การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทยช่วงไตรมาสแรก (มค.- มีค.) ของปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 23, 2010 17:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์

ในช่วงไตรมาสแรก (มค.- มีค) ของปี 2553 มีมูลค่ารวม 178,675.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.08 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 78,759.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.90) และมูลค่าการนำเข้า 99,915.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.51) โดยประเทศคู่ค้า(นำเข้า)อันดับหนึ่ง คือ มาเลเซีย (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.3) รองลงมา ได้แก่ สหรัฐฯ (ร้อยละ 11.5) จีน (ร้อยละ 10.5) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 7.7) เกาหลีใต้(ร้อยละ 5.9) ไต้หวัน(ร้อยละ 5.9) อินโดนีเซีย(ร้อยละ 5.3) ซาอุดิ อาระเบีย(ร้อยละ 3.6) ไทย(ร้อยละ 3.5 เป็นอันดับ 9) และอินเดีย (ร้อยละ 3.0) สำหรับประเทศคู่ค้า (ส่งออก)อันดับหนึ่ง คือ มาเลเซีย (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.8) รองลงมา ได้แก่ ฮ่องกง (ร้อยละ 11.7) จีน(ร้อยละ 10.4) อินโดนีเซีย (ร้อยละ 10.0) สหรัฐฯ(ร้อยละ 5.9) ญี่ปุ่น(ร้อยละ 4.7) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 4.5) ไทย (ร้อยละ 3.9 เป็นอันดับ 8) อินเดีย (ร้อยละ 3.6) และไต้หวัน (ร้อยละ 3.6)

2. การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย

ในช่วงไตรมาสแรก (มค.-มีค.) ปี 2553 สิงคโปร์กับไทยมีมูลค่าการค้ารวมระหว่างกัน 5,549.9 ล้าน-เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสิงคโปร์ได้เปรียบดุลการค้ากับไทยมูลค่า 562.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -10.1 (มูลค่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 626.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยแบ่งเป็นการส่งออก และนำเข้า ดังนี้

  • การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกมาไทยคิดเป็นมูลค่า 3,056.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8) สินค้าหลัก ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล น้ำมันสำเร็จรูป อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกัน-วงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และส่วนประกอบของเครื่องจักร(ประเภทที่ 84.25-84.30)
  • การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 2,493.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.5) โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 9 (สำหรับประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่ง คือ มาเลเซีย รองลงมา ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินโดนีเซีย ซาอุดิอาระเบีย ไทย และอินเดีย) ทั้งนี้ สินค้านำเข้าจากไทย 10 อันดับแรกเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องพ่นหรือฉีดเชื้อเพลิงของเตาเผา อุปกรณ์และส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ มอเตอร์/เครื่องกำเนิด-ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบ
3. สินค้าในรายการ 50 อันดับแรกที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทย ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ซึ่งมีสินค้าที่เพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษ (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ได้แก่
HS Code                สินค้า                                เพิ่มขึ้นร้อยละ           ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ
8416       เครื่องพ่นหรือฉีดเชื้อเพลิงของเตาเผา                  1,358,000.00                96.72
7006       แก้วตามประเภทที่ 70.03, 70.04 หรือ 70.05              3,446.86                41.60
           ที่ทำให้โค้ง แต่งขอบ แต่ไม่มีกรอบติดกับวัตถุอื่นๆ
7308       สิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า           1,404.03               18.40
8536       เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า                         225.71                 5.67
4001       ยางพารา                                             217.89                23.69
8482       ตลับลูกปืน                                             210.91                 5.39
8207       เครื่องมือกลสำหรับดึงอัดรีดโลหะ และ                        187.16                 4.93
            เครื่องมือสำหรับเจาะหินหรือเจาะดิน
2207       เอทิลแอลกอฮอล์ที่ไม่ได้แปลงสภาพ                           185.23                18.35
8504       หม้อดแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ                            161.57                 4.17
4. สินค้าในรายการ 50 อันดับแรกที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทย รายการที่นำเข้าลดลง (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ได้แก่
HS Code                  สินค้า                                   ลดลงร้อยละ      ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ
8703       รถยนต์                                                   51.04             4.61
8523       สื่อบันทึกที่ยังไม่ได้บันทึก จัดทำไว้เพื่อการบันทึกเสียง                  30.44             3.35
8528       เครื่องรับโทรทัศน์ รวมทั้งวิดีโอมอนิเตอร์และเครื่องฉายวิดีโอ           18.86             2.93
3305       สิ่งปรุงแต่งสำหรับใช้กับผม                                     12.24            33.83
8534       วงจรพิมพ์                                                 11.01             6.93
8543       เครื่องจักรไฟฟ้า และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า                          10.71             3.00
8450       เครื่องซักผ้า รวมถึงเครื่องซักผ้าที่มีเครื่องทำให้แห้ง                   4.43            45.48
1604       ปลาที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย                                 2.84            22.86
8527       เครื่องรับสำหรับวิทยุโทรศัพท์ วิทยุโทรเลขหรือวิทยุกระจายเสียง          2.16            23.50
1006       ข้าว                                                      0.41            63.27
5. ประเทศคู่แข่งการค้าสำคัญ 10 อันดับแรก ในตลาดสิงคโปร์
5.1 การนำเข้า
ประเทศ                 มค.-มีค.52 (US$Million)     มค.-มีค.53 (US$Million)      การเติบโต %       ส่วนแบ่งตลาด %
1.มาเลเซีย                      5,749.90                   8,791.30                52.9             12.3
2.สหรัฐฯ                        7,039.60                   8,198.10                16.5             11.5
3.จีน                           5,346.60                   7,490.10                40.1             10.5
4.ญี่ปุ่น                          3,747.80                   5,477.00                46.1              7.7
5.เกาหลีใต้                      2,588.10                   4,201.30                62.3              5.9
6.ไต้หวัน                        2,178.20                   4,193.10                92.5              5.9
7.อินโดนีเซีย                     3,298.80                   3,800.90                15.2              5.3
8.ซาอุดิ ดาระเบีย                 1,708.60                   2,577.50                50.9              3.6
9.ไทย                          1,521.30                   2,493.50                63.9              3.5
10.อินเดีย                       1,284.20                   2,113.90                64.6              3.0
5.2 การส่งออก
ประเทศ           มค.-มีค. 52 (US$Million)     มค.-มีค.53 (US$Million)       การเติบโต %       ส่วนแบ่งตลาด %
1.มาเลเซีย                  5,869.40                   9,257.20                57.7             11.8
2.ฮ่องกง                    6,288.20                   9,195.80                46.2             11.7
3.จีน                       5,320.10                   8,217.70                54.5             10.4
4.อินโดนีเซีย                 5,645.60                   7,865.20                39.3             10.0
5.สหรัฐฯ                    3,752.80                   4,645.60                23.8              5.9
6.ญี่ปุ่น                      2,717.50                   3,680.10                35.4              4.7
7.เกาหลีใต้                  2,508.70                   3,560.30                41.9              4.5
8.ไทย                      2,147.40                   3,056.90                42.3              3.9
9.อินเดีย                    2,033.70                   2,870.00                41.1              3.6
10.ไต้หวัน                   1,466.10                   2,800.60                91.0              3.6
6. ข้อสังเกตุ

(1) สถิติการนำเข้าที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 นับเป็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นสูงมาก(ร้อยละ 63.9) เนื่องจากตัวเลขเปรียบเทียบกับการนำเข้าในไตรมาสแรกของปี 2552 ซึ่งในช่วงนั้นเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย ได้ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศในโลกรวมถึงสิงคโปร์และทำให้สิงคโปร์นำเข้าจากไทยลดลงร้อยละ 25.2

(2) ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2553 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 15.5 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) โดยการเติบโตแบ่งออกตามภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

ภาคอุตสาหกรรม                         ไตรมาสแรก ปี 2552 (%)     ไตรมาสแรก ปี 2553 (%)
Total                                       -8.9                    15.5
Goods Producing Industries                 -17.7                    28.6
   Manufacturing                           -23.8                    32.9
   Construction                             25.5                    13.7
Services Producing Industries               -4.9                    10.9
   Wholesale & Retail Trade                -14.3                    17.7
   Transport & Storage                     -10.5                     7.6
   Hotels & Restaurants                     -4.0                     6.7
   Information & Communication               1.8                     2.9
   Finance Services                         -7.6                    18.1
   Business Services                         6.2                     6.1

(3) สำหรับดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจอื่นๆ ได้แก่

                                             ไตรมาสแรก ปี 2552        ไตรมาสแรก ปี 2553
Visitor Arrivals  (%)                               -13.6                   19.6
Retail Sales Index at Constant Prices (%)           -10.7                    1.1
Labour Productivity (%)                             -14.1                   13.1
Unemployment Rate (%)                                 3.2                    2.2
Change in Employment (‘000)                          -6.2                   34.0
Overall Unit Labour Cost (%)                          9.3                   -8.7
Unit Business Cost of Manufacturing (%)               8.3                  -11.7
Consumer Price Index (%)                              3.4                    0.9
Fixed Asset Investments ($ bil)                       3.2                    3.0
Total Trade (%)                                     -27.7                   26.9
  Exports                                           -27.8                   28.2
      Domestic Exports                              -31.1                   32.0
         Oil                                        -43.1                   56.9
         Non-Oil                                    -25.6                   23.2
      Re-exports                                    -24.1                   24.5
Imports                                             -27.6                   25.5

(4) สิงคโปร์ได้ปรับการคาดการณ์การค้ารวมของปี 2553 ว่าจะเติบโตร้อยละ 14-16 ( เดิมคาดการณ์ไว้ร้อยละ 9-11 ) สำหรับการเติบโต NODX คาดการณ์ว่า จะเติบโตร้อยละ 15-17 (เดิมร้อยละ 10-12) ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • การฟื้นตัวของการค้าโลกที่รวดเร็วและมีความแข็งแกร่งเกินกว่าที่คาดหวังไว้ โดย WTO ได้คาดหวังว่าปริมาณการส่งออกไปยังตลาดทั่วโลกของปี 2553 จะเติบโตร้อยละ 9.5
  • การเติบโตเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่งของประเทศในเอเซีย ซึ่งนับว่า เป็นผู้นำสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการเติบโตเป็นผลมาจากปัจจัยทั้งด้านการส่งออกและความต้องการของตลาดภายในประเทศ
  • การพัฒนาของเศรษฐกิจและการค้าในสหรัฐฯมีระดับดีขึ้น ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกปี 2553 การเติบโต GDP เป็นร้อยละ 3.2 และการใช้จ่ายของผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัวอยู่ในระดับที่ดี โดยการค้าปลีกเติบโตเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลา 7 เดือนที่ผ่านมา รวมถึงการนำเข้าและการส่งออกเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น จีงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลดีสู่การค้าของสิงคโปร์

(5) ปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตเศรษฐกิจ ได้แก่ หนี้สินสูงของ EU เศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจจะปรับลดเพราะเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ราคาน้ำมันที่ผันแปร ปัญหาการก่อการร้าย รวมถึง เสถียรภาพทางการเมือง ภัยธรรมชาติและความไม่สมดุลของโลก อีกด้วย

(6) เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้ประกาศคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจ (GDP) ของสิงคโปร์ ปี 2553 อัตราร้อยละ 7.0-9.0

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ