โอกาสธุรกิจการลงทุนเปิดร้านอาหารไทยในแคนาดา (มณฑลออนตาริโอ)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 20, 2010 15:33 —กรมส่งเสริมการส่งออก

อาหารไทยได้เป็นที่รู้จักและนิยมในประเทศแคนาดา และในแต่ละปีมีชาวแคนาดาเดินทางไปทองเที่ยว ประเทศไทยจำนวนมาก และคุ้นเคยและประทับใจรสชาดอาหารไทย ปัจจุบันในเขต Greater Toronto มณฑล Ontario ที่ประกอบไปด้วยเมือง Toronto (ซึ่งเป็นเมืองศูนย์ธุรกจการค้าและการลงทุนที่ใหญที่สุดในแคนาดา) และเมืองบริวาร มีประชากรรวมประมาณ 5.5 ล้านคน มีร้านอาหารไทยประมาณ 215 ร้าน แต่เป็นร้านอาหารที่มีเจ้าของเป็นคนไทยเพียงประมาณ 40 ร้าน (32%) โดยร้านอาหารไทยที่มีเจ้าของหรือพ่อครัวแมครัว่ไม่ใช่คนไทยนั้นได้ ดัดแปลงสูตรการปรุงอาหารไทย ทำให้รสชาดของอาหารผิดเพี้ยนไปจากรสชาดดังเดิมและ การเลือกใช้วัตถุดิบในการปรุงอาหารที่ไมถูกต้อง อาทิเช่น ผัดไท ที่ใช้ซอสมะเขือเทศ แทนการน้ำมะขาม เป็นต้น การลงทุนร้านอาหารไทยนั้น คนไทยสามารถมีสิทธิการเป็นเจ้าของได้100% และมีสิทธิครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้ในแคนาดา แต่ข้อจำกัดและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่กฎหมายแรงงานและขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนในการนำพ่อครัวแมครัว่จากประเทศไทย มาทำงานในแคนาดาที่ใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูงในกรณีที่ใช้ที่ปรึกษากฎหมายทนายเข้ามาช่วยดำเนินการขอวีซ่าประเภททำงาน (Work Permit Visa)

ขั้นตอนการเปิดร้านอาหารไทยในแคนาดา

แคนาดามีนโยบายเสรีและส่งเสริมให้นักลงทุนชาวต่างชาติสามารถลงทุนในธุรกิจร้านอาหารโดยไม่มีข้อจำกัด โดยสามารถลงทุนและเป็นเจ้าของได้ 100% ไม่จำเป็นต้องมีผู้ถือหุ้นส่วนที่มีสัญชาติแคนาดา (ผู้ถือหุ้นส่วนท้องถิ่น) และมีสิทธิในการซื้อครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้ 100%

1. การคัดเลือกชื่อและจดทะเบียนชื่อบริษัท ห้างร้านนิติบุคคล

ในแคนาดานั้นสามารถทำได้บนระบบ อินเตอร์เนต ในการค้นหารายชื่อ เครื่องหมายสินค้ากับระบบCanada-biased NUANSฎ report จากเว็ปไซต์ www.nuans.com ซึ่งเป็นหน่วยงานของ รัฐบาลแคนาดา เพื่อจะขอรับรายงานการตรวจชื่อว่าไม่เคย ถูกใช้จดทะเบียนมาก่อน มาเป็นเอกสารในการยื่นขอจดทะเบียนต่อหน่วยงาน

Corporation Canada

Corporation Canada, Headquarters

9th Floor, Jean Edmonds Towers South

365 Laurier Avenue West

Ottawa ON K1A 0C8

โทรศัพท์: +1.613.941.9042

โทรสาร: +1.613.941.0601

  • อนึ่งสำหรับเมืองอื่นๆ ขอให้เข้าค้นหาข้อมูลที่เว็ปไซต์ของแตละมณฑล www.government.gc.ca
2. การสมัครหมายเลขทะเบียนธุรกิจ Business Number (BN)

ซึ่งเสมือนการเปิดบัญชีภาษีของบริษัท ที่จะเชื่อมโยงธุรกรรมต่างๆ ของบริษัทนิติบุคคลกับกรมสรรพากรแคนาดา หรือ Canada Revenue Agency (CRA) ที่เป็นหน่วยงาน รัฐบาลกลาง (Federal Government) เพื่อจะเรียกเก็บภาษีดังนี้

  • ภาษีการขายสินค้าและบริการ ในแตละมณฑลจะมีการเรียกเกบในอัตราที่ตางกน โดยมีชื่อเรียกใช้ GST (Goods and Services tax) หรือ HST
  • (Harmonized sales tax) เป็นบัญชีภาษีที่ผู้ประกอบการจะเรียกเก็บจากลูกค้าจากการให้บริการหรือจำหน่ายสินค้า โดยเป็นภาษีที่ส่งให้กับภาครัฐฯ ส่วนกลาง
  • Payroll Deductions เป็นบัญชีภาษีที่นายจ้าง/ผู้ประกอบการ เรียกเก็บจากลูกจ้าง/พนักงานของ บริษัทได้แก่ CPP (Canada Pension Plan), EI (Employment Insurance) และภาษีรายได้ของ พนักงาน โดยจะส่งไปยังรัฐบาลส่วนกลาง
  • Import/Export เป็นบัญชีที่ใช้สำหรับการเก็บภาษีจากการนำเข้า/ส่งออกของบริษัท Corporate Income Tax Account เป็นบัญชีภาษีรายได้ของบริษัทนิติบุคคลที่จะส่งให้กับรัฐบาลส่วนกลาง ทั้งนี้บริษัทจะต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลท้องถิ่นอีกด้วยโดยในระดับมณฑล (Provincial Government) บริษัทจะต้องยื่นคำร้องขอใบอนุญาตและเปิดบัญชีผู้เสียภาษีของบริษัทนิติบุคคล

International Tax Services Office

2204 Walkley Road Ottawa ON K1A 1A8

โทรศัพท์: +1.613.954.9681

โทรสาร: +1.613.952.3845

เวปไซด์: www.cra-arc.gc.ca

เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ 8:30น. - 17:00น.

3. ใบอนญาตธุรกิจ (Vender Permit)
  • ในการเปิดกิจการธุรกิจทุกประเภทจะต้องมีการจดทะเบียนขอใบอนุญาต Vender ในระดับรัฐบาลท้องถิ่น (Provincial Government) เพื่อขอรับหมายเลขภาษีของบริษัท ที่เรียกตางกนในั่แตละมณฑลอาทิ HST (Harmonized Sales Tax) หรือ Provincial Sale Tax (PST) โดยสามารถติดต่อหน่วยงานในรัฐบาลท้องถิ่น อาทิเช่น ในมณฑล Ontario ผู้ประกอบการสามารถติดต่อเพื่อจดทะเบียนหมายเลขภาษี HST number ของผู้ประกอบกิจการ ได้ที่ www.serviceontario.ca
4. ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจร้านอาหาร (Business License) - การดำเนินธุรกิจบางประเภทในแคนาดา จะต้องได้รับ Business License นอกเหนือจาก Vender Permit อาทิเช่น ธุรกิจร้านอาหาร ในแตละมณฑลของแคนาดาจะมีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน ตามข้อบังคับของรัฐบาลท้องถิ่น Provincial หรือ Municipal government ซึ่งข้อกาหนดนั้นส่วนใหญ่จะพิจารณาจากขนาดของสถานที่ให้บริการ และบริเวณที่ตั้ง (Zoning Law) รวมทั้งผลกระทบต่างๆ เป็นต้น ในมณฑล Ontario สามารถติดต่อได้ที่

Municipal Licensing and Standards Licence Application and Renewal

East York Civic Centre 850 Coxwell Avenue 3 rd Fl.,

Toronto, ON M4C 5R1

โทรศัพท์: +1.416-392-6700

โทรสาร: +1.416-392-3196

เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ 8:30น. - 16:00น.

5.ใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ (Liquor Sales License)
  • ร้านอาหารที่ความประสงค์ จะจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนที่จำหน่ายหรือให้บริการ ทั้งนี้ใบอนุญาตอาจมีข้อจำกัดอาทิเช่น ที่ให้บริการเครื่องดื่มได้เฉพาะในร้านอาหารเท่านั้น ในกรณีการจัดงานนอกสถานที่ (Catering Service) จะต้องขอใบอนุญาตประเภทอื่น และมีค่าใช้จ่ายที่ ต่างกัน ในมณฑล Ontario สามารถติดต่อสมัครได้ที่

Alcohol and Gaming Commission Licensing & Registration

90 Sheppard Avenue East, Suite 200 Toronto, Ontario M2N 0A4

เวปไซด์ : www.agco.on.ca/en/b.alcohol/b2.1.salesLicences.html

6. ใบอนุญาตติดตั้งป้ายโฆษณา (Commercial Sign Permit)
  • ในกรณีที่บริษัทห้างร้านมีความประสงค์ติดตั้งป้ายโฆษณาในเชิงพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่ใกล้ทางด่วน (Highway) ที่มีระยะใกล้กว่า 400 เมตร ในมณฑล Ontario

สามารถติดต่อได้ที่ Corridor Management and Property Section

301 St. Paul Street, 2nd Floor,

St. Catharines, Ontario L2R 7R4

โทรศัพท์ : +1.905-704-2989

โทรสาร : +1.905-704-2777

7. ใบรับรอง Food Handler Certification

ตั้งแต่วันที่1 กันยายน 2549 รัฐบาลท้องถิ่นในนครโตรอนโต (City of Toronto) ได้ออกกฎหมายบังคับว่า ผู้ประกอบการร้านอาหาร ณ นครโตรอนโต จะต้องมี พนักงานในเวลาทำ การในร้านอาหารอย่างน้อย 1 คนที่ผ่านการอบรมและสอบได้รับใบประกาศนียบัตร Food Handler Certification ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถหาข้อมูล/สมัครอบรมหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่

http://app.toronto.ca/foodhandler/pub/schedule.jsp

ภาษีรายได้และหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการ

นอกเหนือจากการจายภาษีรายได้ของกิจการแล้ว ผู้ประกอบการจะมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีการขาย HST (13%) จากลูกค้า รวมทั้งการเก็บรวบรวมภาษีรายได้จากลูกจ้าง และส่งต่อ Canada Revenue Agency (CRA) โดยภาษีที่หักจากลูกจ้างมีดังนี้

1. ภาษีเงินได้ บริษัท/ผู้ประกอบการจะมีหน้าที่หักรายได้ของลูกจ้าง ณ ที่จ่ายและรวบรวมส่งให้กับ CRA ทั้งนี้ปริมาณการหักภาษี ขึ้นอยู่กับระดับรายได้ของลูกจ้าง

2. CPP - Canada Pension Plan (ระบบการเก็บเงินบำนาญ โดยลูกจ้างจะได้รับเงินบำนาญจากรัฐบาล แคนาดาโดยคิดคำนวณขึ้นอยูกับจำนวนรวมที่ถูกหักจากรายได้ทุกปี หลังจากมีอายุครบ 65 ปี บริบูรณ์)

3. EI - Employment Insurance (ระบบการประกันสังคมในกรณีลูกจ้างถูกเลิกจ้าง หรือถูก Layoff )

ขั้นตอนการเปิดบริษัท/สาขาในแคนาดา

แคนาดามีนโยบายการค้าเสรี จึงมีข้อจำกดั ในการที่ ชาวต่างชาติสามารถมาดำเนินประกอบธุรกิจในประเทศแคนาดา ยกเว้นธุรกิจที่เกี่ยวกับความมั่นคง และ ธุรกิจ สื่อ/วัฒนธรรม ทั้งนี้ขั้นตอนการเปิดธุรกิจใน

แคนาดาสามารถสรุปได้ดังนี้

1. การเลือกชื่อ และจดทะเบียนชื่อบริษัท ห้างร้านนิติบุคคล

2. การสมัครหมายเลขทะเบียนธุรกิจ Business Number (BN) - ในระดับรัฐบาลกลาง

3. การขอใบอนุญาตธุรกิจ (Vender Permit) ในระดับรัฐบาลมณฑล/ท้องถิ่น

4. ในธุรกิจบางประเภทจะต้องมีใบอนุญาตพิเศษ ที่กฏระเบียบแตกต่างกันตาม มณฑล และเทศบาลท้องถิ่น

ค่าแรงขั้นต่ำ

แคนาดาได้กาหนดค่าแรงขั้นต่ำแตกตางกนในแตละมณฑลเนื่องจากปัจจัยคาครองชีพ และโอกาสของงานที่ต่างกัน โดยรัฐบาลท้องถิ่น (Provincial government) ในแต่ละมณฑลได้กาหนดมาตรฐานค่าแรงขั้นต่ำดังนี้

อัตราค่าแรงขั้นต่ำ/ชม. ในแต่ละมณฑล (อับเดทลาสุด ณ วันที่ 15 ก.ค. 53)
Alberta             $8.80
BC                  $8.00
Manitoba            $9.00
New Brunswick       $8.50
Newfoundland        $10.00
NWT                 $9.00
Nova Scotia         $9.20
Nunavut             $10.00
Ontario             $10.25
PEI                 $8.70
Quebec              $9.50
Saskatchewan        $9.25
Yukon               $8.93

สำนักงานสงเสริมการค้าระหวางประเทศ ณ นคร โตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ