การค้าฉงชิ่งกับอาเซียน 4 เดือนแรกปี 2553 ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 86.7 นำเข้าเพิ่ม 38.9

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 18, 2010 14:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

กรมศุลกากร เผยตัวเลขการส่งออกมหานครฉงชิ่งกับประเทศอาเซียน ในช่วงเดือน มกราคม - เมษายน 2553 มีปริมาณเพิ่มขึ้นเพิ่มสูงขึ้น โดยมีมูลค่าการส่งออก 3 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.7 มูลค่าการนำเข้า 1 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 ได้เปรียบดุลย์การค้า 2 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ โดยฉงชิ่งจัดอยู่อันดับที่ 18 ของประเทศ และอันดับที่ 4 ของจีนตะวันตก ในการส่งออกจากจีนไปยังประเทศอาเซียน มีข้อมูลที่สำคัญดังนี้

1. ส่งออกสินค้าทั่วไปเพิ่มขึ้น สินค้าแปรรูปลดลง ฉงชิ่งส่งออกไปอาเซียนในประเภทสินค้าทั่วไปมีมูลค่า 2.9 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.3 คิดเป็นปริมาณร้อยละ 96.9 ของการส่งออกทั้งหมดจากฉงชิ่งไปอาเซียน ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าแปรรูปมีมูลค่า 8.89 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 34.4

2. ธุรกิจเอกชนเป็นกลไกสำคัญของการส่งออก ธุรกิจเอกชนมีมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน 2 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.9 คิดเป็นปริมาณร้อยละ 68.1 ของการส่งออกทั้งหมดจากฉงชิ่งไปอาเซียน รัฐวิสาหกิจมีมูลค่าการส่งออก 0.5 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 และบริษัทลงทุนต่างประเทศมีมูลค่าการส่งออก 0.4 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.4 เท่า

3. ร้อยละ 80 เป็นสินค้าประเภทเครื่องจักรกลและไฟฟ้า โดยมีมูลค่าการส่งออก 2.5 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.7 คิดเป็นปริมาณร้อยละ 83.3 ของการส่งออกทั้งหมดจากฉงชิ่งไปอาเซียน โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์มีมูลค่าการส่งออก 1.6 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 1.1 เท่า สินค้าประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ มีมูลค่าส่งออก 0.6 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มร้อยละ 72.8

4. ส่งออกไปประเทศเมียนม่าห์ เวียดนาม อินโดนีเซียมากกว่าร้อยละ 50 ฉงชิ่งส่งออกไปประเทศเมียนม่าห์มูลค่า 1 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.6 เท่า คิดเป็นปริมาณร้อยละ 32.6 ของการส่งออกทั้งหมดจากฉงชิ่งไปอาเซียน ส่งออกไปเวียดนาม 0.4 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.8 ส่งออกไปอินโดนีเซีย 0.4 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.3 รวมทั้ง 3 ประเทศคิดเป็นปริมาณร้อยละ 61.5 ของการส่งออกทั้งหมดจากฉงชิ่งไปอาเซียน

สาเหตุที่ฉงชิ่งส่งออกไปอาเซียนได้เพิ่มขึ้น เนื่องจาก 1. ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในเรื่องโครงสร้างอุตสาหกรรมของฉงชิ่ง โดยในเดือนม.ค. - เม.ย. 2553 ที่ผ่านมา ฉงชิ่งมียอดส่งออกมอเตอร์ไซค์ไปอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 43 ของการส่งออกจากฉงชิ่งไปอาเซียน เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า 2. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากการลดกำแพงภาษีระหว่างกัน โดยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค 2553 เป็นต้นมา อัตราภาษีเฉลี่ยของจีนต่ออาเซียนลดจากร้อยละ 9.8 เหลือ 0.1 อัตราภาษีสินค้าเฉลี่ยของอาเซียนต่อจีนลดลงจากร้อยละ 12.8 เหลือ 0.6 และ 3. ผลจากการใช้นโยบาย "ก้าวออกไป" ของจีนเองที่สนับสนุนนักลงทุนจีนออกไปลงทุนในอาเซียน แต่ขณะเดียวกันก็พบอุปสรรคปัญหาที่สำคัญคือ 1. ตัวเลขการค้าเกินดุลย์ของจีนต่ออาเซียนทำให้ประเทศในอาเซียนต่างระแวงสินค้า "Made in China" กรณีการทุ่มตลาด 2. แรงกดดันจากการขึ้นค่าเงินหยวนอาจทำให้กำไรลดลงไปกว่าร้อยละ 30 - 50 หรือกรณีเงินดองเวียดนามลดค่าลงอีกร้อยละ 3.4 ทำให้ศักยภาพการแข่งขันการส่งออกของฉงชิ่งลดลง และ 3. เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนสร้างความสัมพันธ์การค้าที่แนบชิดระหว่างจีนอาเซียน ขณะเดียวกันความไม่มั่นคงในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในอาเซียนก็เป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อเสถียรภาพทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งมีข้อเสนอแนะที่สำคัญดังนี้ 1. ควรเพิ่มการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอาเซียนให้มากขึ้น เพื่อชักนำให้นักธุรกิจจีนเข้าใจ นโยบาย กฎหมาย ระเบียบ มาตรการ สภาพตลาด และข้อมูลการค้าต่างๆของอาเซียน เพื่อการบุกเบิกตลาดอาเซียนให้เป็นไปอย่างมีระบบและระเบียบ 2. พัฒนาและปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยการยกระดับเทคโนโลยีให้สูงยิ่งขึ้น และสนับสนุนการพัฒนาสินค้าเพื่อการส่งออกโดยใช้การออกแบบหรือใช้นวัตรกรรม 3. กระชับความสัมพันธ์กับประเทศในอาเซียนในทุกระดับ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมการลงทุนที่ดีขึ้น และ 4 . ใช้นโยบายปลอดภาษีอย่างเต็มที่ รวมถึงเพิ่มและขยายการนำเข้าสินค้าจากอาเซียนให้มากยิ่งขึ้นที่มา

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ