นายไพศาล มะระพฤกษ์วรณ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไน รายงานว่า บริษัท McKinsey Global ประกาศผลการวิจัยพบว่า ในปี 2030 อินเดียจะมีเมืองที่มีประชากรเกิน 1 ล้านคนถึง 68 เมือง ในจำนวนนี้มี 13 เมืองที่มีประชากรเกิน 4 ล้านคน และ 6 มหานครที่มีประชากรเกิน 10 ล้านคน
คาดว่า ในปี 2030 จะมีคนอยู่กันในเมืองใหญ่ๆ เหล่านี้มากกว่า 590 ล้านคน และมุมไบกับนิวเดลีจะเป็นเมืองที่มีประชาการมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเมืองเหล่านี้จะมีขนาดประชากรและขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าประเทศสำคัญๆ บางประเทศเสียอีก อีกทั้งยังเป็นแหล่งจ้างงาน 70 % ของอินเดีย มีขนาดเศรษฐกิจ 70 % ของ GDP อินเดีย เป็นแหล่งรายได้ด้านภาษีเงินได้ 85% ของรัฐบาล
ปัจจุบันอินเดียมีเมืองที่มีขนาด GDP ใหญ่มากที่สุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย มุมไบ นิวเดลี โกลกัตตา บังกะลอร์ เจนไน ไฮเดอราบัด อาเมดาบัด ปูเน่ สุรัติ และกานปูร์ ตามลำดับ
GDP =2.09 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
นายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไนกล่าวว่า มุมไบเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการท่องเที่ยว เป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของอินเดีย มีขนาด GDP ใหญ่ที่สุดของประเทศ ขณะเดียวกันก็เป็นเมืองที่ติดอันดับ 10 เมืองธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มุมไบมีการผลิตภาคอุตสาหกรรมคิดเป็น 25 % ของอินเดีย ปัจจุบันมีการพัฒนาเมืองคู่แฟดอย่าง Navi Mumbai และ Thane ให้เจริญทัดเทียมกับมุมไบ จึงมีโครงการก่อสร้างเกิดขึ้นมากมายในเมืองทั้ง 3 นี้
GDP 209,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (2009) GDP/capita 2,730 เหรียญสหรัฐ(2009) GDP growth 7%(2009) ประชากร 20 ล้านคน (2009) พื้นที่ 603.4 km2 ที่ตั้ง อยู่ในรัฐมหาราษฎระ ตะวันตกของอินเดีย อุตสาหกรรมสำคัญ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร ปิโตรเคมี โลหะ เหล็ก พลาสติก ไวน์ ท่าเรือ(ใหญ่ที่สุดของอินเดีย) วิศวกรรม อัญมณี
การเจียรนัย ยา การรักษาพยาบาล IT, BPO (ส่งออก software เป็นอันดับ 2 ของอินเดีย คิดเป็น 30%ของประเทศ)
สินค้าเกตรที่สำคัญ มะม่วง องุ่น กล้วย ส้ม สาลี ข้าว โยวา บัจระ ถั่ว ฝ้าย อ้อย ขมิ้น ยาสูบ ความหนาแน่นของประชากร 22,922 /km2 ภาษาราชการ Marathi, Hindi, English ความสูงของพื้นดิน 14 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (46 ft) การค้ากับไทย 60% ของสินค้าไทยขึ้นที่ท่าเรือมุมไบ สินค้าที่มีศักยภาพ สินค้าอาหาร ผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้ โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลง ลิฟต์ บันไดเลื่อน
สิ่งปรุงแต่งรสอาหาร เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด กระดาษ ของเล่น พลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียม
มุมไบมีประชากร 20 ล้านคน มากที่สุดในอินเดียและมากเป็นอันดับ 2 ของโลก คิดเป็น 1.5% ของประเทศ จัดเป็นเมืองเกรด 1 A (A-1 status city) เช่นเดียวกับ กรุงนิวเดลี ไฮเดอราบัด โกลกัตตา เจนไน และ บังกะลอร์
มุมไบมีรายได้ต่อหัวสูงเกือบ 3 เท่าของค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ เป็นผู้จ่ายภาษีเงินได้ส่วนบุคคล 33 % ของอินเดีย และจ่ายภาษีเงินได้ธุรกิจสูงถึง 37% ของอินเดีย การค้าระหว่างประเทศส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่มุมไบ เนื่องจาก 60% ของรายได้ด้านภาษีศุลกากรเกิดขึ้นที่นี้ สถาบันการเงินชั้นนำส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่มุมไบ เช่น Reserve Bank of India และตลาดหุ้น อย่าง Bombay Stock Exchange และ the National Stock Exchange of India.
บริษัทข้ามชาติจากทั่วโลกนิยมตั้งสำนักงานที่มุมไบ นอกจากนั้นบริษัทข้ามชาติชั้นนำของอินเดียก็มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นี่ด้วย ได้แก่ Larsen and Toubro,Life Insurance Corporation of India (LIC),Tata Group, Godrej และ Reliance นอกจากนั้นมุมไบยังเป็นเมืองที่มีค่าเช่าสำนักงานแพงเป็นอันดับ 4 ของโลก มีตึกระฟ้าติดอันดับโลกอยู่มากมาย จึงมีผู้คนหลากหลายจากทั่วอินเดียมาทำงานอยู่ที่เมืองมุมไบแห่งนี้ ส่งผลให้มุมไบมีค่าครองชีพสูงที่สุดของประเทศ ปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างเกิดขึ้นมากมายในมุมไบ นาวีมุมไบ และตานี ได้แก่ การก่อสร้างบ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน การก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ (special economic zones) และสะพานลอยฟ้าข้ามอ่าวมุมไบเชื่อมมุมไบ-นาวีมุมไบ (trans-harbor-sea link)
มุมไบยังมีชื่อเสียงด้านภาพยนต์ เพราะมีบอลิวูดตั้งอยู่ แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งพัฒนาทางด่วน รถไฟฟ้า รถเมล์ และรถไฟใต้ติดอย่างเต็มที่ก็ตาม มุมไบก็ยังขึ้นชื่อด้านการที่มีรถติดหนักที่สุดของอินเดีย
GDP =1.67 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
กรุงนิวเดลี เมืองหลวงแห่งสาธารณรัฐอินเดีย มี GDP เป็นสัดส่วน 4.94% ของ GDP อินเดีย แม้ว่าย่านเศรษฐกิจจะไม่โด่งดังเหมือนมุมไบ แต่ย่านเศรษฐกิจอย่าง Connaught Place (เรียกย่อๆ ว่า CP) ของนิวเดลีก็เป็นย่านที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย โดยมีสำนักงานใหญ่ของบริษัทชั้นนำของอินเดียหลายบริษัทตั้งอยู่
รายได้ต่อหัวของชาวนิวเดลีอยู่ที่ระดับ 1,678 เหรียญสหรัฐ สูงเป็นสองเท่าของค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ ในภาคบริการมีการเติบโตเป็นอย่างดี เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างดีเยี่ยม โดยสาขาที่สำคัญ ได้แก่ IT โทรคมนาคม โรงแรม ธนาคาร สื่อสาร และการท่องเที่ยว ส่วนภาคอุตสาหกรรมก็เติบโตอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภคที่ตั้งโรงงานอยู่ในนิวเดลีและชานเมือง อุตสาหกรรมที่สำคัญของนิวเดลี ได้แก่ การก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องหนัง ไฟฟ้า โทรคมนาคม บริการด้านสุขภาพ และอสังหาริมทรัพย์
GDP 167,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (2009) GDP/capita 1,678 เหรียญสหรัฐ(2009) ประชากร 15.3 ล้านคน (2009) พื้นที่ 42.7 km2 ที่ตั้ง ตั้งอยู่ใน National Capital Territory of Delhi อุตสาหกรรมสำคัญ IT โทรคมนาคม โรงแรม ธนาคาร สื่อสาร และการท่องเที่ยว การก่อสร้าง ยานยนต์ เครื่องหนัง ไฟฟ้า โทรคมนาคม
บริการด้านสุขภาพ และอสังหาริมทรัพย์
สินค้าเกตรที่สำคัญ - ความหนาแน่นของประชากร 9,294 /km2 ภาษาราชการ Hindi, English ความสูงของพื้นดิน 216 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (709 ft) การค้ากับไทย ส่วนใหญ่ของสินค้าไทยขึ้นที่ท่าเรือมุมไบแล้วส่งต่อไปยังนิวเดลี สินค้าที่มีศักยภาพ น้ำผลไม้ เครื่องสำรองไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ สินค้าอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลไม้แปรรูป โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลง ลิฟต์ บันไดเลื่อน สิ่งปรุงแต่งรสอาหาร เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด กระดาษ ของเล่น
พลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียม
นายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไนให้ความเห็นว่า ธุรกิจก่อสร้างไทยมีโอกาศที่ดีในการเข้าสู่ตลาดนิวเดลี เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างมากมาย อาทิเช่น โครงการยักษ์ the Yamuna Expressway Project ซึ่งขนานคู่ไปตามแนวชายฝั่งน้ำยมุนา เป็นถนน 6 เลนเชื่อมต่อระหว่างเมืองเกรตเตอร์นอยดาและนครอัคราระยะทางกว่า 165 กิโลเมตร ทั้งนี้ได้มีโครงการพัฒนาเมืองรายทาง 5 เมืองควบคู่ไปด้วย ได้แก่ เมือง Greater Noida, Jaganpor, Mairzapur, Tappal และ Agra โดยแต่ละเมืองจะมีโครงการย่อยๆ เกี่ยวกับ บ้านจัดสรร สโมสร สนามกอล์ฟ สปอร์ตคอมเพล็ก entertainment complex คอนโด สวนสาธารณะ โรงพยาบาล โรงเรียนนานาชาติ โรงไฟฟ้า อาคารสำนักงาน ฯลฯ
GDP =1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
โกลกัตตา ชื่อเดิมคือ กัลกัตตา เป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของอินเดียในสมัยการปกครองของอังกฤษ จนถึงปี 1912 มีประชากร 13.8 ล้านคน นับแต่ปี 2,001 เป็นต้นมา การลงทุนด้าน IT ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในเมือง Raja hat ,Greater Kolkata ส่งผลให้โกลกัตตาเป็นเมือง ITเพียงเมืองเดียวในฝั่งตะวันออกของอินเดีย มีการเติบโตถึงปีละ 70% คิดเป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ โดยมีเมือง IT ชื่อ Saltlake Sector 5 ซึ่งโด่งดังติดอันดับศูนย์ IT ระดับประเทศของอินเดีย โกลกัตตายังเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงินของภูมิภาคตะวันออกและอีสานของอินเดีย ทั้งนี้ตลาดหุ้นโกลกัตตาใหญ่เป็นอันดับสองรองจากมหานครมุมไบ
เช่นเดียวกับเมืองมุมไบและกรุงนิวเดลี โครงการก่อสร้างใหญ่ๆ โดยเฉพาะบ้านพักอาศัย และสำนักงานใหม่ๆ ผุดให้เห็นทุกวัน บริษัทชั้นนำหลายแห่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นี่ เช่น บาจา ITC Ltd, Birla Corporation และ Domodar Valley Corporation,India Government Mint, Kolkata, Haldia Petrochemicals,Exide Industries, Hindustan Motors, Britannia Industries,CESC Limited, Coal India Limited, Damodar Valley Corporation, PwC India, Amconics International Ltd., RP Infosystems,Peerless Group, United Bank of India, UCO Bank และAllahabad Bank
การเปิดด่าน Nathula ที่พรมแดนจีน (ทิเบต)-อินเดีย(รัฐสิกขิม) ช่วยเปิดเส้นทางออกทะเลให้จีนทางตอนใต้ เชื่อมอินเดียกับเส้นทางสายไหมในทิเบต และกระตุ้นเศรษฐกิจโกลกัตตาให้คึกคักได้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันโกลกัตตาเปรียบเหมือนแม่ที่คอยป้อนอาหารให้กับเมืองที่ยังล้าหลังในเวสต์เบงกอล อีสานของอินเดีย พิหาร และทิเบตของจีน จึงไม่น่าแปลงใจที่ว่าเกิดธุรกิจนำเข้าสินค้าทุกชนิดจากประเทศไทยทั้งที่เป็นทางการและกองทัพมด ส่งผลให้เที่ยวบินกรุงเทพ-โกลกัตตาเต็มเกือบทุกเที่ยวบิน
GDP 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (2009) GDP/capita 2,274 เหรียญสหรัฐ(2009) ประชากร 13.8 ล้านคน (2009) พื้นที่ 1,480 km2 ที่ตั้ง อยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก อุตสาหกรรมสำคัญ การถลุงเหล็ก ผลิตภัณฑ์เหล็กและสินแร่ต่างๆ ยานยนต์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สายไฟ เครื่องหนัง
สิ่งทอ อัญมณี การต่อเรือ ตู้รถไฟ ท่าเรือ IT, BPO
สินค้าเกตรที่สำคัญ ข้าว ธันญพืช พืชน้ำมัน สาลี ยาสูบ อ้อย มันฝรั่ง ปอกระเจา ชา (ดาจิลิง) ความหนาแน่นของประชากร 27,462 /km2 ภาษาราชการ Bangali, Hindi, English ความสูงของพื้นดิน 9 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (30 ft) การค้ากับไทย กัลกัตตาเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่สำคัญไปยังเวสเบงกอล พิหาร อีสานของอินเดีย และทิเบตของจีนซึ่งยังล้าหลังอยู่ สินค้าที่มีศักยภาพ สินค้าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภคทุกชนิด (เพื่อตลาดโกลกัตตาและส่งผ่านด่าน Nathula ไปยังทิเบตของจีน) ผลไม้แปรรูป
น้ำผลไม้ โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ หม้อแปลง ลิฟต์ บันไดเลื่อน สิ่งปรุงแต่งรสอาหาร เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด
ไฟเบอร์บอร์ด กระดาษ ของเล่น พลาสติก ยางและผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียม สำหรับธุรกิจบริการ ได้แก่ การก่อสร้าง การท่องเที่ยว โรงแรม สปา นายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไนกล่าวว่าโอกาสทางธุรกิจในโกลกัตตา มีมากโดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปยัง เวสต์เบงกอล อีสานของอินเดีย พิหาร และทิเบตของจีน นอกจากนั้น ธุรกิจบริการด้าน การก่อสร้าง การท่องเที่ยว โรงแรม และสปา ก็เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเนื่องจากชาวโกลกัตตามีกำลังซื้อสูงขึ้นมาก นักธุรกิจไทยจึงไม่ควรมองข้ามในจุดนี้
GDP = 8.3หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
เมื่อ 10 ปีก่อนบังกะลอร์เป็นสวรรค์ของผู้เกษียณอายุเนื่องจากยังมีความเป็นชนบทสูงและค่าครองชีพต่ำ เงินบำนาญสามารถเลี้ยงชีพไปได้ตลอดชีวิต แต่ปัจจุบันบังกะลอร์เป็นเมืองเศรษฐีใหม่และเศรษกิจขยายตัว 10 เท่าจากเดิม มีเศรษฐีใหม่มากมายไม่แพ้มุมไบ เดลี และเจนไน และที่สำคัญบังกะลอร์มีจำนวนครัวเรือนที่มีรายได้เกิน 1 ล้านรูปีมากที่สุดในอินเดีย ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
GDP 8.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (2009) GDP/capita 2,592 เหรียญสหรัฐ(2009) GDP growth 14%(2009) ประชากร 6.6 ล้านคน (2009) พื้นที่ 709.5 ตรกม. ที่ตั้ง อยู่ในรัฐกรณาฏกะ ภาคใต้ของอินเดีย อุตสาหกรรมสำคัญ IT, BPO และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ IT อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างเครื่องบิน, ยานยนต์ (โตโยตา),
เหล็ก, ซีเมนต์, ไบโอเทคโนโลยี, อิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอ, เครื่องหนัง, ผ้าไหม, น้ำตาล, ยา, และแปรรูปอาหาร
สินค้าเกตรที่สำคัญ ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่ว เมล็ดพืชน้ำมัน กาแฟ มะม่วงหิมพานต์ มะพร้าว หมากกระวาน พริก ฝ้าย อ้อย ยาสูบ ความหนาแน่นของประชากร 8,231 คน/km2 ภาษาราชการ Kannada, Hindi, English, Tamil, Telugu, Malayalam ความสูงของพื้นดิน 920 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล (3,018 ft) การค้ากับไทย ส่วนใหญ่สินค้าไทยขึ้นที่ท่าเรือมุมไบ นอกนั้นนำเข้าผ่านท่าเรือเจนไน สินค้าที่มีศักยภาพ วัสดุก่อสร้าง สินค้าอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ ทองรูปพรรณ ผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้ โทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ
หม้อแปลง ลิฟต์ บันไดเลื่อน สิ่งปรุงแต่งรสอาหาร เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด ไฟเบอร์บอร์ด กระดาษ ของเล่น พลาสติก
ยางและผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียม
บังกะลอร์ (ชื่อใหม่คือ Bengaluru แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก) เป็นเมืองหลวงของรัฐกรณาฏกะ มีประชากร 6.6 ล้านคน ส่วนใหญ่อากาศจะเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากพื้นดินสูงจากระดับน้ำทะเลเกือบ 1 กิโลเมตร จึงเป็นที่นิยมของบริษัทต่างชาติเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองนี้กว่า 2,000 แห่ง เป็นเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย อุตสาหกรรมหลักของบังกะลอร์คือ IT และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น BPO เป็นเมือง IT อันดับ 1 ของอินเดีย จึงถูกขนานนามว่า Silicon Valley of India การจ้างงานส่วนใหญ่ในบังกะลอร์จึงเป็นบริษัทซอฟแวร์ข้ามชาติของอินเดียเอง และของต่างชาติ ธรุกิจ IT จึงส่งผลให้เกิดการเติบโตของธุรกิจหลายด้าน เช่น การก่อสร้าง โรงแรม ห้างสรรพสินค้า และการท่องเที่ยว บังกะลอร์มีนิคมธุรกิจซอฟแวร์อยู่ 3 แห่ง คือ Software Technology Parks of India (STPI); International Tech Park, Bangalore (ITPB); และ Electronics City
นายไพศาล มะระพฤกษ์วรรณ ผอ. สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองเจนไนกล่าวว่ารัฐกรณาฏกะ(Karnataka) ซึ่งเป็นรัฐที่บังกะลอร์ตั้งอยู่ เป็นรัฐที่โครงการก่อสร้างใหญ่ๆ มากมายที่รอนักลงทุนไทยเข้าไปจับจองประมูลรับงานกัน
กรณาฏกะ— เป็นรัฐที่มีการลงทุนจากต่างประเทศสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย ในปัจจุบันรัฐบาลกรณาฏกะได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกว่า 1.1 แสนล้านรูปีต่อปี (ประมาณ 4.5% ของ GDPของรัฐ) และวางแผนจะลงทุนราว 2.1 แสนล้านรูปีต่อปี(ประมาณ 9% ของ GDP) ในช่วง 10 ปี ข้างหน้า
1. จุดแข็งของกรณาฏกะ
- เป็น 1 ใน 5 รัฐอุตสาหกรรมชั้นนำของอินเดีย (มหารัชตะ นิวเดลี ทมิฬนาฑู กรณาฏกะ และอานตรประเทศ)
- เป็นรัฐที่มีโปรเจ็คร่วมรัฐ-เอกชน (Public private partnership projects -PPP) มากเป็นอันดับ 1 ของอินเดียมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านรูปี
- มีโปรเจ็คร่วมรัฐ-เอกชนมากถึง 87 โครงการ
- มีการรวมศูนย์ให้ IDD (Infrastructure Development Department) เป็นผู้ดูแลโครงการ PPP ทั้งหมดเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและการประสานงาน
2. เว็บไซต์ของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการประมูลงาน มีดังนี้
1) รัฐบาลกรณาฏกะ -http://www.karunadu.gov.in/Pages/tender-notification.aspx
2) IDD (Infrastructure Development Department)
Room No. 28, Ground Floor, Vikasa Soudha
Bangalore-560 001
Email: prs-infra@karnataka.gov.in
www.idd.kar.nic.in
3) PPP (Public Private Partnership Cell)
Infrastructure Development Department
Room No. 08, Ground Floor, Vikasa Soudha,
Bangalore 560 001
Tel: 001-9180-22034070
Email: director.idd@gmail.com
www.idd.kar.nic.in
3. อภิมหาโปรเจ็ค-ที่เปิดประมูล โดยต่างชาติสามารถเข้าร่วมประมูลได้ มี 29 โครงการ ดังนี้
1) รถไฟฟ้า MRTs- ระยะทาง 693 กิโลเมตร
2) รถไฟฟ้า airport link (High Speed Rail Link)
3) เครือข่ายถนน — Road Network- ระยะทางรวม 10,000 กิโลเมตร
4) ถนนเชื่อมเมือง -ดูรายละเอียดได้ที่ www.eproc.karnataka.gov.in
(1) ถนนเชื่อมเมือง Bellary-airport ถนน 4 เลน
(2) ถนนเชื่อมจาก สนามบิน —พรมแดนรัฐ AP — ถนน 2 เลน
5) นิคมอุตสาหกรรม Devanahalli Business Park ข้างสนามบินนานาชาติบังกะลอร์
6) ท่าเรือ 2 แห่ง — Two Greenfield Sea Ports เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเหล็กและรถยนต์ ดูรายละเอียดได้ที่ www.ksiidc.com
(1) ที่เมือง Tadadi, Uttara Kannada
(2) ที่เมือง Haldipur
7) Logistic Park — เพื่อเป็นศูนย์กลางการขนส่ง โกดัง และโลจิกติกส์ทุกด้าน
8) Monorail — 2 โครงการในเมืองบังกะลอร์ ระยะทาง 31 กิโลเมตร และ 15 กิโลเมตร
9) VADA — โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการอุตสาหกรรมจำนวน 3 เฟส ที่เมือง Bellary
10) ศูนย์ขนถ่ายสินค้า Intermodal Terminal HUBs ( 6 แห่งในบังกะลอร์ + 1 แห่งที่ Mangalore)
11) ต่อก๊าซยาว 1,389 กิโลเมตร
12) สนามบิน — 11 แห่ง จำนวนลานบินรวม 13 ลาน
13) รถไฟใต้ดินในบังกะลอร์เฟส 2 (Metro Phase II)
14) โรงแรม
15) รีสอร์ต
16) สปา
17) สวนสนุก
18) หอประชุมและศูนย์แสดงสินค้า
19) สนามกอล์ฟและรีสอร์ต
20) ภัตาคาร 5 ดาว
21) หมู่บ้านรักษ์ท้องถิ่น (Heritage villages)
22) สนามบินส่วนตัวหลายแห่ง (Private airport)
23) พิพิทธภัณฑ์หลายแห่ง (Museum complexes)
24) การท่องเที่ยวผจญภัยชมสัตว์ป่า (wildlife ventures)
25) การล่องเรือสำราญ (cruises)
26) การท่องเที่ยวโดย ฮ (Helicopter Tours)
27) กีฬาผจญภัย (Adventure Sports)
28) Caravan Tours
29) ฯลฯ
๏ กรณาฏกะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐอินเดีย สถาปนารัฐเมื่อวันที่ 1พฤศจิกายน 2499 ซึ่งแต่เดิมรู้จักในชื่อรัฐไมซอร์ (Mysore) และได้เปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกรณาฎกะ ในปี 2516
๏ รัฐกรณากะตั้งอยู่บนที่ราบสูงระหว่างตะวันตกและตะวันออกของคาบสมุทรทางภาคใต้ของอินเดีย ด้านตะวันตกติดทะเลอาหรับ ทางเหนือติดกับรัฐกัวและรัฐมหาราษฎระ, ด้านตะวันออกติดรัฐอานธรประเทศ รัฐทมิฬนาฑู และรัฐเกรละ
เมืองหลวง เบงกาลูรู (Bengaluru) เปลี่ยนชื่อจาก บังคาลอร์ (Bangalore) เมืองสำคัญ ไมซอร์ (Mysore) ขนาดพื้นที่ 191,791 ตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของอินเดีย ประชากร 52,850,562 คน (ปี 2001) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.14 ของประชากรอินเดีย เมืองหลวง ความหนาแน่นของประชากร: 275 คนต่อตารางกิโลเมตร ภาษาประจำรัฐ กันนาดา, อูรดู, อังกฤษ ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
๏ ภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็น 3 เขต ได้แก่ ชายฝั่ง เขตภูเขา และที่ราบ
๏ ภูมิอากาศมีความหลากหลาย ตั้งแต่ ร้อน ฝนตกชุก และแห้งแล้ง
๏ อากาศร้อนที่สุดในช่วงระหว่างเดือนเมษายน — พฤษภาคม อุณหภูมิประมาณ40 C และในช่วงเดือนตุลาคม — มีนาคม เป็นช่วงอากาศเย็นสบาย บุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงานประมูล
มุขมนตรี : นาย Sri B.S. Yeddyurappa
H.E. Sri G. Janardhana Reddy
รมว. Minister for Infrastructure Development And Tourism
Mr. V Madhu, principal secretary, infrastructure development department, government of Karnataka
GDP-4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
GDP growth (2552) 7%
GDP growth (2553-estimated)- 9%
รายได้เฉลี่ยต่อหัว : 550 ดอลลาร์สหรัฐ
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างเครื่องบิน, ยานยนต์, เหล็ก, ซีเมนต์, IT, ไบโอเทคโนโลยี, อิเล็กทรอนิกส์, สิ่งทอ, เครื่องหนัง, น้ำตาล, ยา, และแปรรูปอาหาร
ทองคำ, เงิน, แร่เหล็ก, แมงกานีส, โครไมท์, หินปูน, อะลูมิเนียม, ทองแดง, และดินเหนียวสำหรับทำเครื่องเคลือบ
มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก ได้มีการปรับปรุงนโยบายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจภายในรัฐ
๏ มีบรรยากาศการลงทุนที่เอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุน ขั้นตอนการติดต่อกับภาครัฐเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว มีระบบสาธารณูปโภคต่างๆ รองรับ รวมถึงระบบการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
๏ มีแรงงานมีฝีมือและทักษะจำนวนมาก ประชากรมีการศึกษาดี (อัตราการรู้หนังสือ66.64%)
๏ มีสถาบันการศึกษา ทั้งระดับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และอาชีวศึกษา จำนวนมาก
๏ เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการพัฒนาองค์ความรู้ เช่น เมืองบังกะลอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th