ตลาดค้าผลไม้ในฮ่องกง

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 5, 2010 13:32 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ฮ่องกงมีการนำเข้าผลไม้ (HS 057: fruit and nut(not including oil nuts) fresh or dried) ในปี 2552 มูลค่า 1,977 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2553 มูลค่า 960 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ฮ่องกงนำเข้าจากไทยปี 2552 มูลค่า 328 ล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2553(ม.ค.-พ.ค.) มูลค่า 142 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4

ฮ่องกงนำเข้าผลไม้โดยทางเรือและทางอากาศ และทางรถยนต์ โดยส่วนหนึ่ง ใช้บริโภคภายในประเทศ และอีกส่วนหนึ่งส่งต่อไปขายในจีนแผ่นดินใหญ่

ตลาดค้าส่งผลไม้ในฮ่องกง

1. ตลาด Western Wholesale Food Market ในฝั่งฮ่องกง เป็นตลาดค้าส่งสินค้าทางการเกษตรที่หน่วยงานรัฐบาล Agriculture, Fisheries and Conservation Department ฮ่องกง จัดให้กับเอกชนเช่า โดยแยกตามชนิดสินค้า

ในปี 2552 มูลค่าการค้าของตลาดค้าส่ง Western แบ่งเป็น ผลไม้ มูลค่า 944 ล้านเหรียญฮ่องกง (95,400 ตัน) ไข่ไก่ 237 ล้านเหรียญฮ่องกง( 22,400 ตัน) ปลา 215 ล้านเหรียญฮ่องกง(12,500 ตัน) และ ผักสด 357 ล้านเหรียญฮ่องกง (47,000 ตัน)

ตลาด Western Wholesale การค้าขายในระยะเวลาหนาแน่นมากที่สุด คือ
Trade                 Normal         Peak
Fruit              0400-1200    0500-0800
Egg                0900-1700    1000-1400
Fish               0400-0830    0500-0800
Poultry            0400-0830    0430-0800
Fish / Meat        0530-1800    0600-0900
Vegetables         0400-1400    0530-0900
2. ตลาดค้าส่ง Yau Ma Tei สร้างในปี ค.ศ. 1913 ถือว่าเป็นตลาดที่มีการขายส่งผลไม้สดที่เก่าแก่และ

เป็นที่รู้จักในฮ่องกง และมีความหนาแน่นของการขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือ รถยนต์ และโดยเครื่องบินมายังตลาด Yau Ma Tei ในช่วงเช้ามืดจนถึงเที่ยง และคึกคักมากในช่วงเวลา ตีสี่ถึง 8 โมงเช้า ตั้งแต่ถนน Reclamation Road และ Waterloo Road มีจำนวนร้านค้ากว่า 230-240 ร้าน

ทั้งนี้ ผู้นำเข้าส่วนใหญ่เป็นผู้ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลานาน การติดต่อซื้อขายส่วนใหญ่จะใช้โทรศัพท์ หรือโทรสาร แม้สภาพจากภายนอกของตลาดค้าส่งในแถบ Yau Ma Tei จะดูเล็กและทรุดโทรม แต่ผู้ค้าส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วยกับหน่วยงานรัฐบาลที่จะย้ายไปแหล่งใหม่ การส่งออกผลไม้ของไทยมาฮ่องกง

1 . ไทยส่งออกผลไม้สด แช่เย็นไปฮ่องกง

ไทยส่งออกผลไม้สด แช่เย็นมายังฮ่องกงในปี 2552 มูลค่า 100.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 59.98 ในปี 2553(ม.ค.-พ.ค.) ส่งออกมีมูลค่า 44.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลงร้อยละ 7.95 ฮ่องกงถือเป็น อันดับ 2 รองจากจีน โดยแยกเป็นประเภท ดังนี้

          1. ลำไย             มูลค่า   14,408,129   เหรียญสหรัฐ
          2. ทุเรียน            มูลค่า   11,210,948   เหรียญสหรัฐ
          3. มังคุด             มูลค่า   10,113,380   เหรียญสหรัฐ
          4. ลิ้นจี่              มูลค่า      858,178   เหรียญสหรัฐ
          5. มะม่วงสด/แห้ง      มูลค่า      341,349   เหรียญสหรัฐ
          6. กล้วยไข่           มูลค่า      294,148   เหรียญสหรัฐ
          7. เงาะ             มูลค่า      215,919   เหรียญสหรัฐ
ราคาปลีกและขายส่งผลไม้ในช่วงเดือนกรกฏาคม 2553 ณ เมืองฮ่องกง

เหรียญฮ่องกง

                         ตลาดสด                         ขายส่ง
        รายการสินค้า     North Point           Yau Ma Tei Wholesale Market
        ลำไย           $39.6/ ก.ก.      น้ำหนัก  8 ก.ก./$220      $27.5/ก.ก.
        เงาะ           $33/ ก.ก.        น้ำหนัก  9 ก.ก./$180      $20/ก.ก.
        มังคุด           $15/ก.ก.         น้ำหนัก  9 ก.ก./$125      $13.8/ก.ก.
        กล้วยไข่         $20.2/ก.ก.       น้ำหนัก 14 ก.ก./$170      $12/ก.ก.
        ลางสาด         $44/ก.ก.         น้ำหนัก  8 ก.ก./$270      $33/ก.ก.
        ทุเรียน          19/ ก.ก.         จำนวน 6-8 ลูก/กล่อง       $80-105/กล่อง
หมายเหตุ : 1. การชั่งน้ำหนักของผลไม้สดในตลาดฮ่องกงจะคิดราคาต่อปอนด์
          2. อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญฮ่องกง เท่ากับ 4.12 บาท

2.  แนวโน้มความต้องการผลไม้สดไทยในฮ่องกง
          การนำเข้าผลไม้สดจากไทย จะเป็นไปตามฤดูกาลของผลผลิตที่ออกในประเทศไทย โดยในเดือนเมษายน มีหลายชนิด ผลไม้จากไทย ได้แก่  ทุเรียน มังคุด เงาะ มะม่วงน้ำดอกไม้/เขียวเสวย  โดยเฉพาะทุเรียนหมอนทอง ชะนี กระดุม ซึ่งหมอนทองจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเนื้อนุ่ม หวาน รสชาติถูกปากชาวฮ่องกงและในเดือนพฤษภาคม — มิถุนายน จะมีผลไม้นำเข้าจากไทย ได้แก่  ทุเรียน  มังคุด เงาะ มะม่วงเขียวเสวย/น้ำดอกไม้ และในเดือนกรกฏาคม  ได้แก่ ลำไย  มังคุด เงาะ ทุเรียน(มีจำนวนไม่มากนัก)  สำหรับผลไม้ที่เป็นที่นิยมตลอดทั้งปี ได้แก่ กล้วยไข่ ส้มโอ มะพร้าวอ่อน สับปะรด ลองกอง ในช่วงมิถุนายน — กรกฏาคม ความต้องการผลไม้ไทยจะลดลง เนื่องจากช่วงนี้ มีผลไม้เป็นที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เชอรี่จากอเมริกา และลิ้นจี่จากจีน เข้ามามาก ทำให้แย่งชิงส่วนแบ่งตลาดของผลไม้ชนิดอื่น รวมทั้งผลไม้จากประเทศไทยด้วย

3. ลักษณะการค้าผลไม้สดในฮ่องกง
          -  รูปแบบการซื้อขาย แต่เดิมการซื้อขายผลไม้สดระหว่างฮ่องกงและไทย ส่วนใหญ่ใช้วิธีการแบบฝากขาย (Consignment) แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนวิธีการนำเข้าโดยการสั่งซื้อ และชำระเงินผ่านธนาคาร หรือเปิด L/C หรือเป็นระบบหุ้นส่วนกับเจ้าของสวน ส่วนกำไรจะแบ่งกันตามสัดส่วน ผู้นำเข้ารายใหญ่รายหนึ่งในฮ่องกง กล่าวว่า เขาดำเนินธุรกิจค้าผลไม้ไทยมาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยร่วมทุนกับเจ้าของฟาร์มผลไม้สดไทยในจังหวัดจันทบุรีโดยแบ่งผลกำไรตามสัดส่วน
          - ลักษณะการกระจายสินค้า
          1. นำเข้าทางเรือ และทางอากาศ  และกระจายไปยังแหล่งตลาดขายส่งผลไม้ต่างๆ
          - ของหน่วยงานรัฐบาล(Agriculture Fisheries and Conservation Department)  มี 2 แห่งด้วยกัน คือ  Cheung Sha Wan Wholesale Food Marke ฝั่งเกาลูน และ Western Wholesale Food Market ฝั่งฮ่องกง
          - ของภาคเอกชน ได้แก่ ตลาดขายส่ง Yau Ma Tei  Fruit Market ฝั่งเกาลูน
          2. ตลาดค้าส่งผลไม้ ก็จะกระจายไปตามร้านค้าปลีก/ห้างสรรพสินค้า ตามคำสั่งซื้อที่แจ้งไว้ล่วงหน้า

4. การบรรจุภัณฑ์ และการทำ Branding
          การนำเข้าผลไม้สดจากไทย มีการบรรจุภัณฑ์เป็นกล่อง/ตระกร้า  ระบุบริษัทนำเข้า/ส่งออก ภายใต้แบรนด์ของตนเอง   ชนิดผลไม้  น้ำหนัก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีทั้งชื่อบริษัท และยี่ห้อ ได้แก่ ยี่ห้อ OP , TIGER ,  TP, Snack, Dragon   รูปสัญญลักษณ์ เช่น สามเหลี่ยม มงกุฏ
การขายปลีกในซุปเปอร์มาเก็ตจะแกะใส่กล่องโฟม ใส่พาสติกคลุม เป็นลูกๆ และชั่งเป็นปอนด์  ไม่ได้เน้นความสวยของ Packaging แต่จะดูความสดที่ผิว/เนื้อผลไม้

5. พฤติกรรมผู้บริโภค
          - ตลาดผลไม้ในฮ่องกงส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากหลายประเทศ ชาวฮ่องกงจะเลือกรับประทานผลไม้สด และจะเป็นผลไม้ออกตามฤดูกาล
          - ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาสนใจดูแลตนเองด้านสุขภาพอนามัยมากขึ้น จึงนิยมผลไม้สดปราศจากสารปนเปื้อน หรือสารเคมีบนผิวผลไม้
          - ชาวฮ่องกงรู้จักและคุ้นเคยอาหารไทยและสินค้าไทย บางรายเลือกที่จะซื้อผลไม้สดของไทยโดยตรงกับร้านค้าเล็กๆ ของไทยย่านสนามบินเก่า(Kai Tak Airport) หรือตลาดสด Wanchai ฝั่งฮ่องกง ที่มีการสั่งซื้อและส่งทางสายการบินเกือบทุกวัน เพื่อที่จะได้ของสดและมีคุณภาพ แต่มูลค่าอาจไม่ปรากฏในสถิติของทางการ

6 . ปัญหา และอุปสรรค
          - จากการสอบถามจากผู้นำเข้ารายใหญ่ในฮ่องกง กล่าวว่า ต้นเดือนเมษายน 2553 ยังไม่พบปัญหาการร้องเรียนทุเรียนอ่อน ราคาเหมาะสม  อาจจะเป็นเพราะเป็นช่วงต้นๆ ฤดูผลิตผล ส่วนต้นปลายพฤษภาคม จะมีการสั่งซื้อผลไม้ไทยลดลงเนื่องจากผลไม้หน้าร้อนที่ฮ่องกงนำเข้า และได้รับความนิยมรับประทานมีหลายชนิด เช่น เชอรี่ และลิ้นจี่
          - ผู้นำเข้าฮ่องกงบางราย แจ้งว่า ทุเรียนเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของไทย ที่ฮ่องกงเป็นที่นิยมรับประทาน แต่หลายๆ ปีที่ผ่านมา ราคาสูงขึ้น แต่คุณภาพกลับเจอปัญหาทุเรียนอ่อนในช่วงปลายพฤษภาคม(โดยผู้นำเข้าแจ้งว่าอาจจะเป็นการเร่งขายในช่วงที่ตลาดต้องการ) ผลทำให้เป็นการทำลายชื่อเสียงของประเทศ
          - ผลกระทบจากค่าเงินบาท ทำให้ราคาที่ไม่คงที่ ทำให้ผู้นำเข้าลังเลในการสั่งซื้อ
          - ผลผลิตล้นตลาด ทำให้มีผลกระทบกับราคาขายปลีกและส่งในฮ่องกง ที่กำหนดราคาไว้
ลดลง  ซึ่งรัฐบาลควรมีการควบคุมคุณภาพและปริมาณก่อนการส่งออก
          - การแข่งขันด้านราคากับผลไม้จากประเทศคู่แข่งอื่นๆ เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และจีน ที่มีผลผลิตออกมาในช่วงเดียวกัน
          - การควบคุมระบบตลาดซื้อ-ขายผลไม้ของนักธุรกิจฮ่องกง ที่สามารถควบคุมได้ทั้งระบบตั้งแต่ Supply Side โดยการเข้าร่วมลงทุนดำเนินการในขั้นตอนผลิตจนกระทั่งถึง Demand Side  คือขายในตลาดต่างประเทศ ทำให้ผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้อย่างแท้จริง มีไม่มากเท่าที่ควร โดยได้เฉพาะค่าแรงงานเท่านั้น

7. แนวทางการส่งเสริม/การขยายตลาด/กลยุทธ์ทางการตลาด
          - หน่วยงานรัฐบาล ควรให้การสนับสนุนการส่งออก ดังนี้
          ด้านภายในประเทศ
          o  ควรมีการวิจัยและศึกษา และขยายพันธุ์ ให้กับเกษตรกรผลิตสินค้าที่ออกมามีคุณภาพ เพื่อให้ผลไม้สดจากไทยครอบครองตลาดฮ่องกงได้อย่างแข็งแกร่ง
          o  กำหนดมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ส่งออกทุกรายใช้เป็นมาตรฐานกำหนดขนาดสินค้าของตน เพื่อให้การกำหนดราคาและคุณภาพมาตรฐานเป็นไปในทางเดียวกัน
          o  ปรับปรุงการขนส่งที่รวดเร็ว เพื่อให้สินค้าถึงปลายทางได้เร็วที่สุด เช่นการจัดเที่ยวบินคาร์โก้ขนสินค้า จากแหล่งเพราะปลูกผลไม้ไทยไปยังต่างประเทศ ในช่วงฤดูที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก

          ด้านตลาดต่างประเทศ
          o  เข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่จัดในฮ่องกง(HOFEX , Food Expo และ ASIA FRUIT LOGISTICA 2010)
          o  การจัดงาน Food Fair /Thai Food Festival  ที่จัดโดยห้างสรรพสินค้าหรือซุปเปอร์มาเก็ตในฮ่องกง ได้แก่ ห้าง Jusco , City Super ,  Sogo, Wellcome  ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นระหว่างเดือนเมษายน — มิถุนายน
          o  การประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ผลไม้จากประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
          o  จัดทำ Road Mapการค้าผลไม้ไทยเพื่อให้ได้ประโยชน์ที่ยั่งยืน และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย


          สคร. ฮ่องกง

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ