ข้อมูลด้านการตลาดอุตสาหกรรมรองเท้าของสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 14, 2010 16:16 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมอุตสาหกรรมรองเท้าในสหราชอาณาจักร

British Footwear Association (www.britfoot.com) ซึ่งเป็นสมาคมที่มีสมาชิกประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้นาเข้า และนักออกแบบ รองเท้าในสหราชอาณาจักร ได้จัดทาข้อมูลสถิติเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรองเท้าในสหราชอาณาจักร สรุปสาระสาคัญได้ ดังนี้

  • อุตสาหกรรมรองเท้าในสหราชอาณาจักรมีมูลค่าประมาณ 6 พันล้านปอนด์ โดยอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศมีแนวโน้มหดตัวอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากการนาเข้ารองเท้ามีราคาถูกกว่า หลายบริษัทย้านฐานการผลิตไปนอกประเทศ และ/หรือ sub contract การผลิตให้กับผู้ผลิตในต่างประเทศ อย่างไรก็ดี การผลิตในประเทศยังสามารถอยู่รอดและทากาไรได้ โดยการเน้นตลาดระดับบนสุด (top end market) และตลาดรองเท้าแบบ specialist footwear เช่น safety and industrial footwear
  • อุตสาหกรรมรองเท้าของสหราชอาณาจักรกระจุกตัวอยู่ใน 2 แคว้นด้วยกัน คือ แคว้น East Midlands โดยเฉพาะในและรอบๆ Leicester และ Northamptonshire และแคว้น South West ที่ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่สุด 2 รายมีโรงงานตั้งอยู่ คือ C&J Clark Ltd และ R Griggs Group Ltd
  • รองเท้ากีฬา (sport footwear) มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 25 ของยอดขายรองเท้าในตลาด mainstream โดยรองเท้ากีฬาประเภท indoor fitness shoes และ running shoes มีสัดส่วนสูงสุด
  • ในการเลือกซื้อรองเท้า ผู้บริโภคชาวอังกฤษให้ความสาคัญกับแบรนด์ และมีแนวโน้มนิยมรองเท้าประเภท designer brands และ casual wear ของแบรนด์ดังๆระดับโลก

ผู้หญิงมีสัดส่วนร้อยละ 50.2 ของยอดขายปลีก

2. ช่องทางการจัดจาหน่ายรองเท้า
  • จากสถิติตัวเลขล่าสุดของ British Footwear Association ช่องทางการจัดจาหน่ายรองเท้า ที่สาคัญ คือ ร้านขายรองเท้าโดยเฉพาะ (ร้อยละ 30) ตามด้วยห้างสรรพสินค้า/ variety/discount stores (ร้อยละ 20) ร้านขายเสื้อผ้า(ร้อยละ 17) ร้านกีฬาและร้านประเภท outdoor shop (ร้อยละ 15) การสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตและ mail order catalogues (ร้อยละ 11) และ Grocery superstores โดยเฉพาะ Tesco และ ASDA (ร้อยละ 7) อนึ่ง สัดส่วนของช่องทางการจัดจาหน่ายเดิมมีแนวโน้มลดลง โดยร้านขายรองเท้า และร้านกีฬา/ร้านประเภท outdoor shop ซึ่งรวมแล้วเคยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 56 ในปี 2000 ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือร้อยละ 45 ในขณะที่ห้างสรรพสินค้า/ variety/discount stores และร้านขายเสื้อผ้า (clothing stores) มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ลักษณะของตลาดนี้เป็นการรวมกลุ่มของผู้ผลิตแบบแนวดิ่ง (vertical integration) โดยเน้นประสิทธิภาพของ supply chain
  • บริษัทชั้นนาในตลาดรองเท้าสหราชอาณาจักร ได้แก่

1. รองเท้าทั่วไป ได้แก่

1.1 C & J Clark Ltd : แบรนด์ Clarks และ K Shoes

1.2 R Griggs Group Ltd : แบรนด์ Dr. Martens ( www.drmartens.com)

2. รองเท้ากีฬา ได้แก่

2.1 Sports Direct International PLC (www.sports-direct-international.com) ปัจจุบันเป็น sporting retailer รายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ครอบคลุม แบรนด์ต่างๆ ดังนี้ CyclesDirect.com; Field & Trek; Goldigga; Lillywhites; SheRunsHeRuns; SportsDirect.com)

2.2 JJB Sports (www.jjbsports.com / www.jjbcorporate.co.uk ) โดยมีร้านค้า 250 สาขา เน้นขายรองเท้ากีฬาประเภท functional

2.3 JD Sports Fashion PLC ( http://www.jdsports.co.uk ) ปัจจุบัน JD Sports มีร้านค้ากว่า 400 แห่ง โดยการเข้าซื้อกิจการร้านต่างๆ ได้แก่ Size?; Scotts; Bank และ Chausport เน้นขายรองเท้ากีฬาประเภท fashion sports / casual wear (Pentland Group Plc ถือหุ้น 57% ใน JD Sports Fashion PLC ตั้งแต่ปี 2005)

2.4 Reebok International Limited (UK) : http://www.reebok.com/GB/

2.5 Pentland Group Plc : http://www.pentland.com มีแบรนด์ ดังๆ ได้แก่ Berghans; Bxfreash; Brasher; Ellesse; Franco Sarto; Gio-Goi; Hunter; KangaROOS; Kickers UK; Lacoste Chassures; Mitre; OneTrueSaxon; RedCliffe; Red or Dead; Speedo; Ted Baker Footwear

เป็นต้น

3. การนำเข้า

3.1 การนำเข้าจากทั่วโลก

ตาราง 1 : มูลค่าการนาเข้ารองเท้าจากทั่วโลกแยกตามประเภทรองเท้า

หน่วย : ล้าน US$

ประเภทรองเท้า                     ปี 2009     ปี 2009 (Jan-April)     ปี 2010 (Jan-April)    % share     % change
1. รองเท้าที่มีส่วนบนทำด้วย
     หนังฟอก รหัส 6403             2,796.10         902.31                950.88            55.87       + 5.38
   - อื่นๆ (640399)                                 638.19                629.34            65.87        -1.86
2. รองเท้าอื่นๆที่มีพื้นรองเท้าด้านนอก       840.45         255.55                336.00            19.74       +31.48
และส่วนบนของรองเท้าทำด้วย
ยางหรือพลาสติก (6402)
   - อื่นๆ ได้แก่ slippers                            212.70                264.54            78.73       +24.37
 and other house
 footwear สำหรับผู้หญิง
 และสาหรับผู้ชาย โดยมี
 ความยาวของ insoles
 มากกว่า 24 ซม. (640299)
   - รองเท้ากีฬาอื่นๆ ที่
ไม่ใช่รองเท้าสกี (640219)                              17.70                 33.84            10.07       +91.14
3. รองเท้าที่มีส่วนบนทำ                 758.81         240.17                301.38            17.71       +25.49
ด้วยวัตถุทอ (6404)
   - รองเท้าที่มีพื้นรองเท้าด้านนอกทำ                     160.85                195.95            65.02       +21.82
ด้วยยางหรือพลาสติก (640419)
   - รองเท้ากีฬา (640411)                            66.21                 87.81            29.14       +32.64
เช่นรองเท้าเทนนิส บาสเก็ตบอล ยิมนาสติก
4. รองเท้าอื่นๆ (6405)                296.54          70.08                 61.01             3.59       -12.93
   รวมทั้งสิ้น                       4,857.73       1,510.27              1,702.00                        +12.70
แหล่งที่มา : World Trade Atlas


          สหราชอาณาจักรมีการนาเข้ารองเท้าจากทั่วโลกในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 มูลค่ารวม 1,702 ล้าน US$ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.70 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยกว่าร้อยละ 50 เป็นการนาเข้ารองเท้าประเภทที่มีส่วนบนทาด้วยหนักฟอก


          3.2 ประเทศคู่แข่งสาคัญในตลาดสหราชอาณาจักร
                                                                                           หน่วย : ล้าน US$
ประเทศแหล่งนำเข้าสาคัญ       ปี 2009     ปี 2009 (Jan-April)     ปี 2010 (Jan-April)     % share     % change
1. จีน                     1573.39           477.27               556.44              32.69       16.59
2. เวียดนาม                 607.01           208.73               198.63              11.67       -4.84
3. อิตาลี                    490.65           159.67               162.57               9.55       +1.81
4. อินเดีย                   316.90            93.43               126.31               7.42      +35.19
5. เบลเยี่ยม                 248.49            74.47               105.13               6.18      +41.17
6. เนเธอร์แลนด์              257.80            66.55                83.03               4.88      +24.76
7. เยอรมัน                  198.83            68.66                74.87               4.40       +9.04
8. อินโดนีเซีย                179.84            67.68                69.71               4.10       +3.01
13. กัมพูชา                   80.41            23.14                33.18               1.95      +43.40
14. ไทย                     60.14            19.47                19.98               1.17       +2.60

ในภาพรวมของการนำเข้า สหราชอาณาจักรนำเข้ารองเท้าจากจีนมูลค่าสูงเป็นอันดับ 1 โดยจีนครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 32.69 ตามด้วยเวียดนาม อิตาลี อินเดีย เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และอินโดนีเซียตามลาดับ การนาเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 14 โดยจีนและเวียดนามมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันร้อยละ 44.36 อนึ่งการนาเข้าจากเนเธอร์แลนด์ จริงๆแล้ว เป็นการ re-export จากเนเธอร์แลนด์ โดยเนเธอร์แลนด์นาเข้าจากประเทศในตะวันออกไกล และส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรปรวมถึงสหราชอาณาจักร

สำหรับในส่วนของรองเท้ากีฬา สหราชอาณาจักรนาเข้าจากจีนในอันดับ 1 ตามด้วยเบลเยี่ยม เวียดนาม เนเธอร์แลนด์ อินโดนีเซีย ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมัน กรีซ สเปน ไอร์แลนด์ ไทย (อันดับที่ 12) และกัมพูชาตามลาดับ โดยการนาเข้าจากทุกประเทศเพิ่มขึ้น ยกเว้นจากอิตาลี เยอรมัน และไทย (-20.70%) ส่วนการนาเข้าจากกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้นมากถึง +1,304.30%

3.3 การนำเข้าจากประเทศไทย ตาราง 3 : มูลค่าการนำเข้ารองเท้าจากไทยแยกตามประเภทรองเท้า

หน่วย : ล้าน US$

ประเภทรองเท้า                      ปี 2009     ปี 2009 (Jan-April)     ปี 2010 (Jan-April)    % share     % change
1.รองเท้าที่มีส่วนบนทำ                  48.72           15.71                   14.09            70.50       -10.32
ด้วยหนังฟอก รหัส 6403
- อื่นๆ (640399) ส่วนใหญ่ คือ รองเท้า    40.39            8.44                    8.46            74.43        +0.18
ที่มี insoles ความยาว 24 cm
หรือมากกว่าสาหรับผู้ชาย
- รองเท้าหุ้มข้ออื่นๆ (640391) ได้แก่       7.75            2.21                    2.38            16.91        +7.47
รองเท้าที่มี insoles ความยาว 24 cm
หรือมากกว่าสาหรับผู้หญิงแบบหุ้มข้อ
- รองเท้ากีฬาและยิมนาสติก (640319)      0.31            0.11                    0.01             0.10       -88.17
2. รองเท้าที่มีส่วนบนทาด้วยวัตถุทอ รหัส6404  8.98            3.12                    4.49            22.49       +43.93
- รองเท้าที่มีพื้นรองเท้าด้านนอกทา
ด้วยยางหรือพลาสติก (640419)            6.51            2.25                    3.36            74.92       +49.52
-รองเท้ากีฬา (640411)                 0.79            0.44                    0.35             7.81       -20.70
3. รองเท้าอื่นๆที่มีพื้นรองเท้าด้านนอก        1.08            0.28                    0.72             3.62      +158.11
และส่วนบนของรองเท้าทาด้วยยาง
หรือพลาสติก (6402)
     รวมทั้งสิ้น                       60.14           19.47                   19.98                         +2.60

สหราชอาณาจักรนำเข้ารองเท้าจากไทยมูลค่า 19.98 ล้าน US$ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.60 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

4. กฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
  • กฎระเบียบ REACH (Registration, Evaluation, Authorization (and Restrictions) of Chemicals)
  • EC Commission Decision ห้ามการใช้สาร biocide Dimethylfumarate (DMF) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ของผิวหนังอย่างรุนแรง (severe allergic reactions) ที่ถูกนามาใช้เพื่อฆ่า/ป้องกันเชื้อราในเฟอร์นิเจอร์หนังและรองเท้าหนังในช่วงการเก็บ/การขนส่ง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2009
5. ข้อมูลภาษีศุลกากรนาเข้า ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันสาหรับทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปสามารถหาได้ที่           http://ec.europa.eu/taxation_customs/dds/cgi-bin/tarchap?Lang=EN โดยสำหรับรองเท้ากีฬา รหัส 640411 ไทยเสียภาษีในอัตราพิเศษที่ร้อยละ 11.90 ในขณะที่ ภาษีในอัตราทั่วไปสาหรับประเทศที่ 3 รวมถึงจีนและเวียดนาม อยู่ที่ร้อยละ 16.90 ส่วนคู่แข่งสาคัญอื่นๆของไทย ได้แก่ อินเดีย และอินโดนีเซีย เสียภาษีในอัตราพิเศษเท่ากับไทยที่ร้อยละ 11.90 และกัมพูชา เสียภาษีที่ร้อยละ 0 สาหรับรองเท้ากีฬา รหัส 640319 ไทยเสียภาษีนาเข้าในอัตราพิเศษที่ร้อยละ 4.5 ในขณะที่ ภาษีในอัตราทั่วไปสาหรับประเทศที่ 3 รวมถึงจีนและเวียดนาม อยู่ที่ร้อยละ 8 ส่วนคู่แข่งสาคัญอื่นๆของไทย ได้แก่ อินเดีย และอินโดนีเซีย เสียภาษีในอัตราพิเศษเท่ากับไทยที่ร้อยละ 4.5 และกัมพูชา เสียภาษีที่ร้อยละ 0

6. Trade Fairs ที่สาคัญในสหราชอาณาจักร

6.1 Pure London : 1-3 สิงหาคม 2553 ณ Olympia ลอนดอน (http://www.purelondon.com)

6.2 Moda UK : 8-10 สิงหาคม 2553 ณ NEC Birmingham (http://www.moda-uk.co.uk/)

6.3 Kensington Shoe Event 26-28 กันยายน 2553 ณ the Westbury Hotel, Bond Street, Mayfair, London, W1 (http://www.thekensingtonshoeevent.co.uk/)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ