ในช่วง 6 เดือนแรก (มค.-มิย.) ของปี 2553 ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้นมูลค่า 878.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 647.0 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ 35.85 โดยมีสินค้าส่งออกสาคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ 115.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (24.72%)เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 95.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (74.07%) รถยนต์และส่วนประกอบ 65.90 ล้านเหรียญสหรัฐ (171.77%) ยางพารา 58.50 ล้านเหรียญสหรัฐ (196.18%) ปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง 48.2 ล้านเหรียญสหรัฐ( -3.33%)
การส่งออกมาอิตาลีในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากพิจารณาการส่งออกเฉพาะเดือนมิย 53 จะเห็นว่าการส่งออกลดลง -20.89% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ซึ่งเพิ่มขึ้น 49.38 %) ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
2.1 ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีโดยทั่วไปยังคงขยายตัวแต่เป็นไปอย่างช้าๆ โดยในไตรมาสแรกของปี 53 มีการขยายตัวของ GDP + 0.4% ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกของอิตาลีที่เพิ่มขึ้นในเดือนพค 53 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึง17 % เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปีก่อนและนับว่าสูงสุดตั้งแต่เดือนเมย. 51 เป็นต้นมา
ในทางกลับกัน ความต้องการซื้อภายในประเทศลดลง การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ค่อนข้างต่ำ การลงทุนในการก่อสร้าง และการบริโภคภาคครัวเรือนลดลง แต่ยังคงมีการฟื้นตัวด้านอุตสาหกรรม โดยในไตรมาสแรกการผลิตเพิ่มขึ้น 1.7% และคาดว่าในไตรมาสที่ 2 จะเพิ่มขึ้น 2% และมีคาสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
2.2 เดือน มิ.ย. เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูร้อน (ก.ค.- ก.ย.) ซึ่งโดยปกติชาวอิตาเลียนจะหยุดทางานเพื่อเดินทางท่องเที่ยวระยะยาว จึงทำให้การผลิตและการบริโภคชะลอตัว ผู้ประกอบการจะสั่งซื้อสินค้าเท่าที่จาเป็นและมักสั่งซื้อล่วงหน้าในช่วง เม.ย.-พ.ค. สาหรับการขายในช่วงฤดูร้อน
2.3 การใช้จ่ายของผู้บริโภคในตลาดอิตาลียังคงอ่อนตัว โดยสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกแห่งอิตาลี (Confcommercio) ได้รายงานว่าในเดือน พ.ค.53 การใช้จ่ายผู้บริโภคลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนโดยเป็นการลดลงในหมวดอาหาร 0.4% แต่เพิ่มขึ้น 1.5% ในหมวดสินค้าและบริการประเภทบันเทิงและหย่อนใจ
2.4 ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์แยกรายสินค้าที่สำคัญ ได้ดังนี้
2.4.1 อัญมณีและเครื่องประดับ
การส่งออกช่วง 6 เดือนแรก (มค.- มิย.) ของปี 2553 มีมูลค่า 115.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 92.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 24.72 แต่หากพิจารณาเฉพาะเดือน มิ.ย.53 ไทยส่งออกมาอิตาลีลดลง -79.32% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจาก
1. ผู้ประกอบการได้มีการสั่งซื้อไว้ก่อนหน้าเพื่อขายในช่วงฤดูร้อนที่กาลังมาถึงโดยเฉพาะในเดือน พ.ค.53 ซึ่งไทยส่งออกเพิ่มสูงขึ้นถึง 589.92% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
2. อิตาลีมีการส่งออกสินค้าจิวเวลรี่ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 53 ได้มากขึ้น โดยเฉพาะตลาดสหภาพยุโรป ยูไนเต็ดอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐ และฮ่องกง
3. ที่ผ่านมาผู้ประกอบการอิตาลีมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโดยการผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดบางรายยังคงรักษา Brand และตลาดที่เป็น Niche Market บางรายผลิตสินค้าที่มีแฟชั่นดีไซน์เฉพาะตัวสาหรับตลาดขนาดกลางแบบ mass market และบางรายผลิตสินค้าที่เป็นแบบ "useful jewelry" และ "Easy-jewelry" คือสวมใส่ง่ายในราคาและคุณภาพที่ดี ซึ่งมิใช่เฉพาะวัตถุดิบแต่รวมถึงนวัตกรรมการออกแบบและดีไซน์ใหม่ๆ ในขณะที่ผู้บริโภคก็มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้นและต้องการทราบข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งผลิต คุณภาพและลักษณะเฉพาะของสินค้ามากขึ้น
4. จากข้อมูลการนำเข้า ช่วง 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ปี 53 ของอิตาลีปรากฏว่า ไทยครองตลาดเป็นอันดับ 13 (สัดส่วนตลาด 1.28 %) โดยมีประเทศที่อิตาลีนาเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ (25.9 %) แอฟริกาใต้ (12.88 %) สหรัฐอเมริกา (10.44 %) ฝรั่งเศส (8.7 %) และเยอรมัน (7.31 %)
ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (อันดับที่ 8 สัดส่วนตลาด 2.84 %) ฮ่องกง (0.93 %) อินเดีย (1.24 %) รัสเซีย (1.94 %)
ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปี 53 อิตาลีนาเข้าจากตลาดรัสเซียเพิ่มสูงขึ้นถึง 627.06 % ซึ่งเป็นการนำเข้าทองถึงร้อยละ 80.04 % และนำเข้าจากสเปนเพิ่มขึ้นถึง 293.76 % (เป็นการนาเข้าทองถึงร้อยละ 50.09)
5. สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรคำนึงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้แก่ การคงราคาที่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนรูปแบบในการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ตลาดระดับบน ที่ลูกค้ามีความสามารถในการใช้จ่ายสูงและไม่ต้องผลิตสินค้าหลากหลายรูปแบบมากนัก และตลาดระดับกลาง - ล่าง ที่มีลูกค้าประเภทเด็กรุ่นใหม่ และลูกค้าชั้นกลางที่มีกาลังซื้อและชอบใช้เครื่องประดับจิวเวลรี่ที่เป็นแฟชั่นและเปลี่ยนสไตล์ในแต่ละวัน
2.4.2 ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก (มค. - มิย) ของปี 2553 มีมูลค่า 48.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า 49.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ - 3.29 เนื่องจาก
1. ผู้นำเข้ามีการนาเข้าในช่วงก่อนหน้านี้แล้ว โดยจะเห็นได้ว่าในเดือนเมย.และพค. 53 ไทยส่งออกมาอิตาลีมูลค่า 9.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 10.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 33.28 % และ 5.29 % ตามลาดับ ซึ่งโดยปกติผู้นำเข้าจะนิยมสั่งซื้อสินค้าในช่วง เม.ย. - พ.ค. เพื่อใช้สำหรับการขายในช่วงฤดูร้อน (ก.ค.- ส.ค.) และซื้อครั้งละไม่มากเพื่อมิให้เป็นภาระในการเก็บสต็อก
2. จากการสอบถามผู้นำเข้าได้รับแจ้งว่ามีการขาดแคลนสินค้าจากไทย เวียดนาม อินโดนิเซีย และอินเดีย ส่งผลให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น 15 - 20 % ทำให้ผู้ประกอบการอิตาลีชะลอการสั่งซื้อ และหันไปนำเข้าสินค้าประเภทอื่น เช่น สินค้าประเภท ready to eat แทน
3. อิตาลีนำเข้าอาหารทะเลแช่แข็งจากทั่วโลกเฉลี่ยปีละประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยข้อมูลล่าสุด การนำเข้าในช่วง 4 เดือนแรก (มค.- เมย.) ของปี 53 มีประเทศที่อิตาลีนำเข้า 5 อันดับแรก ได้แก่ สเปน (สัดส่วนตลาด 24.61 %) ไทย (11.34 %) ฝรั่งเศส (9.57 %) โมรอคโค (9.22 %) และอินเดีย (7.77 %)
ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน อินเดีย เวียดนามและอินโดนีเซีย โดยสินค้าที่อิตาลีนำเข้าจากไทยและเวียดนามส่วนใหญ่เป็นปลาหมึกสดแช่แข็ง ส่วนสินค้าหลักที่นาเข้าจากอินเดียเป็นพวกหอย ในขณะที่สินค้าหลักที่นาเข้าจากอินโดนีเซียเป็นปลาหมึกและออคโตปุส และสินค้าที่นาเข้าจากจีนเป็นปลาหมึกแช่แข็ง
4. ผู้นำเข้ามีข้อคิดเห็นว่า ประเทศไทยมีศักยภาพค่อนข้างสูงในการผลิตสินค้าอาหารทะเลให้มี Value added โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นอาหารทะเลประเภท ready to eat และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีกว่าสินค้าจากจีนและเวียดนามซึ่งมีราคาถูกกว่า ดังนั้นผู้ส่งออกไทยจึงควรให้ความสาคัญในเรื่องราคาที่ต้องแข่งขันได้ในขณะที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ในด้านคุณภาพที่ดีของสินค้าเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ผู้ส่งออกไทยควรเน้นผลิตสินค้าที่มี Value added มากกว่าการขายสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าจากจีนและเวียดนามแล้วมีราคาถูกกว่า
2.4.3 เคมีภัณฑ์ การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรก (มค. - มิย.) ของปี 2553 มีมูลค่า 15.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งออกมูลค่า 23.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ - 32.33 เนื่องจาก
1. มาตรการ In House Plan ซึ่งเป็นมาตรการที่รัฐบาลได้ออกมากระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงต้นปี เพื่อช่วยเหลือแก่อุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบ ยังไม่มีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ความต้องการในตลาดชะลอตัวลง
2. เป็นช่วงการเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งผู้ประกอบการทั่วอิตาลีจะหยุดการทำธุรกรรมต่างๆเพื่อเดินทางท่องเที่ยว ประกอบกับเคมีภัณฑ์เป็นสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายอุตสาหกรรมจึงมีผลกระทบในวงกว้าง
3. ผู้ประกอบการยังคงไม่มั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังคงมีปัญหาการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและการลดลงของรายได้ ประกอบกับความผันผวนของราคานามันในตลาดโลกทาให้ผู้นาเข้าไม่สั่งซื้อสินค้าเพื่อเก็บสต็อกเป็นระยะเวลานานๆ แต่จะใช้วิธีการนาเข้าในปริมาณครั้งละน้อยๆตามความต้องการในระยะสั้นๆ
4. ผู้ประกอบการเห็นว่าคงต้องอาศัยเวลาพอสมควรเพื่อให้ตลาดกลับเข้าสู่ภาวะก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี มีเคมีภัณฑ์บางรายการที่ตลาดเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น เช่น virgin naphtha ซึ่งใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์และพลาสติก และ titanium dioxide ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุตสาหกรรมสี
5. ผลจากการที่ความต้องการในตลาดลดลงค่อนข้างมาก ทาให้การแข่งขันในตลาดเพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการอิตาเลียนจึงต้องหันมาใช้นโยบายด้านราคาที่แข่งขันกันได้ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรต้องคานึงถึงประเด็นราคาที่แข่งขันได้นอกเหนือจากการรับประกันด้านคุณภาพที่ดี โดยเน้นการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าในด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมด้วย
6. ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ 28 (สัดส่วนตลาด 0.22 %) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้าสาคัญ 5 อันดับแรกได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วนตลาด 27.42 %) ฝรั่งเศส (13.89 %) เนเธอร์แลนด์ (8.02 %) เบลเยียม (6.64 %) และสเปน (6.30 %)
ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น (สัดส่วนตลาด 3.11 %) อินโดนีเซีย (1.70 %) จีน (1.06 %) อินเดีย (0.57 %) มาเลเซีย (0.36 %) เกาหลีใต้ (0.26 %) และไต้หวัน (0.18 %)
สำนักส่งเสริมสินค้าส่งออกระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th