สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าประเทศอิตาลีระหว่างวันที่ 16-30 มิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 6, 2010 16:02 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าปี ณ เดือนเมษายน

1. ภาพรวมเศรษฐกิจอิตาลี เมื่อต้นปี 2010 รัฐบาลอิตาลีได้คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจอิตาลีจะกลับมาฟื้นตัวจากวิฤกตเศรษฐกิจโลกอย่างช้า ๆ อีกครั้ง ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ - การกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลก - ความต้องการสินค้าของตลาดภายในประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าจานวนคนว่างงาน ยังคงเพิ่มขึ้น โดยระหว่างเดือนเมษายน 2009 กับเดือนเมษายน 2010 พบว่าอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก 7.4% เป็น 8.9% - การกลับมาฟื้นตัวด้านการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ - สินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง - ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ในช่วงไตรมาสแรก เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เปรียบเทียบจาก ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2009

แต่อย่างไรก็ตาม วิฤกตเศรษฐกิจกรีซที่เกิดขึ้นในขณะนี้อาจส่งผลให้การคาดการณ์ดังกล่าวเกิดการ เปลี่ยนแปลง ซึ่งอิตาลีถือเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกจับตามองว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เหมือนกรีซ เนื่องจากมีสถานภาพทางการเงินที่เปราะบางและยังไม่ฟื้นตัวจากวิฤกตเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่ โดยทางรัฐบาลยุโรปบางประเทศได้มีการเตรียมแผนรับมือกับวิฤกตเศรษฐกิจกรีซแล้วรวมทั้งรัฐบาลอิตาลี

2.ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

ไตรมาสแรก ปี 2553 GDP มีการเปลี่ยนแปลงเป็นบวกเปรียบเทียบจากช่วงไตรมาสที่4 ปี 2552 (-1%) สืบเนื่องจากสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศกลับมาฟื้นตัว ความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น การส่งออกและนาเข้ามีตัวเลขดีขึ้น รวมทั้งการนาสินค้าคงคลังที่เหลือออกมาใช้

นอกจากนี้ Confindustria ยังคาดการณ์ว่า GDP ของปี 2553 อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากกว่า 1%

3. ผลผลิตอุตสาหกรรม
                    เมษายน 2552           มีนาคม 2553
เมษายน 2553 (%)         7.8                   1.0
ที่มา: Eurostat

ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 โดยมีอัตราเท่ากับประเทศสมาชิก EU 27

4. ผลผลิตสินค้าก่อสร้าง
                    ไตรมาสที่ 4 2552           ไตรมาสแรก 2552
ไตรมาสแรก 2553 (%)        -1.8                    -6.6
ที่มา: Eurostat

พบว่าผลผลิตสินค้าก่อสร้างของไตรมาสแรก 2553 มีมูลค่าติดลบเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 2552 (-1.2) อาจเนื่องมาจากอุตสาหกรรมการก่อสร้างเกิดการชะลอตัว กอปรกับรอดูสถานการณ์ของเศรษฐกิจในประเทศ

5. ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรม
                     กุมภาพันธ์ 2553           มีนาคม 2552
มีนาคม 2553 (%)           0.9                   12.5
ที่มา: Eurostat
 -------------------------------------------------------------------

พบว่า ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมอิตาลีมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อาจส่งผลมาจากที่ปริมาณการสั่งซื้อในประเทศสมาชิกEuro Area และประเทศสมาชิก EU 27มีอัตราเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ไม่คงทน และคงทน

6. การส่งออกและนำเข้า

จากวิกฤตเศรษฐกรีซที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบให้ค่าเงินยูโรมีมูลค่าลดลงเทียบกับดอลล่าร์และเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของสหภาพยุโรปลดความน่าเชื่อถือ จากมูลค่าเงินที่ลดลงส่งผลให้อิตาลีได้เปรียบในด้านการส่งออกแต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบที่นาเข้ามีราคาแพงขึ้น

(%)                                        พฤษภาคม 2552           เมษายน 2553
การส่งออกไปยังประเทศภายนอกสหภาพยุโรป
พฤษภาคม 2553                                    15.8                    1.5
การนาเข้าจากประเทศภายนอกสหภาพยุโรป
พฤษภาคม 2553                                    35.5                    3.2
ขาดดุลการค้า (ล้านยูโร)                            1,416
ที่มา : สานักงานสถิติแห่งชาติ (Istat)
เดือนพฤษภาคม 2553 อิตาลีได้ส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นไปยังตลาดทั่วโลก ดังนี้
  • ตุรกี (+46.4%)
  • สวิตเซอร์แลนด์ (+26.2%)
  • อินเดีย (+20.1%)
  • ญี่ปุ่น (+18.9%)
  • สหรัฐอเมริกา (+17.9%)
  • จีน (+16.6%)
อิตาลีได้นาเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นจากแหล่งตลาดทั่วโลก ดังนี้
  • กลุ่มประเทศโอเปค (+63.1%)
  • กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (+48.6%)
  • จีน (+40.6%)
  • อินเดีย (+36.0%)
การส่งออกสินค้าของอิตาลีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่
  • พลังงาน (+58.8%)
  • สินค้าเพื่อการบริโภค-อุปโภค (+20.4%)
  • สินค้ากึ่งสาเร็จรูป (+18.8%)
การนาเข้าสินค้าของอิตาลีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่
  • สินค้ากึ่งสาเร็จรูป (+71.4%)
6.1 การส่งออกมาไทย

การที่ค่าเงินยูโรมีมูลค่าที่ลดลงส่งผลโดยตรงให้สินค้าจากไทยมีราคาแพงขึ้น ในทางตรงกันข้ามสินค้าจากยุโรปมีราคาต่าลง ซึ่งส่งผลให้ไทยตกอยู่ในภาวะลาบากในการส่งออกสินค้ามายังอิตาลีและประเทศในสหภาพยุโรป

ในระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 57 ของอิตาลี อิตาลีส่งออกมาไทยมีมูลค่า 209 ล้านยูโร (33.1%) เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าที่อิตาลีส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่
  • เครื่องจักร มูลค่า 82 ล้านยูโร +55.5%
  • เครื่องจักร/อุปกรณ์ไฟฟ้า มูลค่า 14 ล้านยูโร +35.9%
  • อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร การแพทย์หรือศัลยกรรม มูลค่า 11 ล้านยูโร +50.8%
สินค้าที่อิตาลีส่งออกลดลง ได้แก่
  • ของทาด้วยเหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 9 ล้านยูโร -16.0%
  • ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม มูลค่า 4 ล้านยูโร -4.6%
  • เหล็กและเหล็กกล้า มูลค่า 5 ล้านยูโร -71.6%
6.2 การนำเข้าจากไทย

ในระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 ไทยเป็นแหล่งนาเข้าอันดับที่ 45 ของอิตาลี ซึ่งอิตาลีนาเข้าจากไทยมีมูลค่า 307 ล้านยูโร (3.6%) เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • เครื่องจักร มูลค่า 55 ล้านยูโร +42.8%
  • ยาง มูลค่า 34 ล้านยูโร +35.9%
  • เครื่องจักร/อุปกรณ์ไฟฟ้า มูลค่า 25 ล้านยูโร +18.2%

สินค้าทิ่อิตาลีนำเข้าลดลง ได้แก่

  • ปลาและอาหารทะเล มูลค่า 20 ล้านยูโร -14.5%
  • ยานบก มูลค่า 19 ล้านยูโร -6.9%
  • ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา มูลค่า 19 ล้านยูโร -45.6%

ที่มา: World Trade Atlas

8. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)
                                        มีนาคม ปี2553           เมษายน ปี 2552
เมษายน ปี2553 (%)                            0.9                      1.6
ที่มา: Eurostat
9. ตลาดแรงงาน

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอย่างช้า ๆ แต่ตลาดแรงงานในอิตาลียังคงต้องเผชิญปัญหาของอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นทุกเดือน

                              ไตรมาสแรก 52           มีนาคม 53           เมษายน 53
อัตราการจ้างงานไตรมาสแรก 53          -0.7                  -                  -
อัตราการว่างงาน (%)                                       8.8                 8.9
อัตราการว่างงานของวัยรุ่น (%)                               28.1                29.5
ที่มา : Eurostat

ในเดือนเมษายน 2553 พบว่าอัตราการว่างงานดังกล่าวเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 9 ปี(จากปี 2544) โดยมีจานวนผู้ว่างงานที่ต้องการงานกว่า 2,220,000 ราย และมีจานวนผู้มีงานทากว่า 22,831,000 ราย โดยผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่คือวัยรุ่น (ระหว่าง 15-24 ปี) 29.5%(1 ใน 3 ของอัตราการจ้างงาน) เนื่องจากมีสัญญาการทางานปีต่อปีหรือนายจ้างไม่ยอมต่อสัญญาให้

แต่อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งชาติอิตาลีคาดการณ์ว่าตลาดแรงงานอิตาลีจะดีขึ้น ถ้าผลผลิตอุตสหกรรมมีอัตราการแปลงเปลี่ยนที่ดีขึ้น

10. ภาวะการค้าอิตาลี

10.1 ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 จึนจะประกาศยกเลิกการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออกจีนในเรื่อง ของภาษี เนื่องจากการที่รัฐบาลจะปล่อยให้ค่าเงินหยวนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบมาก คืออุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งผู้จัดการของอุตสาหกรรมเหล็กได้เปิดเผยว่า การส่งออกของบริษัทในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบถึงแม้ว่าราคาของสินค้าจะถูกกว่าอินเดียและรัสเซียก็ตาม

10.2 Prometeia (Financial and Economic research)ได้เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมการผลิตของอิตาลีต้องเผชิญกับราคาของวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นสาหรับแม้กระทั่งในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากการอ่อนค่าลงของเงินยูโร โดยเดือนเมษายน พบว่าราคาวัตถุดิบที่มีอัตราเพิ่มขึ้นได้แก่ วัตถุดิบไม้และกระดาษ (+6%) วัตถุดิบอาหาร (+4%) วัตถุดิบสาหรับการบรรจุภัณฑ์อาหาร (+7% ในส่วนของพลาสติก) เป็นต้น นอกจากนี้อุตสากรรมที่ต้องเผชิญกับราคาของวัตถุดิลเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมเครื่องกลราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น (+1%) เนื่องจากการลดลงของราคาของทองแดงและอลูมิเนียม (-5%) และอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยราคาวัตถุดิบของหนังและฝ้ายมีอัตราเพิ่มขึ้นแต่ราคาของขนและเส้นใยสังเคราะห์มีราคาลดลง

10.3 จากการที่จีนได้ปล่อยให้ค่าเงินหยวนไม่ผันตามเงินดอลล่าร์ โดยมูลค่าของเงินหยวนแข็งขึ้นเป็น 6.7980 ต่อ 1 ดอลล่าร์ ซึ่งการปล่อยให้ค่าเงินหยวนมีการยึดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น อาจมีส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีน ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งออกและตลาดการเงิน ซึ่งศักยภาพในการแข่งขันของจีนอาจลดลง กอปรกับจีนต้องเผชิญกับคู่แข่งทางด้านการค้าเพิ่มมากขึ้น เพราะนักลงทุนจากทั่วโลกอาจหันไปนาเข้าหรือตั้งโรงงานผลิตในประเทศอื่น ๆ ที่มีค่าใช้จ่ายและแรงงานต่ากว่าจีน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจส่งผลดีต่ออิตาลีในการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีและเครื่องจักรต่าง ๆ ไปยังจีนเพิ่มมากขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ