สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศสหราชอาณาจักร เดือนกรกฎาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 16, 2010 16:06 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวมสภาวะเศรษฐกิจ
  • ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP growth) ของสหราชอาณาจักรในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 มีอัตราการขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.1 เทียบกับร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการขยายตัวของภาคบริการทางธุรกิจและภาคการเงินมีส่วนสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นสาคัญในไตรมาสนี้
  • สำหรับอัตราการว่างงานในรอบสามเดือนสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2553 ลดลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้าเป็นร้อยละ 7.8 และจานวนผู้ว่างงานในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 34,000 คน ทาให้มีจานวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 2.47 ล้านคน
  • อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.2 ในเดือนกรกฎาคม 2553 เกินเป้าที่ร้อยละ 2 ที่ Bank of England ตั้งไว้
  • ภาครัฐขาดดุลงบประมาณ (current budget) 12.6 พันล้านปอนด์ ณ เดือนมิถุนายน 2010 หนี้สาธารณะสุทธิ (public sector net debt) ต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 63.9 หรือ 926.9 พันล้านปอนด์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553
การดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
  • ในการเสนองบประมาณฉุกเฉินต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคอนุรักษ์นิยมได้มีการปรับปรุงประมาณการรายรับและรายจ่ายในปีงบประมาณปัจจุบัน (2010/2011) จากที่พรรคแรงงานเสนอไว้เดิมในเดือนมีนาคมเพื่อให้สอดคล้องกับการดาเนินมาตรการเร่งปรับลดการขาดดุลงบประมาณให้เร็วขึ้น โดยรัฐบาลประมาณว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นอีก 7 พันล้านปอนด์ เป็น 548 พันล้านปอนด์ ขณะที่งบประมาณรายจ่ายจะลดลงประมาณ 8 พันล้านปอนด์จากที่กาหนดไว้เดิม 704 พันล้านปอนด์เหลือ 697 พันล้านปอนด์ และจะทาให้การขาดดุลงบประมาณลดลงจากเดิม 163 พันล้านปอนด์ เหลือ 149 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 10.1 ของ GDP และจะมียอดหนี้สาธารณะรวม 932 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 61.9 ของ GDP
  • สำหรับมาตรการที่เสนอในงบประมาณฉุกเฉินนั้น เน้นเร่งการปรับลดการขาดดุลงบประมาณลงให้เร็วขึ้นด้วยการกาหนดให้ทุกกระทรวงต้องลดรายจ่ายลงรวมร้อยละ 25 ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2014/2015 พร้อมกับปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 17.5 เป็นร้อยละ 20 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 พร้อมทั้งประกาศจะจัดเก็บภาษีค่าธรรมเนียมพิเศษจากฐานสินทรัพย์ของธนาคาร (bank levy) การทยอยปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงร้อยละ 1 ต่อปีจนเหลืออัตราร้อยละ 24 ภายในปีงบประมาณ 2014/2015 และเพิ่มอัตราภาษีกาไรจากการขายทรัพย์สิน (capital gains tax) จากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 28 สาหรับผู้ที่มีเงินได้ในระดับสูง โดยรัฐบาลคาดว่าจะช่วยลดการขาดดุลงบประมาณในปีนี้ลงจากร้อยละ 11.2 ของ GDP เหลือร้อยละ 10.1 ของ GDP โดยตั้งเป้าลดลงเหลือร้อยละ 2.1 ของ GDP ภายในปีงบประมาณ 2014/2015
สถานการณ์นำเข้าจากทั่วโลก
  • ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 สหราชอาณาจักรนาเข้าสินค้าจากทั่วโลกมูลค่ารวม 227,339.61 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.44 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนาเข้าจากเยอรมันในอันดับ 1 ตามด้วยสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ตามลาดับ
สถานการณ์การนำเข้าสินค้าไทย
  • การนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 30 ด้วยมูลค่า 1,371.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.79 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • การนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการสินค้า โดย สินค้านาเข้าสาคัญจากไทย ได้แก่(1) เนื้อไก่/เนื้อปลา/กุ้งปรุงแต่ง 256.76 ล้าน US$ (+7.81%) (2) เครื่องจักร/คอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ 164.13 ล้าน US$ (+20.56%) (3) เครื่องจักรไฟฟ้า 148.64 ล้าน US$ (+9.94%) (4) ยานยนต์ 139.30 ล้าน US$(+88.46%) (5) อัญมณีและเครื่องประดับ 68.88 ล้าน US$ (-19.98%) (6) เฟอร์นิเจอร์ 53.77 ล้าน US$ (+22.93%) เป็นต้น (7) เสื้อผ้าแบบถัก 52.58 ล้าน US$ (-7.61%)
ประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจปี 2553
  • Fitch Ratings เตือนอังกฤษจะประสบปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่น่าวิตกในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า และจาเป็นต้องได้รับการแก้ไขด้วยมาตรการที่เข้มข้นมากพอในระยะปานกลาง แม้อันดับความน่าเชื่อถือของอังกฤษจะอยู่ที่ระดับ AAA แต่การที่อัตราส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นนับจากปี 2008 มีอัตราการเพิ่มที่เร็วที่สุดในกลุ่มประเทศที่มีระดับความน่าเชื่อถือระดับเดียวกัน ทาให้จาเป็นต้องได้รับการควบคุมมากที่สุดเช่นกัน โดยการปรับลดการขาดดุลงบประมาณต้องมากกว่าที่เคยแถลงไว้ในคราวเสนองบประมาณเมื่อเดือนมีนาคม 2553 ทั้งนี้ นาย David Cameron นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า ช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวดกาลังรอชาวอังกฤษอยู่เนื่องจากรัฐบาลจาเป็นต้องเร่งลดการขาดดุลที่สูงเป็นประวัติการณ์ลง
  • คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประมาณการณ์ว่า เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ในปี 2553 และร้อยละ 2.1 ในปี 2554

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ