โดยในปี 2552 สหราชอาณาจักรมียอดจดทะเบียนรถใหม่ลดลงร้อยละ 6.4 โดยมียอดรวม 1,994,999 คัน ขณะที่ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 ยอดการจดทะเบียนรถยนต์เริ่มกลับมาขยายตัวโดยมีอัตราการ"จริญ"ติบโตสูงถึงร้อยละ 22 ยอดรวม 913,436 คัน
2. สถานการณ์ในประเทศ
  • สมาคมผู้ผลิตและค้ายานยนต์และชิ้นส่วนของสหราชอาณาจักร (The Society of Motor Manufacturers and Traders Limited หรือ SMMT ) รายงานสถานการณ์ตลาดรถยนต์ในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2553 สรุปได้ว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวน 153,095 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนปีนี้ ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถใหม่ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ก็มีอัตราการขยายตัวที่น่าพอใจที่ร้อยละ 22.0 โดยมียอดรวม 913,436 คัน
มูลค่าการส่งออกของสหราชอาณาจักร
  • ผู้บริหารของ SMMT วิเคราะห์ว่าการเจริญเติบโตในช่วงครึ่งปีเรกของปีนี้เกิดจากฐานตัวเลขที่ต่ำจากปี 2552 และคาดว่าตัวเลขยอดจดทะเบียนรถใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมียอดที่ชะลอตัวลง ขณะที่โดยหากเศรษฐกิจในภาพรวมของสหราชอาณาจักรและมาตรการให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์ของภาครัฐน่าจะช่วยให้ยอดจดทะเบียนรถในปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2552
  • ยอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่รวม 913,436 คันในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 สามารถแบ่งตามชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้เป็นรถยนต์เครื่องยนต์เบนซินร้อยละ 56.2 หรือ 513,636 คัน เครื่องยนต์ดีเซลร้อยละ 42.8 จานวน 390,659 คัน เครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกอื่นร้อยละ 1.0 มีจานวน 9,141 คัน และแบ่งเป็นรถยนต์ที่จดทะเบียนส่วนบุคคลจานวน 450,695 คัน หรือร้อยละ 49.3 ประเภทรายกลุ่ม (Fleet) จำนวน 419,682 คันหรือร้อยละ 45.9 และประเภทธุรกิจจานวน 43,059 คันคิดเป็นร้อยละ 5.5 ของยอดรวม
  • รถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนมีอัตราการเจริญเติบโตสูงถึงร้อยละ 195.3 แต่ก็ยังคงมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของตลาดรวม ขณะที่รถที่ใช้นามันดีเซลก็มียอดจดทะเบียนขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ 21 ส่งผลให้มีสัดส่วนสูงขึ้นเป็นร้อยละ 46.9 ของตลาดรวม รถยนต์รุ่นที่มียอดจดทะเบียนในเดือนพฤษภาคมปีนี้มีดังนี้
                                         พ.ค. 53
           1) ฟอร์ด โฟกัส                7,163  คัน
           2) วอกซ์ฮอล แอสทร้า           6,734  คัน
           3) ฟอร์ด เฟียสต้า              6,619  คัน
           4) วอกซ์ฮอล คอร์ซา            5,950  คัน
           5) โฟล์คสวาเกน กอล์ฟ          4,314  คัน
           6) บีเอ็มดับบลิว ซีรี่ 3           3,732  คัน
           7) โฟล์คสวาเกน โปโล          3,721  คัน
           8) ออสติน มินิ                 3,445  คัน
           9) นิสสัน ควาชิ                3,359  คัน
          10) ออดี้เอ 3                  3,093  คัน
  • ในส่วนของรถเพื่อการพาณิชย์ ยอดจดทะเบียนทั้งรถตู้แวนและรถบรรทุกในเดือนพฤษภาคมปี 2553 ขยายตัวถึงร้อยละ 25.7 โดยมียอดจดทะเบียนใหม่รวม 19,562 คัน ขณะที่ยอดรวมในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 ขยายตัวร้อยละ 9.6 มีจานวน 99,296 คันซึ่ง SMMT วิเคราะห์ว่า ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่รถบรรทุกขนาดใหญ่ยังคงมียอดจดทะเบียนลดลงอย่างต่อเนื่อง
  • หากแบ่งประเภทรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ออกเป็นรถแวนหรือรถบรรทุกเล็กและรถบรรทุกขนาดใหญ่ รถแวนมียอดจดทะเบียนในเดือนพฤษภาคม 2553 จานวน 17,025 คัน ขยายตัวร้อยละ 32.8 ขณะที่ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มียอด 87,131 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ขณะที่รถบรรทุกมียอดจดทะเบียนในเดือนพฤษภาคม 2,537 คัน ลดลงร้อยละ 7.5 ขณะที่ยอดจดทะเบียนรถบรรทุกในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มีจานวน 12,165 คัน ลดลงถึงร้อยละ 19.5
  • ยอดจดทะเบียนรถปิคอัพในเดือนพฤษภาคมมียอด 1,527 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ขณะที่ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้มียอดรวม 17,594 คันลดลงร้อยละ 13.3 ขณะที่มียอดจดทะเบียนรถขับเคลื่อนสี่ล้อในเดือนพฤษภาคมปีนี้จำนวน 362 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.2 มียอดจดทะเบียนในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ จำนวน 4,553 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0
3. มาตรการภาครัฐ
  • วันที่ 18 พฤษภาคม 2552 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ประกาศใช้มาตรการกระตุ้นยอดขายรถใหม่หรือที่เรียกว่า Scrappage Incentive Scheme ซึ่งให้ส่วนลดแก่ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนรถที่มีอายุมากกว่า 10 ปี หรือที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 31 สิงหาคม 2542 เป็นเงินจำนวน 2,000 ปอนด์ (รัฐบาลสนับสนุน 1,000 ปอนด์และจากบริษัทรถยนต์ 1,000 ปอนด์) โดยกำหนดจำนวนรถยนต์ทั้งหมด 3,000,000 คัน
  • วันที่ 28 กันยายน 2552 รัฐบาลสหราชอาณาจักรประกาศขยายปริมาณรถยนต์เก่าที่สามารถเข้าร่วมในมาตรการกระตุ้นยอดขายรถใหม่ โดยกำหนดจำนวนรถที่จะเข้าร่วมในโครงการเพิ่มขึ้นอีก 100,000 คัน รวมเป็นทั้งหมด 400,000 คัน และยังได้ขยายวันจดทะเบียนของรถที่สามารถเข้าร่วมโครงการโดยแบ่งเป็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543 สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2545 สำหรับรถเพื่อการพาณิชย์ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ส่วนลดเป็นเงินจำนวน 2,000 ปอนด์ สำหรับการเปลี่ยนรถใหม่
  • วันที่ 15 มกราคม 2553 รัฐบาลประกาศใช้ระบบโควตาสาหรับมาตรการกระตุ้นยอดขายรถใหม่ให้กับผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย โดยแบ่งโควตาจำนวนรถยนต์ที่ยังคงเหลืออยู่จำนวน 80,000 คัน ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ตามร้อยละของยอดขายแต่ละราย และมาตรการนี้มีกาหนดสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2553
  • ผลจากมาตรการ Scrappage Incentive Scheme ส่งผลให้ตัวเลขจำนวนรถจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 17 นับจากวันเริ่มโครงการในวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 และมีสัดส่วนในยอดการส่งรถในเดือนพฤษภาคมปีนี้ที่ร้อยละ 2.7
4. มูลค่าการนำเข้าจากไทย
  • มูลค่าการนำเข้ายานยนต์และส่วนประกอบของสหราชอาณาจักรจากไทยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 (มกราคม-เมษายน) ขยายตัวถึงร้อยละ 62.76 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2552 คิดเป็นมูลค่า 27.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกเป็นรถแทรกเตอร์มูลค่า 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.9 รถยนต์นั่ง 8.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.1 อะไหล่และชิ้นส่วนมูลค่า 2.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3
Weaknesses
  • บริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่เริ่มหันมาลงทุนในประเทศยุโรปตะวันออกซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปเช่น โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและความสะดวกในการขนส่ง
Opportunities
  • สาธารณูปโภคพื้นฐานและแรงงานคุณภาพพร้อมสาหรับการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิต
Threats
  • การแข่งขันด้านราคาจากผู้ผลิตในประเทศคู่แข่ง เช่น จีน เวียดนาม
  • กฏระเบียบการนำเข้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรปซึ่งไทยต้องปรับตัวตาม

สำนักงานส่ง"สริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ