ข้อมูลตลาดสินค้าผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง (เน้น ทุเรียน ลาไย มังคุด เงาะ ลองกอง และมะม่วง)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 16, 2010 12:11 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ชนิด Tropical Fruits ที่นิยม

1. มะม่วงสุก

2. มังคุด

3. เงาะ

4. ลำไย

5. มะพร้าว

6. ลองกอง

7. ทุเรียนแห้ง

ข้อมูลด้าน Logistics (เส้นทางขนส่งทางเรือ/อากาศ/รถยนต์)

การนำเข้าสินค้าผลไม้สดจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะใช้เส้นทางขนส่งทางอากาศเพราะเป็นสินค้าที่เกิดการเน่าเสียได้ง่าย ในส่วนของมะพร้าวและสินค้าที่เกิดการเน่าเสียยากจะใช้เส้นทางขนส่งทางเรือ เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย

ลักษณะการกระจายสินค้าผลไม้เมืองร้อน(ผู้นำเข้า/ผู้ค้าส่ง/ห้างค้าปลีก)

การนำเข้าผลไม้สดไทยในอิตาลีส่วนใหญ่มาจากผู้นำเข้าเอเชีย (จีน) ซึ่งเป็นเจ้าของเอเชียซุปเปอร์มาร์เก็ตและบริษัทค้าส่ง/ปลีก ซึ่งในอิตาลีจะมีผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สาคัญอยู่ 4 ราย โดยผู้นำเข้าเหล่านี้จะนำเข้าผลไม้สดจากไทยโดยตรง และทำการกระจายขายตรงไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ตเอเซียและยุโรปด้วย เช่น Carrefour, Auchan, Esselunga, Conad, Coop และ Iper เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทำการขายปลีกให้แก่ลูกค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าเอเชีย และร้านอาหารไทยและ cash and carry

ลักษณะการทำ Branding and packaging ในตลาด(คู่ค้าและคู่แข่ง)

การติดตรายี่ห้อสินค้า การติดตรายี่ห้อผลไม้ที่ขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. ติดตรายี่ห้อของผู้จัดจาหน่ายเอง เช่น Mc garlet, Gullino, Gullino Bio เป็นต้น 2. ติดตรายี่ห้อของซุปเปอร์/ไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น Essalunga, Coop, Standa, Auchan, Iper และ Carrefour เป็นต้น เพราะผู้บริโภคชาวอิตาเลียนจะเลือกซื้อผลไม้โดยดูจากแหล่งที่มาเป็นสำคัญ ในส่วนของผลไม้ที่นาเข้าจากประเทศอื่นๆ ส่วนใหญ่จะไม่มีการติดตรายี่ห้อของบริษัทผู้ส่งออก แต่จะติดตรายี่ห้อของผู้จัดจำหน่าย/ซุปเปอร์มาร์เก็ตแทนและระบุแหล่งนาเข้าซึ่งเขียนระบุด้วยหนังสือขนาดตัวเล็ก นอกจากนี้ ป้ายที่ระบุจะแจ้งเฉพาะราคาและชื่อสินค้าเท่านั้น การบรรจุภัณฑ์ผลไม้ส่วนใหญ่ที่ว่างจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตจะเป็นแบบที่บรรจุหีบห่อเรียบ ร้อยแล้วและแบบเลือกซื้อและชั่งนาหนักได้ ซึ่งบรรจุในถุงและถาดที่ปิดมิดชิด

แนวทาง/กิจกรรมส่งเสริมการตลาดสำหรับปีงบประมาณ 2553-2554

1. สร้างภาพลักษณ์/ความน่าเชื่อถือต่อผลไม้ไทย โดยชาวอิตาเลียนส่วนใหญ่จะให้ความ สำคัญต่อภาพลักษณ์ของสินค้า ซึ่งไทยควรสร้างความเชื่อมั่นต่อผลไม้ไทยว่ามีคุณภาพดี เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค

2. จัดโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ ควรจัดกิจกรรมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมให้ชาวอิตาเลียนรู้จักและมองเห็นการบริโภคผลไม้ไทยที่เน้นด้านสุขภาพ รูปแบบทันสมัย นอกจากนี้ ควรสร้างกระแสแฟชั่นในการบริโภคผลไม้ไทยให้เป็นที่นิยม

3. ค่าขนส่ง ควรหาทางลดค่าขนส่งระหว่างไทย-อิตาลี โดยการเสนอราคาพิเศษให้กับบริษัทขนส่ง

4. จัดเทศกาลผลไม้ไทย เพื่อให้ชาวอิตาเลียนได้ลองชิมและสัมผัสกับผลไม้ไทย และเป็นการกระตุ้นให้มีการนำเข้าผลไม้ไทยเพิ่มมากขึ้นและยังส่งเสริมให้มีการนำเข้าผลไม้ไทยที่ยังไม่เคยนำเข้ามาก่อนได้ออกสู่ตลาดอิตาเลียน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ