สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-สเปน ครึ่งปีแรก 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 9, 2010 14:27 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตารางแสดงมูลค่าการค้าไทย-สเปน ครึ่งปีแรก 2553

                      มิ.ย. 2553                          ม.ค.-มิ.ย. 2553
           มูลค่า (Mil.US$)      เพิ่ม/ลด (%)     มูลค่า (Mil.US$)      เพิ่ม/ลด (%)
                                จากเดือนก่อน                      ช่วงเดียวกันปีก่อน
 ส่งออก         79.19             -4.87           416.79           +51.18
 นำเข้า         36.93            -14.07           195.17           +32.64
 การค้ารวม     116.12             -8.00           611.96           +44.73
 ดุลการค้า      +42.26             +4.97          +221.62           +72.40
 ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

          ในเดือนมิถุนายน 2553 ไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 151.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายส่งออกไปสเปน 107.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.94 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาโดยมีหลายหมวดสินค้าหลักที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (+176.98%) ยางพารา (+67.56%) กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง (+38.91%) เครื่องรับวิทยุ/โทรทัศน์และส่วนประกอบ (+40.05%) และรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+29.10%) โดยมีสินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบที่มีมูลค่าการส่งออกรวมสูงที่สุดเริ่มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัว (+4.81%) ขณะท่ไทยนำเข้าจากสเปนรวม 43.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.56 ทั้งนี้ ไทยได้ดุลการค้าในเดือนมิถุนายน 2553เพิ่มขึ้นอีก 51.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
          ในช่วงครึ่งปีแรก 2553 ไทย-สเปน มียอดการค้ารวม 763.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.59 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยไทยมียอดส่งออกไปสเปนรวม 524.43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.77 ขณะที่นำเข้าจากสเปน 238.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.91ทำให้ไทยได้ดุลการค้าจากสเปนสะสม จำนวน 285.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิมขึAนร้อยละ 80.76


                      ตารางแสดงโครงสร้างการส่งออกของไทยไปยังสเปน ช่วงครึ่งปีแรก 2553
          หมวดสินค้า                   มูลค่า (Mil.US$)      เพิ่ม/ลด (%)จากปีก่อน          สัดส่วน (%)
สินค้าเกษตรกรรม(กสิกรรม/ปศุสัตว์/ประมง)         105.9               +106.55                20.19
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร                      30.5                 -7.46                 5.81
สินค้าอุตสาหกรรม                             388.1                +56.47                74.01
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                             0                    n/a                    0
            รวม                           524.4                +57.77                100.0
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

          จากโครงสร้างการส่งออกของไทยไปยังสเปน หมวดสินค้าอุตสาหกรรมยังครองส่วนแบ่งสินค้าส่งออกในอัตราคงที่ กล่าวคือประมาณสามในสี่ อันประกอบด้วยสินค้าหลักๆ ได้แก่เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป รถยนต์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยางรองลงมาได้แก่หมวดสินค้าเกษตรกรรมมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20.19 ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 106 โดยมีสินค้ายางพาราและกุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็งเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ขณะที่การส่งออกข้าว กลับมีอัตราการขยายตัวลดลง และในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรมีสัดส่วนการส่งออกเหลือเพียงร้อยละ 5.81 ปรับตัวลดลงร้อยละอีก 7.46 โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเลกระป๋องทีขยายตัวลดลงร้อยละ 18.49


                 ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยมายังสเปน 10 อันดับแรก ช่วงครึ่งปีแรก 2553
ที่      สินค้า                           มูลค่า (Mil.USD)      สัดส่วน (%)        เปลี่ยนแปลง (%)
1  เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                89.2             17.01             +120.16
2  เสื้อผ้าสำเร็จรูป                             69.2             13.19              +23.63
3  ยางพารา                                  63.3             12.08             +377.81
4  รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                  34.4              6.56             +461.67
5  กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                          27.9              5.31             +239.98
6  ผลิตภัณฑ์ยาง                                20.7              3.96              +60.12
7  เครื่องรับวิทยุ/โทรทัศน์และส่วนประกอบ            18.2              3.47             +117.50
8  ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                       17.7              3.38              +34.92
9  เลนส์                                     17.2              3.29              +25.87
10 เคมีภัณฑ์                                   13.7              2.61              -20.27
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


จะเห็นได้ว่าสินค้า 5 อันดับแรกมีสัดส่วนการส่งออกเกินกว่าร้อยละ 50 ของการ
          ส่งออกทัAงหมด จึงมีส่วนสำคัญมากต่อการขยายมูลค่าการส่งออกของไทยในภาพรวม ซึ่งบางตัวเป็นสินค้าที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจพอสมควร ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถยนต์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจะระงับการซื้อในลำดับต้นๆในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย
          ในช่วงเดียวกันไทยนำเข้าสินค้าจากสเปน เป็นมูลค่า 238.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 36.91 โดยมีรายละเอียดการนำเข้าสินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด ดังนี


                ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสเปน 5 อันดับแรก ช่วงครึ่งปีแรก 2553
           สินค้า           มูลค่า (Mil. USD)           สัดส่วน (%)           เปลี่ยนแปลง (%)
เคมีภัณฑ์                         42.6                   17.87                +71.34
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ         29.6                   12.40                +47.66
ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม       23.4                    9.83                +10.05
สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป      15.8                    6.63               +466.77
เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์         12.3                    5.15               +111.12
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร


ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสเปน
          ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกจะดำเนินมาอย่างต่อเนื่องนับจากช่วงปลายปี 2551 และตลอดปี 2552 ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทยไปยังสเปนมีมูลค่าลดลงถึงร้อยละ 40 จนมาถึงช่วงต้นปี 2553 ที่ภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นแล้ว แต่กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปกลับถูกภาวะวิกฤตหนี้ของกรีซซ้ำเติมจนมูลค่าเงินยูโรตกลงกว่าร้อยละ 20 ทำให้รัฐบาลของทุกประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรเช่นเดียวกันต้องรีบแก้ปัญหาโดยการออกมาตรการรัดเข็มขัดอย่าง
ฉับพลันเพื่อลดตัวเลขขาดดุลการคลังลง และเป็นการป้องกันมิให้ปัญหาลุกลามบานปลายจนอาจทำให้เศรษฐกิจโลกซบเซาลงอีกครั้ง ทั้งนี้ มาตรการรัดเข็มขัดดังกล่าวของรัฐบาล ย่อมส่งผลกระทบด้านการค้า การลงทุน และการใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงสภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยังมีความอ่อนไหวและเปราะบาง
          อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องคอยจับตา ได้แก่ 1) การระงับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น การให้เงินอุดหนุนแก่ผู้บริโภคที่ซื้อรถยนต์ใหม่ และการก่อสร้างต่างๆของภาครัฐ เป็นต้น 2) การใช้มาตรการรัดเข็มขัดอย่างเฉียบพลัน เช่น การตัดเงินเดือนของพนักงานของรัฐ และการระงับหรือปรับลดเงินสวัสดิการต่างๆ และ 3) การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

แนวโน้มการส่งออกของไทย
          ในช่วงครึ่งปีแรก 2553 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุมเร้าอย่างต่อเนื่อง แต่กลับมิได้ส่งผลกระทบกับการส่งออกของไทยอย่างที่คาด โดยสินค้าส่งออกของไทยยังคงสามารถขยายตัวได้อย่างมั่นคงตลอดช่วงครึ่งปีแรก 2553 จนถึงระดับร้อยละ 57.77 โดยมีสินค้าหลักของไทย ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยางพารา รถยนต์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ และกุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง ต่างมีอัตราการขยายตัวที่น่าพอใจทั้งสิ้น รวมไปถึงหมวดสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยด้วย อย่างเช่น อัญมณีและเครื่องประดับ
          แต่จากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจที่กล่าวข้างต้น คาดว่าจะเริ่มมีผลกระทบกับการขยายตัวของสินค้าไทยในตลาดในช่วงครึ่งหลังของปีบ้าง กอปรกับสินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และรถยนต์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ จะชะลอตัวลงเนื่องจากผ่านช่วงฤดูการขายไปแล้ว ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ตัดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีส่วนทำให้ผู้บริโภครีบตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีลักษณะคงทนและมีราคาสูงก่อนที่การขึ้นภาษีจะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 นอกจากนั้น ยังอาจมีผลกระทบไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้เช่น ยางพารา และผลิตภัณฑ์ยางเป็นต้น ทั้งนี้ สินค้าที่คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในช่วงครึ่งปีหลัง คือเสื้อผ้าสำเร็จรูป
          ในหมวดสินค้าอาหาร สินค้าส่งออกไทยทีมีมูลค่าสูงสุดคือ กุ้งสดแช่เย็น/แช่แข็ง ที่ได้รับอานิสงส์จากสินค้าของประเทศคู่แข่งมีโรคระบาดและมีผลผลิตลดต่ำลง ทำให้กุ้งของไทยสามารถขยายตลาดได้ในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ ผลผลิตกุ้งของไทยที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการในตลาดโลกอาจเป็นอุปสรรคของการส่งออกได้
          โดยสรุป ในปี 2553 คาดว่าสินค้าส่งออกของไทยไปยังสเปนจะมีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมา และจะได้ดุลการค้ากว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ



          ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ