รายงานเศรษฐกิจอิตาลีประจำเดือนพฤษภาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 13, 2010 16:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สถานการณ์การค้าไทย-อิตาลี

ภาพรวมเศรษฐกิจอิตาลีปี 2553

          (%)                               ปี 2553
          GDP (Q1)                            0.6
          Industrial Production (April)       7.8
          Construction Output (April)        -6.6
          Export (January-March)              6.0
          Import (January-March)              8.0
          Inflation Rate (April)              1.6
          Unemployment Rate (April)           8.9
          Employment Rate (Q1)               -0.7
          Total Debt (%GDP)                  29.5
          Total Debt (? m)              1,760,765
          2009 Deficit (%GDP)                 5.3
          ที่มา: Eurostat  และ Istat


การส่งออกของไทยไปยังอิตาลี
          ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 ไทยส่งสินค้าออกมายังตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 75,027.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าการส่งออกมายังประเทศอิตาลี 741.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.1
          สำหรับปี 2553 เดือนพฤษภาคม ไทยส่งออกมายังอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 173.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.4


                              สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทยไปยังประเทศอิตาลีปี 2553
   อันดับที่        ชื่อสินค้า                                มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ	            อัตราการขยายตัว(%)
                                                 2552      2552       2553         2552         2553
                                                       (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.)	  (ม.ค.-พ.ค.)  (ม.ค.-พ.ค.)
     1   อัญมณีและเครื่องประดับ                       155.3      88.0      107.0        -17.5         21.6
     2   เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                96.2      49.9       86.0        -66.1         72.3
     3   ยางพารา                                  55.8      15.9       49.3        -76.6        210.8
     4   รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                  56.6      21.5       48.2        -48.8        124.3
     5   ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง                      93.9      39.6       40.8        -20.0          2.9
     6   ผลิตภัณฑ์ยาง                                48.5      22.5       28.8        -19.9         27.6
     7   อาหารสัตว์เลื้ยง                             51.8      24.2       26.4         27.2          8.9
     8   เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                    36.0      12.9       25.0        -72.2         93.5
     9   อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป                  65.0      23.0       21.7        -11.4         -5.3
    10   เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ         42.4      17.7       18.5        -18.8          2.7
           รวม 10 รายการ                         701.6     315.1      451.6        -43.2         43.3
              อื่นๆ                                613.0     237.5      289.7        -38.5         22.0
           รวมทั้งสิ้น                             1,314.6     552.7      741.3        -41.2         34.1
สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทยไปยังประเทศอิตาลีปี 2553

การส่งออกสินค้าไทยมีแนวโน้มดีขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2552 อันเนื่องมาจากการกลับมาฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างช้า ๆ และความต้องการของตลาดภายนอกประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยพบว่าระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 การส่งออกสินค้าไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเครื่องประดับอัญมณียังคงเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย เครื่องปรับอากาศ/ส่วนประกอบ ยางพารา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง สำหรับสินค้าไทย ที่ได้รับผลกระทบ คือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เนื่องจากอิตาลีหันมานำเข้าเพิ่มขึ้นจากประเทศเยอรมัน จีน และประเทศแถบแอฟริกา

การนำเข้าของไทยจากอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 ไทยนำเข้าสินค้าจากตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 70,972.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.9 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าการนำเข้าจากอิตาลี 609.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.1

สำหรับปี 2553 เดือนพฤษภาคม ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 125.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ2

สินค้านำเข้า 10 อันดับแรกของไทยจากประเทศอิตาลีปี 2553

 อันดับที่        ชื่อสินค้า                                มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ	            อัตราการขยายตัว(%)
                                                2552      2552       2553         2552         2553
                                                       (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.)	  (ม.ค.-พ.ค.)  (ม.ค.-พ.ค.)
  1    เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                   329.6     142.5      155.2          6.5         8.9
  2    เคมีภัณฑ์                                    83.5      25.9       42.3        -42.4        63.5
  3    เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                 132.7      58.6       38.9         98.0       -33.7
  4    ผลิตภัณฑ์โลหะ                               108.3      38.1       31.2        -17.4       -18.0
  5    เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์      53.0      19.1       31.2        -52.4        63.5
  6    ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม                  68.2      27.3       30.4          6.6        -1.7
  7    สินค้าทุนอื่น ๆ                                59.6      15.0       27.6        -58.2        83.9
  8    สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์                        52.8      12.2       26.8        -32.4       119.0
  9    เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน                          25.1       9.1       20.9        -30.6       128.1
 10    เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด                            53.4      19.3       19.7        -44.5         2.2
         รวม 10 รายการ                          966.2     367.1      424.1        -13.5        15.5
           อื่นๆ                                  517.8     255.8      185.7         32.2       -27.4
             รวมทั้งสิ้น                           1484.0     623.0      609.8          0.8        -2.1
แนวทางการปรับตัว

ถึงแม้ว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 การส่งออกสินค้าไทยมายังอิตาลีมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่จากภาวะวิกฤตเศรษฐหนี้ของกรีกที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบให้ค่าเงินยูโรมีมูลค่าลดลงและเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของสหภาพยุโรปลดความน่าเชื่อถือ ซึ่งอิตาลีถือเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกจับตามองว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เหมือนกรีซ เนื่องจากมีสถานภาพทางการเงินที่เปราะบางและยังไม่ฟื้นตัวจากวิฤกตเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่

จากการที่ค่าเงินยูโรที่ลดลงส่งผลโดยตรงให้สินค้าจากไทยมีราคาที่แพงขึ้น ในทางตรงกันข้ามสินค้าจากยุโรปมีราคาต่ำลง ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะลำบากในการส่งออกสินค้ามายังอิตาลีและประเทศในสหภาพยุโรป โดยอิตาลีสามารถนำเข้าสินค้าจากแหล่งประเทศใกล้เคียงแทน ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยควรปรับโครงสร้าง/แนวทางในการส่งออกสินค้าเพื่อเตรียมรับมือกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป ดังนี้

1. ควรพัฒนา/สนับสนุนสินค้าไทยที่สามารถทำตลาดได้ดีในอิตาลี ได้แก่ สินค้าเครื่องประดับอัญมณี ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกไปยังตลาดอิตาลีอันดับ 1 โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2553 มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 25.5

2. ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 อิตาลีนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการโดยเฉพาะสินค้าเชื้อเพลิง น้ำมัน ยานบก และเครื่องจักร/อุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรศึกษาหาข้อมูล/พัฒนาสินค้าดังกล่าวเพื่อเป็นการเพิ่มยอดการส่งออก สำหรับสินค้าที่อยู่ในภาวะซบเซาในระดับผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สินค้ากลุ่มเครื่องหนังและ accessories ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสินค้าดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก Inflation   อิตาลี   TOT   NFL   GDP   3 G  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ