รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 16-30 มิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 4, 2010 17:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. การส่งออกของสิงคโปร์ในเดือนพฤษภาคม 2553 ลดลงร้อยละ 0.1 (หลังจาก 3 เดือนที่ผ่านมาที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเกินการคาดหมาย) เนื่องจากสภาวะหนี้สินของ EU ที่ส่งผลทำให้การส่งออกลดลง (EU เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์) สินค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างมากคือ กลุ่มเภสัชภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 32.8

ประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญของสิงคโปร์ 10 อันดับแรก และการเติบโตของการส่งออก
ประเทศ            การเติบโตใน เมย.53 (%)       การเติบโตใน พค.53 (%)
                   เทียบกับ เมย.52                 เทียบกับ พค.52
European Union               21.3                      5.7
United States                45.8                     28.9
China                        29.4                     63.6
Malaysia                     29.1                     24.9
Hong Kong                    40.0                     51.0
Indonesia                    25.2                     18.9
Japan                        29.1                     65.6
Taiwan                       38.8                     40.3
Korea                        56.8                     37.5
Thailand                     30.2                     29.9
TOTAL                        30.0                     24.4
ที่มา : International Enterprise Singapore


          2. ผลการผลิตสินค้าในเดือนพฤษภาคม 2553  เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.6 (เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า) ซึ่งผลผลิตของกลุ่มสำคัญและอัตราการขยายตัว ได้แก่   Biomedical ขยายตัวร้อยละ 117.0 อิเล็กทรอนิคส์ ขยายตัวร้อยละ 51.8 Precision Engineering ขยายตัวร้อยละ 40.5  Chemicals ขยายตัวร้อยละ 19.6 General Manufacturing  ขยายตัวร้อยละ 18.5  และ Transport Engineering ขยายตัวร้อยละ  0.3
          3. หน่วยงานใหม่เพื่อ Clean Energy ของสิงคโปร์ใช้ชื่อว่า ERI@N (Energy Research Institute @ Nanyang  Technological University (NTU) เพื่อทำการศึกษาวิจัยในภาคที่ส่งเสริมให้เศรษฐกิจเติบโตและรักษาธรรมชาติ ได้แก่  Solar power, electric vehicles และ smart power grids รวมถึง Energy materials, wind energy และ sustainable buildings ซึ่ง
จะได้รับเงินทุนสนับสนุน 200 ล้านเหรียญสิงคโปร์จากหลายหน่วยงาน ได้แก่  Economic Development Board (EDB), National Research Foundation (NRF) และ Agency for Science, Technology and Research (A*Star) ทั้งนี้ ERI@N จะทำการศึกษาวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง 6 แห่ง คือ Austrian Institute of Technology, Ecole Poly-technique Federale de Lausanne (Switzerland), Imperial College London, University of Science and Technology (Norway), University of  Cambridge และ  Technical University of  Munich เพื่อแก้ไขปัญหาพลังงานทั้งของสิงคโปร์และทั่วโลก
          4. อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ในกลุ่มและระดับการศึกษาต่างๆ จากการที่เศรษฐกิจสิงคโปร์เริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น  แต่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง โดยสรุปแบ่งออกเป็นกลุ่มอายุและระดับการศึกษา ดังนี้

- กลุ่มอายุ           มี.ค.52 (ราย)     อัตราการว่างงาน(%)      มี.ค.53 (ราย)     อัตราการว่างงาน(%)
ต่ำกว่า 30 ปี            26,800               6.6               22,000              5.1
30-39 ปี               19,600               3.7               11,600              2.3
40 ปี ขึ้นไป             41,500               3.9               29,800              2.7
รวม                   87,900               4.4               63,300              3.1
- กลุ่มการศึกษา           มี.ค.52(ราย)      อัตราการว่างงาน(%)       มี.ค.53(ราย)     อัตราการว่างงาน(%)
ต่ำกว่ามัธยมศึกษา             23,000               4.8               15,000              3.1
มัธยมศึกษาตอนต้น             23,100               5.0               15,900              3.3
มัธยาศึกษาตอนปลาย           15,600               5.7               12,300              4.0
อนุปริญญา                   10,000               4.1                4,500              2.1
ปริญญา                     16,100               3.0               15,600              2.8
ที่มา : Ministry of Manpower, Singapore

          5. ค่าครองชีพคนต่างชาติในสิงคโปร์เป็นอันดับ 9 ของเอเซีย  จากการสำรวจในปี 2553 (ปี 2552 อยู่อันดับที่ 10) เนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์และรถยนต์สูงขึ้นมาก อีกทั้งความแข็งแกร่งของค่าเงินเหรียญสิงคโปร์  และการผันแปรของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา จึงทำให้สิงคโปร์อยู่ใน 10 อันดับแรกของเมืองที่มีค่าใช้จ่ายสูง สรุปประเทศและอันดับปี  2552 และ 2553 ดังนี้

ประเทศ/เมือง        อันดับที่ ในปี 2553            อันดับที่ ในปี 2552
Tokyo                       1                          1
Nagoya                      2                          2
Yokohama                    3                          3
Kobe                        4                          4
Seoul                       5                         17
Hong Kong                   6                          7
Shanghai                    7                          6
Beijing                     8                          5
Singapore                   9                         10
Busan                      10                         26
ที่มา : ECA International Cost of Living Survey, June 2010

          6. พฤติกรรมการบริโภคข้าวในสิงคโปร์เปลี่ยนแปลง  โดยหันไปรับประทาน Brown Rice เพื่อสุขภาพ และป้องกัน  การเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากได้รับความรู้ว่า ข้าวขาวมีส่วนผสมของ Glycemic ในระดับสูงและจะทำให้ระดับน้ำตาลในระบบเลือดพุ่งสูงขึ้นเร็วมาก  ส่วน Glycemic  ใน Brown Rice มีระดับต่ำและเปลี่ยนเป็น Glucose ได้ง่าย  ทั้งนี้ ในปัจจุบัน กลุ่มผู้บริโภค Brown Rice  ยังมีจำนวนน้อย แต่ผู้นำเข้าและผู้ค้าปลีกมีการจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับในปี 2552 ได้แก่ซุปเปอร์มาร์เก็ต FairPrice  ยอดขายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 20  แม้ว่า สัดส่วนของการจำหน่าย Brown Rice ต่อข้าวขาวจะเป็น 3 : 250 ก็ตามส่วนบริษัท Lam Soon Singapore จำหน่าย  Organic Brown Rice  มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 160  อนึ่ง กลุ่มที่นิยมบริโภค Brown Rice คือ กลุ่มที่รักษาสุขภาพและผู้สูงอายุ
          7. ข่าวเกี่ยวกับผลผลิตข้าวไทยลดลง มีผลกระทบต่อสิงคโปร์น้อยมาก แม้ว่าสิงคโปร์นำเข้าข้าวจากไทยประมาณร้อยละ 80 ของปริมาณการนำเข้ารวม  แต่ผู้นำเข้าในสิงคโปร์ยังไม่กังวลว่าจะขาดแคลนข้าว และประธานสมาชม The Singapore General Rice Importers Association ให้ความเห็นว่า  สิงคโปร์จะได้รับผลกระทบน้อย หากไทยส่งออกข้าวลดลง เนื่องจากภาครัฐสิงคโปร์มีนโยบายสำรองข้าว เพื่อให้มีปริมาณข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคในตลาดสิงคโปร์  ซึ่งหากเกิดปัญหาข้าวจากไทยส่งออกลดลง  สิงคโปร์ยังสามารถอยู่รอดได้ 4-5 เดือน นอกจากนี้ สิงคโปร์มีแหล่งนำเข้าจากประเทศอื่นๆ นอกจากไทย ได้แก่ เวียดนาม พม่า และจีน ทั้งนี้ ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ The Straits Times ฉบับวันที่ 10 มิถุนายน 2553 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับความแห้งแล้งในไทย  ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในการปลูกข้าว  ทำให้ผลผลิตข้าวในเดือนสิงหาคม 2553  จะมีเพียง 2 ล้านตัน (เดิมคาดว่าจะได้ผลผลิต  5 ล้านตัน)  จากสถิติ ไทยผลิตข้าวได้ประมาณปีละ 20 ล้านตัน ในการผลิต 2-4 ครั้งต่อปี  ส่งออกประมาณ 9 ล้านตัน บริโภคในประเทศ  9 ล้านตัน  รัฐบาลเก็บสต๊อกร้อยละ 10 ของผลผลิตรวม  และคาดว่า  ผลผลิตต่ำของไทยอาจส่งผลกระทบต่อราคาข้าวทั่วโลกในอนาคต

ข. การลงทุนในประเทศ
          1. บริษัท Stolthaven (Stolt-Nielsen Group) ลงทุนสร้างคลังสินค้ามูลค่า 350 ล้านเหรียญสิงคโปร์ สำหรับเก็บเคมีภัณฑ์ ณ เกาะจูร่ง ซึ่งเมื่อสร้างแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 3 ปี 2554  จะมีพื้นที่สามารถเก็บสินค้าได้ 354,000 คิวบิกเมตร  และการจ้างงานผู้มีความชำนาญสูง 50 อัตรา
          2. สิงคโปร์ส่งเสริม Biofuel เนื่องจาก Biofuel ทำจากน้ำมันพืช ไม่ทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เป็น renewable resource และราคาถูกกว่า (ราคา 1.07 เหรียญสิงคโปร์/ลิตร) commercial diesel (ราคา 1.30 เหรียญสิงคโปร์/ลิตร) ในปัจจุบัน มี 2 บริษัท ลงทุนในการผลิต Biofuel คือ  บริษัท Alpha Biofuels สามารถผลิตได้ 2.4 ล้านลิตรต่อปี มีลูกค้าได้แก่ Smart Taxis, SingTel และ Starbucks และบริษัท Fuelogical  สามารถผลิตได้ประมาณ 17 ล้านลิตรต่อปี
          3. บริษัท Procter & Gamble (P&G) จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมในสิงคโปร์นับเป็นแห่งที่ 4 ในภูมิภาคเอเซีย หลังจากจัดตั้งในปักกิ่ง โกเบ และบังกาลอร์  ศูนย์ฯในสิงคโปร์ คาดว่า จะสร้างแล้วเสร็จในปี 2556 จะมุ่งเน้นสินค้าด้านความสวยความงามและการดูแลผม รวมถึงการค้นคว้าและวิจัยผลิตภัณฑ์
          4. บริษัท  SembCorp Marine ลงทุนสร้างอู่เรือใหม่  นับเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมภาค อุตสาหกรรมการเดินเรือและ Offshore ซึ่งบริษัทฯมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 30 ของผลผลิตรวม  อนึ่ง ภาคอุตสาหกรรมการเดินเรือในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 18  สำหรับปี 2552 ผลผลิตมูลค่าเกือบ 20 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10 ของผลผลิตรวม (แม้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย)

ค. การลงทุนในต่างประเทศ
          1. สิงคโปร์ลงทุนใน Sichuan  โดย Singapore-Sichuan Trade and Investment Committee (SSTIC) ได้ตกลงในความร่วมมือการพัฒนา  hi-tech innovation park  บนพื้นที่ 35 ตารางกิโลเมตร ที่มุ่งเน้นระบบการผลิตเทคโนโลยีชั้นสูง ควบคู่ไปกับการดำรงชีวิตที่ทันสมัย และทำให้เป็นศูนย์ธุรกิจภูมิภาคและ gateway เพื่อการค้าให้ขยายไปสู่ West China  นอกจากนี้ ได้มีการลงนามข้อตกลงระหว่าง NTUC LearningHub (LHUB) กับ Sichuan Tianrong Industries Co., Ltd. ซึ่ง LHUB จะสนับสนุนการฝึกอบรมสาขาวิชาชีพ  ทั้งนี้ บริษัทสิงคโปร์ที่ได้เข้าไปทำธุรกิจแล้ว ได้แก่  Haw Par Group, YCH Group, the Ascott Limited, Yanlord Land Group และ Ednovation อนึ่ง ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 การค้าระหว่างสิงคโปร์กับ Sichuan มีมูลค่า 267.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.4 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนหน้า)  และการลงทุนของสิงคโปร์มีมูลค่า 140.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8

ค. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
          1. สิงคโปร์กับเกาหลีใต้  มีความร่วมมือกันในด้าน infocomm technology โดยได้ลงนาม Memorandum of Understanding (MOU) เกี่ยวกับ e-Government เพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับการประสานงานระหว่างทั้งสองประเทศ  การลงนามโดย Mr. Kim Seang-Tae, President, National Information Society Agency ของเกาหลีใต้ และ RADM(NS) Ronnie Tay, chief Executive Officer, Infocomm Development of Authority of Singapore  ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือจะครอบคลุมโครงการต่างๆของ e-Government, ให้การสนับสนุน workshop และการประชุม รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ e-Government
          2. สิงคโปร์กับกรีซ  ได้มีข้อตกลงทวิภาคีด้านบริการทางอากาศ (Air Services Agreement : ASA) ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการเที่ยวบินขนส่งโดยไม่จำกัด  และให้สิทธิ  unlimited “hubbing” rights สำหรับ การจัดการสินค้าทั้งนี้ ข้อตกลงนี้ จะทำให้สายการบินของทั้ง 2 ประเทศ สามารถดำเนินการ unlimited passenger services ระหว่างการบินของ 2 ประเทศ และการบริการเที่ยวบินโดยสารมากถึง14 เที่ยว ไปยังปลายทางอื่นๆ  ทำให้มีการส่งเสริมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้น ส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า ซึ่งไม่เฉพาะระหว่างสิงคโปร์กับกรีซเท่านั้น ยังสามารถต่อไปยังประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคและ EU ได้ด้วย  อนึ่ง ในปัจจุบัน Singapore Airlines ให้บริการเครื่องบินโดยสารรวม  2 เที่ยว/สัปดาห์ระหว่างสิงคโปร์กับเอเธนส์(เมืองหลวงของกรีซ)
          3. สิงคโปร์กับลาว  Mr. Somsavat Lengsavad, Deputy Prime Minister ประเทศลาว เยือนสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 24-28 มิถุนายน 2553 เข้าเยี่ยมคารวะ Mr. Lee Hsien Loong, Prime Minister สิงคโปร์ พร้อมปรึกษาหารือด้านการค้าทวิภาคีและการลงทุน ทั้งนี้ Mr. Somsavat เข้าร่วมงาน Laos Investment Seminar 2010 ซึ่งจัดโดย International Enterprise Singapore และ Singapore Business Federation อนึ่ง ในปี 2552 เศรษฐกิจของลาวขยายตัวร้อยละ 6 มูลค่าการลงทุนจากต่างชาติ  510 ล้านเหรียญสหรัฐฯ(ปี 2551)  การค้าระหว่างสิงคโปร์กับลาวในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 มีมูลค่า 15.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเกือบร้อยละ 20  และการลงทุนของสิงคโปร์ในลาวช่วงปี 2544-2552  มีมูลค่า 108 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เป็นอันดับ 10)  ส่วนใหญ่ในสาขาอสังหาริมทรัพย์ การผลิตสินค้า โลจิสติกส์ และธุรกิจบริการ  บริษัทที่ได้เข้าไปลงทุนได้แก่  Olam (coffee plantation), Crescendas (shopping complex), Asia Pacific Breweries (Greenfield brewery)

ง. อื่นๆ
          1. International Enterprise (IE) Singapore นำคณะบริษัท Nanotechnology เยือน NanoTech 2010 ณ Anaheim Convention Center ระหว่างวันที่ 21-24 มิถุนายน 2553 ซึ่งบริษัทที่เข้าร่วม คือ Biomers, Pasture Pharma, Bilcare Technologies, NanoGlobe, NanoMaterials Technology, ShayoNano, Wintech Nano Technology Services  ทั้งนี้ ภาครัฐสิงคโปร์ได้ให้การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนา R&D และมุ่งเน้นให้  Nanotechnology ในสิงคโปร์ได้รับความสำเร็จเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม medical, electronics และ communications นอกจากนี้ ยังมีบริษัท  SMEs ด้าน nanotechnology ให้บริการอนึ่งในปี 2551 ตลาด Nanotechnology ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 12.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5  เมื่อเทียบกับปี  2550  และคาดว่าจะมีการเติบโต  Compound Annual Growth Rate (CAGR) ช่วงปี 2552-2556  ประมาณร้อยละ 20 ต่อปี และจะทำให้มูลค่าในปี 2556 เป็น 30 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
          2. สิงคโปร์ได้รับรางวัลระดับสูงของ I2R BCI (Brain-Computer Interface)  ภายใต้โครงการ Motor imagery-base Brain-Computer Interface robotic rehabilitation for Stroke  โดยหัวหน้าทีมคือ Dr. Guan Cuntai ทำงานร่วมกับกลุ่มแพทย์โรงพยาบาล Tan Tock Seng  และ National Neuroscience Institute  ส่งผลให้สิงคโปร์ได้รับชื่อเสียงเพิ่มขึ้นในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการรักษาพยาบาล Stroke ซึ่งเป็นโรคที่ประชากรในประเทศที่ได้รับการพัฒนาแล้วเป็นกันมาก มีจำนวน ประมาณ 15 ล้านรายทั่วโลก
          3. การฝึกอบรมพนักงานภาคอุตสาหกรรม F&B โดยโรงเรียนสอนทำอาหาร At-Sunrice GlobalChef Academy (ตั้งมา 10 ปีแล้ว) ณ Fort Canning  เป็นโรงเรียนที่เติบโตอย่างเต็มที่ด้านการสอนทำอาหาร และผู้เรียนสามารถเข้าเรียนต่อได้ที่ Johnson & Wales Bachelor of Culinary Arts ในสหรัฐฯ  ในปี 2554 จะขยายสถานฝึกอบรมให้ใหญ่ขึ้นอีกสามเท่าของพื้นที่ในปัจจุบัน และสามารถรับนักเรียนได้เพิ่มขึ้นถึง 1,000 รายอนึ่ง ในขณะนี้ภาคอุตสาหกรรม F&B มีการจ้างงานประมาณ 150,000 อัตรา สำหรับบริษัทประมาณ 5,000 แห่ง ซึ่งกลุ่มโรงแรมและภัตตาคารสร้างรายได้มากกว่า 1.4 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ในช่วงไตรมาสแรก (มค.-มีค.) ปี 2553 นอกจากนี้ การที่ Integrated Resorts จำนวน 2 แห่ง ได้เริ่มเปิดดำเนินกิจการ คาดว่า จะมีการสร้างงานใหม่ได้อีก 5,000 อัตราภายใน 3 ปีข้างหน้า
          4. ธนาคารสิงคโปร์มีความมั่นคง Fitch, Asia-Pacific Financial Institutions รายงานว่า  ธนาคารสิงคโปร์ 3 แห่ง คือ DBS Bank, United Overseas Bank และ OCBC Bank เป็นธนาคารที่กำหนดต้นทุนได้เป็นอย่างดีในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค แม้ว่า ธนาคารสิงคโปร์ อาจจะประสบปัญหาเงินกู้เสียจากการปรับราคาของอสังหาริมทรัพย์  แต่ปัจจัยอื่นที่ช่วยสนับสนุน ได้แก่ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ  และการจำนองลดลง  ตั้งแต่กลางปี 2552  ดังนั้น สถานะของธนาคารสิงคโปร์ จึงอยู่ในระดับที่มั่นคง
          5. ตลาดอสังหาริมทรัพย์สิงคโปร์โปร่งใสเป็นอันดับ 3 ในเอเซียแปซิฟิคเนื่องจากสิงคโปร์มีความแข็งแกร่งและโปร่งใสด้านระเบียบและกฎหมาย  ประเทศที่ได้รับอันดับ 1 และ 2 คือ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการจัดอันดับของ Jones Lang Lasalle, Lasalle Investment Managemen

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 16-30 มิถุนายน 2553
          1. รายงานผลการจัดโครงการ Thailand Trade Exhibition  “VivoCity Fashion Showcase 2010”  (วันที่ 10-14 มิถุนายน  2553)
          2. จัดส่งภาพโครงการ Thailand Trade Exhibition  “VivoCity Fashion Showcase 2010” (วันที่ 10-14 มิถุนายน  2553)
          3. จัดส่งรายชื่อคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนงาน ThaiFex-World of Food Asia 2010  (29 มิถุนายน — 4 กรกฏาคม 2553) โดยมี  Ex1 จำนวน 1  ราย   Ex2  จำนวน 5 ราย  และ Trade Mission  จำนวน  14  ราย
          4. ประสานซุปเปอร์มาร์เก็ต Isetan และบริษัทไทย สำหรับการจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าผักผลไม้ อาหาร และสินค้าของขวัญ/ของตกแต่งบ้าน ณ บริเวณพื้นที่  Promotion  ของซุปเปอร์มาร์เก็ต กำหนดจัดระหว่างวันที่ 13-22  กรกฎาคม 2553
          5. ประสานติดต่อนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อสมาชิกของ Thai Spa Association  จำนวน 16 ราย พบปรึกษาธุรกิจในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2553
          6. ประสานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนสิงหาคม 2553
          7. ประสานเจ้าหน้าที่ Singapore Business Federation เพื่อจัดคณะสมาชิกฯ เยือนงาน
          Thailand International Logistics Fair 2010
          (7-10 October 2010)
          8. ประสานงานเพื่อการลงโฆษณาประชา สัมพันธ์งาน BIG & BIH, October 2010
          ( 19-24 October 2010) ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ (สิงคโปร์)
          9. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ได้แก่
          -Made in Thailand 2010
          (2-11 July 2010)
          -Bangkok Gems & Jewelry Fair 2010
          (8-12 September 2010)
          -Thailand International Logistics Fair 2010
          (7-10 October 2010)


          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ