รายงานสถานการณ์ส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลี ประจาเดือนพฤษภาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 12, 2010 16:13 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์ส่งออก

ในช่วง 5 เดือนแรก ( ม.ค-พ.ค.) ของปี 2553 ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้นมูลค่า 741.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 552.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 34.14 โดยมีสินค้าส่งออกสาคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ 107 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (21.58%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (72.27%) ยาพารา 49.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (210.84%) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 48.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (124.26%) ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง 40.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (2.91%) ไทยส่งออกมาอิตาลีมากเป็นอันดับที่ 44 จากทั่วโลก

2. การวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวม

การส่งออกมาอิตาลีในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค-พ.ค.) ของปี 2553 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่หากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือน เม.ย 53 จะเห็นว่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 49.38% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้

2.1. ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีโดยทั่วไปคาดว่าจะฟื้นตัวขึ้น จากการศึกษาของสมาพันธ์อุตสาหกรรมคาดว่า GDP ของอิตาลีจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.2% ในปี 2010 และ 1.6% ในปี 2011 ทั้งนี้เนื่องจากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลง และเศรษฐกิจทั่วโลกที่เริ่มดีขึ้นทาให้การส่งออกเพิ่มขึ้น

2.2 ISAE ได้รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2553 ได้ลดลงจาก 105.4 จุดในเดือนพฤษภาคม 2553 เป็น 104.4 จุด เนื่องจากผู้บริโภคขาดความมั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจ

2.3 สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี ( ISTAT ) ก็ได้รายงานว่าในเดือนพฤษภาคม 2553 อิตาลีขาดดุลการค้า 1,416 พันล้านยูโร โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 15.8% และนำเข้าเพิ่มขึ้น 35.5% ทั้งนี้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 อิตาลีส่งออกเพิ่มขึ้น 10.4% ในขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้น 18.5% ทำให้ขาดดุลการค้า 9,181 พันล้านยูโร

2.4 คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2553 มีคำสั่งซื้อสูงขึ้น 20.6% โดยแบ่งเป็นคำสั่งซื้อในประเทศ 15.4% และจากต่างประเทศ 31.6% ได้แก่สินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อิเลคทรอนิคส์ และแว่นตา (+48.3%) เหล็กและผลิตภัณฑ์ (+42.1%) และเครื่องจักรและอุปรกรณ์ (+31.6%)

2.5 การวิเคราะห์แยกรายสินค้า

2.5.1 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป

การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค-พ.ค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 21.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ - 5.34 เนื่องจาก

(1) ผู้นำเข้าได้มีการนำเข้าเพื่อเก็บสต๊อกไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ตั้งแต่เดือน ก.พ. 53 (ซี่งการส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึง +91.18 %) โดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋อง เพื่อรองรับการบริโภคของครอบครัวอิตาเลี่ยนในช่วงฤดูร้อนที่กาลังจะมาถึง

(2) การขาดแคลนวัตถุดิบ เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ดีและจำนวนปลาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนลดลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องนำเข้าสินค้าจากแหล่งอื่นเพิ่มขึ้น

(3) ราคาสินค้าของไทยที่เพิ่มสูงขึ้น จากการสอบถามผู้นำเข้าพบว่าราคาสินค้าของไทยสูงมากที่สุดเมื่อเทียบกับราคาสินค้าจากประเทศอื่นๆ ในเอเชีย กล่าวคือ ราคาของไทย/ราคาของประเทศอื่นในเอเชีย 4,705 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน : 3,900 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน

(4) สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคโดยทั่วไป สถาบันภาคบริการด้านอาหารและเกษตร ( ISMEA ) ได้สารวจพบว่า ชาวอิตาเลี่ยนนิยมซื้อสินค้าจากการจับปลาของอิตาลี 29.94% และมักซื้อจากร้านค้าแบบดั้งเดิม 33.12% และซื้อตรงจากชาวเลในตลาดสด 12.74% ส่วนการใช้ราคาเป็นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าอาหารทะเล พบว่า 5% ใส่ใจในเรื่องราคาเป็นหลัก ส่วน 10% ให้ความสนใจในเรื่องของสินค้าตามฤดุกาล 60.51% สนใจเรื่องวิธีการได้มาของสินค้า (จากการจับหรือเลี้ยง) ส่วนสินค้าอาหารทะเลแปรรูป 9% สนใจแหล่งที่มาของสินค้าว่ามาจากโรงงานหรือมาจาการดักจับ

(5) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 3 สัดส่วนตลาด 7.48 % โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ สเปน (สัดส่วนตลาด 21.51%) เยอรมัน (15.64%) ไทย (7.48%) เอควาดอร์ (6.15%) และบราซิล (4.36%)

ทั้งนี้ จากสถิติการนำเข้าในช่วง 3 เดือนแรกของปี 53 ของ WTA นำเข้าจากทั่วโลกลดลง (-3.86%) เมื่อเทียบกับช่วงเดือนดียวกันของปีก่อน ส่วนประเทศที่อิตาลีมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นได้แก่ เยอรมัน เอควาดอร์ บราซิล เนเธอร์แลนด์ และโมรอคโค

ประเทศคู่แข่งสำคัญทางแถบเอเชีย ได้แก่ จีน (อันดับที่ 10 สัดส่วนตลาด 3.07% ลดลง -19.78%) เวียดนาม (อันดับ 24 สัดส่วนตลาด 0.72% ลดลง -1.53%) อินเดีย (อันดับ 28 สัดส่วน 0.47% เพิ่มขึ้น 58.51%)

2.5.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูป

การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค-พ.ค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 18.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -3.97 เนื่องจาก

(1) ความต้องการซื้อภายในประเทศชะลอตัวเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 มูลค่าการค้าของกลุ่มสินค้าเสื้อผ้าลดลง - 3.5% เนื่องจากผู้บริโภคอิตาเลี่ยนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้าโดยซื้อน้อยครั้งลงและมักจะซื้อสินค้าในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลหรือโอกาสพิเศษหรือในช่วงลดราคาสินค้า

(2) อิตาลีนำเข้าสินค้าระดับกลาง-ตาเข้ามาในประเทศ ในขณะที่ผลิตและส่งออกสินค้าระดับสูงหรือ Luxury โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศในแถบเอเชีย คือจีนและอินเดีย ที่เหลือมาจากไทย อินโดนีเซียและเวียดนาม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้า T-shirt (จากไทยและอินโดนีเซียสัดส่วนตลาดประมาณ 50%) ส่วนการนำเข้าจากจีนเป็นสินค้าสเวตเตอร์และ pullover มากเป็นอันดับแรก (สัดส่วน 24.35%) และจากเวียดนามเป็นสินค้ากลุ่ม track และชุดสกี (สัดส่วน 35.50%)

(3) ราคาสินค้านำเข้าเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า โดยเฉพาะสินค้า T-shirt โดยราคาของจีนอยู่ที่ 3.73 เหรียญสหรัฐฯต่อตัว อินเดีย 3.61 เหรียญสหรัฐต่อตัว ไทย 4.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัวเวียดนาม 4.47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัว และอินโดนีเซีย 4.17 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัว

(4) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 20 สัดส่วนตลาด 0.63% โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน (สัดส่วนตลาด 26.17%) ฝรั่งเศส (7.56%) ตุรกี (7.42%) สเปน (7.01%) และบังคลาเทศ (5.84%)

ทั้งนี้ จากสถิติการนำเข้าในช่วง 3 เดือนแรกของปี 53 ของ WTA นำเข้าจากทั่วโลกลดลงเล็กน้อย (-1.45%) เมื่อเทียบกับช่วงเดือนดียวกันของปีก่อน ส่วนประเทศที่อิตาลีมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน บังคลาเทศ ตูนีเซีย เยอรมัน โครเอเทีย และศรีลังกา

2.5.3 เคมีภัณฑ์

การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.) ของปี 2553 มีมูลค่า 15.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 20.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -25.25 เนื่องจาก

(1) ราคาต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคานามัน รวมทั้งค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯ

(2) อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้แก่ อุตสาหกรรมการก่อสร้างและอุตสาหกรรมรถยนต์ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจค่อนข้างมากและยังไม่มีสัญญานฟื้นตัว ส่วนกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากอัตราการจ้างงานและเงินเดือน

(3) ผู้ประกอบการยังคงไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ประกอบกับความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกทาให้ผู้นาเข้าไม่สั่งซื้อสินค้าเพื่อเก็บสต๊อกเป็นระยะเวลานานๆ แต่จะใช้วิธีการนำเข้าตามปริมาณขั้นตาในระยะสั้นๆ โดยไม่วางแผนการสั่งซื้อระยะยาว รวมถึงข้อจากัดของเงื่อนไข ธนาคารในการให้เครดิตด้วย

(4) อิตาลีเป็นผู้ผลิตอันดับที่ 3 ของสหภาพยุโรปรองจากเยอรมันและฝรั่งเศส โดยในปี 2552 มีการผลิตมูลค่า 45.5 พันล้านยูโร โดยมีบริษัทในอุตสาหกรรม 2,900 บริษัท มีแรงงาน 119,000 คน การบริโภคภายในประเทศมูลค่า 53.2 พันล้านยูโร ส่งออก 17.8 พันล้านยูโร และนำเข้า 25.5 พันล้านยูโร

(5) ในขณะนี้พบว่า อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีแนวโน้มดีขึ้นได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยเฉพาะพลาสติกและโพลีเมอร์ (ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์) ซึ่งราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น 7% แต่อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังคาดว่าคงต้องใช้เวลาเป็นปีในการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

(6) ไทยครองตลาดอันดับที่ 26 (สัดส่วนตลาด 0.24% ดีขึ้นกว่าเดือนที่แล้วอันดับที่ 30) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน(สัดส่วนตลาด 26.74%) ฝรั่งเศส(14.57%) เนเธอร์แลนด์ (8.02%) เบลเยี่ยม (6.99%) และสหราชอาณาจักร (5.85%)

ทั้งนี้จากข้อมูลนำเข้าของ WTA ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2553 อิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกเพิ่มขึ้น 20.64% โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เยอรมัน (+20.72%) ฝรั่งเศส (+4.57%) เบลเยี่ยม (24.78%) สหราชอาณาจัตร (+11.28%) และสเปน (+123.28%)

3. ข้อคิดเห็น

3.1 คาดว่าเศรษฐกิจอิตาลีในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ยังคงฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ และมีความเปราะบาง สังเกตได้จากการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค การใช้จ่ายภาคครัวเรือน รวมถึงปัญหาการว่างงานและหนี้สาธารณะที่คาดว่าจะสูงถึง 118.4% ของ GDP นอกจากนี้การที่รัฐบาลได้จัดทามาตรการเคร่งครัดด้านงบประมาณเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณได้แก่

  • ลดการขาดดุลงบประมาณ ปี 2011 - 2012 ภายใน 2 ปี จานวน 24.9 พันล้านยูโร
  • การปรับระยะเวลาเกษียณอายุของคนงานผู้หญิง
  • การไม่ขึ้นเงินเดือนพนักงานของรัฐจนถึงปี 2012
  • การตรวจสอบติดตามการหลบเลี่ยงภาษี
  • การตัดลดงบประมาณที่ให้แก่แคว้นและท้องถิ่น 13 แคว้น จานวน 2 พันล้านยูโร โดยเฉพาะโรงเรียนและโรงพยาบาล

ดังนั้นจึงส่งผลให้ประชาชนอิตาลียังคงมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหนี้สาธารณะและการว่างงานที่ค่อนข้างสูง ทาให้ประชาชนลดการใช้จ่ายและเพิ่มการออมมากขึ้น

3.2 อย่างไรก็ดี คาดว่าสินค้าที่ยังคงมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่ ยางพารา รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบโทรศัพท์และอุปกรณ์ และผ้าผืน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกของอิตาลีที่เพิ่มขึ้น

3.3 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนทำให้ผู้ประกอบการอิตาลีเปลี่ยนการวิธีการสั่งซื้อสินค้าจากการสั่งซื้อคราวละจำนวนมากเป็นการสั่งซื้อจำนวนขั้นต่ำในแบบช่วงระยะสั้นๆ แทนเนื่องจากต้องการรอดูสภาวะเศรษฐกิจต่อไปและไม่ต้องการมีภาระจากการเก็บสต๊อก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ