การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย ช่วงครึ่งปีแรก (มค.- มิย.) ของปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 24, 2010 14:54 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์

ในช่วงครึ่งปีแรก (มค.- มิย.) ของปี 2553 มีมูลค่ารวม 313,063.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.11 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 164,712.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.46) และมูลค่าการนำเข้า 148,350.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.64) โดยประเทศคู่ค้านำเข้าและส่งออก 10 อันดับแรก ดังนี้

         สิงคโปร์นำเข้า (มค.-มิย. 2553)                      สิงคโปร์ส่งออก (มค.-มิย. 2553)
  ประเทศ              เพิ่มขึ้น %     ส่วนแบ่งตลาด %     ประเทศ       เพิ่มขึ้น%     ส่วนแบ่งตลาด %
1.มาเลเซีย              39.88         11.80       1.มาเลเซีย       50.35         11.97
2.สหรัฐฯ                27.39         11.52       2.ฮ่องกง         38.49         11.41
3.จีน                   43.78         10.93       3.จีน            48.40         10.41
4.ญี่ปุ่น                  42.80          7.72       4.อินโดนีเซีย      35.05          9.63
5.ไต้หวัน                61.43          5.97       5.สหรัฐฯ         27.16          6.09
6.เกาหลีใต้              55.49          5.91       6.ญี่ปุ่น           40.96          4.77
7.อินโดนีเซีย             29.68          5.47       7.เกาหลีใต้       23.18          4.17
8.ซาอุดิ-อาระเบีย         37.51          3.52       8.ไทย           36.80          3.74
9.ไทย                  42.25          3.35       9.อินเดีย         36.11          3.73
10.อินเดีย               65.76          3.03       10.ไต้หวัน        63.86          3.52
2. การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย ในช่วงครึ่งปีแรก (มค.-มิย.) ของปี 2553

สิงคโปร์ยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับไทย มูลค่า 1,181.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเป็นการส่งออก และนำเข้า ดังนี้

  • การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกมาไทยคิดเป็นมูลค่า 6,156.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 8) สินค้าหลัก ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ น้ำมันสำเร็จรูป อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า-ป้องกันวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า ส่วนประกอบของเครื่องจักรประเภทที่ 84.25-84.30 และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ
  • การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 4,974.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.35 โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 9 สำหรับอันดับหนึ่ง คือ มาเลเซีย รองลงมา ได้แก่ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ซาอุดิ-อาระเบีย และอินเดีย สินค้านำเข้า 10 อันดับเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล เครื่องพ่นหรือฉีดเชื้อเพลิงของเตาเผา เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบอุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และข้าว
3. สินค้าที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทย 10 รายการแรก มูลค่า เพิ่มขึ้น/ลดลง และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
      สินค้า                                มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)        เพิ่มขึ้น/ลดลง %        ส่วนแบ่งตลาด
                                         มค.-มิย.52   มค.-มิย.53    2552    มค.-มิย.53    2552     มค.-มิย.53
1. น้ำมันสำเร็จรูป                             790.0      1,213.2    -40.3      53.6       5.30        4.28
2. แผงวงจรไฟฟ้า                             595.9        849.0     -0.6      42.5       3.72        3.53
3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล          226.7        281.0    -36.2      24.0       7.56        7.63
4. เครื่องพ่นหรือฉีดเชื้อเพลิงของเตาเผา              0.0        271.8    312.8    563,302.4    0.42       95.24
5. เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ        187.4        220.1    -26.7      17.5       9.19        8.13
6. เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์
     และส่วนประกอบ                          131.8        117.3    -30.1     -11.1       4.34        3.24
7. อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด            68.2        102.5    -24.0      50.2       4.49        4.28
8. เครื่องปรับอากาศ                            74.3        100.7    -18.0      35.6      30.82       32.81
9. มอเตอร์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า                    66.0         87.3    102.6      32.3      19.37       19.47
10. ข้าว                                     67.6         67.9    -16.0       0.5      64.72       62.37
4. สินค้ารายการอื่นๆ ในกลุ่ม 50 รายการที่มีศักยภาพซึ่งสิงคโปร์นำเข้าจากไทย
มูลค่า เพิ่มขึ้น/ลดลง และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
      สินค้า                                มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)        เพิ่มขึ้น/ลดลง %        ส่วนแบ่งตลาด
                                         มค.-มิย.52   มค.-มิย.53    2552    มค.-มิย.53    2552     มค.-มิย.53
1. แก้วและกระจก                             7.6          63.9      43.8       735.0     33.28        44.16
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า            19.6          62.0     -19.8       216.7      3.60         5.31
3. ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน                       31.4          59.7     -49.9        90.4     23.86        27.87
4. ยางพารา                                12.1          51.8     -64.2       329.8     14.36        26.06
3. สิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบทำด้วยเหล็ก/          8.1          48.9     287.4       502.3      2.42        15.40
เหล็กกล้า
6. น้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือหัวบีต                  23.8          43.6      -3.0        83.4     35.11        34.17
7. ตลับลูกปืน                                15.6          34.9     -41.1       124.0      4.56         5.02
8. ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และเครื่องอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับ     18.2          30.4     -22.3        66.8     13.68        16.16
ทำให้เย็นจนแข็ง
9. ผลิตภัณฑ์แผ่นรีดทำด้วยเหล็ก/เหล็กกล้า ไม่เจือ      6.6          17.8      17.3       170.1      1.61         4.82
ไม่เคลือบ
10. เครื่องมือสำหรับดึงหรืออัดรีดโลหะ และเจาะ      4.5          10.9      -22.5      140.6      3.93         4.72
หินหรือเจาะดิน
6. สินค้าที่สิงคโปร์ส่งออกไปยังไทย 10 รายการแรก มูลค่า เพิ่มขึ้น/ลดลง และส่วนแบ่งตลาด ดังนี้
      สินค้า                                มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)       เพิ่มขึ้น/ลดลง %         ส่วนแบ่งตลาด
                                         มค.-มิย.52   มค.-มิย.53    2552    มค.-มิย.53    2552     มค.-มิย.53
1. แผงวงจรไฟฟ้า                              710.3      1,229.5    -16.38      73.10    3.16         3.50
2. สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง                      307.1        359.8    -31.32      17.15   66.77        14.38
3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล           207.3        278.1    -23.27      34.14    5.29         5.31
4. เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์       230.7        271.7    -10.62      17.75    5.91         6.35
5. น้ำมันสำเร็จรูป                              226.0        225.7    -37.27      -0.10    1.07         0.83
6. อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซีสเตอร์และไดโอด            138.8        208.0    -28.91      49.85    4.86         5.02
7. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า               96.4        131.9    -23.36      36.77   11.31         9.94
8. เครื่องจักรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า                  39.6        106.3    -25.82     168.62    8.08        10.01
9. ส่วนประกอบของเครื่องจักรประเภทที่ 84.25-84.30   98.4        100.0     -5.44       1.69    3.45        29.88
10. หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ                  98.5         93.0    -46.05      -5.60   14.82        12.84
7. คาดการณ์การนำเข้าจากไทย

การนำเข้าสินค้าทั่วไปจากไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553 คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ

(1) สินค้าอาหารประเภทต่างๆ เนื่องจาก Integrated Resorts : IRs ทั้ง 2 แห่งได้เปิดให้บริการ และมีการจัดงานใหญ่ๆ ได้แก่ Youth Olympic Games และการแข่งรถ Formula 1

(2) สินค้าเพื่อการก่อสร้าง สินค้าเพื่อการตกแต่งสถานที่ และเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากภาครัฐและภาคเอกชนมีโครงการก่อสร้างอาคารพาณิชย์และที่พักอาศัย รวมถึงโครงการซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

(3) อุปกรณ์และส่วนประกอบสำหรับเครื่องใช้อิเล็คทริค/อิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เนื่องจากได้รับการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯและยุโรป

8. สภาวะอื่นๆ ที่ส่งเสริมการเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์
  • ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ในช่วงครึ่งปีหลัง ของปี 2553 ได้แก่

(1) การขยายตัวของการค้ารวมและการส่งออกสินค้าทั่วไปที่ผลิตในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 28 และ 28 ตามลำดับ (เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2552 ที่มีอัตราลดลงร้อยละ 27 และ 14 ตามลำดับ)

(2) การเติบโตเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2553 ซึ่ง IMF ได้คาดการณ์การเติบโต GDP ให้อยู่ที่ร้อยละ 7.5 (คาดการณ์เดิมเมื่อเดือนเมษายน 2553 เป็นร้อยละ 6.9) เป็นการแสดงให้เห็นว่าการค้ากับประเทศในเอเชียมีการเติบโตอยู่ในระดับเลข 2 หลัก สำหรับช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 โดยเฉพาะจีน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 49 ประเทศคู่ค้าสำคัญของจีนได้รับผลประโยชน์จากการนำเข้าที่จีนนำเข้าเพิ่มขึ้น การนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญในเอเชีย ได้แก่ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เติบโตมากกว่าร้อยละ 30 ในเดือนพฤษภาคม 2553 ทำให้สิงคโปร์มีการส่งออกเพิ่มขึ้น

(3) การส่งออกสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ของสิงคโปร์จะได้รับผลประโยชน์จากการปรับคาดการณ์ความต้องการ semiconductor ของทั่วโลก ซึ่งคาดว่า การจำหน่ายทั่วโลกของปี 2553 จะมีการเติบโตอย่าง รวดเร็วกว่าในปี 2552 ซึ่งได้ปรับการคาดการณ์การจำหน่าย semiconductor ในปี 2553 เป็นร้อยละ 27.1 (คาดการณ์เดิม ร้อยละ 19.9)

  • คาดการณ์เป้าหมายของการเติบโตการค้ารวมปี 2510 ได้ถูกปรับขึ้นจากร้อยละ 14-16 เป็นร้อยละ 17-19 โดยสินค้าทั่วไปผลิตในประเทศเพื่อส่งออก (NODX) จะเติบโตร้อยละ 17-19 (เดิมคาดการณ์ไว้ร้อยละ 15-17)
  • คาดการณ์การเติบโต GDP ปี 2510 อยู่ที่ร้อยละ 13-15

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ