รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 16-31 พฤษภาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 23, 2010 15:57 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. การค้าปลีกลดลงร้อยละ 2.4 ในเดือนมีนาคม 2553 เนื่องจากการจำหน่ายรถยนต์และการใช้จ่ายด้านอาหารลดลง (หากไม่รวมการจำหน่ายรถยนต์ การค้าปลีกเติบโตร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2552) กลุ่มสินค้าที่จำหน่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์การสื่อสารและคอมพิวเตอร์ สินค้าที่ร้านของชำเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4-7.1 นาฬิกาและอัญมณีเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ส่วนกลุ่มที่ลดลง ได้แก่ แว่นตาและหนังสือ ร้อยละ 4.5 และผลิตภัณฑ์ใช้เพื่อการพักผ่อน ร้อยละ 3.6

2. การเติบโตเศรษฐกิจร้อยละ 15.5 ในไตรมาสแรก ปี 2553 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (หากเทียบกับไตร-มาสที่ 4 ปี 2552 เติบโตร้อยละ 38.6) โดยที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9 ซึ่งมาจากความต้องการสินค้าอิเล็คทรอนิกส์จากทั่วโลกเพิ่มขึ้น (Semiconductors และ data storage) ทั้งนี้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์คาดการณ์ว่า การเติบโตเศรษฐกิจปี 2553 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 7-9 หากเศรษฐกิจยุโรปไม่ตกต่ำลงไปอีก

3. ภาคธุรกิจบริการเติบโตร้อยละ 8.8 ในไตรมาสแรก ปี 2553 ซึ่งนับว่าเป็นภาคสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

Services (Jan-Mar 2010)            Quarter-on-Quarter Change  (%)    Year-on-year Change (%)
Financial and Insurance                           -1.1                        17.0
Education                                         24.3                        15.4
Information  and Communications                    2.3                        11.5
Business                                          -1.5                         5.8
Transport and storage                             -4.2                         5.6
Health and social work                            -3.0                         4.0
Real estate, rental and leasing                    2.5                         2.7
Others                                             2.5                         2.4
Total *                                            0.1                         8.8
Note : * Excludes wholesale and retail trade, hotels and restaurants
ที่มา : Singapore Department of Statistics

          4. การส่งออกในเดือนเมษายน 2553 ขยายตัวขึ้น โดยที่การส่งออกสินค้าทั่วไปผลิตในประเทศ (Non-oil domestic export) เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า (เป็นอัตราที่เพิ่มสูงมากนับตั้งแต่ปี 2548) ด้วยความต้องการจากทั่วโลกฟื้นตัวขึ้น การส่งออกสินค้าไปยังประเทศคู่ค้า 10 อันดับแรกของสิงคโปร์เติบโตขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46 ฮ่องกง ร้อยละ 41 จีน ร้อยละ 30 และยุโรป ร้อยละ 21.3 ทั้งนี้ ภาครัฐคาดการณ์การเติบโต GDP  ปี 2553 เป็นร้อยละ 9 อนึ่ง The Straits Times ได้รวบรวมอัตราการส่งออกจากประเทศในเอเซียที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ได้แก่  ไต้หวัน (ร้อยละ 47.7) ฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 43.7 -มีค.53) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 40) มาเลเซีย (ร้อยละ 36.4 —มีค. 53) อินเดีย (ร้อยละ 36.3) ไทย (ร้อยละ 35.2) จีน ร้อยละ 30.4) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 30) ฮ่องกง (ร้อยละ 21.7) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 13 —มีค.53) และเวียดนาม (ร้อยละ 8.9)
          5. ผลภาคอุตสาหกรรมการผลิตเดือนเมษายน 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.0 (เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า) หากไม่รวมผลการผลิตกลุ่ม  Biomedical การเติบโตเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 31.0 ซึ่งผลการผลิตกลุ่ม Biomedical เพิ่มขึ้นร้อยละ 95.8 สินค้าตัวนำคือ เภสัชภัณฑ์  สำหรับผลการผลิตของกลุ่มอื่นๆ ได้แก่ (1) กลุ่มอิเล็คทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.0 (2) กลุ่ม Precision engineering ขยายตัวร้อยละ  56.2 (3) กลุ่มเคมีภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8  (4) กลุ่ม General manufacturing เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ยกเว้นกลุ่ม Transport engineering ลดลงร้อยละ 23.2
          6. นักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 ในเดือนเมษายน 2553 (เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า) จำนวน 938,000 คน  นักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจาก ไทย (ร้อยละ 57.5) มาเลเซีย (ร้อยละ 50.8) และอินเดีย (ร้อยละ 30.8) ทั้งนี้สายการบินราคาประหยัดมีการเติบโตร้อยละ 39  (แม้ว่านักท่องเที่ยวจากยุโรปลดลงร้อยละ 8 และสายการบินระหว่างสิงคโปร์กับยุโรปยกเลิก 150 เที่ยวบิน) รวมทั้งการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้นร้อยละ  16.3  ปริมาณ 146,849 ตัน
          7. อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายน 2553 สูงสุดในช่วง 14 เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการคมนาคมขนส่ง การเคหะ/ที่พักอาศัย และอาหารอัตราดัชนีผู้บริโภค (Consumer Price Index : CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งราคาค่าที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมคาดการณ์ CPI ปี 2553 ไว้ระหว่างร้อยละ 2.5-3.5
          8. ภาครัฐสนับสนุนภาคการก่อสร้าง 250 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพื่อให้ยกระดับผลผลิตการทำงาน ซึ่ง Building and Construction Authority (BCA) อนุญาตให้ผู้สร้างยื่นขอเงินสนับสนุนร้อยละ 50-80 เพื่อใช้ในการฝึกอบรมพนักงานการปรับเปลี่ยนใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การจ้างที่ปรึกษา และเงินทุนการศึกษาระดับสูง ซึ่งคาดว่าผลผลิตจากภาคการก่อสร้างจะเติบโตร้อยละ 2-3 ต่อปี ในช่วงอนาคต 10 ปี ทั้งนี้ สรุปสาระการขอรับการสนับสนุน ดังนี้
          9. ชาวสิงคโปร์รุ่นใหม่มีหนี้สินมาก  จากการสำรวจของ DP Credit Bureau (DPCB) แสดงถึงกลุ่มอายุระหว่าง 21-29 ปีที่มีหนี้สินมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ โดยมีหนี้สินเครดิตการ์ด ร้อยละ 7.54, Overdraft ร้อยละ 1.27,  การจำนอง ร้อยละ 0.54, การผ่อนรถยนต์ ร้อยละ 0.44 และอื่นๆ ร้อยละ 4.25 ในขณะที่กลุ่มอายุอื่นๆ มีระดับร้อยละ 3.88, 1.16, 0.42, 0.14 และ 1.17 ตามลำดับ

ข. การลงทุนในประเทศ
          1. บริษัทญี่ปุ่น Fujitsu เปิด R&D ในสิงคโปร์  โดยสถานที่ตั้งอยู่ ณ  Biopolis Campus  เขต Buona Vista ทำการ ศึกษา disease detectors และการผลิตเคมีภัณฑ์ชื่อ Aptamers ซึ่งหวังว่าจะใช้แทน antibodies ในการตรวจสอบโรค prostate and gastric cancer, cardiovascular  disease and dengue  มูลค่าการลงทุนประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พื้นที่ 180 ตารางเมตร และหน่วยงานสิงคโปร์ A*Star  หวังว่าจะทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์จาก Aptamer  ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า  ตลาดสำคัญคือ สหรัฐที่มีมูลค่าประมาณ 612.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
          2. บริษัท MNC ใหม่ในสิงคโปร์ ได้แก่  1) บริษัท Roche เปิดโรงงานผลิตและห้องทดลองยาเป็นแห่งแรกของเอเซียในสิงคโปร์  2) บริษัท Medtronic and Edwards สร้างโรงงานผลิตสินค้า Lifesciences แห่งแรกในเอเซีย  3) บริษัท  Lonza  ซึ่งผลิตเภสัช-ภัณฑ์ จัดตั้งโรงงานผลิต first cell therapy แห่งแรกในเอเซีย  4) บริษัท Zuellig  Pharma ตั้งสำนักงานใหญ่สำหรับตลาดเอเซียแปซิฟิค  5) บริษัท Lanxess ผลิตเคมีภัณฑ์ จัดตั้งสำนักงานใหญ่สำหรับ butyl rubber ในสิงคโปร์  6) บริษัท SK-II ผลิตเครื่องสำอาง จัดตั้งสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ 7) บริษัท  Pokka ผลิตเครื่องดื่ม จัดตั้งโรงงานผลิตสำหรับตลาดนานาชาติ และ  8) บริษัท DKSH ดำเนินธุรกิจการเงิน จัดตั้งศูนย์การเงินโลกและศูนย์ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ระดับชำนาญการ
          3. บริษัท Lanxess  ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ลงทุน 687 ล้านเหรียญสิงคโปร์ตั้งโรงงาน ณ  เกาะจูร่ง เป็นการลงทุนของบริษัทที่มากที่สุดในโลก เพื่อการผลิต butyl rubber และผลิตภัณฑ์ synthetic จะสร้างแล้วเสร็จในปี 2556 พื้นที่ 200,000 ตารางเมตร  กำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี การจ้างงานประมาณ 200 อัตราผู้ชำนาญการ การลงทุนของบรษัท แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการเติบโตในเอเซียที่ดี และสร้าง awareness  แก่บริษัทใหญ่ๆทั่วโลกให้ใช้โอกาสร่วมลงทุนในเอเซีย ทั้งนี้ การที่จะรักษาระดับห้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางเคมีภัณฑ์ของโลก ภาครัฐมีแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเกาะจูร่ง และรักษาทรัพยากร ได้แก่ พลังงาน  คาร์บอน น้ำและพื้นดิน
          4. บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของ UK ตั้งสาขาในสิงคโปร์  โดยที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์มีการเติบโตอย่างมาก  ทำให้บริษัท The Royal Institution of Chartered Surveyors (Rics) วางแผนการเปิดบริษัทสาขาภายในปลายปี 2553บริษัทฯมีความเชี่ยวชาญในด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง มีสมาชิกทั่วโลกมากกว่า 140,000 ราย นอกจากนี้ บริษัทยังการพูดเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์  และพิมพ์เอกสารการวิจัยมากกว่า 500 ฉบับ

ค. การลงทุนในต่างประเทศ
          1. สิงคโปร์ลงทุน Agricultural Food Zone ในจีนโดยทำการศึกษาความเป็นไปได้ในความร่วมมือระหว่าง Jilin City และหน่วยงานหลายฝ่ายของสิงคโปร์ และเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 ได้ลงนามข้อตกลงร่วมกันที่จะทำการพัฒนาเขตผลิตอาหาร China-Singapore Jilin Food Zone ในจีนบนพื้นที่ 1,450 ตารางกิโลเมตร (ขนาดเป็น 2 เท่าของสิงคโปร์)  ซึ่งจะสร้างแล้วเสร็จในเวลา 15 ปี  โดยแบ่งการสร้างออกเป็น 3 ส่วน ด้วยเงินลงทุนประมาณฝ่ายละกว่า 22 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ สำหรับสินค้าที่ผลิตได้แก่ ข้าวโพด  ถั่วเหลือง  ข้าว  ข้าวสาลี  ข้าวบาร์เลย์  Oat and rye  สัตว์ปีก เนื้อสุกร/เนื้อวัว  นมและผลิตภัณฑ์นม  ผัก-ผลไม้ออร์กานิก  Blueberries and Strawberries  ดอกไม้  Perilla leaves (สำหรับตลาดเกาหลีและญี่ปุ่น) และ Ginseng

ง. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
          1. สิงคโปร์กับอินโดนีเซีย  มีแผนการที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและมุ่งเน้นส่งเสริม Riau Islands ในอินโดนีเซีย รวมทั้งด้านการท่องเที่ยว และการบินพาณิชย์ โดยได้มีข้อตกลงจัดตั้งกลุ่มทำงาน เพื่อเจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายทำการศึกษาและดำเนินการต่อไป ได้แก่  Agribusiness, Civil Aviation, Cruise Tourism และ การสร้างเขตเศรษฐกิจใน Batam, Bintan และ Karimun ทั้งนี้ ในปี 2552 อินโดนีเซียเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 5 ของสิงคโปร์ และสิงคโปร์ได้เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียด้วยมูลค่าประมาณ 6.1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์
          2. สิงคโปร์กับนิวซีแลนด์ ประธานาธิบดี Nathan ของสิงคโปร์ และ Sir Anand Satyanand, Governor-General ของนิวซีแลนด์ ได้ยืนยันความร่วมมือทวิภาคีระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะด้านการศึกษา ทั้งนี้ The ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Agreement ได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553  ซึ่งทำให้ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าของสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
          3. สิงคโปร์และซาอุดิอาระเบีย เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2010 นาย George Yeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสิงคโปร์ และนาย Ibrahim A. Al — Assaf รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของซาอุดิอาราเบีย ได้ลงนามในข้อตกลงการเสียภาษี สำหรับการหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซ้ำซ้อน (Agreement for the avoidance of Double Taxation : DTA) ซึ่งคาดว่าจะเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเชื่อมโยงทางการค้าแบบทวิภาคี โดยการลดภาษีซ้ำซ้อนของรายได้ที่อาจเกิดขึ้นจากผลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดนระหว่าง 2 ประเทศ  DTA รวมข้อตกลงพื้นฐาน ระหว่างประเทศสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามคำขอ เพื่อเสียภาษี โดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย  ทั้งนี้  DTA จะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการให้สัตยาบันของทั้ง 2 ประเทศ

จ. อื่นๆ
          1. บริษัท FJ Benjamin ย้ายฐานจากประเทศไทย  จากเหตุการณ์ทางการเมืองไม่สงบ ทำให้บริษัทตัดสินใจปิดสาขาร้านค้าปลีก 3 แห่งในไทย ที่จำหน่ายสินค้าแบรนด์ ได้แก่ Givenchy, Guess and Raoul โดยมีแผนการจะย้ายไปยัง ประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียเหนือ
          2. สิงคโปร์ได้รับอันดับ 1 เป็นประเทศเศรษฐกิจที่แข่งขันได้ จากการสำรวจของ International Institute of Management Development  โดยสาขาที่สิงคโปร์มีชื่อเสียง ได้แก่ ค่าจ้างแรงงานและชั่วโมงการทำงาน กฎ/ระเบียบของหน่วยงานภาครัฐ  การจดทะเบียนธุรกิจ อุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม  ทัศนคติและการสร้างสรร  การค้าระหว่างประเทศ  เงินทุนสำรอง  ระบบการเงิน/การธนาคาร  อัตราการว่างงาน  การศึกษา  ระบบการจัดการ  เสถียรภาพทางการเมือง สิทธิเท่าเทียมกันทั้งชายและหญิง  สุขอนามัยและสภาวะแวดล้อม ทั้งนี้ ประเทศที่ได้รับอันดับรองจากสิงคโปร์คือ ฮ่องกง และสหรัฐฯ
          3. ผู้ค้าปลีกในสิงคโปร์ปรับสู่การรักธรรมชาติ  เพื่อสร้างให้ร้านเป็น eco-friendly stores  ได้แก่  1) Hush Puppies ณ Marina Bay Sands (Integrated Resort ใหม่)  ซึ่งมีการตกแต่งแบบ rustic ใช้วัสดุที่มาจากการ recycle  และใช้ระบบการลดพลังงานในร้าน  2) Terrra Plana ร้านจำหน่ายรองเท้าตั้งอยู่ในถนนออชาร์ด ซึ่งให้ไม้เก่ามาสร้างเป็นฝาผนัง และใช้วัสดุที่เป็นกระดาษแทนพลาสติก  3) ซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice ได้ใช้ระบบ  energy-saving สำหรับไฟและตู้เย็น  4) ซุปเปอร์มาร์เก็ต Cold Storage ใช้เทคโนโลยี LED และ energy-saving และเริ่มใช้วัสดุ recycle สำหรับพื้นในบางสาขา   6) บริษัท Nanyang Optical ได้ใช้ระบบ recycle จากแว่นตาที่ใช้แล้วและพลาสติกจากขวดน้ำยาสำหรับคอนแทกซ์เลนส์
          4. สิงคโปร์ได้ชื่อเสียงเป็น Liver transplant hub  ซึ่งมีจำนวนชาวต่างชาติในภูมิภาคและตะวันออกกลางเข้ารับการผ่าตัดในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น ในปี 2552 มีผู้บริจาคและผู้รับ จำนวน 28 คู่  (ปี 2551 จำนวน 27 คู่ และปี 2550 จำนวน 21 คู่) ซึ่งดำเนินการผ่าตัด ณ โรงพยาบาลเอกชน 2 แห่ง คือ Gleneagles  และ Mount Elizabeth  ภายใต้  Parkway Group ค่าใช้จ่ายประมาณ 300,000 เหรียญสิงคโปร์/ราย
          5. สิงคโปร์ได้รับอันดับ 2 ด้าน Sovereign Wealth Funds (SWFs) รองจากนอรเวย์  จากการสำรวจของ Hill & Knowlton and Penn Schoen Berland, Communications and research strategy consultants (SWFs หมายถึง การลงทุนที่รัฐบาลเป็นเจ้าของโดยใช้เงินสำรองของประเทศในการลงทุน หรือการสำรองเงินใน stocks and bonds) บริษัทที่ดำเนินการ คือ Temasek Holdings และ Government of Singapore Investment Corporation (GIC) สรุปการสำรวจ ดังนี้

  Sovereign wealth fund    Transparency    Accountability  Good governance
Norway                          54               58                62
Singapore                       42               45                45
Hong Kong                       40               43                44
Malaysia                        29               32                34
Abu Dhabi                       29               32                33
ที่มา: Hill & Knowlton and Penn Schoen Berland

ทั้งนี้ การสำรวจได้ดูในด้านการเมืองที่มีผลต่อการลงทุน โดยสิงคโปร์มีเพียงร้อยละ 50 ส่วนนอรเวย์มีร้อยละ 43 สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ได้รับอิทธิพลทางการเมือง ได้แก่ รัสเซีย(ร้อยละ 87) จีน(ร้อยละ 84) ลิเบีย(ร้อยละ 74) คาคาซสถาน (ร้อยละ 73) อัลจีเรีย(ร้อยละ 69) ไนจีเรีย(ร้อยละ 64) กาตาร์(ร้อยละ 61) คูเวต(ร้อยละ 60) มาเลเซีย(ร้อยละ 59) ฮ่องกง(ร้อยละ 59) บรูไน(ร้อยละ 57) อาบู ดาบี(ร้อยละ 57) บาห์เรน(ร้อยละ 57) ดูไบ(ร้อยละ 56) (ไม่มีการสำรวจสำหรับไทย)

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 16-31 พฤษภาคม 2553

1. จัดโครงการส่งเสริมสินค้าไทยในซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice ระหว่างวันที่ 6-19 พฤษภาคม 2553

2. จัดโครงการประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยในสิงคโปร์ ร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศ ณ ซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice ระหว่างวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2553 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางพรทิวา นาคาศัย) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานฯ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2553

3. จัดประชาสัมพันธ์ข้าว “Thai Rice Festival” ณ บริเวณสถานทูตไทยในสิงคโปร์ วันที่ 16 พฤษภาคม 2553 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นางพรทิวา นาคาศัย) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานฯ

4. จัดโครงการ Thailand Trade Exhibition 2010 ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2553) โดยมีบริษัทไทยเข้าร่วมงาน 84 ราย ร้านค้าโครงการหลวง ร้านข้าวออร์กานิกไทย ภัตตาคารไทยในสิงคโปร์ที่ได้รับตรา Thai Select จำนวน 6 ราย บริษัทจำหน่ายผลไม้ไทย และเครื่องดื่มไทยต้อนรับและอำนวยความสะดวกแก่หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง และคณะฯ รวม 11 คน เข้าร่วมงาน Thailand Trade Exhibition 2010 ณ สถานทูตฯ ระหว่างวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2553

6. ประสานงานและต้อนรับคณะผู้แทน BOI และที่ปรึกษา(ม.ธรรมศาสตร์) จัดกิจกรรมชักจูงเชิงรุกและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมาย (การผลิตพลังงานทดแทน การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟแวร์ อุตสาหกรรมบริการ) ในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2553

7. ติดต่อประสานงานการจัดโครงการ Thailand Trade Exhibition 2010 “VivoCity Fashion Showcase” (กำหนดจัดระหว่างวันที่ 10-14 มิถุนายน 2553)

8. ประสานซุปเปอร์มาร์เก็ต Isetan สำหรับการจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าผักผลไม้และอาหาร ณ บริเวณพื้นที่ Promotion กำหนดจัดระหว่างวันที่ 13-22 กรกฎาคม 2553

9. ประสานงานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2553 10. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ได้แก่

  • ThaiFex-World of Food Asia 2010 ( 30 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม 2553)
  • Made in Thailand 2010 (2-11 กรกฎาคม 2553)
  • Bangkok Gems & Jewelry Fair 2010 (8-12 กันยายน 2553)

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ