การประชุมสุดยอดผู้นำ จี20 ที่นครโตรอนโต ประเทศแคนาดา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 12, 2010 16:32 —กรมส่งเสริมการส่งออก

กลุ่มผู้นำประเทศ จี 20 มีกำหนดประชุมระหว่าง วันที่ 26-27 มิถุนายน 2553 ณ นครโตรอนโต ประเทศแคนาดา (ประกอบด้วยชาติอุตสาหกรรมชั้นนำและชาติกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ 20 ชาติ มีสัดส่วนเศรษฐกิจของประเทศนับรวมมีความสำคัญถึง 85% ของเศรษฐกิจโลก) ทั้งนี้ การประชุมมี 3 วาระหลักร่วมกัน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสถาบันการเงิน (A reform of international fiscal institutions)/ การจัดการกับการขาดดุลงบประมาณและหนี้ (Growing budget deficits and state debts)/ และการตั้งกฏระเบียบและมาตรการสำหรับธุรกิจธนาคาร (Regulation of the banking sector) ทั้งนี้ สุดยอดผู้นำของแต่ละประเทศต่างแสดงจุดยืน ตลอดจนวาระ/ ประเด็นสนทนาที่จะสนทนาในที่ประชุม ดังนี้

ประเทศแคนาดา

ประเทศแคนาดา โดยนายกรัฐมนตรี นาย Stephen Harper ในฐานะเจ้าภาพการประชุม ได้เสนอเป้าหมายในการลดการขาดดุลงบประมาณต่อชาติจี-20 โดยเสนอให้ลดการขาดดุลงบประมาณลงครึ่งหนึ่ง ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า (ภายในปี 2556) จากนั้นให้เริ่มลดอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ภายในปี 2559 วาระประชุมอื่น ๆ ของแคนาดา ได้แก่การที่แคนาดามีนโยบายต่อต้านภาษีประเภท Bank Tax หรือการเก็บภาษีจากธนาคาร ซึ่งนาย Stephen Harper เห็นว่าไม่เป็นธรรมต่อประทศแคนาดา ตลอดจนนโยบายส่งเสริมระบบ Health Care สำหรับเด็ก และสตรีมีครรภ์ แหล่งข้อมูล: "Canada urges G20 nations to cut deficits in half by 2013" http://www.financialpost.com/Canada+urges+nations+deficits+half+ 2013/3200895/story.html

ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นาย Barack Obama เน้นถึงความร่วมมือในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2551 โดยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการคงไว้ซึ่งรักษานโยบายฟื้นวิกฤติเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นและปรับสภาพเศรษฐกิจให้ดีขึ้น (Safeguard and strengthen the recovery) ทั้งนี้ นักเศณษฐศษสตร์คาดว่าสหรัฐฯ ไม่ต้องการให้กลุ่มประเทศ จี 20 อื่นยกเลิกการใช้นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ หรือ Stimulus Package ก่อนประเทศสหรัฐฯ แหล่งข้อมูล: "Obama, Harper urge G20 nations to safeguard economic recovery" http://www.theglobeandmail.com/news/world/g8-g20/news/obama-harper-urge-g20-nations-tosafeguard-economic-recovery/article1608658/

ประเทศญี่ปุ่น

นายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่น นาย Naoto Kan เน้นถึงนโยบายการปรับเปลี่ยนโครงสร้างนโยบายทางการเงิน (Fiscal reconstruction) ในประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นมีโครงการจะเพิ่มภาษีประเภท Sales tax เพื่อลดภาวะการขาดดุลของรัฐบาลซึ่งซึ่งเป็นปัญหาเศรษฐกิจระยะยาวของญี่ปุ่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แหล่งข้อมูล: "Japan to start debate over sales tax hike after July elections to boost finances" http://news.sympatico.ca/world/japan_to_start_debate_over_sales_tax_hike_after_july_elections_to_boost_finances_new_pm_says/8088db68

สหราชอณาจักร

สหราชอณาจักร โดยนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นาย David Cameron มีวาระหลักในการเสนอเป้าหมายในการลดการขาดดุลงบประมาณ และการควบคุมภาวะขาดดุลของชาติ ผ่านการเพิ่มอัตราภาษีที่สูงขึ้น และการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลลงอย่างมาก (toughest cuts in public spending) ทั้งนี้นาย David Cameron มีจุดมุ่งหมายหลัก คือต้องการปรับสมดุลงบประมาณชาติเพื่อสร้างเสถียรภาพความมั่นคงต่อนักลงทุนชาวต่างชาติ แหล่งข้อมูล: "G20 summit backs UK budget (BBC News)" http://news.bbc.co.uk/2/hi/10430527.stm

ประเทศฝรั่งเศส

ประธานาธิบดีประเทศฝรั่งเศส นาย Nicolas Sarkozy มีวาระการเน้นย้ำถึงบทบาทของฝรั่งเศสต่อการแก้วิกฤติเศรษฐกิจเงินสกุลยูโร ซึ่งสืบเนื่องจากปัญหาสถานการณ์ทางการเงินในประเทศกรีซ ทั้งนี้ รัฐบาลฝรั่งเศส มีโครงการที่จะเลื่อนเกณฑ์อายุเกษียณงาน (Retirement age) ของประชากรจากเดิม 60 ปี เป็น 62 ปี เพื่อแก้ปัญหาชาวฝรั่งเศสในปัจจุบันเกษียณจากงานเร็วกว่าที่ควร ทั้งนี้ นาย Nicolas Sarkozy มีความเห็นสนับสนุนการตั้งกฏระเบียบเฉพาะ และเก็บภาษีจากธนาคาร แหล่งข้อมูล: "G20 must lead crackdown on Banks, says Sarkozy" http://www.marketwatch.com/story/frances-sarkozy-g20-must-lead-crackdown-on-banks-2010-01-27

ประเทศเยอรมัน

ผู้นำประเทศเยอรมัน (Chancellor) นาง Angela Merkel แสดงความเห็นตรงกับประธานาธิบดีประเทศฝรั่งเศส นาย Nicolas Sarkozy ทั้งในด้านภาษีธนาคาร และการให้ความสำคัญต่อการวางมาตรการทางการเงินเพื่อ ลดภาวะการขาดดุลของประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลของนาง Angela Merkel ได้วางโครงการการลดค่าใช้จ่ายของประเทศมากถึง 9.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 4 ปี (2553-2557) แหล่งข้อมูล: "G20 Summit: Nicolas Saskozy and Angela Merkel demand tough market regulations" http://www.telegraph.co.uk/finance/financetopics/g20-summit/5090442/G20-summit-NicolasSarkozy-and-Angela-Merkel-demand-tough-market-regulations.html

ประเทศอิตาลี

ผู้นำประเทศอิตาลี (Premier) นาย Silvio Berlusconi ให้ความสำคัญกับการแก้ไขกฏระเบียบ และการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อลดภาวะขาดดุลของรัฐบาล ให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 3 ของ GDP ก่อนปี 2555 ทั้งนี้ มาตรการและเป้าหมายดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาในรัฐสภาประเทศอิตาลี ซึ่งในบางภาคธุรกิจนั้น แรงงานได้ขู่หยุดงาน หรือ Strike หากมีการถูกลดเงินเดือนมากถึงร้อยละ 30 (ทั้งนี้ มีการประท้วงแรงงานในอิตาลีในวันที่ 25 มิ.ย. 2553) แหล่งข้อมูล: "World leaders and their issues before G-20 summit" http://news.yahoo.com/s/ap/20100624/ap_on_bi_ge/us_g20_nations

ประเทศรัสเซีย

สืบเนื่องจากการที่ ในปี 2552 เศรษฐกิจประเทศรัสเซีย ลดตัวลงมากถึงร้อยละ 7.9 นั้น (ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจถดถอยมากที่สุดในกลุ่ม G8) ในการประชุม G20 ในครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีประเทศรัสเซีย นาย Dmitry Medvedev เตรียมนำเรื่องการปรับโครงสร้างระบบการเงินในประเทศรัสเซีย ตลอดจนการแก้ไขมาตรการระหว่างประเทศ International Auditing Standards เพื่ออภิปรายร่วมกับผู้นำประเทศต่างๆ แหล่งข้อมูล: "Dmitry Mededev Speech at the G20 summit" http://www.sras.org/medvedev_speech_g20

ประทศจีน

ประธานาธิบดีจีน นาย Hu Jintao มีวาระการประชุมเรื่องการปล่อยค่าเงินหยวนให้ขึ้น-ลงตามกระแสเศรษฐกิจโลก (ลอยตัวในกรอบที่รัฐบาลจีนกำหนด) และยกเลิกการตรึงค่าเงินหยวนเพื่อป้องกันเศรษฐกิจจีนจากวิกฤติการเงิน ทั้งนี้ รัฐบาลจีนเชื่อว่า การที่จีนอาจเลิกใช้นโยบายพิเศษตรึงค่าเงินหยวน เพื่อปกป้องเศรษฐกิจของตน จะช่วยให้ผู้กำกับนโยบายมีความสามารถที่จะจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ โดยแนวโน้มค่าเงินหยวนอาจจะยืดหยุ่นตามความสัมพันธ์ของเงินยูโรกับเงินเหรียญสหรัฐฯ แหล่งข้อมูล: "Hu Jintao to defend yuan at G20" http://www.asianews.it/news-en/Hu-Jintao-to-defend-yuan-at-G20-18781.html

ประเทศบราซิล

ประธานาธิบดีประเทศบราซิล นาย Luiz Inacio Lula da Silva ซึ่งถูกยกย่องให้เป็นผู้นำแห่งกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้น ได้มีวาระที่จะผลักดันบทบาทสิทธิของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Voice of developing countries) ในสถาบัน หรือการตกลงทางการเงินระหว่างประเทศอื่นๆ แหล่งข้อมูล: "World leaders and their issues before G-20 summit" http://news.yahoo.com/s/ap/20100624/ap_on_bi_ge/us_g20_nations

ประเทศอินเดีย

สืบเนื่องจากประเทศอินเดียฟื้นตัวจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้อย่างรวดเร็ว (โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างเดือน ม.ค. - มี.ค. 2553 สูงถึงร้อยละ 8.3) นั้น นายกรัฐมนตรีประเทศอินเดีย นาย Manmohan Singh ได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวถึงร้อยละ 10 ทั้งนี้ นาย Manmohan Singh เชื่อว่าปัญหาสำคัญที่ชะลอการเติบโตเศรษฐกิจของอินเดียในปัจจุบัน เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้ประชาชนงดใช้จ่ายสินค้า/ บริการฟุ่มเฟือย ทั้งนี้ ในการประชุม G 20 ครั้งนี้ นาย Manmohan Singh ได้มีวาระที่จะผลักดันบทบาทสิทธิของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Voice of developing countries) ในสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ IMF และ ธนาคารโลก แหล่งข้อมูล: "World leaders and their issues before G-20 summit" http://news.yahoo.com/s/ap/20100624/ap_on_bi_ge/us_g20_nations

สรุปผลการประชุม G20

ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 20 ประเทศ (G20) ซึ่งจัดขึ้นที่นครโตรอนโต ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน 2553 นั้น กลุ่มผู้นำ G20 บรรลุข้อตกลงที่จะลดการขาดดุลงบประมาณลงให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในเวลา 3 ปี (ภายในปี 2556) และปรับโครงสร้างธนาคารให้มีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตาม จากสภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจซึ่งมีความแตกต่างกัน โดยหลายประเทศยังอยู่ในขั้นเปราะบาง จึงควรให้แต่ละประเทศสมาชิกมีขั้นตอนและจังหวะในการปรับใช้นโยบายที่ไม่เหมือนกัน ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แถลงภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคราวนี้โดยท้าทายจีนให้แสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในการปรับสมดุลให้กับเศรษฐกิจโลกมากขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ