อินเดียกับระบบการเรียกเก็บภาษีสินค้าและบริการแบบใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 5, 2010 15:46 —กรมส่งเสริมการส่งออก

อินเดียประกาศเริ่มใช้ระบบการเรียกเก็บภาษีสินค้าและบริการ(Goods and Services Tax: GST) แบบใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 หลังจากคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐต่างๆส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันให้มีการใช้ระบบ GST ตั้งแต่วันฯดังกล่าว

ระบบ GST จะกลายเป็นโครงสร้างภาษีระบบเดียวของอินเดีย ที่ใช้แทนระบบการเรียกเก็บภาษีต่างๆที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีบริการ (Service Tax) ภาษีสรรพสามิต (Excise duties) และภาษีการขายฯ(Central sales tax) เป็นต้น โดยผู้ประกอบการทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใหญ่ หรือผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อย จะต้องลงทะเบียนเข้าใช้ระบบ GST

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินเดียได้แถลงว่าจะให้มีการใช้ระบบ GST อย่างเต็มรูปแบบภายในระยะเวลา 3 ปี โดยในปีแรกอาจต้องใช้ GST 2 ระบบไปก่อน ก็คือภาษีส่วนกลางสำหรับสินค้าจำเป็น จะเรียกเก็บที่อัตราร้อยละ 6 และสินค้าทั่วไปจะเรียกเก็บที่อัตราร้อยละ 10 ทั้งนี้แต่ละรัฐฯก็คาดว่าจะใช้อัตราเดียวกันกับภาษีส่วนกลาง ซึ่งจะทำให้ภาษีฯรวมเมื่อถูกเรียกเก็บจะอยู่ระหว่างร้อยละ 12 — 20 สำหรับในปีที่ 2 จะลดอัตราภาษีลงมาอยู่ในระดับเดียวกันคืออยู่ที่ร้อยละ 9 และในปีที่ 3 ภาษีส่วนกลางและภาษีส่วนของรัฐเมื่อร่วมกันแล้วจะไม่เกินอัตราร้อยละ 16 เท่านั้น

ระบบ GST มีผลในทางบวกต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนชาวอินเดีย กล่าวคือปัจจุบันการซื้อสินค้าและบริการบางประเภทในแต่ละครั้งจะต้องชำระภาษีสูงถึงร้อยละ 30 ของราคาสินค้าและบริการนั้นๆ แต่เมื่อนำระบบภาษีต่างๆมารวมกันเป็น GST ระบบเดียว การเรียกเก็บภาษีสินค้าและบริการรวมแล้วจะไม่เกินร้อยละ 16 (ภาษีรัฐบาลกลาง 8% ภาษีรัฐบาลท้องถิ่น 8%) ของราคาสินค้าและบริการนั้นๆ เมื่อภาษีฯ ลดประชาชนได้ซื้อสินค้าถูกลง จึงนำเงินออกมาใช้จ่าย ก็จะทำให้มีกระแสเงินไหลเวียนในประเทศมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น

สำหรับผลพลอยได้ที่ต่างชาติจะได้รับก็คือ เมื่อภาษีฯลดลง ชาวอินเดียมีกำลังซื้อ ผู้ประกอบการก็ย่อมขายสินค้าฯได้มากขึ้นและมีการสั่งสินค้าเข้ามาขายในอินเดียเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย...

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อินเดีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ