รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าประเทศบังกลาเทศ เดือนมิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 15, 2010 16:35 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะเศรษฐกิจบังกลาเทศยังคงซบเซาต่อเนื่องตั้งแต่ เมษายน เนื่องจากเป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ รัฐบาลเพิ่งแถลงแผนงบประมาณปี2010-11ต่อสภาเมื่อ10 มิ.ย. ซึ่งจะมีการอภิปรายและรับรองภายใน 30 มิ.ย.ก่อนประกาศใช้ ภาวะการขาดแคลนพลังงานและไฟฟ้า รุนแรงมากขึ้น ไฟฟ้ายังดับวันละ 5-6 ครั้ง การประท้วงขอขึ้นค่าแรงของคนงานโรงงานเสื้อผ้ายังมีหลายพื้นที่และ ต่อเนื่อง มีการปะทะรุนแรงมีผู้บาดเจ็บมากพอควร รวมกับฝ่ายค้านเรียกระดมคนประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่ในวันที่ 27 มิ.ย.53 ผู้ไม่เกี่ยวข้องรวมทั้งบริษัทร้านค้าหยุดกิจการ 1 วัน เนื่องจากเกรงกลัวเหตุร้ายแรง เนื่องจากมักจะมีการเผารถโดยสารสาธารณะ ร้านค้าบางแห่งได้รับความเสียหาย ค่าเงินตากาอ่อนค่าลง การโอนเงินจากแรงงานต่างประเทศลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ม.ค.53 แต่ยังคงสูงกว่าปีก่อน การส่งออกเริ่มส่อเค้าปรับตัวดีขึ้น การนำเข้าเพิ่มขึ้น ตามรายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจของธนาคารกลางล่าสุด ณ 30มิ.ย.53 ดังนี้

1.1 เงินสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ 30 มิ.ย.มีจำนวน 10,752.82 ล้านUSD เพิ่มขึ้นจาก 31 พ.ค.ซึ่งมี 10,146.24 ล้านUSD และสูงกว่ามิ.ย.ปี ก่อนซึ่งมี เพียง 7,470.96 ล้าน USD

1.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตากาต่อเงินUSD ณ 29 มิ.ย.1USD = 69.44 ตากา อ่อนค่าลงจากพ.ค. ซึ่ง1 USD =69.32 ตากา และเมื่อเทียบกับมิ.ย.ปีก่อน 1 USD =69.06 ตากาเท่านั้น

1.3 เงินโอนจากแรงงานในต่างประเทศเดือนพ.ค.53 มีจำนวน 885.12 ล้านดอลลาร์ลดลงจากเม.ย.53 (921.24ล้านดอลลาร์) ร้อยละ3.9 และยอดรวมช่วงก.ค.52.-พ.ค.53 = 10,077.32 ล้านดอลลาร์ สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อน ร้อยละ14.9 และเป็นครั้งแรกที่ยอดเงินเกินกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์

1.4 มูลค่าส่งออกของบังกลาเทศเดือนเม.ย.53 รวม 1,400.13ล้านดอลลาร์ ลดลงจากมี.ค.(1,515.75 ล้าน)แต่สูงกว่าก.พ.53 ( 1,315.1 ล้านดอลลาร์) และสูงกว่าเม.ย.ปีก่อนร้อยละ 19.03 และมูลค่ารวม ก.ค.52-เม.ย.53 =12,940.05 ล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในขณะที่มูลค่านำเข้าเม.ย.53.=2,197.8ล้านดอลลาร์ ลดลงจากมี.ค.( 2,353.6 ล้านดอลลาร์ )แต่เพิ่มขึ้นจากเม.ย.ปีก่อนร้อยละ 23.66 และมูลค่ารวม ก.ค.52-เม.ย.53 =19,388.8 ล้านดอลลาร์ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลให้การขาดดุลการค้า รวม 797.67 ล้านดอลลาร์ ยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 216.0 ล้านดอลลาร์

1.5 อัตราเงินเฟ้อณ 30 มิ.ย. ตัวเลขล่าสุดยังคงเป็นมี.ค.53 =ร้อยละ 8.78 ลดลงจากก.พ.ซึ่งเท่ากับ 9.06 ใกล้เคียงกับธ.ค.52ซึ่งเท่ากับร้อยละ 8.51

2. การคาดการณ์ เศรษฐกิจบังกลาเทศปี2010-11 IMF คาดว่า GDPบังกลาเทศจะมีอัตราเพิ่มร้อยละ 6 โดยต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจให้ดีขึ้น รวมทั้งภาวะการขาดแคลนพลังงานที่ยังไม่ดีนัก ภาวะการค้าในประเทศ

3. ภาวะการค้าในประเทศ

3.1 ภาวะการค้าข้าว ราคาข้าวคุณภาพดีเดือนมิ.ย.20-22 บาท/กก.สูงขึ้นกว่าเดือนพ.ค.(18-21 บาท/กก.)เช่นเดียวกับ ข้าวคุณภาพต่ำมิ.ย.ราคา 15-18 บาท/กก.จากพ.ค.ราคา14-16 บาท/กก เนื่องจากรัฐบาลประกาศกำหนดราคารับซื้อข้าวสารฤดูใหม่สูง(กก.ละ 12.5 บาท ข้าวเปลือกกก.ละ 8.5 บาท)และปริมาณเก็บเกี่ยวต่ำกว่าเป้าที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 19ล้านตัน เนื่องจากนาข้าวบางส่วนเสียหายจากพายุฝนช่วงที่ผ่านมา ทำให้โรงสีแย่งกันซื้อข้าวเปลือกเพื่อขายให้รัฐบาล

3.2 สถานการณ์ราคาน้ำตาล ราคาน้ำตาลเดือนมิ.ย.เท่ากับ 23-25 บาท/กก.สูงขึ้นกว่าพ.ค.ซึ่งเท่ากับ 21-22 บาท/กก.เนื่องจากรัฐบาลประกาศจะเก็บภาษีนำเข้าน้ำตาลทรายดิบและทรายขาว2000,4000ตากา/ตันในปีงบประมาณใหม่นี้ (ก.ค.53) หลังจากที่มีการยกเว้นภาษีนำเข้ามาตั้งแต่ช่วงน้ำตาลโลกขาดแคลนปีก่อน

4. สถานการณ์พลังงาน ยังไม่ดีขึ้นไฟฟ้ายังดับวันละ5-6 ครั้งๆละกว่าชั่วโมง เนื่องจากขาดแคลนก๊าซซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้ายังคงต่ำกว่าความต้องการใช้อยู่ถึง 2000 เมกกะวัตต์ แม้ว่ารัฐบาลจะให้สัมปทานการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงไปหลายโรง แต่กว่าจะสร้างเสร็จก็ใช้เวลากว่า1-2 ปี

5. ภาวะการส่งออกสินค้าจากไทยไปบังกลาเทศ ปริมาณการส่งออกรวมเดือนพ.ค.53 มีมูลค่า 57.85ล้านดอลลาร์ลดลงจากเม.ย.(60.66ล้าน)ร้อยละ4.62 แต่มูลค่าช่วงม.ค.-มิ.ย.(336.8ล้าน)ยังคงเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน(243.4ล้าน)ร้อยละ38.38 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ0.45 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย จากการส่งออก เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศ ยานยนต์และอะไหล่ ตู้เย็น เครื่องจักรกล ส่วนผสมของอาหารสัตว์ และด้าย เส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงธากา บังกลาเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ