1. จำนวนการผลิตรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นแบ่งแยกตามผู้ผลิต ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553
Passenger Cars Trucks Buses Grand Total Standard Small Mini Total Standard Small Mini Total Large Small Total TOYOTA 160,044 54,555 - 214,599 7,836 6,099 - 13,935 - 6,878 6,878 235,412 NISSAN 41,453 8,452 - 69,905 5,394 3,592 - 8,986 - 539 539 79,430 MAZDA 56,118 11,992 - 68,110 249 1,512 - 1,761 - - - 69,871 MITSUBISHI 32,418 2,054 4,495 38,967 297 122 4,279 4,698 - - - 43,665 ISUZU - - - - 13,712 2,845 - 16,557 214 3 217 16,774 DAIHATSU - 4,368 34,146 38,514 170 - 10,478 10,648 - - - 49,162 HONDA 22,296 38,967 8,555 69,818 - 95 4,675 4,770 - - - 74,588 SUBARU 31,646 - 1,506 33,152 - - 3,885 3,885 - - - 37,037 UD TRUCKS - - - - 2,020 601 - 2,621 66 - 66 2,687 HINO - - - - 6,982 161 - 7,143 416 13 429 7,572 SUZUKI 15,859 12,722 46,486 75,067 - 1,008 11,668 12,676 - - - 87,743 GM JAPAN - - - - - - - - - - - - MITSUBISHI FUSO - - - - 3,799 461 - 4,260 152 - 152 4,412 Others - - - - 100 - - 100 - - - 100 TOTAL 359,834 153,110 95,188 608,132 40,559 16,496 34,985 92,040 848 7,433 8,281 708,453 ข้อมูลจาก Japan Automobile Manufacturer Association 2. ความเคลื่อนไหวที่สำคัญในตลาดรถยนต์ญี่ปุ่น จากบทสัมภาษณ์ประธานสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น (JAMA) นายโทชิยูกิ ชิกะ ซึ่งดำรงตำแหน่ง Chief Operating Officer (COO) ของบริษัทนิสสัน มอเตอร์ ในวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา นายชิกะให้สัมภาษณ์ถึงความกังวลของสมาชิกสมาคมฯ ในเรื่องการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของ ค่าเงินเยนว่า รัฐบาลญี่ปุ่นสมควรเร่งหาทางแก้ไขโดยเร็ว การให้สัมภาษณ์เรื่องค่าเงินเยนจากผู้บริหารระดับสูงในอุตสาหกรรมฯครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาประธานบริษัทฮอนด้า ก็เคยให้สัมภาษณ์ในทำนองเดียวกันมาแล้ว สถานการณ์เงินเยนล่าสุดแข็งค่าอยู่ระหว่าง 86.96เยน/ ดอลลาร์สหรัฐฯ และ 107.3 เยน/ยูโร ซึ่งแข็งค่ากว่าที่ผู้ผลิตญี่ปุ่นคำนวนต้นทุน ไว้ที่ 90 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ และ 125 เยน/ยูโร ส่งผลให้ผลกำไรที่บริษัทหาได้ในต่างประเทศเมื่อโอนกลับมาที่บริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นแล้วแทบจะ ไม่ได้กำไรเลย นอกจากนี้ยังทำให้รถยนต์ที่ส่งออกจากประเทศญี่ปุ่นมีราคาแพง ทำให้แข่งขันกับประเทศอื่นๆได้ยาก นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ต้องพิจารณาสำหรับยอดขายรถยนต์ที่จะต้องลดลง ภายหลังมาตรการช่วยเหลือด้วยเงินส่วนลดจากรัฐบาลสำหรับ ประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนรถยนต์เก่าอายุตั้งแต่ 13 ปี และผู้ซื้อรถ Eco-Car ที่จะสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวประธานสมาคมฯ กล่าวว่าผู้ผลิตฯทุกรายไม่คิดที่จะขอให้รัฐบาลขยายมาตรการการให้ความช่วยเหลือนี้ต่อไปแต่อย่างไร ผู้ผลิตฯทุกบริษัทได้เตรียมพร้อมรับมือกับยอดขาย ที่ต้องลดลงหลังเดือนกันยายนนี้แล้ว โดยการจัดแคมเปญส่งเสริมการขายไว้รองรับแล้ว 3. ความเคลื่อนไหวของผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นในประเทศไทย บริษัทนิสสัน มอเตอร์ เริ่มการส่งออกรถยนต์นิสสัน มาร์ช ซึ่งเป็นรถยนต์อีโคคาร์คันแรกของประเทศไทย ไปยังตลาดประเทศญี่ปุ่นเป็น ครั้งแรก และจะเริ่มทยอยส่งออกไปยังตลาดหลักอื่น ๆ ในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย โดยนิสสันได้ใช้เวลาถึง 2 ปีในการพัฒนาบุคลากรและระบบ การผลิตฯในประเทศไทยให้มีความสามารถผลิตรถยนต์ที่มีมาตรฐานเท่ากับรถยนต์ที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น มร. คาร์ลอส กอส์น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารนิสสัน มอเตอร์ จำกัด ได้แสดงความชื่นชมและเผยว่า ช่วงเวลานี้นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับพนักงานนิสสัน ประเทศไทยที่ได้ทำงานอย่างหนักมาเป็นเวลากว่า 37 ปี ปัจจุบันนิสสันมอเตอร์ ประเทศไทยได้กลายเป็นฐานผลิตที่จำเป็นอย่าง ยิ่งของภูมิภาคเอเชียน โดยในปีงบประมาณ 2552 ที่ผ่านมา นิสสันมียอดขายจำนวน 34,589 คัน ส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 5.7 และเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ ในประเทศไทยที่เป็นฐานการส่งออกสำคัญของนิสสันในภูมิภาค การส่งออกรถยนต์มาร์ชกลับไปประเทศญี่ปุ่นเป็นการยกระดับและถือเป็นก้าวกระโดดที่ สำคัญในการแสดงถึงศักยภาพในการผลิตของนิสสัน ประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2553 นี้ บริษัทนิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) วางแผนที่จะส่งออกนิสสัน มาร์ช จำนวนกว่า 70,000 คันไปยังตลาด เอเชียและโอเชียเนีย (ไม่รวมประเทศจีน) ขณะเดียวกันก็ผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาดในประเทศที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยนิสสันมีแผนที่จะส่งออกรถยนต์ และรถกระบะจากประเทศไทย รวมทั้งสิ้น 150,000 คันภายในปีงบประมาณนี้ แต่เดิม นิสสันได้มีแผนที่จะส่งออก นิสสัน ทีด้า จากประเทศไทยไปยังญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2008 แต่ทว่าการผลิตรถยนต์จากประเทศไทยยังไม่ได้ คุณภาพเท่าเทียมกับ นิสสัน ทีด้าซึ่งผลิตที่โรงงานจากจังหวัดคานากาว่า ประเทศญี่ปุ่น นิสสันจึงเริ่มต้นโครงการใหม่ด้วยการร่วมเขียนคู่มือการผลิตรถยนต์ เป็นภาษาไทยกับคณะช่างจากประเทศไทย เมื่อสิ้นสุดงานปรากฎว่า คณะทำงานจากนิสสันได้คู่มือการผลิตรถยนต์ฉบับแรกที่เขียนขึ้นจากช่างผู้ชำนาญการ ของทั้ง 2 ประเทศที่มีรายละเอียดหลายพันหน้า(แต่เดิมคู่มือการผลิตนี้ใช้การแปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย) ซึ่งทำให้นิสสันมีความมั่นใจในการผลิต รถยนต์จากประเทศไทยและส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นมากขึ้นนอกจากนี้นิสสันที่ประเทศไทยยังใช้ระบบ Nen-Iri หรือ Double-Check คือการตรวจ สอบคุณภาพถึง 2 ครั้งที่ประเทศไทยก่อนส่งรถยนต์ลงเรือมายังประเทศญี่ปุ่น และมีการตรวจสอบครั้งสุดท้ายที่โรงงานนิสสัน โอปามะอีกครั้งก่อนกระจาย รถยนต์ไปยังจุดจำหน่ายต่างๆ เพื่อความมั่นใจว่าคุณภาพรถยนต์นิสสันมาร์ชไม่ว่าจะผลิตที่ประเทศไหนก็มีคุณภาพเหมือนกัน ท้ายสุดคงต้องเป็นการตัดสินใจของผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่นว่าจะให้ความมั่นใจในการเลือกสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยหรือไม่ นอกจากนั้นยังมีรายงานเพิ่มเติมว่ามิตซูบิชิ มอเตอร์ จะลงทุนในการสร้างโรงงานประกอบรถยนต์นั่งขนาดเล็กในประเทศไทย ซึ่งจะมี กำลังการผลิตถึง 2 แสนคันต่อปี คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จราวปลายปี 2554 โดยโรงงานแห่งนี้จะใช้เงินลงทุนถึง สี่หมื่นห้าพันล้านเยน 4. ความเคลื่อนไหวของผู้ผลิตยางรถยนต์ญี่ปุ่นในประเทศไทย โยโกฮาม่า รับเบอร์ ผู้ผลิตยางรถยนต์รายสำคัญของญี่ปุ่น เผยว่าบริษัทมีแผนจะขยายการผลิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการการขยาย ตัวของตลาดรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกขนาดเล็ก โดยจะลงทุนราว 9.7 พันล้านเยนที่โรงงานในจังหวัดระยอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิต ให้ถึง 4 ล้านเส้นต่อปี ภายในปี 2555 บริษัทมีแผนที่จะเริ่มการขยายโรงงานในเดือนเมษายน 2554 ยางรถยนต์ที่ผลิตจะขายในประเทศไทย ประเทศ ในทวีปเอเชีย อเมริกา และยุโรป สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โอซากา ที่มา: http://www.depthai.go.th