สถานการณ์สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดเยอรมนี เดือนมิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 19, 2010 17:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การผลิตและยอดการจำหน่าย

จากความไม่แน่นอนของรายจ่ายต่างๆ ที่จะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเรื่องเบี้ยประกันสุขภาพที่อยู่ในระหว่างการ พิจารณาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยคนละ 10 ยูโร นอกจากนี้สำนักประกันสุขภาพ ยังได้รับอนุญาติให้เรียกเก็บค่าประกันพิเศษเพิ่มเติมได้อีกร้อยละ 1 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้อีกร้อยละ 1 ของเบี้ยประกัน รายเดือน ทำให้ผู้ประกันต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นอีกสูงสุด 75 ยูโรต่อเดือน ประกอบกับราคาคาทอฃคำที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ทำให้การบริโภคเครื่องประดับมีแนวโน้มเปลี่ยนไป กล่าวคือ มีการซื้อเครื่องประดับทำด้วยทองคำที่มีราคาแพงเพิ่มมาก ขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ในยามคับขัน ส่วนเครื่องประดับทำด้วยเงิน เครื่องประดับเทียมมีแนวโน้มการผลิตและการจำหน่าย ลดลงเล็กน้อย

2. สถานการณ์การนำเข้า

เยอรมนีนำเข้าสินค้ารายการนี้เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ จะ ประเทศอื่นๆ ในยุโรป ที่มีส่วนแบ่งรวมกันตลาดกว่าร้อยละ 40 ได้แก่สวิส อังกฤษ ออสเตรียและฝรั่งเศส เป็นต้น สินค้า ที่นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นทองคำ โลหะมีค่าอื่นๆ และอัญมณีมีค่า เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตในประเทศ แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ อัฟริกาใต้ เบลเยี่ยม อังกฤษ เป็นต้น มีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 10 สำหรับเครื่องประดับแท้ทำ ด้วยเงินมีส่วนแบ่งร้อยละ 3.2 แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ไทย จีน อิตาลี มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 35, 25 และ 5 ตามลำดับ ส่วนเครื่องประดับเทียมมีส่วนแบ่งร้อยละ 4.5 แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ จีน ออสเตรียและฮ่องกง มีส่วนแบ่ง ตลาดร้อยละ 50, 20 และ 3 ตามลำดับ

3. การส่งออกของไทยไปตลาดเยอรมนี

สินค้าส่งออกสำคัญของไทยจะเป็นเครื่องประดับอัญมณีแท้ทำด้วยเงิน เป็นมูลค่าปีละประมาณ 185 ล้านเหรียญ สหรัฐ มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็น สวิส จีนและอิตาลี สำหรับ เครื่องประดับเทียม มีการนำเข้าจากไทย โดยเฉลี่ยปีละ 15 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นอันดับที่ 4 รองจาก จีน ออสเตรีย และฮ่องกงที่มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 54,18 และ 3 ตามลำดับ

ในช่วง 5 เดือนแรกไทยส่งออกสินค้ารายการนี้ไปเยอรมนีเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 80.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 34.35 ที่สำคัญๆ ได้แก่ เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินมูลค่า 37.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 เครื่อง ประดับแท้ทำด้วยทองคำ มูลค่า14.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.69 และเครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่าอื่นๆ มูลค่า 10.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 321.4

1. ยอดขายเครื่องประดับของเยอรมนีปี 2551 - 2552
   (ล้านยูโร)                   2551          2552       อัตราขยายตัว (%)
     รวม                       807           650           -19.45
 - ทำด้วยทองคำและแพลทินัม         613           488           -20.51
 - เครื่องประดับทำด้วยเงิน           81            72           -11.40
 - ชุบด้วยโลหะมีค่า                 48            20           -59.73
 - เครื่องประดับเทียม               40            52            28.87
 - ของใช้ทำด้วยเงิน                24            20           -19.45
2. ตลาดส่งออก
รวมส่งออกทั้งสิ้น               6,140          5,900          -3.91
- ยุโรป                     4,298          4,602           7.07
  -- สหภาพยุโรป             2,702          2,950           9.19
  -- EFTA                  1,228          1,357          10.50
  -- ยุโรปอื่นๆ                 368            295         -19.92
- ประเทศอื่นๆ                1,842          1,298         -29.53
3. แหล่งนำเข้า
รวมนำเข้าทั้งสิ้น                 774          776          0.19
- ยุโรป                       302          334         10.46
  -- สหภาพยุโรป               186          163        -12.34
  -- EFTA                     70          116         66.98
  -- ยุโรปอื่นๆ                  46           54         16.88
- ประเทศอื่นๆ                  472          442         -6.38
ปัญหาอุปสรรค

1. ขาดแคลนวัตถุดิบ

2. ขาดเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการผลิตเครื่องประดับ

3. ขาดบุคลากรด้านฝีมือแรงงานด้านการออกแบบและการผลิตสินค้าระดับสูง

4. การสร้างและพัฒนาตราสินค้ามีน้อย

กลยุทธ์

1. พัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญระดับโลก

2. จัดหาวัตถุดิบจากต่างประเทศในปริมาณที่เพียงพอ

3. พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเครื่องประดับ

4. พัฒนาบุคลากรห้มีความสามารถในการผลิต ออกแบบ สินค้าที่เหมาะสมกับตลาด

5. สร้างภาพลักษณ์ของสินค้าในด้านผู้นำแฟชั่น สินค้าที่เอกลักษณ์ ควบคู่ไปกับศักยภาพทางการค้า/ส่งออก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ