1.1 เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและใหญ่เป็นที่สามของประเทศ และเป็นอุตสาหกรรมเดียวที่มีการผลิตในทุกมลรัฐในสหรัฐฯ
1.2 มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมประมาณ 1.1 ล้านคน
1.3 ผลผลิตของอุตสาหกรรมคิดเป็นมูลค่าประมาณ 379,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 1.5 ของมวลภัณฑ์ประชาชาติ (Gross Domestic Product) ของสหรัฐฯ
1.4 มีโรงงานพลาสติก จำนวนกว่า 18,500 แห่งทั่วประเทศ
1.5 อุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยต่อปีประมาณร้อยละ 2.3
การผลิต: สหรัฐฯ มีผลิตรวมเม็ดพลาสติกชนิดที่สำคัญ (LLPE, LLDPE, HDPE, PP, PS, PVC) จำนวน 6,057 ล้านปอนด์ (2,753 ล้านกิโลกรัม) ในเดือนเมษายน 2553 ซึ่งมีผลผลิตลดลงไปร้อยละ -0.39 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2552 ในขณะที่ผลผลิตรวมในช่วงมกราคม-เมษายน 2553 มีจำนวน 24,266 ล้านปอนด์ (11,030 ล้านกิโลกรัม) ซึ่งยังคงขยายตัวร้อยละ 9.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552
ประเภทเม็ดพลาสติก มกราคม-เมษายน (ล้านปอนด์) อัตราการ 2553 2552 ขยายตัว (%) 1. LLPE 2,293 2,113 8.52 2. LLDPE 4,593 4,202 9.31 3. HDPE 5,532 5,355 3.31 4. PP 5,622 5,438 3.38 5. PS 1,703 1,594 6.84 6. PVC 4,523 3,933 15.00 รวม 24,266 22,635 7.21 ที่มา: American Chemistry Council การจำหน่าย: สหรัฐฯ จำหน่ายเม็ดพลาสติกชนิดที่สำคัญ (LLPE, LLDPE, HDPE, PP, PS, PVC) ในเดือนเมษายน 2553 เป็นจำนวน 5,773 ล้านปอนด์ (2,624 ล้านกิโลกรัม) ซึ่งมียอดจำหน่ายต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ -5.10 อย่างไรก็ตาม ยอดจำหน่ายเม็ดพลาสติกในช่วงมกราคม-เมษายน 2553 มีปริมาณ 23,759 ล้านปอนด์ (10,817 กิโลกรัม) ยังคงขยายตัวร้อยละ 5.58 การจำหน่ายเม็ดพลาสติก (เฉพาะรายการที่สำคัญ) ของสหรัฐอเมริกา ประเภทเม็ดพลาสติก มกราคม-เมษายน (ล้านปอนด์) อัตราการ 2553 2552 ขยายตัว (%) 1. LLPE 2,293 2,155 6.40 2. LLDPE 4,362 3,911 11.53 3. HDPE 5,397 5,250 2.80 4. PP 5,528 5,511 0.31 5. PS 1,654 1,662 -0.48 6. PVC 4,525 4,014 12.73 รวม 23,759 22,503 5.58 ที่มา: American Chemical Industry Association เม็ดพลาสติกในสหรัฐฯ ถูกนำไปใช้ใน (1) อุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์(Packaging) มากเป็นที่สุดคิดเป็นประมาณร้อยละ 32 (2) ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคประมาณร้อยละ 20 (3) อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างร้อยละ 16 และ (4) ส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศประมาณร้อยละ 20 3. การค้าระหว่างประเทศ สหรัฐฯ นำเข้าพลาสติกและผลิตภัณฑ์รวมกันในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 (มกราคม-พฤษภาคม) เป็นมูลค่า 13,705.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ 22.91 โดยแยกเป็นการนำเข้าเม็ดพลาสติก 4,356.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.76 และนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นมูลค่า 9,348.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.72 มีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ ได้แก่ จีน (ร้อยละ 28%) แคนนาดา (ร้อยละ 27%) เม็กซิโก (ร้อยละ 9%) และ ญี่ปุ่น (ร้อยละ 6%) การนำเข้าเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ของสหรัฐฯ ในช่วงมกราคม-พฤษภาคม 2553 หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้า มกราคม - พฤษภาคม 2553 2552 เพิ่ม/ลด(%) เม็ดพลาสติก 4,356.85 3,209.24 35.76 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 9,348.38 7,941.21 17.72 นำเข้ารวมทั่วโลก 13,705.23 11,150.46 22.91 ที่มา: World Trade Atlas การนำเข้าจากประเทศไทย สหรัฐฯ นำเข้าพลาสติกและผลิตภัณฑ์รวมกันจากประเทศไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 (มกราคม-พฤษภาคม) เป็นมูลค่า 145.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.74 โดยแยกเป็นการนำเข้าเม็ดพลาสติกมูลค่า 42.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดต่ำลงไปจากช่วงเดียวกันของปี 2552 ร้อยละ -3.47 และนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นมูลค่า 103.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.42 การนำเข้าเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ของสหรัฐฯ จากประเทศไทยใน ช่วงมกราคม-พฤษภาคม 2553 หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ การนำเข้า มกราคม - พฤษภาคม 2553 2552 เพิ่ม/ลด(%) เม็ดพลาสติก 42.54 44.08 -3.47 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 103.39 83.10 24.42 รวมการนำเข้าจากไทย 145.92 127.18 14.74 ที่มา: World Trade Atlas 4. ระดับราคาขายส่งเม็ดพลาสติกในตลาดสหรัฐฯ 5. มาตรการด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี 5.1 ด้านภาษี : สหรัฐฯเรียกเก็บภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าพลาสติกไทย ในอัตราร้อยละ 0.0 —25.0 เม็ดพลาสติกบางชนิด และ ผลิตภัณฑ์พลาสติกหลายชนิดได้รับการยกเว้นภาษี GSP 5.2 ไม่ใช่ภาษี: - ภาษีทุ่มตลาด (Anti Dumping Duty) สินค้าถุงพลาสติกไทยถูกเรียกเก็บ - ระเบียบการควบคุมด้าน Solid Waste ของ U.S Environment Protection Agency - ระเบียบห้ามใช้ถุงพลาสติก Shopping Bag ของรัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐฯ - การทดสอบมาตรฐานพลาสติกของสินค้าพลาสติก ABS - มาตรฐานสินค้าผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น Plastic Pallet, - มาตรฐานพลาสติกชนิด PET Plastic Recycling สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก ที่มา: http://www.depthai.go.th