1. ภาษีบริษัทของสิงคโปร์ต่ำเป็นอันดับ 3 ในเอเซียแปซิฟิค จากการสำรวจของ KPMG อัตราภาษีบริษัทของสิงคโปร์เป็นร้อยละ 17 แม้ว่าจะสูงกว่ามาเก๊า(ร้อยละ 12) และฮ่องกง(ร้อยละ 16.5) แต่ต่ำกว่าไต้หวัน(ร้อยละ 20) และเกาหลีใต้(ร้อยละ 24.2) และต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยร้อยละ 27 ของอีก 20 ประเทศ จึงทำให้สิงคโปร์ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น
2. อัตราเงินเฟ้อสิงคโปร์เดือน พ.ค. 53 สูงขึ้นร้อยละ 3.2 จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติสิงคโปร์ ปรากฎว่าเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 14 เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหาร อสังหาริมทรัพย์ และการขนส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3, 1.6 และ 1.5 ตามลำดับ นอกจากนี้ อัตราค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ตลาดแรงงานเริ่มฟื้นตัว รวมถึงค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นอีก เป็นปัจจัยกดดันด้านเงินเฟ้อด้วย ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของปี 2553 จะอยู่ที่ร้อยละ 5
3. Singapore Manufacturers’ Federation (SMa) ส่งเสริม SMEs โดย Productivity and Innovation Function Committee จะเป็นหน่วยงานแนะนำและเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่จะช่วยบริษัทจัดการระบบการทำงานและจัดหาเงินสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่ง SMa ได้จัดสรรเงิน 5.5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ไว้ใช้ในการส่งเสริมการผลิตที่ใช้ระบบทันสมัยคือ automation รวมถึงการค้นคว้า/วิจัย และการพัฒนาบุคคลากร
4. Economic Development Board (EDB) ส่งเสริมการพัฒนาผังเมือง โดยจัดสรรเงิน 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพื่อช่วยเหลือบริษัทสิงคโปร์เข้าสู่ธุรกิจการแก้ไขและพัฒนาชุมชน ซึ่งครอบคลุมถึง Clean Energy, Urban Mobility, IT และ public safety systems ทั้งนี้ ให้เกิดความคิดสร้างสรรและมีวิธีการแก้ปัญหาที่ดีต่อการเติบโตอย่างรวดเร็วของชุมชนที่ทำให้สภาวะธรรมชาติเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นพัฒนาให้บริษัทสิงคโปร์มีความสามารถสู่ธุรกิจระดับนานาชาติตามแบบอย่างบริษัทที่ได้รับความสำเร็จแล้วคือ การร่วมมือกันระหว่างบริษัท PUB, Hyflux และ Black & Veatch ดำเนินโครงการ SingSpring desalination plant (โรงงานแยกเกลือออกจากน้ำ)
5. Robot ชิ้นแรกของสิงคโปร์ The Agency for Science, Technology and Research (A*STAR) ได้เปิดตัว OLIVIA and LUCAS (หุ่นยนต์ที่ผลิตในสิงคโปร์เป็นครั้งแรก) ในงาน Robocup ณ Suntec City ระหว่างวันที่ 20-25 มิถุนายน 2553 ซึ่งหุ่นยนต์ดังกล่าวได้พัฒนาภายใต้โปรแกรม A*STAR’s Social Robotics Programme (ASoRo) ให้มีลมหายใจ สามารถในการมองเห็นและการสนทนา โดยมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็น service robot ที่ง่ายต่อการจัดการ อีกทั้งสามารถให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว รวมถึงปฏิบัติการงานง่ายๆ ได้แก่ ถือเครื่องดื่ม เดินตรวจตรา และโต้ตอบทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ งาน Robocup 2010 นับเป็นเวทีชั้นต้นสำหรับหุ่นยนต์ที่ผลิตในสิงคโปร์ เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาให้หุ่นยนต์มีความสามารถทำงานในเขตอันตรายในอนาคต
6. สิงคโปร์ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ บริษัท HealthStats International ผลิตเครื่องมือตรวจวัดความดันโลหิต “A-Pulse Casp” สามารถตรวจสอบ central blood pressure (ง่ายต่อการตรวจว่าเป็นโรคหัวใจและอัมพาต) เครื่องมือนี้ เป็นที่นิยมของโรงพยาบาล ได้แก่ KK Women’s and Children’s Hospital, National University Hospital, Khoo Teck Puat Hospital และ Singapore General Hospital รวมถึงบริษัท Save 1 Heart (บริษัทสหรัฐฯ) สั่งซื้อจำนวน 100 เครื่อง
7. นักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 ในเดือนพฤษภาคม 2553 โดยมีจำนวนถึง 946,000 คน ซึ่งมาจากประเทศสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ อินโดนีเซีย (186,000 คน) อินเดีย(116,000 คน) มาเลเซีย (82,000 คน) จีน (72,000 คน) และออสเตรเลีย(64,000 คน) รวมกันเป็นร้อยละ 55 ของจำนวนรวมนักท่องเที่ยวทั้งหมด สำหรับประเทศที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่ ฮ่องกง (+48.8%) มาเลเซีย(+48.7%) และไต้หวัน (+47.4%) ส่วนนักท่องเที่ยวจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 ทั้งนี้ ประเทศ 15 อันดับแรก คือ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย จีน ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ ฮ่องกง สหราชอาณาจักร เวียดนาม ไต้หวัน และเยอรมนี สำหรับรายได้ค่าห้องพักประมาณ 164 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.2 (เทียบกับ พค.52)
8. การจ้างงานในไตรมาสแรก ปี 2553 เพิ่มขึ้น 36,500 อัตรา ซึ่งจำนวน 33,400 อัตรา เป็นการจ้างงานในธุรกิจบริการ(มากกว่าในไตรมาสแรก ปี 2552 จำนวน 7,500 อัตรา) กลุ่มการผลิตมีการจ้างงานจำนวน 3,100 อัตรา ทั้งนี้ ผลผลิตแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 อัตราเฉลี่ยค่าจ้างรายเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ส่วน Overall unit labour cost (ULC) ลดลงร้อยละ 8.7 และ Unit business cost (UBC) ในการผลิตลดลงร้อยละ 12
9. การปรับค่าเงินหยวนอาจช่วยผู้ส่งออกสิงคโปร์ ให้สามารถส่งออกไปยังจีนได้เพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยการส่งออกไปยุโรปที่ลดลง(สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ อิเล็กทรอนิคส์และเภสัชภัณฑ์) อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังอยู่ในชั้นต้นและยากที่จะเดาได้อย่างแน่นอนว่า ค่าเงินหยวนจะยืดหยุ่นได้มากเท่าไรธนาคาร OCBC ตั้งค่าไว้ที่ร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งหมายความว่า ในช่วง 6 เดือนข้างหน้า เงินหยวนจะมีค่าสูงขึ้นร้อยละ 2 อนึ่ง ค่าเงินหยวนสูงขึ้น จะส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเยือนสิงคโปร์มากขึ้นและนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีอัตราร้อยละ 12 และ 4.5 ตามลำดับ
10. World Bank ได้จัดให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่ทำธุรกิจได้สะดวกที่สุดในโลก โดยได้รับตำแหน่งนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ซึ่งสิงคโปร์มีจำนวนบริษัท MNCs มากกว่า 7,000 ราย ที่จัดตั้งธุรกิจในสิงคโปร์ และบริษัทประมาณ 170 ราย ที่ได้รับความ สำเร็จจัดอยู่ใน 500 อันดับแรก มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ นอกจากนี้ MNCs จากตลาดใหม่ในเอเชียมีสำนักงานในสิงคโปร์ด้วย ทั้งนี้ สิงคโปร์ได้พยายามส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางธุรกิจในเอเชีย ใช้ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ แหล่งที่ตั้ง เครือข่ายติดต่อทั่วโลก ระบบโลจิสติกส์ สภาวะธุรกิจที่ดี ภาคการเงินที่มั่นคง อนึ่ง ภายในภูมิภาคเอเชีย สิงคโปร์ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่สิงคโปร์ฟื้นตัวได้เร็วกว่า และสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างแข็งแกร่ง คาดว่า การเติบโต GDP จะเป็นเลข 2 หลัก
11. สิงคโปร์สนับสนุน Green Technologies โดยส่งเสริม green business and clean tech industries โดยเฉพาะในสาขาการคมนาคม ที่รวมถึงการใช้ไฟจราจรและไฟถนนอย่างประหยัด, วัสดุในการสร้างถนนและบาทวิถีเป็น recycle และให้มีวิธีการก่อสร้างที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ เพื่อให้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ได้จัดให้มีโปรแกรม ทดลอง 1) diesel hybrid buses และ diesel particulate filters ร่วมกับ vehicle emission test laboratory (VETL) ที่ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 หากได้รับผลสำเร็จ จะทำให้สามารถลดมลพิษจากยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยดีเซล และ 2) Electric Vehicles (EVs) ซึ่งสิงคโปร์ได้จัดตั้ง Electric Vehicle Taskforce (สนับสนุนโดย Energy Market Authority : EMA และ Land Transport Authority : LTA) ที่จะพัฒนาให้มีระบบรักษาธรรมชาติ ช่วยลดภาวะมลพิษ ทั้งนี้ ในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตบางรายได้เริ่มทำการผลิต EVs ได้แก่ General Motors, Renault-Nissan, BMW, Mitsubishi และ Tesla
1. การสร้างผังเมืองใหม่ย่าน Punggol, Yishun และ Dawson ซึ่ง Housing Development Board (HDB) มีแผนการ Remaking Our Heartland (ROH) สร้างที่พักอาศัยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ถึง ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2553 ได้สร้างห้องชุดแล้วเสร็จ 18,000 ห้องชุด คาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จอีกจำนวน 35,000 ห้องชุดภายในปี 2558 นอกจากนี้ ยังมีการสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจริมฝั่งทะเล, Promenade และ Rustic Park ทางด้าน Northwest ของเขต Punggol (จะแล้วเสร็จในปี 2012) ส่วนในด้าน Southeast จะสร้าง wetland ซึ่งจะแล้วเสร็จในปลายปี 2553
2.เงินทุน 5.3 ล้านเหรียญสิงคโปร์สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย ได้รับการสนับสนุนจาก National Research Foundation ดำเนินการโดย National Medical Research Council ของ Ministry of Health จะทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับโรคหัวใจล้มเหลวในกลุ่มประชากรชาวเอเซีย การวิจัยทางคลีนิครักษาโรคมะเร็ง โรคติดต่อซึ่งติดเชื้อทั่วไป และการจัดการทดลองในคลีนิค ทั้งนี้ ได้มอบเงินทุนภายใต้ Clinician Scientist Awards (CSAs) ให้แก่นักค้นคว้าวิจัย 6 ราย
1. SMEs สิงคโปร์ลงทุนใน Tianjin ประเทศจีน ด้วยความร่วมมือภายใต้ Singapore-Tianjin Economic and Trade Council โดยมีโครงการใหญ่คือ Tianjin Eco-City นอกจากนี้ โครงการอื่นๆที่น่าสนใจครอบคลุมสาขาต่างๆ ได้แก่ infocomm technology, การบริการค้าปลีก การจัดการประชุม/การแสดงสินค้า (Mice) รวมถึง การบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม และการจัดการผังเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ GDP ของ Tianjin ในปี 2552 มีอัตราร้อยละ 16.5 สูงกว่าเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง กวางโจว เสินเจิ้น และซูโจว
1. สิงคโปร์ ฝรั่งเศสและอินเดีย ร่วมกันฝึกการบิน “Garuda” ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ F-16D + Fighting Falcons ของ RSAF (The Republic of Singapore Air Force) ร่วมฝึกกับฝรั่งเศส (Rafales) และอินเดีย (Sukhoi Su-30s) ในระยะเวลา 12 วัน เจ้าหน้าที่ร่วมผึก 180 คน มุ่งเน้นการทำงานร่วมกัน เพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และถ่ายทอดความรู้/ประสบการณ์ให้แก่กันและกันเพื่อประโยชน์สูงสุดด้านการบิน
2. สิงคโปร์และซาอุดิ อาระเบีย ได้ลงนามในข้อตกลง DTA (The Avoidance of Double Taxation) ซึ่งลงนามโดย Mr. George Yeo, Minister for Foreign Affairs สิงคโปร์ และ Dr. Ibrahim A. Al-Assaf, Minister of Finance ซาอุดิ อาระเบีย ข้อตกลงดังกล่าวส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ทวิภาคีแข็งแกร่งขึ้นโดยให้มีระบบ “Double Taxation” ของรายได้ที่เกิดขึ้นจาก การค้าระหว่างกัน นอกจากนี้ DTA รวมถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านภาษีเมื่อได้รับการร้องขอ การให้ withholding taxes ที่มีอัตราต่ำ และตั้งกฎระเบียบชัดเจนสำหรับการดำเนินธุรกิจ
3. สิงคโปร์และ Henan Province ได้ลงนาม MOU โดย Mr.Yew Sung Pei, Assistant Chief Executive Officer of International Enterprise Singapore กับ Mr. Li Qingshu, Director General of Henan Province Bureau of Commerce เพื่อส่งเสริมบริษัทสิงคโปร์ให้เข้าไปลงทุนใน Central China ในขอบเขตต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาโลจิสติกส์ การพัฒนาผังเมืองและธุรกิจน้ำ การบริการด้านอาหาร การท่องเที่ยว และ Internationalisation ของ Henan Enterprises อนึ่ง ประชากร ของ Henan Province จำนวน 99.68 ล้านคน ปี 2552 มูลค่า GDP เป็นเงิน RMB 1.94 trillion การค้าระหว่างสิงคโปร์กับ Henan Province มูลค่า 86.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การลงทุน Foreign Direct Investment (FDI) มูลค่า 343 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
1. สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพจัดงาน Youth Olympic Games (YOG) ระหว่างวันที่ 14-16 สิงหาคม 2553 ซึ่งจะมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประมาณ 5,000 คน จาก 205 ประเทศ (National Olympic Committees : NOCs) รวมถึงนักข่าวประมาณ 1,200 คน อาสาสมัคร จำนวน 20,000 คน และผู้ชมมากกว่า 370,000 คน การแข่งขันกีฬาทั้งหมด 26 ประเภท ผู้เข้า-แข่งขันอายุระหว่าง 14 — 18 ปีโดยมุ่งเน้นส่งเสริมด้านกีฬา/การแข่งขันการมีน้ำใจเป็นนักกีฬา รวมถึงส่งเสริมความเป็นเพื่อน การเคารพซึ่งกันและกัน วัฒนธรรม และการศึกษาด้วยทั้งนี้ ได้จัดสร้างเว็บไซท์สำหรับ YOG เพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ที่เว็ปไซท์ 2 เว็ป คือ www.singapore2010.sg/community หรือ www.singapore2010.sg/whyohgee
2. World Cities Summit (WCS) Expo ณ Suntec City สิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน — 1 กรกฎาคม 2553 (จัดทุกๆ 2 ปี เป็นการจัดครั้งที่ 2) จัดโดย Centre for Liveable Cities (Ministry of National Development and Ministry of the Environment and Water Resources) and the Civil Service College (Statutory Board under the Public Service Division, Prime Minister’s Office) ด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอื่นๆของสิงคโปร์ ซึ่ง WCS มีบริษัทเข้าร่วมงานจำนวน 50 ราย และมีนักธุรกิจเข้าชมงานประมาณ 3,000 คน การจัดงานมุ่งเน้นให้เป็นเวทีชั้นนำที่ส่งเสริมกิจกรรมสำคัญทำให้เป็นเมืองน่าอยู่ในปัจจุบันและอนาคต ได้แก่ practical, scalable and replicable solutions มีการจัดแสดง model cities and innovative urban solutions ที่ช่วยส่งเสริมมูลค่าเพิ่มต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันเป็นการช่วยรักษาธรรมชาติและสภาวะแวดล้อม ทั้งนี้ การจัดแสดงแบ่งออกเป็น Cities Pavilion, Singapore Inc Pavilion และ Urban Solutions Plvilion
3. ฟาร์มปลาในสิงคโปร์ใช้ระบบ high tech โดยติตตั้งคอมพิวเตอร์เตือนภัยเพื่อดูแลคุณภาพน้ำ ซึ่งตรวจสอบผ่านระบบอินเตอร์เน็ท(ผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ฟาร์ม) ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเป็นเงิน 115,000 เหรียญสิงคโปร์/ฟาร์ม ใช้ตรวจสอบระดับอ๊อกซิเจนในน้ำ และหากมี plankton มากเกินไป ระบบจะแจ้งเตือนภัยและส่งข้อความทางมือถือไปถึงเจ้าของฟาร์ม ซึ่งสามารถสั่งให้ปั๊มอ๊อกซิเจนลงไปในน้ำเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ Agri-Food and Veterinary Authority of Singapore (AVA) มีเงินสนับสนุน 5 ล้านเหรียญสิงคโปร์ สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตอาหาร มุ่งเน้นให้สิงคโปร์ลดการพึ่งพาแหล่งอาหารจากต่างประเทศ ในปัจจุบัน ผลผลิตปลาจากฟาร์มในประเทศมีอัตราเพียงร้อยละ 4 ของจำนวนรวมที่บริโภคในสิงคโปร์ AVA มีเป้าประสงค์ให้เพิ่มเป็นร้อยละ 16 ภายใน 5 ปีข้างหน้า
4. การประชุม World Urban Transport Leaders Summit (WUTLS) ครั้งที่ 2 ในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน — 1 กรกฎาคม 2553 ณ Suntec Singapore Convention & Exhibition Centre ซึ่งมีคณะผู้แทนเข้าร่วมประชุมมากกว่า 300 ราย เพื่อปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปรับปรุงการคมนาคมในเมือง ภายใต้ Theme “Transforming Urban Transport for Liveable and Sustainable Cities” นอกจากนี้ ยังมีการลงนาม Memorandum of Co-operation (MOC) ระหว่าง LTA Academy และ Cities Development Initiative for Asia (CDIA) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการวางแผนการคมนาคมในเมือง ให้ทั้งสองฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกันในกิจกรรมการพัฒนาต่างๆต่อไป
1. ประสานซุปเปอร์มาร์เก็ต Isetan และบริษัทไทย สำหรับการจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าผักผลไม้ อาหาร และสินค้าของขวัญ/ของตกแต่งบ้าน ณ บริเวณพื้นที่ Promotion ของซุปเปอร์มาร์เก็ต (วันที่ 13-22 กรกฎาคม 2553)
2. ดำเนินการโครงการส่งเสริมการขายสินค้าผักผลไม้ อาหาร และสินค้าแฟชั่น ของขวัญ/ของตกแต่งบ้าน ณ บริเวณพื้นที่ Promotion ของซุปเปอร์มาร์เก็ต ระหว่างวันที่ 13-22 กรกฎาคม 2553
3. ประสานติดต่อนักธุรกิจสิงคโปร์เข้าร่วมงาน Saha Group Brand Launching Ceremony วันที่ 10 กรกฎาคม 2553 ที่ห้างฯ ALT ณ ศูนย์การค้า Heeren, Orchard Road
4. ประสานนัดหมายผู้นำเข้าสิงคโปร์จำนวน 23 ราย พบปรึกษาธุรกิจกับสมาชิกของ Thai Spa Association จำนวน 15 ราย ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุมของ Singapore Business Federation สิงคโปร์ และคณะไทยเข้าร่วมงาน Intimate Asia ระหว่างวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2553 ณ Marina Bay Sands
5. ประสานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนสิงหาคม 2553
6. ประสานเจ้าหน้าที่ Singapore Business Federation เพื่อจัดคณะสมาชิกฯ เยือนงาน Thailand International Logistics Fair 2010 (7-10 October 2010)
7. ประสานงานเพื่อการลงโฆษณาประชา สัมพันธ์งาน BIG & BIH, October 2010 ( 19-24 October 2010) ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ (The Straits Times สิงคโปร์)
8. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ได้แก่
- Bangkok Gems & Jewelry Fair 2010 (8-12 September 2010)
- Thailand International Logistics Fair 2010 (7-10 October 2010)
- Thailand International Education Exhibition 2010 (8-10 October 2010)
- Bangkok International Gift Fair and Bangkok International Houseware Fair (19-24 October 2010)
ที่มา: http://www.depthai.go.th