1.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Appliances)
ตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (Household Appliances) ในสหรัฐฯแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ Major Appliances ซึ่งได้แก่ เครื่องไฟฟ้าขนาดใหญ่ เช่น ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้าเครื่องอบผ้า เตาหุงต้มอาหาร เครื่องล้างจาน และ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น มีสัดส่วนตลาดประมาณร้อยละ 65 และส่วนที่เหลือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อม (Small Appliances) ซึ่งได้แก่ ตู้อบไมโครเวฟหม้อต้มกาแฟ หม้อหุงข้าว เครื่องอบขนมปัง เครื่องปั่นอาหาร พัดลม เครื่องเป่าผม เครื่องม้วนผมเครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น
ปัญหาเรื่องก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warmer) ปัจจุบัน ผู้ผลิตสินค้า Major Appliances ในสหรัฐฯ ได้ตระหนักถึงเรื่องภาวะโลกร้อน และหันมาให้ความสำคัญต่อการลดภาวะดังกล่าว ด้วยการเสนอสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Appliance) ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบทันสมัย ช่วยประหยัดพลังงาน ลดมลภาวะสร้างความสะดวกสบายในการใช้ โดย ใช้เทคโนโลยี่ชั้นสูง (Smart Grid Technologies) ในการควบคุมการทำงาน
เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะนับได้ว่าเป็น Next Generation ของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าผู้ผลิตตั้งเป้าให้เป็นสินค้าแบบ Premium จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าและคำนึงความปลอดภัยครอบครัวและสังคม ทั้งในประเทศสหรัฐฯ และต่างประเทศ และมีราคาจำหน่ายสูงกว่าปกติประมาณร้อยละ 50 - 75
บริษัท Whirlpool เป็นผู้ผลิตของสหรัฐฯ รายแรกที่เริ่มคิดค้นเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะและ ตามมาด้วย GE ของสหรัฐฯ ปัจจุบัน ผู้ผลิตรายสำคัญของต่างประเทศ เช่น Electrolux ของประเทศสวีเดน และ Sum Sung ของประเทศเกาหลี เริ่มเสนอสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบอัจฉริยะบางชนิดเข้าตลาดในสหรัฐฯ แล้ว
1.2 ขอบเขตของสินค้า
ปัจจุบัน เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าสหรัฐฯ ให้ความสนใจในการผลิตและจำหน่ายมี 5 ชนิด คือ เครื่องอบผ้า (Clothes Dryers) ตู้เย็น (Refrigerators) เครื่องซักผ้า (Clothes Washers) ตู้แช่แข็ง (Freezers) และ เครื่องล้างจาน (Dishwashers) สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ที่ผู้ผลิตสหรัฐฯ ให้ความสนใจในการผลิต ได้แก่ เตาไฟฟ้าหุ้งต้มอาหาร ตู้อบไมโครเวฟ เครื่องต้มกาแฟ และ เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องปรับอากาศ (Air-Conditioners) เป็นต้น
1.3 ความต้องการบริโภคของตลาดโลก
บริษัทที่ปรึกษา Zpryme ในเมือง Austin มลรัฐ Texas คาดการณ์ว่า ความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะของโลก (World’s Demand for Smart Appliances) จะมีมูลค่าประมาณ 3,060 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 15,175 ล นเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 โดยแยกเป็น
1) เครื่องซักผ้า 3,542 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
2) ตู้เย็น 2,693 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3) เครื่องอบผ้า 2,236 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4) เครื่องล้างจาน 1,354 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
5) ตู้แช่แข็ง 1,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
6) สินค้าอื่นๆ 4,184 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1.4 ความต้องการของตลาดสหรัฐฯ
สหรัฐฯ จะเป็นผู้นำตลาดทั้งในด้านการผลิตและการบริโภค โดยคาดว่า สหรัฐฯ จะครองตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะประมาณร้อยละ 46.6 หรือประมาณ 1,430 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 และ สัดส่วนตลาดของสหรัฐฯ จะลดลงเหลือร้อยละ 36 หรือมีมูลค่าประมาณ 5,462 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 โดยจีนจะเข้ามาแย่งสัดส่วนตลาดของสหรัฐฯ ไป ซึ่งสัดส่วนตลาดของจีนในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18.2 หรือมีมูลค่า 2,760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558
2.1 ผู้จัดจำหน่าย:
1. Program Buying Group ซึ่งเป็นกลุ่มจัดซื้อสินค้าให้แก่ร้านค้าปลีกต่างๆ ที่เป็นสมาชิก ได้แก่ ร้านค้าปลีกระดับชาติ ร้านค้าปลีกระดับภูมิภาค และร้านค้าปลีกอิสระ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ากระจายผ่านช่องทางนี้ประมาณร้อยละ 45
2. ผู้จัดจำหน่าย (Distributor ) จัดส่งสินค้าให้แก่ร้านค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าห้างสรรพสินค้า ร้าน Home Center สินค้าเครื่องใช้ ไฟฟ้ากระจายผ่านช่องทางนี้ประมาณร้อยละ 30
3. ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขายสินค้าโดยตรงให้แก่ร้านค้าปลีกระดับชาติ เช่น บริษัท Sony หรือ บริษัท Samsung ขายสินค้าให้ห้าง Best Buy โดยตรง การจัดจำหน่ายสินค้าของช่องทางนี้คิดสัดส่วนประมาณร้อยละ 15
4. ผู้นำเข้าจัดจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าให้แก่ร้านค้าปลีก และ พ่อค้าขายส่งการจัดจำหน่ายสินค้าของช่องทางนี้คิดสัดส่วนประมาณร้อยละ 10
2.2 การส่งมอบสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า
สมาคม The Association of Home Appliances Manufacturers (AHAM) รายงานว่าการส่งมอบ Major Appliances รายการสำคัญ ได้แก่ Washers, Dryers, Dishwashers, Refrigerators, Freezers และ Cooking Electric/Gas Range จากโรงงานผลิตไปยังผู้จัดจำหน่ายและร้านค้าปลีก ในเดือนเมษายน 2553 เป็นจำนวน 3,305,000 Units หรือมีอัตราขยายตัวสูง ประมาณร้อยะ 19.7 จากช่วงเดียวกันของปี 2552
การส่งมอบเครื่องใช้ไฟฟ้าของโรงงานผลิตให้ลูกค้าในเดือนพฤษภาคม 2553
หน่วย : ยูนิต
เครื่องใช้ไฟฟ้า ส่งมอบ ส่งมอบ เพิ่ม/ลด(%) พ.ศ.2553 พ.ศ.2552 53/52 Electric Cooking 357,300 313,900 13.83 Gas Range 219,600 173,700 26.42 Microwave Oven 713,000 779,300 -8.51 Washer 578,300 579,900 -0.28 Dryer 507,900 491,700 3.29 Dishwashers 480,100 407,300 17.87 Refrigerators 865,700 741,200 16.80 Freezers 152,000 146,800 3.54 รวมการส่งมอบ 3,873,900 3,633,800 6.61 ที่มา: Appliance Magazine, May 2553 3. การนำเข้าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของสหรัฐฯ สหรัฐฯ นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้ากลุ่ม Major Appliances ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2553 เป็นมูลค่า2,078.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 7.40 การนำเข้า Major Appliances ของสหรัฐอเมริกาในช่วงมกราคม-เมษายน 2553 หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ รหัส HSC สินค้า ม.ค.—เม.ย. ม.ค.—เม.ย. เพิ่ม/ลด (%) 2553 2553 53/52 7321113000 NONPORTBL COOKNG APPLNCS 81.44 72.64 12.10 8415103040 AIR-COND,WIND/WALL,