สถานการณ์สินค้ายานยนต์ในประเทศญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 30, 2010 11:12 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. จำนวนการผลิตรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งแยกตามผู้ผลิต ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2553

                                 Passenger Cars                          Trucks                         Buses            Grand Total
                   Standard    Small     Mini     Total   Standard    Small   Mini    Total    Large    Small    Total
TOYOTA              173,750   51,965      -     225,715     8,200     7,399     -     15,599     -      7,809    7,809     249,123
NISSAN               47,022   29,184      -      76,206     5,724     3,777     -      9,501     -        473      473      86,180
MAZDA                56,755   11,690      -      68,445       122     1,607     -      1,729     -          -        -      70,174
MITSUBISHI           29,851    1,960    3,950    35,761       173       107   4,196    4,476     -          -        -      40,237
ISUZU                    -        -       -          -     12,695     2,296     -     14,991    277         -      277      15,268
DAIHATSU                 -     4,759   38,207    42,966       130        -   11,969   12,099     -          -        -      55,065
HONDA                21,640   38,622    8,680    68,942        -        171   5,285    5,456     -          -        -      74,398
SUBARU               33,769       -     2,655    36,424        -         -    4,241    4,241     -          -        -      40,665
UD TRUCKS                -        -       -          -      1,950       623     -      2,573    142         -      142       2,715
HINO                     -        -       -          -      6,864       150     -      7,014    539         9      548       7,562
SUZUKI               12,771   13,056   46,933    72,760        -      1,080  10,971   12,051     -          -        -      84,811
GM JAPAN                 -        -       -          -         -         -      -        -       -          -        -         -
MITSUBISHI FUSO          -        -       -          -      4,506       547     -      5,053    164       278      442       5,495
Others                   -        -       -          -        101        -      -        101     -          -        -         101
  TOTAL             375,558  151,236  100,425   627,219    40,465    17,757  36,662   94,884  1,122     8,569     9,691    731,794

ข้อมูลจาก Japan Automobile Manufacturer Association 2010

2. ความเคลื่อนไหวที่สำคัญในตลาดรถยนต์ญี่ปุ่น

สำนักข่าวนิเกอิ รายงานว่าประเทศในกลุ่มอาเซียน มียอดสั่งซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2553 เป็นจำนวน 198,000 คัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียซึ่งมียอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 90 ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์และไทยต่างมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายรถยนต์ของปีที่ผ่านมา รายละเอียดดังนี้

1. ประเทศเวียดนามแม้ว่าในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2553 ยอดจำหน่ายรถยนต์จะลดลงถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบ จากปีที่ผ่านมา แต่จากยอดจำหน่ายรถยนต์ตรวจการณ์ (SUV) ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในเดือนเมษายน ทำให้ยอดโดยรวมในเดือน เมษายน 2553 ปรับตัวอยู่ในแดนบวกได้

2. ประเทศอินโดนีเซียแจ้งว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในเดือนเมษายน 2553 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 89 เมื่อเทียบกับ ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งในจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นรถมินิแวนของมิตซึบิชิ มอเตอร์ จำนวน 7,211 คัน ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของมิตซึบิชิในตลาดอินโอนีเซียเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1 รวมเป็นร้อยละ 15 ของตลาดโดยรวม

3. ประเทศฟิลิปปินส์มียอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นจำนวนรวม 14,000 คันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 เมื่อ เทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา รถยนต์ที่มียอดจำหน่ายเพิ่มสูงสุดคือ มิตซึบิชิ แลนเซอร์ ใหม่ซึ่งมียอดจำหน่ายเพิ่มสูงถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา โดยแลนเซอร์ใหม่นี้ผลิตในโรงงานใหม่ของมิตซึบิชิที่เพิ่งเริ่มผลิตเมื่อเดือนมกราคม 2553 ที่ผ่านมา

4. ประเทศสิงค์โปร์ เป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่ มีรายงานว่ายอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศติดลบ กล่าว คือลดลงถึงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา เหตุผลเดียวของการลดลงของยอดจำหน่ายในประเทศคือรัฐบาล ต้องการจำกัดใบอนุญาตซื้อรถยนต์เพื่อให้จำนวนรถยนต์มีจำนวนน้อยลง

5. ประเทศไทย ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์รายงานว่าได้จำหน่ายรถยนต์ได้จำนวน 57,000 คัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายรถยนต์ในปีที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันแล้วที่ยอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มสูงขึ้น รถยนต์นิสสันมาร์ช ซึ่งเริ่มจำหน่ายในเดือนมีนาคม 2553 สามารถทำยอดจำหน่ายได้ถึง 7,201 คัน เมื่อสิ้นเดือนเมษายน 2553 ส่งผลให้ยอดจำหน่าย รถยนต์นั่งส่วนบุคคลในประเทศเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา

รวมยอดจำหน่ายรถยนต์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนเท่ากับ 761,000 คันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับยอด จำหน่ายของปีที่ผ่านมา

3. ความเคลื่อนไหวของตลาดรถยนต์มือสองในประเทศญี่ปุ่น

สำหรับ ยอดขายรถยนต์มือสองในญี่ปุ่นเดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวน 288,567 คัน ลดลงถึงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบ กับระยะเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาและนับเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 18 ติดต่อกันแล้ว สาเหตุสำคัญคือนโยบายของรัฐบาลที่ให้การ สนับสนุนชาวญี่ปุ่นให้ซื้อรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการใช้มาตรการลดหย่อนภาษี และให้เงินจูงใจ

4. ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับตลาดรถยนต์ในประเทศไทย

บริษัทนิสสัน มอเตอร์ วางแผนเพิ่มการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยเป็น 2 เท่า หรือมูลค่าการผลิตราว 8.5 หมื่นล้านเยน ชิ้นส่วนหลัก อาทิเครื่องยนต์ และชุดเกียร์ที่จะผลิตในไทยและส่งออกต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น จีน ประเทศในยุโรปและ ประเทศอื่นๆ นิสสันมอเตอร์ยังใช้ไทยเป็นฐานการผลิตนิสสันรุ่นมาร์ช นอกจากนี้ยังวางแผนระยะยาวให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็น ฐานผลิตส่วนประกอบรถยนต์ของนิสสัน บริษัทยังมีแผนในการปรับลดการผลิตเครื่องยนต์ขนาด 2 ลิตรจำนวน 100,000 เครื่องจาก โรงงานที่โยโกฮาม่าในประเทศญี่ปุ่น โดยจะเพิ่มการผลิตที่โรงงานในประเทศอังกฤษแทน ส่วนโรงงานผลิตเครื่องยนต์ของนิสสันรุ่น ทิด้าก็เริ่มย้ายฐานการผลิตจากโรงงานที่จังหวัดคานากาว่าประเทศญี่ปุ่น ไปยังประเทศเม็กซิโกแล้ว เหตุผลสำคัญที่นิสสันต้องปรับ กระบวนการผลิตโดยย้ายโรงงานออกจากญี่ปุ่น ไปยังประเทศอื่นๆ คือการแก้ปัญหาเงินเยนที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทำให้รถยนต์และ ส่วนประกอบฯที่ส่งออกจากประเทศญี่ปุ่นมีราคาแพง ไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

ฮอนด้า มอเตอร์ ให้สัมภาษณ์ว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์สหรัฐและเยนที่เปลี่ยนแปลงทุก 1 เยนจะส่งผลให้ ผลกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นหรือลดลงราว 2 หมื่นล้านเยน การย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะทำให้บริษัทสามารถลด ความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้ถึง 4 พันล้านเยนต่อปี

บริษัทโคะเกียว ผู้ผลิตเพลาและแชสซีของญี่ปุ่น กำลังก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยองซึ่ง คาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในเดือนกันยายน 2553 โรงงานแห่งใหม่นี้จะผลิตชิ้นส่วนฯ เพื่อป้อนให้กับโรงงานอิซูซุ มาสด้า และฟอร์ด ในประเทศไทยเป็นหลัก การลงทุนโครงการดังกล่าวมีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านเยน บริษัทหวังว่าหลังดำเนินการ ยอดขายโดย รวมจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.77 หมื่นล้านเยนหรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การลงทุน ของโคะเกียวในครั้งนี้ทำให้บริษัทับภาระหนี้สินจำนวน 2.3 หมื่นล้านเยน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โอซากา

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ