รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 16-31 กรกฎาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 24, 2010 14:09 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. การส่งออกของสิงคโปร์พุ่งสูงขึ้นในเดือนมิถุนายน 2553 โดยไปยังยุโรป เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 75 (เทียบกับ มิย.52) แม้ว่า EU จะประสบปัญหาหนี้สินก็ตามสำหรับประเทศคู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรก มีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 (เกินการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 23) ทั้งนี้การส่งออกสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44 และสินค้าทั่วไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 21

2. แนวโน้มการบริโภคสินค้าอาหาร ที่ผู้บริโภคหันกลับไปสู่ความเป็นธรรมชาติและหาซื้อสินค้าที่มีคุณภาพคุ้มค่าเงิน ให้เป็นไปตามแนวโน้มด้านสุขอนามัยที่ใส่ใจมากยิ่งขึ้น จะมุ่งเน้นซื้อสินค้าที่มี high fibre, wholegrains, ระดับน้ำตาลและโซเดียมต่ำ เปลี่ยนการรับประทานข้าวหรือขนมปัง ไปรับประทานอาหารที่เพิ่มสุขอนามัยเช่น wholegrain bread อีกประการสำคัญ ผู้บริโภคมีความใส่ใจด้านสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ จะเลือกซื้อสินค้าที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและที่สามารถลด carbon footprint นอกจากนี้ จำนวนสมาชิกครอบครัวในเอเชียมีจำนวนลดลง ผู้ผลิตจะต้องเปลี่ยนปริมาณการบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเหมาะสมกับครอบครัวเล็กๆ ผู้ผลิตจะต้องแข่งขันด้านราคาหรือปรับเปลี่ยนสินค้าให้แปลกใหม่ และคงปัจจัย 3Ps (Product Innovation, Process Innovation and Packaging Innovation) ที่จะทำให้สามารถแข่งขันได้ ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตอาหารในสิงคโปร์ มีประมาณ 781 ราย มีการจ้างงานรวม 23,000 ราย (คิดเป็นร้อยละ 5.4 ของแรงงานการผลิตรวม) มีผลการผลิตปี 2551 มูลค่า 7 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

3. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2553 มีการเติบโตร้อยละ 26.1 โดยการผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.8 (เซมิคอนดัคเตอร์ เติบโตร้อยละ 74.9 ด้วยความต้องการสูงของ cell phones, personal computers and consumer electronics products) อย่างไรก็ตาม data storage ลดลงร้อยละ 9.4 กลุ่ม precision engineering เติบโตร้อยละ 32.5 เครื่องจักและระบบ เติบโตร้อยละ 42.8 กลุ่ม biomedical เติบโตร้อยละ 29.8 การผลิตเภสัชภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 ส่วน general manufacturing เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ด้วยการผลิตที่สูงของ batteries & accumulators, paper boxes & containers and signs & advertising displays กลุ่มอาหาร/เครื่องดื่ม/ยาสูบ และการพิมพ์ เติบโตร้อยละ 8.9 และ 4.9 ตามลำดับ กลุ่มเคมีภัณฑ์ เติบโตร้อยละ 7.4 และ transport engineering ลดลงร้อยละ 3.6

4. นักเศรษฐศาสตร์เอกชนคาดการณ์ GDP ปี 2553 ซึ่งกลุ่มต่างๆได้คาดการณ์อัตราการเติบโต GDP ล่าสุดในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 10.5 (สูงกว่าร้อยละ 9.0 ที่ Monetary Authority of Singapore ได้คาดการณ์ในเดือนพฤษภาคม 2553) ทั้งนี้

การคาดการณ์ของ 10 กลุ่ม อยู่ระหว่างร้อยละ 9 — 13 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
คาดการณ์ GDP ปี 2553                        คาดการณ์ GDP ปี 2553
กลุ่ม                     การเติบโต %        กลุ่ม                      การเติบโต %
DBS                        13.00          OCBC                        10.5
Citigroup                  12.50          Credit Suisse               10.0
JP Morgan                  12.50          HSBC                         9.7
CIMB-GK                    12-13          Barclays Capital             9.5
Action Economies           10.50          UOB                          9.0

5. สินค้าอาหาร/เครื่องดื่มสิงคโปร์ในตลาดจีน ด้วยการส่งเสริมของ International Enterprise (IE) Singapore จัด campaign แนะนำ Singapore’s authentic Asian Cuisine and the Tasty Singapore มากกว่า 20 ยี่ห้อที่เข้าไปจำหน่ายใน Jusco Supermarket ใน Guangdong province ประเทศจีน โดยจัดให้มี Road Show การประชาสัมพันธ์ในซุปเปอร์มาร์เก็ตและภัตตาคาร เพื่อสร้างความนิยมในสินค้าที่ผลิตจากสิงคโปร์ ที่มีคุณภาพ ถูกสุขอนามัย มีการสร้างสรร บรรจุภัณฑ์ดี และมีหลากหลายประเภท บริษัทและสินค้านำร่อง ได้แก่ Amoy Canning (Canned Food), Bee Cheng Hiang (Packaged Meat), Chia Khim Lee (Beverages), Chueng Chong Food (Sauces), Food Marketing (Frozen Seafood), Fong Yit Kaya (Kaya Jams), Gan Hup Lee ( Processed Rice), Gold Kili (Instant Beverages), Hock Seng Food (Canned Fruit), Kim Hing Food (Bird Nest), Leo Satay (Frozen Meat-Satay), Owl International (Instant beverages), Pakary Foods (Snacks), Prima Food (Food Paste), Seng Hua Hng (Snacks), Sheng Sheng F&B Industries (Beverages), Tai Hua Sauces (Sauces), Tastyfood (Instant Bevergaes), Thiong Seik Food (Frozen Seafood), True Heritage Brew (Bevergaes-alcoholic) และ Vismark Food Industries (Food Paste)

6. สิงคโปร์ร่วมมือสร้าง Food Zone ใน Jilin ประเทศจีน โดยมุ่งให้เป็น Modern Agricultural Food Zone เริ่มต้นจากพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตรในเมือง Chaluhe ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของ Jilin และจะขยายเพิ่มขึ้นครอบคลุมพื้นที่ 1,450 ตารางกิโลเมตร (ขนาด 2 เท่าของสิงคโปร์) ซึ่งจะทำการผลิตเนื้อสุกร เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์นม ข้าว ข้าวโพด และองุ่น ด้วยความร่วมมือระหว่าง Jilin City Municipal Government และหน่วยงานต่างๆของสิงคโปร์ ได้แก่ Singapore Food Industries (SFI), Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) และ Singbridge International Singapore (บริษัทภายใต้ Temasek Holdings) ด้วยเงินลงทุนมากกว่า 20 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ และให้โครงการสำเร็จผลภายใน 6 ปีข้างหน้า

7. งานแสดงสินค้า Singapore International Jewellery Show (SIJS) ครั้งที่ 6 จัดระหว่างวันที่ 29 กค.- 1 สค. 2553 ณ Marina Bay Sands (ครั้งแรก) บนพื้นที่ 7,000 ตารางเมตร ภายใต้ Themed “Glam is Back” (Glam Chic, Glam Rock, Glam Classic and Glam Supreme) บริษัทผู้จัดแสดงสินค้า 180 ราย จาก 21 ประเทศ มูลค่าสินค้ารวมประมาณ 136 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ผู้เข้าชมประมาณ 15,000 ราย คาดว่าจะทำรายได้ทันทีในงานฯประมาณ 50 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ประเภทสินค้าที่จัดแสดง ได้แก่ Gems, Jewellery and accessories, Diamond, platinum, 24K fine gold, Gem set, Silver, Antique, and pearl jewellery, Jewelled timepieces, South Sea Cultured and fresh water pearls, Diamonds, Colored gemstones, Jewellery mountings, Carvings/display ornaments, Display and packaging materials, Jewellery machinery tools and equipment, Watches Branded and collector’s time pieces, Luxury Items, Introducing European Luxury items from Jewellery, watches, art to luxury items from furniture to furnishings etc. สำหรับผู้ผลิตสิงคโปร์สำคัญ ได้แก่ Soo Kee Jewellery, De Gem Singapore, Gold Heart Jewelry, On Cheong Jewellery, Lee Hwa Jewellery และ Tian Po

ข. การลงทุนในประเทศ

1. บริษัท Mitsui Chemicals ได้สร้างโรงงาน Mitsui Chemicals’ TAFMER elastomer ที่ผลิตวัสดุสำหรับ car bumpers ไปถึงวัสดุบรรจุภัณฑ์อาหาร โรงงานใหม่สร้างที่เกาะจูร่ง มีมูลค่า 280 ล้านเหรียญสิงคโปร์ การผลิตส่วนใหญ่สู่ตลาดเอเชีย (จีน อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ในปี 2552 คิดเป็น 1 ใน 3 ของผลผลิตรวมของสิงคโปร์ และยังคงเป็นภาคอุตสาหกรรมสำคัญที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไป อนึ่ง บริษัท Mitsui Chemicals ได้จัดตั้งโรงงานผลิต adhesive resins ในสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2509 และเป็นผู้นำในการพัฒนาให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางเคมีภัณฑ์ของโลก และเป็นศูนย์กลางการผลิตสำคัญนอกประเทศญี่ปุ่นที่มีการลงทุนมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

2. บริษัท Tesla Motors จัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 เพื่อดำเนินกิจการ Electric Cars ซึ่งมีรถ Lotus-built Tesla Roadster ราคาประมาณ 500,000 เหรียญสิงคโปร์ (หลังจากได้รับการลดราคา green vehicle) จะมาถึงสิงคโปร์ในเดือนกันยายน 2553 สำหรับอีกรุ่นหนึ่ง คือ Model S (Sedan) จะถึงสิงคโปร์ในปี 2555 ทั้งนี้ รถดังกล่าวใช้ lithium-ion batteries ที่สามารถเติมพลังงานผ่านปลั๊กไฟฟ้าบ้านทั่วไป รถมีกำลัง 288 horsepower, 2 ที่นั่ง ความเร็วถึง 100 kmh ภายใน 4 วินาที บริษัทฯคาดว่า การจำหน่ายในสิงคโปร์ ประมาณปีละ 20-30 คัน

3. ภาครัฐสิงคโปร์ลงทุนกว่า 550 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ปรับโฉมการเคหะและสิ่งแวดล้อมชานเมืองในเขต Hougang, Pasir Ris และ Tampines รวมจำนวน 54,000 ห้องชุด โดยแบ่งเงินให้เขต Tampines จำนวน 263.3 ล้านเหรียญฯ เขต Hougang จำนวน 180.2 ล้านเหรียญฯ และเขต Pasir Ris จำนวน 106.9 ล้านเหรียญฯ ให้ใช้ในการปรับปรุงทั้งในอาคารที่พัก และสภาะแวดล้อมด้านนอก ได้แก่ การปรับปรุงทางเดิน ทางเชื่อมต่อสถานที่พักอาศัย สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และสนามเด็กเล่น

ค. การลงทุนในต่างประเทศ

1. ตะวันออกกลาง ด้วยการสนับสนุนจาก International Enterprise Singapore มีการจัดตั้ง iMaster Pte. Ltd. (เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท iPromar และ Masterscan Engineering) เพื่อให้ได้สัญญามูลค่าสูงถึง 15 ล้านเหรียญสิงคโปร์ในภูมิภาคตะวันออกกลางภายในปี 2558 ซึ่งบริษัทจะจัดหาการสนับสนุนการบริการสำหรับอุตสาหกรรมก๊าซและน้ำมัน รวมถึงการบริการพิเศษในด้าน non-destructive testing (NDT) ทั้งนี้ มีแผนการในการจัดตั้งบริษัทสิงคโปร์ในซาอุดิ อาระเบีย ในปี 2555

2. ไต้หวัน บริษัท SMEs สิงคโปร์จำนวน 10 ราย ได้เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นในไต้หวัน ซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มแรก บริษัทดังกล่าว คือ Scanteak, Makuang Healthcare Holdings, Redwood Interior, JP Nelson Equipment, LD Waxsons(S), TRN Marketing, Motorway Group, Ferrell International, Xpress Holdings และ Wan Chung Construction ซึ่งได้ลงนามใน letter of intent กับ Tanwan’s Gre Tai Securities Market (GTSM)

3. บาห์เรน บริษัทสิงคโปร์ให้ความสนใจลงทุนในด้านโลจิสติกส์ เนื่องจากบาห์เรนมีที่ตั้งใกล้อิรัค อิหร่าน คูเวต ซาอุดิ-อาระเบียและกาตาร์ ทั้งนี้ The Bahrain Logistics Zone (BLZ) จะเปิดดำเนินการในปลายปี 2553 ซึ่งอยู่ใกล้ท่าเรือ สนามบิน และเชื่อมต่อระหว่างบาห์เรนกับซาอุดิ-อาระเบีย นอกจากนี้ แนวเชื่อมต่อระหว่างบาห์เรนและกาตาร์จะแล้วเสร็จในปี 2557 ทำให้เกิดประโยชน์แก่นักลงทุนสิงคโปร์ บาห์เรนให้สิทธิพิเศษแก่นักลงทุนต่างชาติสามารถจัดตั้งบริษัทได้โดยไม่ต้องมีหุ้นส่วนท้องถิ่น และไม่มีการเรียกเก็บภาษี บริษัทที่ตั้งในเขต BLZ จะได้รับการบริการพิเศษจากศุลกากรด้านการส่งออก

ค. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์กับจีน ในความร่วมมือการสร้าง telemovies, documentaries and a televised concert ซึ่งเกิดจากที่สิงคโปร์โดย Mddia Development Authority (MDA) ได้นำคณะบริษัทสิงคโปร์ 14 รายเยือนปักกิ่ง เพื่อส่งเสริมบริษัทสื่อสิงคโปร์ให้มีธุรกิจในจีน ทั้งนี้ สิงคโปร์และจีนได้ร่วมการแลกเปลี่ยนด้านทีวีมานานกว่า 20 ปีแล้ว และหวังว่า จะได้ปรับเปลี่ยนแนวทำให้บริษัทสื่อต่างๆของสิงคโปร์เข้าสู่ตลาดจีนเพิ่มขึ้น รวมถึงการปรดสานความร่วมมือต่อกันเพื่อขยายธุรกิจไปสู่ตลาดนานาชาติต่อไป

2. สิงคโปร์กับอัฟริกา International Enterprise (IE) Singapore และ Singapore Business Federation (SBF) ร่วม เป็นเจ้าภาพจัด Africa Singapore Business Forum (ASBF) ระหว่างวันที่ 14-15 กรกฏาคม 2553 ซึ่งผู้สำคัญที่เข้าร่วมคือ รัฐมนตรีจาก Angola, Republic of Congo, Gabon, Mauritius, Togo และ Tunisia รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชนจาก 17 ประเทศของอัฟริกา ทั้งนี้ คณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์ 40 ราย ได้เยือนอัฟริกาในปี 2552 ซึ่งได้รับผลดีเป็นที่น่าพอใจ และการจัดประชุมในสิงคโปร์ครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการประสานสัมพันธไมตรีและสร้างความร่วมมือด้านการค้าระหว่างบริษัทสิงคโปร์และอัฟริกาให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น

ง. อื่นๆ

1. The National University of Singapore (NUS) ได้รับชื่อเสียงอยู่อันดับที่ 3 ในกลุ่มผู้นำของมหาวิทยาลัยในเอเซีย Quacquarelli Symonds (QS) Asian University Rankings (AUR) ซึ่งมีผลมาจากคุณภาพในการค้นคว้าวิจัย และสัดส่วนของนักศึกษานานาชาติและเจ้าหน้าที่

2. การเปิดตัว Marina Bay Waterfront Promenade and Marina Bay City Gallery ซึ่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ Mr. Lee Hsien Loong ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2553 เป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลประมาณ 3.5 กิโลเมตร ที่ต่อเนื่องกับ Marina Centre, Collyer Quay and Bayfront Areas เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการของสิงคโปร์ในการรักษาธรรมชาติให้อยู่ในเมือง และให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและสร้างสรรในเชิงพาณิชย์ด้วย

3. บริษัทสิงคโปร์ได้รับรางวัล ASEAN Energy Awards 2010 รวม 5 รางวัล ได้แก่ (1) บริษัท Eco Special Waste Management Pte. Ltd. (Sevage Sludge Dehydration) ได้รับรางวัล Renewable Energy Project (โรงงานมูลค่า 35 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2552 ทำการเผาขยะสร้างพลังงานผลิต thermal energy และทำให้เป็นปุ๋ย) (2) IUT Singapore Pte. Ltd. (Food Waste to Renewable Energy) (3) City Developments ได้รับรางวัล Best Practices for Energy Efficient Buildings -Tampines Grande Building (4) Fuji Xerox Towers (retrofitted categoty) และ (5) People’s Association (Energy-efficient headquarters)

4. Coface ให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่ปลอดภัยในการทำธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสำรวจของ Coface (Global Credit Insurer —ฝรั่งเศส) “Coface Country Risk Conference 2010” แสดงให้เห็นว่า บริษัทในสิงคโปร์มีสถานะแข็งแกร่งและไม่ติดค้างหนี้สิน เนื่องจากสิงคโปร์มีกฎระเบียบที่โปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ ระบบกฎหมายมั่นคง รวมถึงสถานทางการเมืองที่แข็งแกร่ง เป็นปัจจัยช่วยส่งเสริมให้นักธุรกิจมีความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจในสิงคโปร์

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 16-31 กรกฎาคม 2553

1. ดำเนินการโครงการส่งเสริมการขายสินค้าผักผลไม้ อาหาร และสินค้าของขวัญ/ของตกแต่งบ้าน ณ บริเวณพื้นที่ Promotion ของซุปเปอร์มาร์เก็ต Isetan รหว่างวันที่ 13-22 กรกฎาคม 2553

2. ประสานกรมการค้าต่างประเทศ จัดนัดหมายให้สื่อหนังสือพิมพ์สิงคโปร์สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับข้าวหอมมะลิไทย

3. ประสานสำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ เกี่ยวกับการบรรยายเพื่อโครงการคลังสมองพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบการสู่ตลาดโลกตามกิจกรรม “พลิกแผนผ่าวิกฤติธุรกิจ 5 จังหวัดชายแดนใต้” โดยนางสาวบุณิกา แจ่มใส ผู้อำนวยการฯ เป็นวิทยากร ระหว่างวันที่ 27-30 กรกฎาคม 2553

4. ประสานจัดนัดหมายให้คณะ SMEs ไทยพบปรึกษาธุรกิจกับบริษัทผู้นำเข้าสิงคโปร์และสำรวจตลาดสินค้าประเภทต่างๆในสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 29-30 กรกฎาคม 2553

5. ประสานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนกันยายน 2553

6. ประสานเจ้าหน้าที่ Singapore Business Federation เพื่อจัดคณะสมาชิกฯ เยือนงาน Thailand International Logistics Fair 2010 (7-10 October 2010)

7. ประสานงานเพื่อการลงโฆษณาประชา สัมพันธ์งาน BIG & BIH, October 2010 ( 19-24 October 2010) ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ (The Straits Times สิงคโปร์)

8. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ได้แก่

  • Bangkok Gems & Jewelry Fair 2010 (8-12 September 2010)
  • Thailand International Logistics Fair 2010 (7-10 October 2010)
  • Thailand International Education Exhibition 2010 (8-10 October 2010)
  • Bangkok International Gift Fair and Bangkok International Houseware Fair (19-24 October 2010)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ