สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการค้าของกัมพูชา ปี 2553 (ม.ค-มี.ค)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 5, 2010 14:33 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ

กัมพูชาคาดการณ์ว่า ในปี 2553 เศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3-5 ซึ่งในระยะสั้นยังต้องอาศัยปัจจัยทั้ง ทางการค้าและการลงทุนจากภายนอกประเทศ ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปและการ ท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่ต่อจากนี้ไปรัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรในชนบทให้สามารถเพิ่มผลผลิต โดย เฉพาะข้าวและยางพาราเพื่อให้สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น ด้วยการการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบชลประทาน ส่วนการท่องเที่ยวให้มุ่ง การท่องเที่ยวในภาพรวมรวม ไม่ได้มุ่งเน้นการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว แต่ให้มีการกระตุ้นการท่องเที่ยวชายทะเล ด้วย นอกจากนี้ ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและด้านพลังงาน และให้มีการผลิตมากกว่าที่จะมุ่งผลิต เฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป ของเล่น รองเท้า และส่วนประกอบอิเลคทรอนิคส์ โดยใช้กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ที่มีการ อำนวยความสะดวกด้านการให้บริการ ณ จุดเดียว แก่นักลงทุนจากต่างชาติ ซึ่งนโยบายเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจกัมพูชา เติบโตในอนาคต

อย่างไรก็ตาม กัมพูชายังมีความท้าทายหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น แรงงานไม่มีประสิทธิภาพ ความยากจน ความสลับซับซ้อนของกฎระเบียบ ค่าใช้จ่ายนอกรูปแบบ ต้นทุนไฟฟ้าสูง การไม่เป็นระบบสากลด้านการขนส่งและการค้า

2 การค้าระหว่างไทย-กัมพูชา

ในปี 2553 (ม.ค-มี.ค) ไทย-กัมพูชา มีมูลค่าการค้ารวม 527.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 37.90 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ซึ่งมีมูลค่ารวม 382.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แยกเป็นการส่งออกจากไทยไปกัมพูชา มูลค่า 504.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยนำเข้าจากกัมพูชา มูลค่า 23.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 36.13 และร้อยละ 91.80 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 481.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ตารางแสดงการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา
รายการ                          มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ                             อัตราการขยายตัว %
                  2550        2551        2552      2552      2553          2551     2552    2552/2553
                                                  (ม.ค-มี.ค)  (ม.ค-มี.ค)                       (ม.ค-มี.ค)
มูลค่าการค้ารวม    1,404.20    2,130.30    1,658.30    382.8      527.9       51.71    -22.16      37.90
การส่งออก        1,355.40    2,040.10    1,580.60    370.6      504.5       50.52    -22.52      36.13
การนำเข้า           48.80       90.20       77.70     12.2       23.4       84.84    -13.86      91.80
ดุลการค้า         1,306.60    1,949.90    1,502.90    358.4      481.1       49.23    -22.92      34.24
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร

2.1 การส่งออก
          สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญ ได้แก่
          -  น้ำมันสำเร็จรูป มูลค่าส่งออก 58.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 76.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2552 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 32.9  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          -  น้ำตาลทราย  มูลค่าส่งออก 45.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 63.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2552 ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 28.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          -  เครื่องดื่ม มูลค่าส่งออก 31.3  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 45.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552
ซึ่งมีมูลค่า 21.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ได้แก่  เครื่องดื่มประเภทนม UHT ปรุงแต่งพร้อมดื่ม นมถั่วเหลือง และเครื่องดื่มชูกำลัง
          -  ปูนซีเมนต์ มูลค่าส่งออก 25.6  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เพิ่มร้อยละ 24.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552
ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 20.5  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วน เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์  มูลค่าส่งออก  21.1  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ลดลงร้อยละ 16.93  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552  ซึ่งมีมูลค่าส่งออก 25.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เพราะต้องแข่งกับ
สินค้าจากเวียดนามและจีน
          -  เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ และส่วนประกอบ มูลค่าส่งออก  22.8  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ
132.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 9.8  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          -  ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่าส่งออก 19.6  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 28.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552
ซึ่งมีมูลค่า 15.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          -  เครื่องสำอาง  สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว มูลค่าส่งออก  17.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 40.48 เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า  12.6  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก
16.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 90.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 8.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ
ผ้าผืน มูลค่าการส่งออก 15.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ 60.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ซึ่งมีมูลค่า 9.9
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สินค้าส่งออกของไทยไปกัมพูชา
รายการ                                    มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ                            อัตราการขยายตัว %
                               2550       2551        2552      2552      2553       2551     2552    2552/2553
                                                             (ม.ค-มี.ค)  (ม.ค-มี.ค)                       (ม.ค-มี.ค)
น้ำมันสำเร็จรูป                   215.2      404.9       182.1      32.9       58.1      88.15   -55.03       76.60
น้ำตาลทราย                      61.0      100.0       174.9      28.1       45.9      63.93    74.90       63.35
เครื่องดื่ม                        74.1       93.1        79.0      21.5       31.3      25.64   -15.15       45.58
ปูนซีเมนต์                        86.2       90.7        83.8      20.5       25.6       5.22    -7.61       24.88
เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ
   และส่วนประกอบ                46.4       72.7        39.2       9.8       22.8      56.68   -46.08      132.65
เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์         42.8      123.1        68.5      25.4       21.1     187.61   -44.35      -16.93
ผลิตภัณฑ์ยาง                      42.1       56.6        59.7      15.2       19.6      34.44     5.48       28.95
เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว  37.0       44.6        53.2      12.6       17.7      20.54    19.28       40.48
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ        82.2      116.7        37.2       8.8       16.8      41.97   -68.12       90.91
ผ้าผืน                           37.2       47.3        51.7       9.9       15.9      27.15     9.30       60.60
อื่นๆ                           631.2      890.4       751.3     185.9      229.7      41.06   -15.62       23.56
     รวมทั้งสิ้น                1,355.4    2,040.1     1,580.6     370.6      504.5      50.52   -22.52       36.13
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร


          ไทยนำเข้าจากกัมพูชา มูลค่า 23.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มร้อยละ  91.80  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2552 ซึ่งมีมูลค่า 12.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ผัก/ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก/ผลไม้
สินแร่โลหะ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์  เหล็ก เ หล็กกล้าและผลิตภัณฑ์  เหล็ก  พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช  เยื่อกระดาษและเศษ
กระดาษ  ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์  เสื้อผ้าสำเร็จรูป  ผ้าผืน  สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์  เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค
และผ้าผืน


สินค้านำเข้าของไทยจากกัมพูชา
รายการ                                    มูลค่า : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ                            อัตราการขยายตัว %
                               2550       2551        2552      2552      2553       2551      2552     2552/2553
                                                             (ม.ค-มี.ค)  (ม.ค-มี.ค)                       (ม.ค-มี.ค.)
ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งจากผัก ผลไม้   1.0       3.6         17.2       6.1      6.1       260.00    377.78        -
สินแร่โลหะ เศษโลหะ และผลิตภัณฑ์      5.5      16.9          9.5       0.2      5.4       207.27    -43.79    2,600.00
เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์          9.6      15.2          6.6       0.5      5.0        58.33    -56.58      900.00
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช               15.1      39.3         30.0       3.0      1.7       160.26    -23.66      -43.33
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ           2.5       4.0          2.9       0.5      1.5        60.00    -27.50      200.00
ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์           0.6       0.5          2.9       0.4      0.5       -16.67    480.00       25.00
เสื้อผ้าสำเร็จรูป                    1.6       1.9          2.3       0.2      0.3        18.75     21.05       50.00
สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์              0.5       0.8          0.6       0.2      0.3        60.00    -25.00       50.00
เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค             1.6       1.1          1.0       0.2      0.3       -31.25     -9.09       50.00
ผ้าผืน                            0.2       0.6          0.5       0.1      0.2       200.00    -16.67      100.00
อื่นๆ                            10.6       6.3          4.2       0.8      2.1       -40.57    -33.33      162.50
รวมทั้งสิ้น                        48.8      90.2         77.7      12.2     23.4        84.84    -13.86       91.80
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากศุลกากร

การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา

          ในปี 2553 (ม.ค-มี.ค) การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา มีมูลค่ารวม 14,105.3  ล้านบาท  เพิ่มจากช่วงเดียวกัน
ของปี 2552 ที่มีมูลค่า 10,984.8  ล้านบาท  ร้อยละ 28.41  แยกเป็นไทยส่งออก 13,352.6  ล้านบาท และไทยนำเข้า
752.7 ล้านบาท ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า  12,599.8  ล้านบาท
          สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่  น้ำมันเชื้อเพลิง  น้ำตาล  เครื่องดื่ม  วัสดุก่อสร้าง ยางรถยนต์และรถจักรยาน
ยนต์ อาหารสัตว์ เครื่องยนต์เบนซิน/ดีเซล  อะไหล่รถจักรยานยนต์  ผ้าผืน และสินค้าอุปโภค-บริโภคทั่วไป ขณะที่ไทยนำเข้า
สินค้าผัก/ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก/ผลไม้  พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช  เหล็ก เ หล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เยื่อกระดาษและ
เศษกระดาษ ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์  เสื้อผ้าสำเร็จรูป  แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค  กาแฟ ชา และเครื่องเทศ

ตารางแสดงมูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา
      รายการ                                มูลค่า : ล้านบาท                                อัตราการขยายตัว %
                            2550      2551      2552     2552         2553         2551      2552   2552/2553
                                                     (ม.ค-มี.ค)    (ม.ค-มี.ค)                        (ม.ค-มี.ค)
มูลค่าการค้ารวม             34,930    50,308    45,374  10,984.80     14,105.30      44.03     -9.81    28.41
ส่งออก                    33,283    47,372    42,879  10,581.10     13,352.60      42.33     -9.48    26.19
นำเข้า                     1,646     2,936     2,495     403.70       752.70       78.37    -15.02    86.45
ดุลการค้า                  31,637    44,436    40,384  10,177.40     12,599.80      40.46     -9.12    23.80
ที่มา : กองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมการค้าต่างประเทศ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

3. ความเห็นของสำนักงานฯ
          ไตรมาสที่ 1 ปี 2553 การส่งออกของไทยไปกัมพูชามีแนวโน้มดีขึ้น สินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เครื่องดื่ม ปูนซีเมนต์
เครื่องสำอาง  สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว สินค้าเพื่อการเกษตร ผลิตภัณฑ์ยางจำพวกยางรถยนต์/รถจักรยานยนต์/รถจักรยาน
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ  ผ้าผืน  และสินค้าเพื่อการบริโภคประจำวัน ในภาพรวมสินค้าไทยยังเป็นที่นิยมของประชาชนชาว
กัมพูชา และสามารถครองส่วนแบ่งตลาดในกัมพูชาได้ประมาณร้อยละ 60 โดยมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ จีน และเวียดนาม  กระทรวง
การค้าเวียดนามคาดการณ์การค้าหว่างเวียดนาม-กัมพูชา ในปี 2553 จะอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และจะทะลุถึง 7
พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2558 โดยเวียดนามตั้งเป้าที่จะแย่งส่วนแบ่งตลาดสินค้าไทยให้ได้ในอนาคต และปัจจุบันธุรกิจ
เวียดนามจำนวน 27 บริษัทได้เปิดสาขาและตัวแทนจำหน่ายในกัมพูชา ซึ่งเพิ่มขึ้น 2 เท่าจากปี 2551 โดยเป็นธุรกิจเพื่อสุขภาพ
การเกษตร การขนส่ง  โทรคมนาคม และการผลิตพลังงาน
          สำนักงานฯเห็นว่า ไทยต้องใช้กลยุทธ์การกระตุ้นตลาด โดยจัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบต่างๆ ให้มากขึ้น ได้แก่
การจัดงานแสดงสินค้า Thailand Trade Exhibition, Thailand Outlet และ In-store Promotion ในทุกส่วน
ภูมิภาคของกัมพูชาเพื่อรักษาตลาดสินค้าไทยและขยายฐานผู้บริโภค


          สคต.พนมเปญ

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ