รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 1-15 สิงหาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 24, 2010 14:20 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ก. ภาวะเศรษฐกิจ/การค้าทั่วไป

1. การจ้างงานมีการเติบโตขึ้น โดยในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 การจ้างงานเพิ่มขึ้น 26,500 อัตรา เนื่องจาก Integrated Resorts (IRs) 2 แห่งเปิดดำเนินการ รวมทั้งการเปิดโรงแรมใหม่ๆ และศูนย์การค้าใหม่ย่านชานเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้ภาคบริการมีการเติบโตขึ้น ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 (เทียบกับมิถุนายน 2552 ร้อยละ 3.2) อนึ่ง จำนวนการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ดังนี้

  ภาค                    2552                            2553            รวมเมื่อ มิย.53*
            มค-มีค     เมย-มิย     กค-กย     ตค-ธค     มค-มีค     เมย-มิย
การผลิต    -22,100    -15,900     -6,400       700     3,100     -2,400       543,300
ก่อสร้าง      8,300      4,700      7,400     4,600      -400      1,800       386,500
บริการ       7,500      3,800     12,700    31,500    33,400     27,400     2,102,400
รวม        -6,200     -7,700     14,000    37,500    36,500     26,500     3,053,000
ที่มา : Ministry of Manpower, Singapore
หมายเหตุ: 1)  * = คาดการณ์ขั้นต้น
         2) Figures may not add up due to rounding off

          2. ภาคการผลิตและบริการยังคงสดใส  แม้ว่า การคาดการณ์การเติบโตในครึ่งปีหลังของปี 2553 จะชะลอตัวลง และอาจจะทำให้มีการลดการจ้างงาน จากการสำรวจของ Economic Development Board (EDB) แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ผลิตร้อยละ 25 คาดว่า ภาคการผลิตจะเติบโตเพิ่มขึ้นในช่วง 6 เดือนหลัง (เดิมร้อยละ 34)  และร้อยละ 7 คาดหวังว่า จะแย่กว่าเดิม (เดิมร้อยละ 5) นอกจากนี้ ส่วนใหญ่คาดว่า การเติบโตจะคงที่ ทั้งนี้ ภาคบริการจะเติบโตเพิ่มขึ้น โดยรายได้จะมาจาก Integrated Resorts (IRs) 2 แห่ง การแข่งขัน Youth Olympic Games (YOG) และ การแข่งรถ Formula One (F1) นอกจากนี้ กลุ่มการเงินมีความมั่นใจและคาดว่า จะเพิ่มการจ้างงานร้อยละ 46 เนื่องจากเงินทุนยังคงไหลเข้ามาสู่เอเชียและสิงคโปร์
          3. นักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์ 1 ล้านคน ในเดือน กค. 53 (ประมาณวันละ 32,258 คน) Singapore Tourism Board (STB) ได้ตั้งเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์ ในปี 2553 ประมาณ 11.5-12.5 ล้านคน และมีรายได้มูลค่า 17.5-18.5 พันล้านเหรียญสิงคโปร์  อีกทั้ง STB  พยายามส่งเสริมให้มีนักท่องเที่ยวจำนวนปีละ 17 ล้านคน จนถึง ปี 2558 ด้วยรายได้ปีละ 30 พันล้านเหรียญสิงคโปร์  ในปัจจุบัน ห้องพักโรงแรมมีจำนวน 45,000 ห้อง คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีก 10,000 ห้อง ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ในปี 2552 นักท่องเที่ยว 10 อันดับแรกและจำนวน(ราย) ดังนี้

   ลำดับที่        ประเทศ         จำนวน       ลำดับที่         ประเทศ         จำนวน
     1      อินโดนีเซีย         1,745,057       6      ญี่ปุ่น                489,940
     2      จีน                936,727        7      สหราชอาณาจักร       469,723
     3      ออสเตรเลีย         830,249        8      ฟิลิปปินส์             432,055
     4      มาเลเซีย           764,164        9      สหรัฐฯ              370,536
     5      อินเดีย             725,536        10     ไทย                317,896

4. ชาวสิงคโปร์เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น หลังจากเมื่อปี 2552 ที่ต้องระมัดระวังการใช้จ่ายและการแพร่ระบาดของ H1N1 ในปี 2553 ชาวสิงคโปร์เริ่มเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยจุดหมายปลายทางสำคัญ 10 อันดับแรก และจำนวน ในปี 2552 และ 2553 (มค-มีค) ดังนี้

                   2552                                         2553 (มค.-มีค.)
    ประเทศ            จำนวน      % เทียบกับ 51         ประเทศ             จำนวน       % เทียบกับ 52
1. มาเลเซีย        12,733,082          15.7       1. มาเลเซีย           3,000,492          3.6
2. อินโดนีเซีย          896.973          -7.0       2. อินโดนีเซีย            251,595         18.1
3. จีน                889,400           1.5       3. จีน                  210,000         12.8
4. ฮ่องกง             623,730          -1.4       4. ฮ่องกง               144,119          8.7
5. ไทย               563,283          -1.2       5. ไทย                 101,644        -10.4
6. ออสเตรเลีย         285,300           5.3       6. ออสเตรเลีย            66,500          9.4
7. มาเก๊า             256,520          -4.6       7. มาเก๊า                57,792          0.2
8. ไต้หวัน             194,523          -5.3       8. ไต้หวัน                44,522         19.0
9. ญี่ปุ่น               145,224         -13.5       9. ญี่ปุ่น                  30,891         30.5
10. บริเทน            111,000          -5.9       10. ฟิลิปปินส์              28,026         19.5

5. การส่งเสริมให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการบิน The Ministry of Transport (MOT) ได้วางแผนศึกษากลุ่มการขนส่งทางอากาศเป็นระยะเวลา 6 เดือน และ Civil Aviation Authority of Singapore (CAAS) ศึกษาตลาดเครื่องบินเจ็ทเอกชน (ระยะเวลา 3 เดือน) ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่ง ประสงค์จะทำการพัฒนาให้สิงคโปร์ได้รับผลประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆทั้งในประเทศและในภูมิภาค รวมถึงให้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีและทันสมัย อีกทั้งมีเครือข่ายแข็งแรงไปยังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ที่สามารถจัดหาการบริการครบวงจรให้แก่ลูกค้าโดยเฉพาะด้านการขนส่งสินค้า ทั้งนี้ เพื่อการแข่งขันที่มีศักยภาพ สิงคโปร์อาจต้องพิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายของการนำเครื่องบินลงและค่าจอดเครื่องบิน อีกทั้ง ลดค่าพื้นที่ใกล้ๆ สนามบินและท่าเรือ อนึ่ง แม้ว่าอุตสาหกรรมการบินเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กแต่มีการเจริญเติบโตในเอเชีย สำหรับ Changi Airport ได้รับจัดอันดับที่ 5 ของภูมิภาคเอเชีย ในด้านการจัดการบริการขนส่งทางอากาศ รองจากฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ โซล และโตเกียว

6. การขนส่งคอนเทนเนอร์ของสิงคโปร์แข่งกับเซี่ยงไฮ้ Maritime and Port Authority of Singapore (MPA) ได้แสดงสถิติการขนส่งระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2553 ของสิงคโปร์กับเซี่ยงไฮ้ ซึ่งถือว่าเซึ่ยงไฮ้เป็นคู่แข่งสำคัญ และในอนาคตอาจทำให้สิงคโปร์ไม่สามารถรักษาความเป็นท่าเรือที่มีธุรกิจสูงสุด รายละเอียดปริมาณการขนส่ง ดังนี้

   ปี 2553 / เดือน       สิงคโปร์ (m TEUs*)           เซี่ยงไฮ้ (m TEUs*)
มกราคม                          2.33                    2.24
กุมภาพันธ์                         2.18                    1.87
มีนาคม                           2.41                    2.37
เมษายน                          2.32                    2.37
พฤษภาคม                         2.42                    2.56
มิถุนายน                          2.39                    2.44
รวม                            14.05                   13.85
*m TEU  = million 20-foot equivalent units


          7. ภาคโลจิสติกส์มีการเติบโตท่ามกลางเศรษฐกิจฟื้นตัว  Economic Development Board (EDB) ประกาศว่า ในปี 2552 ภาคโลจิสติกส์ได้มีการจ้างงานผู้ชำนาญการจำนวน 1,200 อัตรา (ปี 2551 จำนวน 800 อัตรา) ซึ่งรวมถึงตำแหน่ง Supply Chain Management planners, research engineers และ managers บริษัทโลจิสติกส์จ่ายเงินรวม 480 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เป็นค่าจ้าง ค่าเช่า และค่าเสื่อมของอุปกรณ์/เครื่องมือ ซึ่งผลการลงทุนด้านโลจิสติกส์คาดว่า จะส่ง value-added มูลค่า 207 ล้านเหรียญสิงคโปร์เพื่อสนับสนุนการเติบโต GDP นอกจากการบริการโลจิสติกส์แบบตั้งเดิมทางอากาศและทะเลแล้ว สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางคลังสินค้าสำหรับงานศิลปะและของมีค่า รวมถึงการจัดการ/คลังสินค้าสำหรับ cold perishables (food and pharmaceuticals) ทั้งนี้ สิงคโปร์สร้าง คลังสินค้า FreePort  มูลค่า 80 ล้านเหรียญสิงคโปร์  และสร้าง Coolport @ Changi เพื่อเก็บยารักษาโรค ดอกไม้สด  ตู้เย็นเก็บอาหาร มูลค่า 12 ล้านเหรียญสิงคโปร์ นอกจากนี้ บริษัทโลจิส ติกส์ยักษ์ใหญ่  DHL และ Logistics Institute — Asia Pacific of the National  University of Singapore ได้ประกาศการสร้างศูนย์มูลค่า 3 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการจัดหา/การจัดการภายในภูมิภาค  และคาดว่า จะมีบริษัทที่ประสงค์จะจัดตั้งสำนักงานใหญ่สำหรับภูมิภาคเอเชียและทั่วโลกภายในปี 2553 เพื่อรองรับความต้องการโดยเฉพาะในเอเชียที่เพิ่มขึ้น
          8. การสร้างความมั่นคงให้ระบบการเงิน  Monetary Authority Singapore (MAS) มีแผนการมุ่งเน้นเพื่อให้ระบบการเงินมีความมั่นคงและแข็งแกร่ง  ซึ่งมุ่งดำเนินการสำคัญ 3 ประการ คือ ให้มีความมั่นคงในช่วงหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ  สร้างความแข็งแกร่งต่อระบบการเงิน และให้มีการเติบโตของภาคการบริการด้านการเงินในระดับที่ดี ทั้งนี้คาดว่า GDP ปี 2553 จะมีอัตราร้อยละ 13-15 และ CPI Inflation จะมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.5-3.5 ภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศจะเป็นภาคสำคัญที่ส่งเสริมให้เศรษฐกิจสิงคโปร์เติบโตในระดับสูงในช่วงที่เหลือของปี 2553 อนึ่ง สำหรับ MAS ได้รับผลกำไรในปี 2552 เป็นเงิน 10.12 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

ข. การลงทุนในประเทศ
          1. การพัฒนา Future Power Grid  ซึ่ง A*Star’s Institute of  Chemical and Engineering Sciences (Ices)   เปิดตัว  Experimental Power Grid Centre (EPGC)  มูลค่า 25 ล้านเหรียญสิงคโปร์ บนพื้นที่ 0.47 เฮกตาร์ ณ เกาะจูร่ง ซึ่งจะแล้วเสร็จในครึ่งปีหลังของปี 2554  ศูนย์ฯ จะมีการจ้างงานประมาณ 20-25 อัตรา (15 อัตรา จะเป็นผู้ที่จบ PhD และเป็นนักวิจัย) และ A*Star หวังว่า จะมีประมาณ 10 บริษัทใหญ่ที่จะเข้าร่วมทำการพัฒนาเพื่อให้สิงคโปร์เป็น Living Lab สำหรับบริษัทที่หวังจะค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

ค. การลงทุนในต่างประเทศ
          1. อินเดีย บริษัทสิงคโปร์ YCH Group ด้านโลจิสติกส์มีความเชื่อมั่นในตลาดอินเดียที่จะมีการเติบโตในระดับสูง ได้ลงทุนสร้าง Green YCH DistriPark เป็นแห่งแรกใน Chennai เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ด้วยเงินลงทุน  21.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  ตั้งอยู่ใน Special Economic Zone ทั้งนี้ บริษัทมีแผนการลงทุนสร้างสถานที่จำนวน  12  แห่งทั่วประเทศอินเดีย ภายในปี 2558

ง. ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
          1. สิงคโปร์กับ Guangdong  ในปี 2552 Guangdong ส่งออกไปยังสิงคโปร์มีการเติบโตร้อยละ 18 มูลค่าการค้ารวมเกือบ 16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 30 ของการค้ารวมระหว่างสิงคโปร์กับจีน)  และสิงคโปร์ลงทุนใน Guangdong  มีมูลค่ามากกว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มากกว่า 2,000 โครงการ (พค.53) ความร่วมมือระหว่างกันในสาขาต่างๆ ได้แก่  การจัดการ/การบำรุงรักษาสนามบิน และซ่อมสร้างเครื่องบิน,  City Project, Modern Logistics Park, Port, การศึกษา  การท่องเที่ยวArts and Media and Cultural Exchanges
          2. สิงคโปร์กับ Barbados, Brazil, Jamaica and Rwanda ซึ่งมีความร่วมมือกันด้าน Open Skies Agreements (OSAs)  โดย OSAs กับ Barbados and Jamaica เป็นความร่วมมือครั้งแรกระหว่างสิงคโปร์กับ Caribbean Community  สำหรับ Singapore-Brazil OSA เป็นผลมาจากความร่วมมือในปี 2552 ที่มีข้อตกลงการบริการทางอากาศกับ Colombia and Ecuador ส่วน OSA กับ Rwanda เป็นความร่วมมือครั้งที่ 2 กับอัฟริกา หลังจาก Singapore-Zambia OSA ในปี 2551  ด้วยข้อตกลงที่ไม่มีข้อจำกัดจำนวนเที่ยวบิน หรือสถานที่ปลายทาง OSAs อนุญาตให้ความยืดหยุ่นในการแนะนำการบริการเมื่อตลาดเปิดโอกาสให้  นอกจากนี้ ยังสามารถทำการบินจากและสู่ประเทศที่สามที่จะพัฒนาให้การดำเนินการเป็นเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ สิงคโปร์ได้มีความร่วมมือ OSAs กับประเทศต่างๆมากกว่า 40 ประเทศ (รวม 4 ประเทศใหม่นี้)

จ. อื่นๆ
          1. ไต้หวันประสงค์ทำ Free Trade Agreement (FTA) กับสิงคโปร์  จากการที่ไต้หวันมีข้อตกลงครั้งแรกกับจีนแล้ว จึงประสงค์จะมีข้อตกลงกับสิงคโปร์ที่คาดว่า จะง่ายกว่า เนื่องจากไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสินค้าเกษตรส่งออก แต่ถึงปัจจุบัน ยังไม่มีข้อตกลงระหว่างไต้หวันกับสิงคโปร์ ทั้งนี้ ไต้หวันหวังว่า จะมีการลงนาม FTAs  กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่นในอนาคตอันใกล้นี้

2. บริษัทสิงคโปร์ได้รับรางวัน Environmental Achievement Awards   บริษัท 3 รายที่ได้รับรางวัล คือ (1) บริษัท  Gammon Construction Singapore (ใช้พลังงานและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพที่สถานก่อสร้าง และแนะนำระบบที่ลด carbon trading scheme  (2) บริษัท   Samwoh  -green products supplier and construction company (recycled วัสดุในการทำ concrete และใช้วัสดุไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมในการบำรุงรักษาถนน)   และ  (3) บริษัท Siloso Beach Resort (ห้องพัก 200 ห้องที่ช่วยรักษาธรรมชาติ)

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 1-15 สิงหาคม 2553
          1. ประสานงานเพื่อเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สำนักนโยบายและแผน) เข้าประชุมการสร้างความร่วมมือด้านการจดทะเบียนร่วมกับสำนักงาน Accounting and Corporate Regulatory Authority (ACRA) และสำนักงานฯ EnterpriseOne ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 22-25 สิงหาคม 2553
          2. ประสานหน่วยงานสิงคโปร์และภาคเอกชนด้านโลจิสติกส์ เพื่อโครงการ Road Show คณะผู้แทนการค้าโลจิสติกส์เดินทางไปเจรจาการค้า ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2553
          3. ประสานติดต่อสมาคมและนักธุรกิจสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์เยือนประเทศไทย ในเดือนกันยายน 2553
          4. ประสานงานเชิญผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงาน Thai Festival 2010 ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครรราชทูตไทย ณ สิงคโปร์ และทีมประเทศไทย ระหว่างวันที่ 2-6 กันยายน 2553 โดย สคร.สิงคโปร์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เชิญผู้ประกอบการไทย
          5. ประสานขออนุมัติปรับโครงการส่งเสริมการขายร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ตเป็นโครงการส่งเสริมเครือข่ายธุรกิจสปาไทยสู่ตลาดสิงคโปร์ (กำหนดการในเดือนกันยายน 2553)
          6. ประสานเจ้าหน้าที่ Singapore Business Federation เพื่อจัดคณะสมาชิกฯ เยือนงาน Thailand International Logistics Fair 2010 (7-10 October 2010)
          7. ประสานงานเพื่อการลงโฆษณาประชา สัมพันธ์งาน BIG & BIH, October 2010 ( 19-24 October 2010) ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างประเทศ (The Straits Times สิงคโปร์)
          8. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้าในประเทศไทย ได้แก่
          - Bangkok Gems & Jewelry Fair 2010  (8-12 September 2010)
          - Thailand International Logistics Fair 2010 (7-10 October 2010)
          - Thailand International Education Exhibition 2010 (8-10 October 2010)
          - Bangkok International Gift Fair and Bangkok International Houseware Fair (19-24 October 2010)


          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

          ที่มา: http://www.depthai.go.th

แท็ก สิงคโปร์   resort  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ