เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อมใช้ประกอบอาหาร (Small Cooking Appliances)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 16, 2010 16:24 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อมใช้ประกอบอาหาร

ตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อมใช้ประกอบอาหารได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ รุนแรงในปี 2552 ยอดค้าปลีกของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อมใช้ประกอบอาหารมีมูลค่าประมาณ 3,495,00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2552 หรือลดลงไปร้อยละ 1.37 จากปี 2551

หากพิจารณาในด้านปริมาณการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อมใช้ประกอบอาหารในช่วงเดียวกันนี้ พบว่า มีจำนวนปริมาณขาย 82,950,300 Units หรือลดลงต่ำไปช่วงเดียวกันของปี 2551 ร้อยละ -1.63

นักวิเคราะห์ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าสหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า ผู้บริโภคสหรัฐฯ ยืดเวลาการมีครอบครัวออกไป จำนวนครัวเรือนในสหรัฐฯ ไม่เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ประกอบอาหารทานที่บ้านจึงไม่เพิ่มขึ้น จึงเป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการชะลอตัวการขยายตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อมใช้ประกอบอาหาร

2. ช่องทางการจัดจำหน่าย/กระจายสินค้า

ร้านค้าปลีกประเภท Discount Store เป็นช่องทางหลักในการจัดจำหน่ายสินค้า Small Cooking Appliances ซึ่งมีสัดส่วนตลาดถึงร้อยละ 42 และ ร้าน Electronic Stores ร้อยละ 12 และ ร้าน Home Center ร้อยละ 10 ตามลำดับ

3. การนำเข้าสินค้า

สหรัฐฯ นำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้ากลุ่ม Small Cooking Appliances ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2553 เป็นมูลค่า 887.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 23.37 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญที่สุดคือ ประเทศจีน ซึ่งครองตลาดสินค้า Small Cooking Appliances เกือบทุกรายการ และสินค้าหม้อหุ้งข้าวไฟฟ้า (Rice Cooker) เป็นสินค้าชนิดเดียวที่สหรัฐฯ นำเข้าจากประเทศไทย มีมูลค่าประมาณ 16.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

4. การค้าในประเทศ ราคาขายปลีก

ตัวอย่างราคาขายปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้ารายการสำคัญในสหรัฐฯ

    สินค้า           ราคาขายปลีก(เหรียญฯ)           สินค้า        ราคาขายปลีก(เหรียญฯ)
1. Toaster             19.00 — 45.00      7. Blender         19.00 —  99.00
2. Coffee Maker        19.00 — 99.00      8. Food Mixers     45.00 - 225.00
3. Espresso Machine   250.00 — 950.00     9. Food Grinders   75.00 - 125.00
4. Can Opener          20.00 — 35.00     10. Crock Pot       20.00 —  40.00
5. Electric Knife      45.00 — 65.00     11. Rice Cooker     29.00 — 120.00
6. Tea Maker           29.00 - 95.00     12. Oven Top        34.00 - 100.00
5. พฤติกรรมผู้บริโภค

5.1 ตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในสหรัฐฯ เป็นเรื่องของแบรนด์ ผู้บริโภคสหรัฐฯ นิยมซื้อ สินค้า เครื่องใช้ไฟ้ฟ้าที่มีแบรนด์และเป็นที่นิยมยอมรับในตลาด มากกว่าซื้อสินค้าที่เป็นแบรนด์ใหม่ ดังนั้นสินค้าแบรนด์ใหม่ที่จะบุกตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในสหรัฐฯ จะต้องเน้นการโฆษณาให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค

5.2 ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ รูปแบบดีไซน์สวย สะดวกและประหยัดเวลาในการใช้ เนื่องจากเทคโนโลยี่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ผู้บริโภคต้องการเปลี่ยนสินค้าที่ใช้บ่อยครั้งขึ้น และไม่ต้องการซ่อมแซม เนื่องจากค่าซ่อมแพงมาก

6. สถานการณ์การแข่งขันและแนวโน้มในตลาด

6.1 การแข่งขัน: ปัจจุบัน มีผู้นำตลาดสินค้า Small Cooking Appliances ที่สำคัญเพียง 4 ราย ในสหรัฐฯ คือ Jarden Corp. มีสัดส่วนตลาดมากที่สุดร้อยละ 22.8 บริษัท Salton Inc., มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 22.4 บริษัท Hamilton Beach Brands Inc.มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 17.1 และ บริษัท National Presto Industries มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 17.1 ซึ่งรวมกันมีสัดส่วนตลาดร้อยละ 67.8 ในปี 2552

นอกจากนั้นแล้ว ผู้ผลิตสินค้า Small Cooking Appliance จากต่างประเทศ ขยายตัวเข้ามาแข่งขันในสหรัฐฯ เช่น จากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ Panasonic Corp of North America มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 0.40 และ Zojirushi America Corp มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 0.30 และจากเยอรมนี เช่น Krups มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 0.80 และ De'Longhi จากประเทศอิตาลี่ มีสัดส่วนตลาด ร้อยละ 1.80 ซึ่งเข้ามาแข่งขันและแย่งลูกค้าในตลาดบนในสหรัฐฯ ซึ่งมีการแข่งขันน้อย

6.2 แนวโน้มตลาด: นักวิเคราะห์ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ามีความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวในปี 2553 จะช่วยผลักดันการขยายตัวของตลาด และคาดการณ์ว่า ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดย่อมใช้ประกอบอาหาร จะขยายตัวในอัตราต่ำ โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3 ในช่วงปี 2553-2557

7. มาตรการด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี

ภาษี: แหล่งนำเข้าสินค้าเครื่องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจากบางประเทศได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าในสหรัฐฯ )GSP) เช่น เวียดนาม อินเดีย และ ไทย )ได้รับบางรายการ (และหากต้องเสียภาษีสหรัฐฯเรียกเก็บในอัตรา MFN ซึ่งอยู่ในช่วงร้อยละ 1 — 15 ผันแปรตามประเภทสินค้า ปัจจุบันแหล่งนำเข้าคู่แข่งของไทย เช่น เกาหลี มาเลเซีย ไต้หวัน และ จีนต้องเสียภาษีนำเข้าของเม็กซิโกจะได้เปรียบตามข้อตกลง NAFTA

มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี: (สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า) หากเปรียบเทียบในเรื่องมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีระหว่างตลาดยุโรป ญี่ปุ่น และ สหรัฐฯ แล้ว จะพบว่า ตลาดสหรัฐฯ มีข้อกีดกัดที่เบาบางกว่าตลาดยุโรป และ ญี่ปุ่น ซึ่งมีการกำหนดห้ามใช้โลหะอันตราย หรือมีข้อกำหนดด้าน Recycle สินค้าในขณะข้อกีดกันไม่ใช่ภาษีที่เด่นชัด คือ สหรัฐฯ กำหนดให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกหมวดต้องผ่านการตรวจสอบในเรื่อง Electronic Magnetic Compatibility (EMC) เพื่อป้องกันไม่ให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าดังกล่าว ไปรบกวนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สินค้าที่ส่งไปจำหน่ายในสหรัฐฯ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้านำเข้าไปยังสหรัฐฯ ต้องได้รับมาตรฐานในด้านความปลอดภัยจากองค์กรเอกชนซึ่ง US FDA รับรอง คือ เครื่องหมาย UL (Universal Laboratories) ของสหรัฐฯ และ ETL (Intertek) ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรป และเป็นที่ยอมรับในสหรัฐฯ

นอกจากนั้นแล้ว สมาคม American Home Appliances Association (AHAM) ได้แนะนำให้ผู้ผลิตสหรัฐฯ ควรปฏิบัติมาตรฐานย่อยของกลุ่มสินค้า ซึ่งกำกับดูแลโดยภาคเอกชน เพิ่มเติมไปจากกฎระเบียบของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้แก่

  • ANSI as American National Standards Institute www.ansi.org
  • ASTM International www.astm.org
  • CSA Standards www.csa-america.org
  • International Standards Organization (ISO) www.iso.org
  • National Electric Code (NEC) www.nfpa.org
  • Underwriters Laboratories (UL) Standards www.ul.com

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ