ในปี 2009 มูลค่าการค้าของสินค้าแฟชั่นชายในอิตาลี (รวม outerwear ที่ทาด้วยผ้าถักและผ้าทอ เสื้อเชิ้ต เน็คไท และเสื้อผ้าที่ทาด้วยหนัง) ได้สะท้อนถึงผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกคือ มูลค่าการค้าลดลง -11.3% หรือตากว่า 8 ล้านยูโร ซึ่งตากว่าปี 2005-2006 แต่จากการคาดการณ์ของงาน Pitti Uomo ในเดือนมกราคม 2010 (งานแสดงสินค้าเครื่องแต่งกายชายที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี) ได้แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นชายจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งจากการค้าระหว่างประเทศและแรงกระตุ้นจากเศรษฐกิจในแถบเอเชียทาให้มองเห็นโอกาสอีกครั้ง อย่างไรก็ดีในช่วงสิ้นปี 2009 มูลค่าการค้ามีอัตราการขยายตัวลดลง -9.7% ซึ่งโดยรวมแล้วอุตสาหกรรมเสื้อผ้ายังคงทรงตัว แม้ว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นชายจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทันทีแต่ก็มีผลทำให้มูลค่าการค้าลดลงอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลกระทบต่อเนื่องมาจากของอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ได้รับผลกระทบทันที
อุตสาหกรรมแฟชั่นชายทุกกลุ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2009 กล่าวคือ เน็คไทได้รับผลกระทบมากที่สุดโดยมีมูลค่าการขายลดลง -23.3% ตามด้วยเสื้อที่ทำด้วยหนังมูลค่าการขายหดตัวลง -18.8% ส่วน outerwear ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดเสื้อผ้าชาย 55.6% มีมูลค่าการขายลดลง -12.2%
สินค้า outerwear ที่ทำจากผ้าถักและเสื้อเชิ้ตมีมูลค่าการขายลดลง -7.8% และ 6.8% ตามลำดับ โดยภาพรวมแล้วได้รับการยืนยันว่า ในเดือนมกราคมมูลค่าการผลิตอุตสาหกรรมแฟชั่นชายจะลดลง -12.6% ทั้งนี้ปัจจัยสาคัญที่มีอิทธิพลได้แก่ การชะลอตัวของคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และการจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งในอุตสาหกรรมแฟชั่นชายมีสต๊อกของล้นมาตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว
โครงสร้างของอุตสาหกรรมแฟชั่นชายอิตาลีพึงพิงการส่งออกไปต่างประเทศมากกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งพบว่ามูลค่าการส่งออกลดลง 16.5% ในแต่ละปี ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจนจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ในส่วนการนำเข้าได้รับผลกระทบจากความต้องการในประเทศที่อ่อนตัวลง (เฉพาะกลุ่มสินค้าแฟชั่นชาย ยกเว้นเสื้อเชิ้ตและ manifest ซึ่งจะผันผวนในเชิงลบไปพร้อมๆกับอุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอ) และความต้องการของรอบการหมุนเวียนสต๊อกการผลิตสินค้า รวมถึงการชะลอตัวลงของแต่ละสาขาสินค้าจึงส่งผลให้มีการนาเข้าลดลง -7.7%
ด้วยตัวเลขดังกล่าวดุลการค้ายังคงอยู่ในเชิงบวกในกลุ่มสินค้าแฟชั่นชาย แต่มีการลดขนาดลงเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยในปี 2008 การได้ดุลหดตัวลงมากกว่า 560 ล้านยูโร
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นถึงตัวเลขการนำเข้าสินค้า ซึ่งการใช้จ่ายในครอบครัวชาวอิตาเลี่ยนลดลงในปี 2009 แม้ว่าจะมีอัตราช้าลงเมื่อเทียบกับปี 2008 กล่าวคือ จากการศึกษาโดย SitaRicerca ให้แก่ SMI พบว่า ยอดการขายลดลง -3.2% ในปี 2009 (ในปี 2008 ยอดขายลดลง -3.9%) ซึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มในเชิงลบของouterwear และเน็คไท โดยเฉพาะในช่วงระยะสองเดือนหลังของปี (ช่วงคริสต์มาส) ที่ยอดขายในกลุ่มเครื่องแต่งกายฟื้นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดีการหดตัวลงในเดือนก่อนหน้านี้ก็ไม่สามารถทำให้ขยับยอดขายขึ้นได้มาก โดยผลในเชิงลบที่มีมากที่สุดคือ กลุ่มเสื้อผ้าที่ทาด้วยหนัง (-20.1%) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรมพบว่า knit outerwear มียอดขายลดลง -3.7%
จากการศึกษาการหดตัวของอุตสาหกรรมแฟชั่นชายนี้พบว่า มีกลุ่มเสื้อเชิ้ตที่มียอดการขายในอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น +1.2%
สำหรับช่องทางการจาหน่าย (ตัวเลขสถิติเป็นตัวเลขตามฤดูกาล ดังนั้นจึงเทียบกับช่วงเดือนมีนาคม 2009 ซึ่งเป็นเดือนเริ่มต้นสำหรับคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ซึ่งเป็นเดือนปิดของฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2010) พบว่าช่องทางการจำหน่ายที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดคือ ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (45.5%) มียอดการขายลดลง -2.6% ในทางตรงกันข้ามร้านค้าเครือข่าย (chains store) กลับมียอดขายสูงขึ้น -2.1% ทำให้มีส่วนแบ่งในตลาดมากขึ้นเป็น 22% และช่องทางการจำหน่ายอีกแห่งที่มียอดขายเพิ่มสูงขึ้นคือ outlet (จัดอยู่ในช่องทางการจาหน่ายอื่น) ซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้น +3% สำหรับกลุ่มแฟชั่นชายแบบ low-range พบว่ายอดขายลดลงทั้งในร้านค้าตามถนนที่ได้รับอนุญาต (licensed street vendors) ลดลง - 11.6% และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ลดลง -7.8%
จากการวิเคราะห์ดุลการค้าข้างต้น ในปี 2009 ยอดขายต่างประเทศของแฟชั่นชายของอิตาลีเป็นตัวชี้วัดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั้งโลกได้ดี ในปี 2008 อุตสาหกรรมแฟชั่นชายของอิตาลีสามารถรักษาเสถียรภาพไว้ได้ทั้งๆ ที่ผ่านระยะวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้ว 2 ปี โดยในปี 2009 พบสัญญาณการชะลอตัวลงของอุตสาหกรรมคือมีการหดตัวลง -16.5% หรือยอดการส่งออกไปยังต่างประเทศลดลง 4.192 ล้านยูโร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปสมทบมียอดการส่งออกลดลงเฉลี่ย -21.3% ส่วนตลาดกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมแฟชั่นชายของอิตาลี เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น มียอดการส่งออกไปยังตลาดเหล่านี้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดคือ -20.8% -31.7% และ -17.2% ตามลำดับ อย่างไรก็ดีประเทศเหล่านี้ก็ยังคงถูกจัดอันดับอยู่ในประเทศผู้บริโภคสินค้าแฟชั่นชายของอิตาลีในอันดับต้นๆ อยู่ ในส่วนตลาดสวิสเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นตลาด strategic logistic ในการ re-export ไปยังประเทศอื่นๆ ก็ลดลง -23.2%
แม้การส่งออกโดยตรงไปยังประเทศ EU27 ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาด 57.4% ของการส่งออกสินค้าแฟชั่นชายของอิตาลี จะเห็นได้ว่ามีอัตราการขยายตัวลดลง -12.3% แต่ก็ไม่มากเท่ากับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปสมทบ ตลาดส่งออกเก่าเช่น ฝรั่งเศส (ส่วนแบ่งตลาด 12.4%) และเยอรมัน (ส่วนแบ่งตลาด 9.1%) ยังคงมีกาลังซื้ออยู่แต่แผ่วลงอยู่ที่ - 5.7% และ -8.3% ตามลำดับ ส่วนประเทศสเปนซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตเศรษฐกิจมียอดการส่งออกลดลง -20.8% เช่นเดียวกับสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นสะพานในการส่งออกไปยังประเทศสหภาพยุโรปสมทบมียอดการส่งออกลดลง 16.4%
โดยรวมในปี 2009 อุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอชายของอิตาลีจะหดตัวลง โดยยอดการนำเข้าสินค้าแฟชั่นชายลดลง -7.7% (ซึ่งเป็นสาขาที่หดตัวลงมากที่สุด โดยอุตสาหกรรมทั้งหมดจะหดตัวลง -5.3%) ทั้งนี้กลุ่ม outerwear (เสื้อเชิ้ต) จะลดลง -7.5% การบริโภคจะมีผลเชิงลบเนื่องจากภาวะวิกฤษจึงส่งผลให้การผลิตลดลง -11.8%
ประเทศที่อิตาลีนำเข้าสินค้าแฟชั่นชายมากเป็นอันดับหนึ่งคือ จีน (อัตราการขยายตัวชะลอตัวอยู่ที่ +0.2%) มูลค่าการนำเข้าจากเอเชียมีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านยูโร โดยมีจีนส่วนแบ่งในตลาด 29.2% ส่วนประเทศที่มีอัตราขยายตัวการนำเข้าเกิน +10% คือ บังคลาเทศ สำหรับประเทศที่อิตาลีนำเข้ามากเป็นอันดับสองและสามคือ ตูนิเซียและโรมาเนีย มีอัตราการขยายตัวลดลง 17% และ -14.7% ตามลาดับ การนำเข้าจากฝรั่งเศสมีความคงตัวคือลดลงเล็กน้อยที่ -1.3% ขณะที่ลดการนำเข้าจากเยอรมัน -9.8%
สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันยังมีความไม่แน่นอนและขัดแย้งกันในหลายๆด้าน จากสถิติของ ISTAT เกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยนในช่วงแรกของปี 2010 จะช่วยบรรเทาความกดดันจากเศรษฐกิจได้ แต่ก็ยังไม่มีสัญญานที่ดีในด้านอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกสินค้าแฟชั่นชายของอิตาลี จากข้อมูลของ US. Census Bureau แจ้งว่า ยอดขายปลีกของร้านเสื้อผ้าในช่วงสองเดือนแรกของปี 2010 ยังคงเป็นลบ แต่ในเดือนมีนาคม 2010 พบว่ามีแนวโน้มขยายตัวขึ้น +8% เมื่อเทียบกับปี 2009 อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินยูโรกับดอลล่าสหรัฐฯ ส่งผลในเชิงบวกโดยตรงซึ่งทำให้บริษัทอิตาเลี่ยนฟื้นตัวขึ้นแม้เพียงระยะสั้นก็ตาม ส่วนฝรั่งเศส ยอดขายจาก mens' pret-a-porter เพิ่มขึ้น +1.8% ในเดือนเมษายนซึ่งส่งผลในเชิงบวกต่อร้านค้า multibrand stor และร้านค้าเครือข่าย (ข้อมูลจาก IMF เดือนมิถุนายน 2010) แต่จากผลประกอบการในสี่เดือนแรกของปี 2010 ยังคงเป็นลบอยู่ที่ -1.6%
สำหรับอิตาลี ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2010 แม้ว่ามูลค่ายอดขายสินค้า outerwear ยังคงมีเสถียรภาพ (มูลค่า) เมื่อเทียบกับปี 2009 แต่กลับลดจำนวนการขายลง ขณะที่เสื้อเชิ้ตเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้ง Knit outerwear ด้วย
โดยภาพรวมตลาดอุตสาหกรรมแฟชั่นชายของอิตาลียังคงทรงตัว ทั้งนี้จากข้อมูลสถิติยังคงเห็นว่ายังไม่การเติบโตมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าผู้ประกอบการจะสามารถประเมินผลจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ซื้อและสามารถวางแผนธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังของ 2010 ได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th