ต้นทุนการผลิตในเม็กซิโกสามารถแข่งขันได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตในประเทศจีนแพงขึ้น

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 19, 2010 14:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักข่าว Associated Press ได้รายงานเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2553 ว่า ค่าแรงโดยทั่วไปในประเทศจีนได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากแรงกดดันจากพนักงานโรงงานในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนในมณฑล Shenzhen โดยได้รวมตัวกันประท้วงเพื่อขอเพิ่มค่าแรงโดยการหยุดพักงานในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา

ค่าแรงงานในประเทศจีนได้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา โดยรัฐบาลจีนได้ออกกฏหมายควบคุมการทำสัญญาแรงงาน และพนักงานโรงงานได้เริ่มเรียกร้องสิทธิตามกฏหมายดังกล่าว บริษัทต่างชาติที่ได้เข้าไปลงทุนประสบปัญหาการหยุดพักงานที่เป็นข่าวในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมาได้แก่ บริษัท Foxconn Technology ของไต้หวันซึ่งเป็นผู้ผลิต iPhone และ iPad ที่มีพนักงานโรงงานฆ่าตัวตามไปหลายคน ได้เพิ่มเงินเดือนให้กับพนักงานเป็นหนึ่งเท่าของค่าแรงงานขั้นต่ำ รวมทั้งกำลังวางแผนที่จะสร้างฐานการผลิตใหม่ในมณฑล Henan นอกจากนี้แล้ว บริษัทฮอนด้าและบริษัทโตโยต้าก็ได้เพิ่มค่าจ้างเมื่อพนักงานโรงงานได้รวมตัวกันหยุดงาน ส่วนบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนให้แก่ฮอนด้าได้ย้ายโรงงานไปในพื้นที่อื่น เช่น Henan, Hunan และ Jiangxi

ค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับค่าของสกุลเงินหยวนที่ทางการจีนปล่อยให้ลอยตัวมากขึ้น ได้เพิ่มมูลค่าขึ้น และรวมทั้งอัตราค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ จากค่าที่ดิน ค่าน้ำ ค่าพลังงาน และค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายการส่งเสริมการลงทุนที่ลดสิทธิประโยชน์ให้แก่การลงทุนจากต่างชาติโดยปกติ แต่เน้นไปให้สิทธิประโยชน์แก่การลงทุนด้านไฮเทคแทน ล้วนมีผลลดความได้เปรียบสำหรับการผลิตในต้นทุนที่ต่ำในประเทศจีน และลดแรงจูงใจสำคัญที่บริษัทต่างชาติได้เข้าไปลงทุนหรือสั่งการผลิตสินค้าในประเทศจีน บริษัทเหล่านี้จึงเริ่มพิจารณาการย้ายโรงงานไปยังเขตเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่ลึกเข้าไปในประเทศมากยิ่งขึ้น เช่นในภาคตะวันตกของประเทศจีน หรือพิจารณาย้ายการผลิตไปยังประเทศมีเริ่มมีต้นทุนที่ใกล้เคียงกับจีนแต่ให้ความสะดวกอย่างอื่นหรือสิทธิพิเศษที่ดีกว่าประเทศจีน รวมทั้งการพิจารณาย้ายฐานการผลิตกลับไปยังถิ่นฐานดั้งเดิมในสหรัฐฯ หรือในประเทศใกล้เคียง อาทิ ประเทศเม็กซิโก มากขึ้นยิ่งขึ้น เป็นต้น

ที่ปรึกษาด้านการลงทุนต่าง ๆ ได้ให้ความเห็นว่า หากต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นในสัดส่วนครึ่งหนึ่งของต้นทุนเดิม จะทำให้ต้นทุนการผลิตในสหรัฐฯ เทียบเท่ากับการผลิตในจีนยกตัวอย่างเช่น ในการผลิตสิ่งพิมพ์ ต้นทุนการผลิตในจีนเท่ากับ 44-45 เซ็นต์ สำหรับการพิมพ์ แต่จะต้องเสียต้นทุนการขนส่งทางเรืออีก 3 เซ็นต์ เทียบกับต้นทุนการพิมพ์ในสหรัฐฯ ที่สามารถพิมพ์ได้ในราคา 65-68 เซ็นต์แต่ไม่ต้องรอคอยการจัดส่งสินค้า

นอกจากนี้แล้ว บริษัทที่ผลิตสินค้าที่เน้นการศึกษาวิจัย เช่น สินค้าเภสัชกรรม สินค้าไบโอเทค ได้เริ่มพิจารณาการผลิตในประเทศอื่นที่ให้สิทธิประโยชน์ที่ดีกว่าประเทศจีนส่วนบริษัทผู้ผลิตของเล่น สินค้าเบ็ดเตล็ด และรองเท้าราคาถูกได้ย้ายการผลิตไปยังประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และเขมรแล้ว

บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ได้ทำการสำรวจบริษัทต่าง ๆ ที่ได้ปรับโครงสร้างบริษัทไปตามพื้นที่ต่าง ๆ และพบว่าเมื่อรวมปัจจัยต่าง ๆ แล้ว การผลิตในประเทศจีนแพงกว่าการผลิตในประเทศเม็กซิโก อินเดีย เวียดนาม รัสเซีย และโรมันเนีย เสียอีก ทั้งนี้ประเทศเม็กซิโกมีข้อได้เปรียบในฐานะที่เป็นภาคความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และแคนาดา รวมทั้งมีต้นทุนการขนส่งที่ถูกกว่า เนื่องจากระยะทางที่ใกล้เคียงกันที่ผู้บริหารทำงานในเดียวกัน

ทั้งนี้ ในช่วงเมื่อระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2551 สำนักงานฯ ได้มีโอกาสไปฟังการบรรยายจากจัดสัมมนาของวารสารเศรษฐกิจรายสำคัญขื่อว่า Mexico Now เรื่อง Manufacturing in Mexico โดยในรายการได้มีผู้เชี่ยวชาญได้มีการเปรียบเทียบศักยภาพระหว่างประเทสจีนและเม้กซิดกในสายตาของผู้ลงทุนชาวอเมริกัน โดย Mr. Randall Sherman ตำแหน่ง President บริษัท New Venture Research การบรรยายเรื่อง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์การเปรียบเทียบระหว่าง ประเทศจีนกับประเทศเม็กซิโกโดยมีสาระว่า หากดูจากอุตสาหกรรมการผลิตเล็กรอนิกส์ ตามภูมิภาค จะพบว่า ในปี 2550 มูลค่าของตลาดในเอเชียมีมูลค่าสูงสุดถึง 148.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยจีนเป็นผู้ผลิตมากที่สุดมูลค่า 62.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าใน 5 ปีข้างหน้ามูลค่าของตลาดเอเชียจะสูงขึ้นเป็น 328.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่จีนจะมีมูลค่าสูงขึ้น 156.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำหรับประเทศเม็กซิโกภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่ากำลังผลิตคิดเป็นมูลค่าจำนวน 13.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะสูงขึ้นเป็น 33.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระยะ 5 ปีข้างหน้า โดยปัจจุบันค่าแรงงานเปรียบระหว่างจีนที่มีค่าแรงในอัตรา 1.12 เหรียญสหรัฐฯ ต้อชั่วโมง กับเม็กซิโกที่มีอัตรา 2.55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชั่วโมง อย่างไรก็ ตาม ต้องกลับมาถามว่า ทำไมบริษัทยักษ์หลายบริษัทได้เลือกเม็กซิโก อาทิ Benchmark Electronics, BenQ, Celestica, Elcoteq, Fletronics, Fixconn, Jabil, Plexus,Sanmina SCI, Solectron, Venture ได้เลือกเม็กซิโกเป็นฐานการผลิตแทนประเทศจีนหนึ่งปัจัยหลัก คือ การทำงานในเวลาเดียวกัน Time Zone ในขณะที่หากเปิดกิจการในจีน เนื่องจากอยู่คนละซีกโลก การทำงานฯ แม้ว่า ดูแล้วอาจจะไม่มีป็ญหา แต่ท้ายสุด การทำงานของอุตสาหกรรมจะต้องงานแบบ 24 ชั่วโมง เพราะในกรณีที่เกิดปัญหาในสายการผลิต ผู้ที่รับผิดชอบสุดท้ายคือผู้บริหารที่สำนักงานใหญ่งจะต้องตัดสินใจกับการแก้ไขปัญหาในทันที ซึ่งสามารถเกิดได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ เรื่องเล็กๆ เช่น การเดินทางไป-มาระหว่างสำนักงานใหญ่กับโรงงานฯ ทั้งนี้หากจะต้องเปิดโรงงานในเซี่ยงไฮ้จะต้องเสียเวลากับการเดินทาง การเดินทางต้องบินไป-กับ เสียเวลาช่วงต่อเครื่องบิน ซึ่งอาจเสียเวลาถึง 48 ชั่วโมง ซึ่งสำหรับธุรกิจการค้าที่มีความจำเป็นแล้วจะเป็นระยะเวลาของ 48 ชั่วโมงที่มีค้าสำหรับงานฯ ที่อาจผูกพันความเป็นอยู่หรือตายของธุรกิจ นั้นได

นอกจากนี้ ให้ดูการเจริญเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมของจีน นอกเหนือจากกลุ่ม OEM ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปเป็น กลุ่ม ODM หรือ Original Design Manufacturer หรืออาจเรียกว่า Contract Design Manufacturer โดยหากกลุ่มโรงงานพัฒนาไปสู่ผู้ผลิตประเภท ODM แล้ว ผู้สั่งสินค้าไม่จำเป๋น ต่อปี มีค่าใช้จ่ายในส่วนของการออกแบบสินค้าเพิ่มเติม หรือภาระการเลือกหรือจัดหาวัตถุดิบและดำเนินการเก็บสินค้าในโกดังอีก เพราะความรับผิดชอบตกไปสู่โรงงานที่สามารถดำเนินการได้เอง แต่เป็นสินค้าที่ถือจะตองเป็นสินค้าเฉพาะ specialized ไม่ใช่เสินค้าทั่วไป และถือว่าได้ประโยชน์ต่อโรงงาน เพราะโรงงานสามารถดำเนินการออกแบบเอง และนำสินค้ามาสูตลาดได้เร็วขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ปญ หาหลักของโรงงาน ODM กลับสามารถกลายเปนคูแข่ง ให้กับผู้สั่งซื้อได้ในอนาคต หากโรงงานเห็นวาสินคาดังกลาวสามารถทำตลาดเองได และสามารถนำออกมาสูตลาดไดเร็วขึ้น ดวยราคาตนทุนที่ถูกกวา และเนื่องจากโรงงานในจีนส่ววนใหญ่ยังไม่

ถือเปนโรงงานทีมีมาตรฐานสากลมากนัก การเกิดปญหาในด้านกฎหมาย การทำบัญชีและลิขสิทธิ์ยอมจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ อย่างไรก็ตาม ได้มีการคาดการณ์ว่าตลาดของกลุ่ม ODM จะมีการขยายตัวอยางต่อเนื่องและสูงขึ้นเป็นสองเท่าในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้านับตั้งแตปี 2548 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียวจุดแข็งของทั้งสองประเทศแล้ว มีดังนี้

ประเทศจีน

1. ค่าแรงงาน เป็น 1 ใน 10 ของค่าแรงงานในสหรัฐฯ และเป็นค่าแรงงานที่ถูกที่สุดในโลก

2. คุณภาพ ดี แต่ไม่ดี OEM

3. ความเชื่อถือ ถือว่ามีชื่อเสียงไว้ใจได้ คุณภาพแรงงานสูง ค่าแรงงานคงที่ อัตราเงินเฟเอต่ำ ความรับผิดชอบงานดี และมีความสามารถด้านเทคนิคสูง

4. ลักษณะสินค้าที่ผลิตในปริมาณมาก เกี่ยวข้องกับราคาโดยตรง เช่น คอมพิวเตอร์บอร์ดเซอร์กิต โทรศัพท์มือถือ ระบบเน็ทเว็คระบบต่ำ และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นต้น

ประเทศเม็กซิโก

1. ค่าแรงงานต่ำ อัตรา 1 ใน 5 ของค่าแรงงานในสหรัฐฯ ค่าแรงงานต่ำสุดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ

2. คุณภาพ สูง และสามารถรองรับระบบที่ทันสมัยได้เต็มที่ ตามมาตรฐานในสหรัฐฯ

3. ความเชื่อถือ ตามสภาพการเมือง และมีประวัตความร่วมมือมายาวนานกับสหรัฐฯ และผลประโยชน์จากนาฟต้า คุณภาพแรงงานสูง

4. ลักษณะสินค้า เหมาะสำหรับสินค้าคุณภาพระดับต่ำถึงระดับกลาง ปริมาณระดับกลาง สินค้าที่มีความซับซ้อนสูงและส่วนประกอบมาก เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอะไหล่รถยนต์ อุตสาหกรรมและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

โดยทิ้งท้ายว่า สิ่งมีชีวิตที่อยู่รอดได้นั้น มิใช่เพราะเป็น สิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความแข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวได้ตามสภาวะได้ดีที่สุด

นอกจากนี้ ยังมีผู้บรรยายในเรื่อง ความได้ เปรียียบของประเทศเม็ก็กซิโก โดย Ms. Doreen Huro ตำแหน่ง President บริษัท China Mexico Solution LLC โดยประเด็นต่างๆ ตามที่บรรยาย มีข้อสรุปเช่นาเดียวกับผู้บรรยายรายแรก กล่าวคือ ได้ชี้ให้เห็นเรื่องของราคาค่าแรงงาน ความใกล้เคียงการทำธุรกิจกับบริษัทแม่ การยืดหยุ่นของการหาวัตถุดิบสำหรับการผลิต และแหล่งการหาวัตถุดิบชั้นรอง ซึ่งถือว่าประเทศเม็กซิโกมีความพร้อมมากกว่านอกเหนือจากปัจจัยเรื่องของค้าขนส่ง ระยะเวลาการสั่งซื้อและส่งมอบสินค้า lead time ที่ต่ำกว่า และการไม่เก็บภาษีนำเข้า ล้วนเป็นปัจจัยให้นักธุรกิจชาวอเมริกันคำนึงถึงการลงทุนในประเทศเม็กซิโกทั้งสิ้น นอกจากนี้ ประเด็นเรื่องเสถียรภาพของสถานะของค่าของเงินเปโซ ที่มีความคงที่และมั่นคง โดยเฉลี่ยมีการเปลี่ยนแปลงในปี 2550 ในอัตราร้อยละ —1.12 เท่านั้น ในขณะที่เงินหยวน RMB ของจีน ที่มีความผันผวนในปี 2550 อยู่ในอัตราร้อยละ —5.32 ทั้งนี้หากเปรียบเทียบราคาสินค้าที่ผลิตแบบเดียวกันเป็น Case Study มีดังต่อไปนี้

หน่วย : เหรียญสหรัฐฯ

                                   ประเทศจีน           ประเทศเม็กซิโก
ราคา piece part cost                 0.8225               0.832
ค่าภาษีนำเข้า                            0.028                   0
ค่าขนส่ง                               0.0333              0.0278
ราคาต้นทุนรวม                          0.8838              0.8598
ระยะเวลาส่งสินค้า Mfg Lead time        4 สัปดาห์             4 สัปดาห์
ระยะเวลาขนส่ง Shipping lead time   6-7 สัปดาห์              4-5 วัน

จะเห็นได้ว่าเมื่อสินค้าถึงผู้ซื้อแล้ว ราคาต้นทุนมีราคาที่ใกล้เคียงกัน นอกเหนือจากความได้เปรียบของระยะเวลาขนส่ง นอกจากนี้ ยังมีประเด็นของการใช่เครื่องจักร ในกรณีหากโรงงานในประเทศจีนไม่มี จะเสียเปรียบและต้องมีการนำเข้า และจะต้องเสียระยะเวลาผลิตสินค้า Lead time มากขึ้นไปด้วย สำหรับสินค้าบางประเภท เช่น metal stamping, plastic molding เป็นต้น

อย่างไร การบรรยายมิได้ชี้ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของการลงทุน ที่ประเทศเม็กซิโกประสบอยู่ อาทิ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด หรือปัญหาทางการค้าอื่นๆ มาใช่ประกอบการพิจารณาการลงทุน

แหล่งข่าว: http://finance.yahoo.com/news/Companies-brace-for-end-of-apf-2437567795.html?x=0 การสัมมนา การเข้าร่วมประชุมการฟังการบรรยาย Manufacturing in Mexico ในระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2551ณ เมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ