กฏหมายส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศฉบับใหม่ของสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 9, 2010 13:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สหรัฐฯ ออกกฎหมาย 2 ฉบับ คือ (1)ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ของสหรัฐฯ ได้ลงนามในกฏหมายปฏิรูประบบกำกับดูแลด้านตลาดการเงินในประเทศของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2553 และ (2) วุฒิสภาสหรัฐฯ เห็นชอบ การต่ออายุกฏหมายปิดประตูการค้า (Economic Sanction) ต่อ

กฏหมายปฏิรูประบบกำกับดูแลตลาดการเงินสหรัฐฯ

ประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ได้ลงนามในกฎหมายปฏิรูปภาคการเงินของสหรัฐฯ ซึ่ง นับได้ว่า เป็นการปรับปรุงการเงินครั้งยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ และ กล่าวว่า กฏหมายใหม่นี้จะช่วยปกป้องผลประโยชน์ของคนอเมริกัน ไม่ต้องมารับผลความผิดพลาดของกลุ่มวอลล์สตรีทในอนาคต และกฎหมายนี้จะช่วยควบคุมดูแลการทำธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง หรือสร้างผลกระทบเสียหายต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นการป้องกันการเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในอนาคต

ในบทบัญญัติ Miscellaneous Provisions ของกฏหมายดังกล่าว ได้เพิ่มเติมระเบียบ ควบคุมดูแล ในเรื่อง "Conflict Minerals from the Republic of Congo" ซึ่งบทบัญญัตินี้จะมีผลต่อการค้าระหว่างประเทศ ในด้าน Sourcing & Supply Chain ของอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์สหรัฐฯ ในกลุ่มสิสค้า Cellular Phone, Laptops, Computer, Video Games, Medical Equipment, Glass & Lamp, Machine Parts และ High Speed Tools

Conflict Minerals เป็นเหตุการณ์มีมานานมาก ในพื้นที่ในบริเวณตะวันออกของ ประเทศคองโก (Eastern Congo) ซึ่งเป็นแหล่งแร่ธาตุสำคัญจำนวนมหาศาล คือ Gold, Columbitetantalite, Cassiterite และ Wolframite ซึ่งนำมาเป็นวัตถุดิบส่วนหนึ่งในการผลิตสินค้าอิเลคทรอนิกส์ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

กฎหมายมีจุดประสงค์ให้ผู้ผลิตอิเลคทรอนิกส์ (มหาชน) สหรัฐฯ เลิกซื้อแร่จากกลุ่ม กองโจรต่อต้านรัฐบาลคองโก และ เป็นผู้ที่เข่นฆ่าและข่มขืนประชาชน โดยกำหนดให้บริษัทมหาชนสหรัฐฯ ที่ผลิตสินค้าอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ จะต้อง รายงาน Transaction การได้มาของแร่ที่นำมาใช้ในการผลิต รับรองว่าไม่มี "Conflict of Minerals" ต่อ Securities and Exchange Commission ของสหรัฐฯ และแจ้งใน Website ของบริษัทฯ และ ในรายงานประจำปี จึงจะติดฉลากระบุว่า "DRC Conflict Free" ได้ และต้องให้ Third Party เข้ามาตรวจสอบด้วย

กฏหมายปิดประตูการค้ากับประเทศพม่า

วุฒิสภาสหรัฐฯ (US Senate) มีมติเห็นชอบการต่ออายุกฎหมายปิดประตูการค้า ประเทศพม่า-สหรัฐอเมริกา "Burmese Freedom and Democracy Act of 2003" ออกไปอีก 1 ปี (28 กรกฏาคม 2553 - 27 กรกฏาคม 2554) โดยสาระของกฏหมายคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ

1. ห้ามนำเข้าสินค้าทุกชนิดจากประเทศพม่าทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นสินค้าเพื่อการค้าหรือบริโภคส่วนบุคคล ของขวัญ และ ข้อมูลสารสนเทศ หรือเป็นสินค้าที่ไม่มีจุดประสงค์เพื่อการค้าหรือการบริโภค มาพักในสหรัฐฯ เพื่อจัดส่งไปยังประเทศที่สาม

2. ยกเว้นให้ในกรณีที่เป็นการนำเข้าสินค้าของคณะทูต และองค์กรระหว่าง ประเทศที่มีใบอนุญาตในการนำเข้าจากสหรัฐฯ

ความเห็น/ข้อพิจารณา

1. ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าอิเลคทรอนิกส์ที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ สินค้าCellular Phone, Laptops, Computer, Video Games, Medical Equipment, Glass & Lamp, Machine Parts ผู้ผลิต/ส่งออกไทยจึงต้องเพิ่มความเข้มงวดในการหา/จัดซื้อวัตถุดิบแร่ Gold, Columbite-tantalite, Cassiterite และ Wolframite ที่นำมาใช้ในการผลิต โดยต้องหลีกเลี่ยง "Conflict of Minerals"

2. ประเทศไทยและพม่ามีความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ผู้ผลิต/ส่งออกไทยจะต้องระมัดระวังในเรื่องการจัดซื้อ/จัดหาวัตถุดิบมาจากประเทศพม่ามาผลิตสินค้า เพื่อส่งสินค้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯ ห้ามนำเข้าสินค้าทุกชนิดที่ผลิตในประเทศพม่าหรือใช้วัตถุดิบจากประเทศพม่า

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ